มีทรัพย์สินจำนวนที่มีนัยยะสำคัญเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานับแต่มีการจารกรรมเกิดขึ้น และมีบริษัทเกิดขึ้นจำนวนหนึ่งทั้งในประเทศเซเชลส์และในประเทศอื่นๆซึ่งบริษัทเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นด้วยรูปลักษณ์ความเป็นเจ้าของที่แตกต่างกันออกไปเพื่อซ่อนต้นกำเนิดของกองทุนที่เกี่ยวข้อง
ส่องคดีทุจริตโลกสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอตีแผ่ประเด็นเรื่องบริษัทนอกอาณาเขตที่ปรากฎข้อมูลในเอกสารแพนโดร่า หรือว่าแพนโดร่าเปเปอร์สกันอีกครั้งหนึ่ง
โดยเว็บไซต์ของเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ (The International Consortium of Investigative Journalists: ICIJ) ได้รายงานข้อมูลสืบเนื่องจากกรณีการจับกุมนายมุเคช วาลาบาจี นักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลและยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศเซเชลส์ด้วยข้อหาเรื่องการฟอกเงินคิดเป็นจำนวนกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,693,150,000 บาท)
ซึ่งความเป็นไปเป็นมาของการจับกุมนั้นเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเซเชลส์ได้จับกุมนายวาลาบาจีหลังจากเข้าเดินทางกลับมาจากโรงแรมส่วนตัวบนเกาะเฟลิไซต์ (Felicite) และในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ยังได้ยึดอาวุธปืนได้เป็นจำนวนหลายรายการในบ้านพักส่วนตัวของเขา
ทั้งนี้นอกเหนือจากนายวาลาบาจีแล้ว นางลอร่า อัลซินเดอร์ วาลาภิช ผู้เป็นภรรยาก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 คนนั้นถูกสงสัยว่ามีพฤติกรรมการยักยอกเงินเป็นจำนวนนับหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเงินที่ว่ามานี้นั้นเป็นเงินที่ทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บริจาคให้กับรัฐบาลเซเชลส์
วิดีโอเชิญชวนให้เปิดบริษัทนอกอาณาเขตที่ประเทศเซเชลส์ (อ้างอิงวิดีโอจาก ONE IBC Group)
ขณะที่ทางด้านของนางเมย์ เดอ ซิลวา อธิบดีหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริจของเซเชลส์ได้ให้สัมภาษณ์กับ ICIJ ว่านายวาลาบาจีและภรรยานั้นสงสัยว่าจะมีพฤติกรรมการฟอกเงินโดยอาศัยความช่วยเหลือจากภรรยาที่เป็นทนายความ เป็นระยะเวลาประมาณ 19 ปี
ซึ่งจากรายงานของสำนักข่าวในประเทศเซเชลส์ที่ไม่ได้ระบุชื่อของสองสามีภรรยาลงไปในข่าวได้รายงานว่าเงินจำนวนดังกล่าวนั้นมีการโยกย้ายผ่านเครือข่ายบริษัทต่างๆหลายแห่งรวมไปถึงโรงแรมและบริษัทท่องเที่ยวที่มีผู้บริหารก็คือนายมุเคช วาลาบาจีนั่นเอง
สำหรับประวัติของนายวาลาบาจีนั้นพบว่าเขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับอดีตประธานาธิบดีเซเชลส์ และยังเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคม เจ้าของกิจการโรงแรง และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสำหรับการลงทุน แต่อย่างไรก็ตามนายวาลาบาจีได้ปฏิเสธการกระทำความผิดทั้งหมด และหนึ่งในสองสามีภรรยาก็ได้มีการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่างของเซเชลส์ว่าการจับกุมพวกเขานั้นมีมูลเหตุมาจากการเมือง
ขณะที่หน่วยงานเพื่อความโปร่งใสก็ได้กล่าวว่าคดีนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในความพยายามของประเทศเซเชลส์ที่จะขจัดชื่อเสียงในแง่ลบในฐานะที่ประเทศนั้นเป็นจุดรวมของอาชญากรรมทางการเงินและการทุจริต
“เป็นกรณีแรงของคดีทุจริตที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นมันจึงมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เพราะคดีนี้จะนำไปสู่คดีอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับทั้งการยักยอกเงิน การค้ายาเสพติด และอาจจะเป็นสัญญาณสำหรับชาวเซเชลส์ที่รอว่าเมื่อไรปัญหาเรื่องการทุจริตนั้นจะถูกแก้ไขมาอย่างยาวนาน” นายไครสโตลด์ เชตตี้ ประธานหน่วยงานเพื่อความโปร่งใสกล่าว
อนึ่งมีข้อมูลจากทางเอกสารแพนโดร่าระบุด้วยว่านายวาลาบาจีนั้นก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้งานขาประจำที่มีการใช้ทั้งบริษัทลับและบัญชีธนาคารที่อยู่ใกล้จากประเทศต้นทางของตัวเอง ขณะที่ข้อมูลจากรายงานข่าวสืบสวนนั้นได้มีการระบุถึงไฟล์นับพันชุดที่รั่วไหลจากผู้ให้บริการบริษัทนอกอาณาเขตในประเทศเซเชลส์ ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าประเทศนี้นั้นมีบทบาทในการเป็นแห่งการหลบเลี่ยงภาษี การปกปิดการทำข้อตกลงทางการเงินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากกว่า 20 รายทั้งจากประเทศในทวีปเอเชีย,แอฟริกา และยุโรป
นายมุเคช วาลาบาจี
“ประเทศเซเชลส์นั้นเริ่มจะมีปัญหาการทุจริตในประเทศของตัวเองแล้ว แต่ว่าสิ่งที่เราเห็นในเอกสารแพนโดร่าและเอกสารปานามาก็ทำให้เห็นเด่นชัดว่าประเทศนี้ถูกใช้โดยบุคคลที่ร่ำรวยและทรงอำนาจทั่วโลกในการดำเนินข้อตกลงอันเป็นความลับและการหลบเลี่ยงภาษี”นายเชตตี้กล่าว
@ประเทศเซเชลส์ในกล่องแพนโดร่า
ข้อมูลจากเอกสารแพนโดน่าที่รวบรวมบันทึกมากกว่าหนึ่งล้านบันทึกจากผู้ให้บริการบริษัทนอกอาณาเขตของประเทศเซเชลส์อันได้แก่บริษัท Alpha Consulting Ltd และบริษัท All About Offshore Ltd (AABOL) รวมไปถึงบันทึกข้อมูลอื่นๆอาทิหนังสือเดินทาง,สัญญา,อีเมล,และบันทึกอันเป็นความลับอื่นๆนั้นก็แสดงข้อมูลเชิงลึกในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนเกี่ยวกับเจ้าของบริษัทเปลือกในประเทศเซเชลส์ ซึ่งทั้งหมดนั้นมีเลือกที่จะมีบริษัทเปลือกที่ประเทศเซเชลส์เพื่อไม่ต้องการที่จะเปิดเผยตัวตน โดยมีรายละเอียดของบุคคลทางการเมืองที่สำคัญดังนี้
-นายไอเรส อาลี อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศโมซัมบิก ถูกตรวจสอบพบว่ามีการจัดตั้งบริษัทในประเทศเซเชลส์ ในช่วงเวลาที่เขายังดำรงตำแหน่งอยู่ โดยบริษัทที่เขาจัดตั้งดังกล่าวนั้นเขาเป็นเจ้าของร่วมกับผู้เป็นลูกสาวและมีการเปิดบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องในประเทศโปรตุเกส
-นางอิซาเบล ดอส ซานโตส ลูกสาวของนายโฮเซ เอดูอาร์โด ดอส ซานโตสผู้นำที่ครองอำนาจในประเทศแองโกลามาอย่างยาวนาน พบข้อมูลว่าเธอมีบริษัทในประเทศเซเชลส์จำนวนสองแห่ง ซึ่งการมีบริษัทดังกล่าวนั้นก็เพื่อจะเข้าถึงกิจการอสังหาริมทรัพย์และกิจการการส่งออกและนำเข้าสินค้า
-นายซากาเรีย เดบี อิตโน น้องชายของประธานาธิบดีของประเทศชาด พบว่าจัดตั้งบริษัทในประเทศเซเชลส์ในปี 2553 กับพ่อค้าอาวุธรายหนึ่ง
-นายเดลียัน เปฟสกี้ นักการเมืองชาวบัลแกเรีย ซึ่งถูกลงโทษจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือน มิ.ย. 2563 ในข้อหาว่ารับสินบน โดยนายเปฟสกี้นั้นล้มเหลวในการแจ้งทรัพย์สินมูลค่ากว่าหนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐฯ (3,386,300 บาท) ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวนั้นเป็นกำไรที่ได้มาจากบริษัทของเขาในประเทศเซเชลส์
- นายฌาคัต ฟายาซ อะหมัด ธาริน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศปากีสถานและครอบครัว ถูกตรวจสอบพบว่ามีการตั้งบริษัทในประเทศเซเชลส์เพื่อเข้าไปลงทุนในธนาคาร
โดยทั้งหมดนั้นไม่มีใครตอบคำถามที่ทาง ICIJ ได้ส่งไปแต่อย่างใด
อนึ่งในช่วงเดือน ต.ค. เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เอกสารแพนโดร่าได้เปิดโปงประเทศเซเชลส์ ทางสหภาพยุโรปหรืออียูกลับลบประเทศเซเชลส์ออกจากบัญชีดำด้านการหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งนี่ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ทางสภายุโรปก็ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าแม้ว่าประเทศเซเชลส์และประเทศอื่นๆนั้นยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนานาชาติว่าด้วยเรื่องภาษีแต่ก็มีความมุ่งมั่นในการนำเอาหลักธรรมาภิบาลเรื่องภาษีมาใช้
ส่วนที่ประเทศโดมินิกาและประเทศแองกวิลลา ซึ่งเป็นอีกสองประเทศที่มีอัตราภาษีเป็นศูนย์และมีการใช้กฎเหล็กด้วยกฎหมายความลับเกี่ยวกับองค์กรก็ได้ถูกขยับให้ไปอยู่ในลำดับสีเทา
“อียูนั้นปิดตาเวลาต้องเจอกับประเทศที่ไร้ข้อจำกัดด้านภาษีตัวจริง แต่กลับเลือกที่จะไปแบ็คลิสต์ประเทศที่ยากจนแทน ทำให้ประเทศที่ไร้ข้อจำกัดภาษีเหล่านี้เล็ดรอดไปได้”นางคิอาร่า ปูตาโตโร ที่ปรึกษาด้านภาษีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรออกซ์แฟมกล่าว
@หน้าไม้และโรงแรมหรู
อนึ่งมีรายงานว่าในปี 2552 นายวาลาบาจีนั้นได้มีการสร้างทรัสต์ ที่ชื่อว่าโทปาซทรัสต์ที่ประเทศนิวซีแลนด์ แต่อย่างไรก็ตาม ในรายงานที่เกี่ยวข้องนั้นระบุว่าทรัสต์นี้มีความซับซ้อนในกลุ่มผู้เข้าไปถือทรัสต์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีทั้งบริษัทที่อยู่ในประเทศเบลีซและในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินเข้าไปถือทรัสต์ ขณะที่ข้อมูลจากเอกสารแพนโดร่าก็ระบุว่านายวาลาบาจีนั้นเป็นเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งชื่อว่า Return Hound Ltd ซึ่งบริษัทนี้มีเงินอยู่หนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (33,863,000 บาท) และมีการลงทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่รายงานจากหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศเซเชลส์ ก็ได้กล่าวหาว่านายวาลาบาจีและภรรยาซึ่งเป็นทนายความที่ทำงานกับผู้ให้บริการด้านบริษัทนอกอาณาเขตในประเทศเซเชลส์ได้ดำเนินการฟอกเงินในประเทศเพื่อซื้อโรงแรมซึ่งกลายเป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมในประเทศเซเชลส์
จากกรณีดังกล่าวนั้นทำให้ศาลฎีกาได้มีคำสั่งที่จะกักตัวสองสามีภรรยานับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย.เป็นต้นมา โดยนายรอนนี่ เจมส์ โกวินเดน ผู้พิพากษาได้กล่าวว่าจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องนั้นมีสัดส่วนขนาดใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินอย่างไม่เหมาะสม โดยมีการโยกทรัพย์ไปที่โรงแรมและย้ายไปยังความครอบครองส่วนตัวของนายวาลาบาจีและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ขณะที่เงินจำนวนกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่ได้รับมาเมื่อปี 2545 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำไปชำระหนี้นั้นกลับไม่เคยถูกบันทึกลงในบัญชีของรัฐบาลเซเชลส์แต่อย่างใด
“มีทรัพย์สินจำนวนที่มีนัยยะสำคัญเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานับแต่มีการจารกรรมเกิดขึ้น และมีบริษัทเกิดขึ้นจำนวนหนึ่งทั้งในประเทศเซเชลส์และในประเทศอื่นๆซึ่งบริษัทเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นด้วยรูปลักษณ์ความเป็นเจ้าของที่แตกต่างกันออกไปเพื่อซ่อนต้นกำเนิดของกองทุนที่เกี่ยวข้อง”นายโกวินเดนระบุ
ทั้งนี้ในการเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บ้านของนายวาลาบาจี เจ้าหน้าที่ได้ยึดเอาอาวุธปืนประเภทไรเฟิลซุ่มยิง,ปืนพก,หน้าไม้ และเครื่องกระสุนจำนวนหนึ่งจากในห้องนอน ห้องเก็บไวน์และห้องอื่นๆด้วยเช่นกัน
ขณะที่ทางด้านของนายบาซิล พาโฮเรอู ทนายความของสองสามีภรรยาก็ยังไม่ตอบคำถามของทางICIJ แต่อย่างใด
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการสวิส'สั่งปรับ 2.5 ร้อย ล. บ.พลังงาน เอี่ยวปมสินบนแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราแฉ ราชวงศ์ UAE เอี่ยว บ.ออฟชอร์ให้บริการลูกค้าผิด กม.เพียบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63