"...การที่บริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องความคุ้มครองทางกฎหมายเช่นนั้น ก็ยังมีความหมายในอีกนัยยะหนึ่งว่า ถ้าหากบริษัทได้ดำเนินการโดยประมาทเลินเล่อ ดำเนินการโดยมีพฤติกรรมฉ้อโกง หรือดำเนินการโดยมีพฤติกรรมด้วยความอาฆาตมาดร้ายอันจะส่งผลเสียหายต่อห่วงโซ่อุปทานวัคซีน รัฐบาลก็จะเป็นผู้ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแทนที่บริษัทนั่นเอง..."
.....................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอข้อครหาการทำสัญญาส่งมอบวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์กับประเทศต่างๆในภูมิภาคแคริบเบียนและในภูมิภาคอเมริกาใต้
โดยเว็บไซต์สำนักข่าวสืบสวนอิสระ หรือ The Bureau of Investigative Journalism (https://www.thebureauinvestigates.com/) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวสืบสวนได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 10 มี.ค.ว่า สำนักข่าว The Bureau ได้รับข้อมูลสัญญาของบริษัทไฟเซอร์ฉบับหนึ่งที่ยังไม่มีการแก้ไข โดยเป็นสัญญาระหว่างบริษัทกับประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน สำหรับสัญญานั้นแสดงรายละเอียดว่าบริษัทไฟเซอร์ได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอย่างกว้างขวาง ในกรณีที่จะมีการฟ้องร้องใดๆกับทางบริษัท ซึ่งก็หมายความว่าบริษัทจะไม่ต้องจ่ายเงินหรือชดใช้ใดๆเลย ถ้าหากบริษัทต้องเผชิญกับประเด็นพิพาททางกฎหมายในช่วงเวลาที่บริษัทต้องดำเนินการตามห่วงโซ่อุปทานในการผลิตวัคซีนของบริษัท
สำหรับสัญญาดังกล่าวนั้น มีผู้รวบรวมได้แก่องค์กรเพื่อความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับนานาชาติ (Knowledge Economy International หรือ KEI) ซึ่งเป็นหน่วยงานอันไม่แสวงผลกำไรของสหรัฐอเมริกาที่พยายามผลักดันให้เกิดการเข้าถึงยาเพื่อใช้ในการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน
โดยสำนักข่าว The Bureau ได้ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลนี้ร่วมกับสำนักข่าว Stat News และสำนักข่าว Ojo Publico และได้เลือกประเทศจำนวน 25 ประเทศเพื่อนำมาเปิดโปงรายละเอียดขั้นตอนการเจรจาจัดทำสัญญาการจัดหาวัคซีนระหว่างรัฐบาลของประเทศต่างๆในภูมิภาคละตินอเมริกากับบริษัทไฟเซอร์
ซึ่งหนึ่งในรายละเอียดที่สำคัญก็คือ บริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องไปยังประเทศต่างๆเหล่านี้ ให้มีการทำสัญญาจัดหาวัคซีนโดยให้ระบุรายละเอียดในสัญญาว่าบริษัทนั้นจะได้รับความคุ้มครองจากการถูกเรียกชดใช้ค่าเสียหายอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม สัญญาการคุ้มครองการเรียกค่าเสียหายต่อบริษัทดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่มากเกินไป และมากเกินกว่าที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆจะเรียกร้องต่อรัฐบาลที่ได้ทำสัญญาด้วย
และมีรายงานว่ารัฐบาลหลายแห่งได้มอบความคุ้มครองทั้งการเรียกร้องค่าเสียหาย ความคุ้มครองต่อภาระทางกฎหมาย ให้กับบริษัทไฟเซอร์เพื่อแลกเปลี่ยนกับโดสวัคซีนของบริษัท หรือก็คือหมายความว่าถ้าหากประชาชนในประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญกับผลข้างเคียงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน พวกเขาก็จะยังคงสามารถฟ้องร้องต่อบริษัทไฟเซอร์ได้ แต่ถ้าหากการฟ้องร้องสำเร็จ รัฐบาลก็จะเป็นผู้ที่จ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนแต่ละรายเต็มจำนวน แต่ทางบริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าชดใช้แต่อย่างใด
อนึ่ง การที่บริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องความคุ้มครองทางกฎหมายเช่นนั้น ก็ยังมีความหมายในอีกนัยยะหนึ่งว่า ถ้าหากบริษัทได้ดำเนินการโดยประมาทเลินเล่อ ดำเนินการโดยมีพฤติกรรมฉ้อโกง หรือดำเนินการโดยมีพฤติกรรมด้วยความอาฆาตมาดร้ายอันจะส่งผลเสียหายต่อห่วงโซ่อุปทานวัคซีน รัฐบาลก็จะเป็นผู้ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแทนที่บริษัทนั่นเอง
มีรายงานด้วยว่าบริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนตินาเพื่อร้องขอสินทรัพย์ภายใต้อำนาจอธิปไตย ซึ่งอาจหมายถึงอาคารสถานทูตหรือฐานทัพทางทหาร เพื่อจะนำสินทรัพย์เหล่านี้มาใช้เป็นหลักประกันต่อกรณีที่บริษัทอาจจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการสู้คดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
รายงานข่าววิจารณ์บริษัทไฟเซอร์จากสำนักข่าว Wionews ประเทศอินเดีย
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลจากประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาประเทศหนึ่ง ซึ่งรับรู้ในกรณีที่รัฐบาลของประเทศตัวเองได้เซ็นสัญญากับบริษัทไฟเซอร์ได้ออกมาบรรยายถึงข้อเรียกร้องของบริษัทไฟเซอร์ว่าเปรียบเสมือนกับการบูลลี่ หรือการกลั่นแกล้งกันในระดับสูง และกล่าวต่อไปด้วยว่าฝ่ายบริหารของประเทศของเขานั้นมีความรู้สึกว่าประเทศถูกจับเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับการได้เข้าถึงวัคซีน
บริษัทไฟเซอร์ยังได้ทำสัญญากับประเทศต่างๆทั้งในแถบละตินอเมริกาและในแถบแคริบเบียนอีก 9 ประเทศด้วยกัน แต่ที่ผ่านมา เงื่อนไขและข้อตกลงนั้นเป็นความลับจนกระทั่งสำนักข่าว The Bureau ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาเปิดโปง
สำหรับกรณีสัญญาของประเทศโดมินิกัน ได้มีการดำเนินการขอข้อมูลตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร จนปรากฎรายละเอียดในสัญญาว่าบริษัทไฟเซอร์จะไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องใด สำหรับความผิดพลาดอันเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19
โดยในภาคผนวกของสัญญาลงวันที่ 20 ต.ค. 2563 ระบุไว้ตอนหนึ่งว่ารัฐบาลโดมินิกันจะ “ชดใช้ค่าเสียหาย ปกป้อง และจะไม่ทำอันตรายใดๆต่อบริษัทไฟเซอร์,ต่อบริษัทร่วมเป็นหุ้นส่วนซึ่งคือบริษัทไบโอเอ็นเทค และต่อบริษัทในเครืออื่นๆ” จากประเด็นทั้งในคดีความและค่าเสียหายต่างๆ “ที่เกิดขึ้นจาก, เกี่ยวข้อง, หรือเป็นผลมาจากวัคซีน รวมถึงแต่ไม่จำกัด (รวมไปถึง) ขั้นตอนใดๆของการออกแบบ,การพัฒนา,การตรวจสอบ,การคิดค้นสูตร,การทดสอบ,การทดสอบทางคลินิก,การผลิต,การติดฉลาก,บรรจุภัณฑ์, การขนส่ง, การจัดเก็บ, การกระจาย, การตลาด, โปรโมชั่น, การขาย, ซื้อ, การออกใบอนุญาต, การบริจาค, การจ่าย, การสั่งยา, การบริหาร, การจัดหาหรือการใช้งานวัคซีน”
หรือสรุปก็คือรัฐบาลโดมินิกันจะต้องจ่ายเงินชดใช้ทางด้านกฎหมายหากมีประเด็นใดๆเกิดขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขโดมินิกันจะไม่สามารถควบคุมความเสียหายอันมาจากการที่ต้องจ่ายเงินแทนบริษัทไฟเซอร์ได้เลย
สำหรับรายละเอียดมูลค่าสัญญาของรัฐบาลโดมินิกันกับบริษัทไฟเซอร์นั้นพบว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,947,584,000 บาท) โดยแลกกับวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 8 ล้านโดส หรือคิดเป็นราคาเฉลี่ยก็คือ 24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (736 บาท) ต่อวัคซีนจำนวน 2 โดส ซึ่งราคานี้นั้นสอดคล้องกับราคาที่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคต้องจ่ายเพื่อแลกกับวัคซีน โดยรัฐบาลจะไม่สามารถยกเลิกคำสั่งซื้อได้แม้ว่าบริษัทไฟเซอร์จะพลาดการส่งลอตวัคซีนตามช่วงเวลาที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาก็ตาม ซึ่งสัญญาดังกล่าวนี้นั้นจะถูกควบคุมโดยกฎหมายแห่งรัฐนิวยอร์ก
ขณะที่เหล่าบรรดานักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาวิพากษ์ถึงสัญญาคุ้มครองการชดใช้ค่าเสียหายอันครอบจักรวาลนี้ว่าเป็นช่องทางที่จะทำให้บริษัทไฟเซอร์ได้ดำเนินการใดๆอย่างไม่มีเหตุผล และบริษัทกำลังดำเนินการด้วยพฤติกรรมที่ผิดต่อจรรยาบรรณ
โดย นพ.ลอว์เรนซ์ กอสติน ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกว่าด้วยกฎหมายสุขภาพแห่งชาติและโลกได้กล่าวว่าบริษัทยากำลังกรรโชกทรัพย์ประเทศที่มีรายได้ต่ำและหมดความหวังสำหรับการจัดหาวัคซีน และเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลเป็นอย่างยิ่งกับการที่ประเทศหนึ่งจะต้องมาอุ้มชูไม่ให้บริษัทเอกชนได้รับภยันตรายจากการออกแบบ,พัฒนา,ผลิต,การทดสอบทางคลินิก และการบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอง ซึ่งการดำเนินการเพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหานั้น มันควรที่จะเป็นหน้าที่ของบริษัทจะไปดำเนินการ ไม่ใช่ผลักดันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ว่านี้ไปให้กับประเทศที่ยากจนต่างๆ
“ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งขึ้นไปอีก เพราะบริษัทที่ได้รับเงินอุดหนุนสำหรับการวิจัยจากรัฐบาล บริษัทเหล่านี้กลับสูญเสียผิดชอบชั่วดีต่อสังคม พวกเขากำลังมีพฤติกรรมที่ผิดต่อจรรยาบรรณ” นพ.กอสตินกล่าว
ขณะที่นายลุยส์ กิล อาบีนาเดอร์ นักวิจัยอาวุโสที่ KEI กล่าวว่า “การเรียกร้องความคุ้มครองต่อความผิดพลาดอันมาจากเหตุการณ์ที่เกิดในระหว่างการผลิต,การจัดเก็บ,การขนส่ง,การกระจาย,การแจกใบสั่งยา หรือการบริหารวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง การให้เอกสิทธิ์คุ้มครองที่กว้างมากขนาดนี้ถือเป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าบริษัทไฟเซอร์ได้ดำเนินการโยกย้ายความเสี่ยงทางการเงินอันมาจากวัคซีนไปสู่รัฐบาลประเทศต่างๆได้อย่างไร”
ส่วนบริษัทไฟเซอร์ก็ได้ชี้แจงต่อสำนักข่าว The Bureau ว่าสถานการณ์การระบาดเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังเป็นสิ่งที่สร้างความเสี่ยงอันผิดปกติต่อบริษัทผลิตวัคซีนหลายแห่งที่อาจจะต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องทางกฎหมายทั่วโลก โดยในตลาดประเทศอื่นๆที่ไม่มีความคุ้มครองทางกฎหมาย หรือกฎหมายที่มีอยู่แบบในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางบริษัทมีความจำเป็นจะทำงานร่วมกันกับรัฐบาลประเทศต่างๆเหล่านี้เพื่อจะหาทางออกที่ยอมรับได้ร่วมกัน ซึ่งก็รวมไปถึงข้อชดใช้ค่าเสียหายตามที่ปรากฎในสัญญา
วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ที่ถูกส่งให้องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (อ้างอิงวิดีโอจากสำนักข่าวเอ็นบีซี)
บริษัทได้ชี้แจงต่อไปด้วยว่าในบริบทการเจรจาทวิภาคีนั้น บริษัทไฟเซอร์และบริษัทไบโอเอ็นเทค ไม่มีเจตนาที่จะไปก้าวก่าย แทรกแซงสินทรัพย์ที่มีความสำคัญในทางการทูต,การทหาร หรือว่าทางวัฒนธรรมแต่ประการใด โดยขอยืนยันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวที่ตรงข้ามกับที่บริษัทได้ชี้แจงไปนั้นไม่เป็นความจริงแต่ประการใด
“บริษัทไฟเซอร์และบริษัทไบโอเอ็นเทคมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป และมีความเท่าเทียมกันสำหรับผู้คนทั่วโลก เราได้มีการจัดสรรวัคซีนจำนวน 36 เปอร์เซ็นต์จากวัคซีนทั้งหมดที่เราจะได้ส่งออก โดยวัคซีนจำนวนดังกล่าวนี้จะถูกส่งไปยังประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ และโดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำนั้นจะเป็นราคาที่ไม่แสวงหาผลกำไร” บริษัทไฟเซอร์ระบุทิ้งท้าย
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัท-ผู้ลงทุนปริศนา ชนะสัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 8 พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกดขี่แรงงานชาวอุยกูร์ ถึงหน้ากากอนามัยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรป
ส่องคดีทุจริตโลก: กองทัพพม่าใช้บริษัทลูกจัดซื้ออาวุธ หลังโดนอียูคว่ำบาตรปมโรฮีนจา
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม CDC จีนผูกขาด 3 บ.ชุดตรวจโควิดไร้คุณภาพ ส่งผลไวรัสระบาดที่อู่ฮั่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนสหรัฐฯส่อโกงงบโควิด หลังส่งนมเข้าองค์กรการกุศลเครือข่ายบริษัท
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม สธ.ลิทัวเนียซื้อคอร์สรักษาผู้ป่วยโควิด ราคาแพงเกินจริง 24 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อพรรคการเมืองบอสเนียฯรวมหัวใช้งบหลวงแจกของโควิดก่อนเลือกตั้งท้องถิ่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดพิรุธ ซอฟต์แวร์ระบบ ลต.สหรัฐฯให้คะแนน'ไบเดน-ทรัมป์'ผิดที่มิชิแกน
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ รบ.อังกฤษเปิดช่องซื้อชุด PPE แพงไม่เกิน 25% ไม่ต้องแจ้งรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมเมื่อ รบ.อังกฤษทำสัญญาชุด PPE บ.แฟชั่น 6 พัน ล.ไม่ระบุรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐนิวยอร์กถูกวิศวกรเสนอขายเครื่องช่วยหายใจให้'ทรัมป์'ฉ้อโกง
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ สธ.สหรัฐฯ ต่อสัญญา 316 ล.จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์เก็บข้อมูลโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'อียู'ตรวจสอบ'วาติกัน'หลังเจอครหาฉ้อโกงเงินบริจาคนับหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เพนตากอนเอางบช่วยโควิด 3.1 หมื่น ล.ไปพัฒนาอาวุธ,โดรน-ชุดเกราะ
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'เอกชน' สหรัฐฯปลอมแปลงเอกสาร FDA รับรองชุดตรวจโควิด 19
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีนตายปริศนา สู่ข้อพิรุธโครงการวันเบลท์วันโรด
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อโครงการเยียวยา SME สหรัฐฯเจอปัญหากู้เงินซ้ำซ้อน-ฉ้อโกง 3 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage