ทาง ICIJ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่องก็พบว่ามีบริษัทจำนวนกว่า 2,977 แห่งทั้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และในศูนย์การเงินนอกอาเขตอื่นๆที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของบริษัท SFM แต่อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของบริษัทจำนวน 2,977 แห่งที่ถูกจัดตั้งมาดังกล่าวนั้นก็พบว่ามีมากกว่า 20 รายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรทางการเงิน,และผู้ให้บริการเนื้อหาอินเตอร์เนทในที่ผิดกฎหมายเป็นต้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)ในสัปดาห์นี้ขอกลับไปที่ประเด็นความไม่โปร่งใสที่ปรากฎในเอกสารแพนโดราหรือแพนโดราเปเปอร์สกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเว็บไซต์ของเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ (The International Consortium of Investigative Journalists: ICIJ) ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้ทรงอำนาจหรือว่าชีคในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือว่าชีค ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีบริษัทนอกอาณาเขตในหลายกรณีด้วยกัน
โดยข้อมูลไฟล์จำนวนกว่า 11.9 ล้านชุดที่ปรากฏในเอกสารแพนโดรานั้นมีการรายงานเกี่ยวกับเอกสารลับจำนวนกว่า 190,000 ชุด อันเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ชื่อว่า SFM Corporate Services ซึ่งบริษัทแห่งนี้นั้นเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยังเป็นบริษัทที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้ให้บริการบริษัทนอกอาณาเขตอันดับหนึ่งของโลก
อนึ่งบริษัท SFM นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในหลายพันบริษัทในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือลูกค้าในการจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขต และยังเป็นการยากที่จะติดตามตัวว่าใครนั้นเป็นผู้ที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงของบริษัทที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่เหล่านี้
โดยรูปแบบของบริษัทที่มีลักษณะคล้ายกับ SFM ดังกล่าวนี้นั้นมักจะเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ทนายความ,นักบัญชีและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการณ์ในระดับโลก ที่ให้บริการในเรื่องของระบบการเงินนอกอาณาเขตแก่ผู้เป็นลูกค้า
ทาง ICIJ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่องก็พบว่ามีบริษัทจำนวนกว่า 2,977 แห่งทั้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และในศูนย์การเงินนอกอาเขตอื่นๆที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของบริษัท SFM แต่อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของบริษัทจำนวน 2,977 แห่งที่ถูกจัดตั้งมาดังกล่าวนั้นก็พบว่ามีมากกว่า 20 รายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรทางการเงิน,และผู้ให้บริการเนื้อหาอินเตอร์เนทในที่ผิดกฎหมายเป็นต้นขณะที่ทางบริษัท SFM ก็ได้ระบุไปในแถลงการณ์ของบริษัทแล้วว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจในรูปแบบที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอนในทุกๆด้วย และในทุกขอบเขตพื้นที่อำนาจศาลที่บริษัทได้ดำเนินการอยู่
โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัท SFM แห่งนี้มีที่ทำการอยู่ ณ ชั้น 16 อาคารโรงแรม H Hotel ณ ถนน Sheikh Zayed ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลของ ICIJ ก็พบว่าเจ้าของตึกนี้ก็คือชีค ฮัซซา บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน (Sheikh Hazza bin Zayed Al Nahyan) ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และผู้เป็นน้องชายก็คือ ชีค โมฮัมเหม็ด บิน ซาเยด (Sheikh Mohammed bin Zayed) องค์รัชทายาทแห่งกรุงอาบูดาบี และยังเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับถัดไปของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้น ICIJ ก็ได้ส่งคำถามไปยังชีคฮัซซา ผ่านทางช่องทางของสถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสํานักงานสื่อของสภาผู้บริหารกรุงอาบูดาบี แต่ทว่าชีคฮัซซาก็ไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้นอกเหนือจากเอกสารภายในของบริษัท SFM ข้อมูลในเอกสารแพนโดรายังได้มีการเก็บเอกสารอีกกว่าหลายหมื่นฉบับที่เกี่ยวข้องกับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มเติมอีก รวมไปถึงเอกสารจากประเทศเซเชลส์ และเอกสารจากประเทศอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดเปิดเผยว่ามีสมาชิกราชวงค์ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวนอย่างน้อย 35 ราย ที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มโฮลดิ้งของบริษัทนอกอาณาเขตเหล่านี้
โดยรายชื่อสมาชิกราชวงศ์ที่สำคัญที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนั้นรวมไปถึงชีค ฮัซซา, ชีค ทาห์นูน บิน ซาเยด(Sheikh Tahnoon bin Zayed) ผู้เป็นน้องชายและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงคนปัจจุบันต่อจากชีค ฮัซซา และชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มักตุม (Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum) นายกรัฐมนตรีของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และยังเป็นผู้ปกครองนครดูไบ
ชีค ทาห์นูน บิน ซาเยด,ชีค ฮัซซา บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน และชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มักตุม (เรียงจากซ้ายไปขวา)
ในข้อมูลเอกสารได้ระบุต่อไปว่านายกรัฐมนตรีของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทนอกอาณาเขตในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินจำนวน 2 แห่ง และเกี่ยวข้องกับบริษัท Dark Matter ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ถูกกล่าวหาว่าสอดแนมนักสิทธิมนุษยชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายประเทศด้วยเช่นกัน
โดยในช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา พบกรณีที่อดีตผู้จัดการระดับสูงของบริษัท Dark Matter ซึ่งทั้ง 3 คนนั้นยังเคยเป็นเจ้าหน้าที่ในกองทัพสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยข่าวกรองได้ออกมายอมรับสารภาพภายใต้ข้อตกลงในการดำเนินคดีกับทางการสหรัฐอเมริกาว่าพวกเขาทั้ง 3 นั้นมีส่วนในการแฮคระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ตัวบริษัท Dark Matter นั้นได้ปฏิเสธและก็ไม่ได้ถูกตั้งข้อหาแต่อย่างใด โดยบริษัทนี้เป็นที่รับรู้กันดีว่ามีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มาโดยตลอด
ข้อมูลในเอกสารที่รั่วไหลออกมาได้แสดงให้เห็นว่า ชีค ทาห์นูน ที่ปรึกษาความมั่นคงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นเป็นเจ้าของบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินผ่านการถือหุ้นที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือ (bearer shares) ซึ่งลักษณะหุ้นดังกล่าวนี้จะเป็นความลับเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ
ทั้งนี้ ชีค ทาห์นูน ถูกดึงเข้าไปมีส่วนพัวพันเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาวทางการเมืองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากกรณีที่นายโทมัส บาแร็ค มหาเศรษฐีผู้เป็นประธานคณะกรรมการเข้ารับตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อปี 2559 นั้นถูกฟ้องจากทางการสหรัฐฯว่านายบาแร็คได้ดำเนินการในฐานะบุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียนสำหรับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือบุคคลในระดับสูง ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าคือชีค ทาห์นูน ในแง่ของการปรับเปลี่ยนนโยบายทีมบริหารงานของนายทรัมป์ ซึ่งทางนายบาแรคก็ได้ให้ปากคำไปแล้วว่าตัวเขานั้นไม่ได้ทำอะไรที่ผิดในเรื่องนี้
ซึ่งจากกรณีนี้ทั้งชีค โมฮัมเหม็ด และ ชีค ทาห์นูน รวมไปถึงสมาชิกราชวงศ์คนอื่นๆ,สถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในกรุงวอชิงตัน,สำนักงานสื่อในนครดูไบ และรัฐบาลกรุงอาบูดาบี ทั้งหมดนั้นก็ไม่มีใครที่ตอบคำถามของ ICIJ แต่อย่างใด
อนึ่งก่อนหน้านี้นั้นทางรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เคยระบุไปแล้วว่า “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นดำเนินบทบาทในการปกป้องความสมบูรณ์ของระบบการเงินทั่วโลกอย่างจริงจัง”
@บริษัทที่ผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่นายฟิโรซ พาเทล อดีตผู้ให้บริการด้านธุรกรรมออนไลน์จากรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ที่ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความผิดในฐานฟอกเงินจำนวนกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,208,750,000 บาท) ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการค้าสื่อลามกเด็ก และฐานความผิดอื่นๆ โดยนายพาเทลได้บอกกับผู้พิพากษาชาวอเมริกันว่าตัวเขารู้สึกละอายต่อสิ่งที่เขาทำ
นายฟิโรซ พาเทล
แต่อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาก็ได้บอกว่าถ้าหากเขาบริสุทธิ์จริงก็คงไม่มีการก่อตั้งรูปแบบของการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่มีความซับซ้อนเพื่อการฟอกเงินขึ้นมาเป็นระยะเวลานานหลายปี
ผู้พิพากษากล่าวต่อไปด้วยว่านายพาเทลนั้นได้ชักชวนให้มีการโอนเงินจาก “กลุ่มบริษัทที่รู้กันว่าดำเนินธุรกิจอันผิดกฎหมาย” และมีการขีดฆ่ารายชื่อลูกค้าและบันทึกต่างๆออกไป เพื่อปกปิดกรณีการทำผิดกฎหมายของทั้งตัวนายพาเทลเองและลูกค้าของเขา
โดยในช่วงปี 2560 ทางการสหรัฐฯก็เริ่มที่จะมีการติดตามตัวนายพาเทลและธุรกิจเว็บโอนเงินของเขา นั่นจึงเป็นเหตุทำให้นายพาเทลต้องมองหาการจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขตเพื่อดำเนินกิจกรรมของเขาต่อไป
และก็ปรากฏข้อมูลในเอกสารแพนโดราว่า บริษัท SFM ณ นครดูไบ ได้เข้ามาช่วยเหลือนายพาเทลในกรณีการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวนี้เอง
ข้อมูลเอกสารระบุต่อไปว่าในช่วงเดือน เม.ย. 2560 บริษัท SFM ได้จัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่งให้กับนายพาเทล โดยระบุที่ตั้งของบริษัทว่าอยู่ที่รัฐราสอัลไคมาห์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งทางด้านของผู้เชี่ยวชาญด้านบริษัทนอกอาณาเขตก็ได้กล่าวว่าที่รัฐราสอัลไคมาห์แห่งนี้นั้นถือได้ว่ามีขอบเขตอำนาจกฎหมายที่มีการปกปิดตัวตนในระดับสูงสุดแห่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในปีถัดมา บริษัท SFM ก็ได้ลาออกจากการเป็นตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทให้กับนายพาเทล โดยระบุสาเหตุว่า “เป็นเหตุผลในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ” ในขณะที่มาตรฐานนานาชาติที่ถูกกำหนดโดยประเทศสหรัฐฯและประเทศมหาอำนาจอื่นๆนั้นระบุชัดเจนว่าให้บริษัทผู้ให้บริการต่างๆซึ่งรวมไปถึงบริษัท SFM นั้นต้องดำเนินการหลีกเลี่ยงจากลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะมีพฤติกรรมการฟอกเงิน,ผู้ก่อกิจกรรมอาชญากรรมอื่นๆและผู้ที่พยายามจะหนีจากการลงโทษของทางรัฐบาล
ต่อมาในปี 2563 นายพาเทลก็ได้รับสารภาพว่ากระทำความผิดจริง ณ ศาลส่วนกลาง ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยผู้พิพากษาก็ได้ตัดสินโทษจำคุกนายพาเทลเป็นระยะเวลา 3 ปี
อนึ่งนายพาเทลนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในลูกค้าจำนวน 24 รายของบริษัท SFM ที่ถูกกล่าวหาว่ามีคดีอาชญากรรม,การฟ้องร้องคดี หรือการกระทำความผิดต่างๆ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลของ ICIJ พบว่ามีลูกค้าอีกอย่างน้อยจำนวน 12 ราย ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรม และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีด้วยเช่นกัน
ขณะที่นายพาเทลก็ได้กล่าวผ่านทนายความของตัวเองว่าบริษัทที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตซ์ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาใดๆที่สหรัฐอเมริกาเลยและบริษัทที่ว่ามานี้นั้นก็ได้หยุดการดำเนินกิจกรรมไปแล้วนับตั้งแต่ที่ได้มีการก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 1 ปีครึ่ง และนายพาเทลก็ได้เน้นย้ำว่าธุรกิจที่เขาไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น “ไม่ได้ผิดกฎหมายโดยเนื้อแท้” และปัญหาด้านกฎหมายที่เขาต้องเผชิญก็เนื่องมาจากลูกจ้างของบริษัทที่ไม่ดีเพียงไม่กี่คนและคู่ค้าที่ไม่ดีของบริษัทซึ่งสร้างความเสียหายให้กับตัวเขาเท่านั้น
ขณะที่ทนายความของบริษัท SFM ก็ปฏิเสธที่จะตอบคำถามในคดีที่เกี่ยวข้องกับทาง ICIJ โดยกล่าวว่าการกระทำเช่นนั้นถือว่าเป็น “การละเมิดต่อความลับของลูกค้าอย่างร้ายแรง” และขอยืนยันว่าเมื่อ SFM ได้มีการให้บริการแก่ลูกค้า ทางบริษัทได้มีการใช้เครื่องมือการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน และบริษัทได้ปฏิเสธที่จะทำงานให้กับลูกค้าเมื่อพบข้อมูลในเชิงลบเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้น
@ความเสี่ยงสูง
อนึ่งข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท SFM นั้นพบว่าบริษัทแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2549 โดยนายเรซา อัฟชาร์ อดีตนายธนาคาร โดยบริษัทแห่งนี้เคยมีที่ทำการอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะย้ายไปยังนครดูไบในเวลาต่อมา โดยบริษัทยังคงที่ทำการในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอาไว้อยู่
ซึ่งตัวบริษัทก็ได้นำเสนอตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ความแข็งแกร่งในด้านการวางแผนการเงินต่างๆ และบริษัทนี้ก็ยังเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของกูเกิลในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีข้อมูลว่าบริษัทแห่งนี้จ่ายเงินมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป ในการทำโฆษณาหน้าเว็บและแคมเปญอื่นๆ
ต่อมาในปี 2556 คณะกรรมาธิการกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศสก็ได้มีการตรวจสอบถึงบทบาทของธนาคารและและผู้เล่นทางการเงินรายอื่นๆว่ามีพฤติกรรมการหนีภาษีอันเกี่ยวข้องการให้บริการของบริษัท SFM บางอย่างที่ถูกโฆษณาออนไลน์ ซึ่งบริการที่ว่ามานี้นั้นก็รวมไปถึงการปฏิบัติการณ์ ณ บริษัทนอกอาณาเขต การจัดหาผู้อำนวยการหรือผู้ถือหุ้น “เพื่อทำหน้าที่ในการปกปิดตัวตนของผู้จัดการหรือว่าตัวตนของเจ้าของบริษัทที่แท้จริง”
โดยคณะกรรมาธิการฝรั่งเศสได้เรียกโฆษณาการให้บริการของบริษัท SFM ว่าเป็นการยุยงให้เกิดการหลีกเลี่ยงและเป็นการฉ้อโกงภาษี
ขณะที่ทนายความของบริษัท SFM ก็ได้กล่าวตอบคำถามเกี่ยวกับข้อกล่าวหาของคณะกรรมาธิการฯว่า บริษัทนั้นไม่เชื้อว่าข้อกล่าวหานี้เป็นจริงแม้แต่น้อย และระบุว่าไม่มีอะไรที่ผิดปกติโดยเนื้อแท้เกี่ยวกับเป้าหมายการลดการจ่ายภาษี
ทั้งนี้การตรวจสอบข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ต่อสาธารณชนนั้นเพิ่งจะมีการดำเนินการไปเมื่อปี 2560 ในช่วงเวลาที่บริษัท SFM ได้มีการก่อตั้งบริษัทให้กับนาย ฟิโรซ พาเทล ซึ่งได้ถูกระบุไปแล้วว่าเป็นลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง
อนึ่ง ย้อนไปเมื่อปี 2555 หน่วยงานของรัฐบาลในรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐฯ ได้มีการตั้งข้อหากับนายพาเทลใน 2 ข้อหาอันเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน และต่อมาในปี 2556 หน่วยงานกํากับดูแลทางการเงินของของรัฐเคนตั๊กกี้ได้กล่าวหาบริษัท Payza ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทของนายพาเทลที่ดำเนินธุรกรรมทางการเงินว่ามีพฤติกรรมการส่งเอกสารอันเป็นเท็จและบิดเบือนต่อความเป็นจริง รวมไปถึงข้อกล่าวหาที่ว่าดำเนินกิจกรรมธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ต่อมาในปี 2559 ก็มีข้อมูลปรากฏต่อสาธารณะว่าบริษัท Payza นั้นมีส่วนเชื่อมโยงไปถึงบริษัท ZeekRewards ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจออนไลน์ที่มีข้อกล่าวหาฉ้อโกงอีกแห่งหนึ่ง โดยบริษัท ZeekRewards แห่งนี้มีที่ตั้งอยู่ในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยพฤติกรรมของบริษัทแห่งนี้นั้นจะเป็นการให้คำสัญญากับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายเล็กทั่วโลกว่าจะได้รับผลตอบแทนครั้งใหญ่กลับมา
ซึ่งทางด้านของอัยการที่ถูกแต่งตั้งจากผู้พิพากษาในคดีล้มละลายก็ได้ดำเนินการสอบสวนพบว่าบริษัท Payza นั้นเป็นแหล่งเงินจำนวนกว่า 900 ล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ (29,551,500,000 บาท) ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนั้นก็ถูกใช้ในกิจกรรมการฉ้อโกงแบบพอนซี (Ponzi scheme เป็นปฏิบัติการลงทุนแบบฉ้อฉลที่ผู้ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือเป็นองค์กร จ่ายผลกำไรให้แก่นักลงทุนโดยใช้เงินลงทุนใหม่จากนักลงทุนใหม่ แทนที่จะใช้ผลกำไรที่ผู้ดำเนินการลงทุนหาได้ ผู้ดำเนินการวิธีนี้มักจะโน้มน้าวชักชวนผู้ลงทุนใหม่ โดยให้ผลกำไรที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น ๆ ในรูปแบบที่ได้ผลเร็ว ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่สูงหรืออย่างสม่ำเสมอโดยไม่น่าเชื่อ)
และพฤติกรรมดังกล่าวนั้นก็ถูกรายงานข่าวไปบนโลกออนไลน์เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนที่บริษัท SFM จะตั้งบริษัทที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้กับนายพาเทล
หน้าเว็บบริษัท SFM Corporate Services
ซึ่งในกรณีนี้ทางทนายความของบริษัท SFM กล่าวว่าบริษัทได้พยายามตรวจสอบอย่างแข็งขันเมื่อจะจัดตั้งบริษัทใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ว่าตามธรรมชาติแล้วบริษัทก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะค้นหาข่าวได้ทั่วโลก
อย่างไรก็ตามอดีตลูกจ้างของ SFM ทั้งในนครดูไบและในทวีปยุโรปกล่าวว่าบริษัทนั้นสนใจแต่การเติมโตของธุรกิจจนไม่สนใจที่จะดูในเรื่องของธงแดงและตรวจสอบภูมิหลังของลูกค้า
โดยมีรายงานว่าแม้ว่าพนักงานของบริษัท SFM อาจจะมีความสงสัยในตัวลูกค้าอยู่บ้าง แต่ก็เลือกที่จะเชื่อคำพูดของลูกค้าเกี่ยวกับประวัติภูมิหลังและกิจกรรมทางการเงิน
“ลูกค้าสามารถกล่าอะไรก็ได้เกี่ยวกับธุรกิจของพวกเขา ซึ่งมันเป็นเรื่องง่ายที่จะทำตัวโง่และกล่าวว่านี่คือสิ่งที่ลูกค้าบอกเรา” อดีตลูกจ้างรายหนึ่งที่ไม่ระบุนามกล่าว
ขณะที่อดีตพนักงานอีก 2 คนกล่าวว่าบริษัท SFM นั้นเคยรับลูกค้าที่มาจากประเทศอิหร่านและประเทศอื่นๆที่ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากประเทศสหรัฐฯและมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงว่าลูกค้าเหล่านั้นอาจมีความเชื่อมโยงกับบุคคลหรือบริษัทที่อยู่ในรายการการคว่ำบาตร
ส่วนข้อมูลจากการตรวจสอบของ ICIJ ที่มาจากเอกสารภายในของบริษัท SFM พบว่าบริษัท SFM นั้นเคยดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำนวน 2 แห่งให้กับพลเมืองอิหร่านสัญชาติเยอรมนีชื่อว่านายอับดุลฮาดี ทาบิบี ซึ่งหนึ่งบริษัทที่ว่ามานี้นั้นคือบริษัทชื่อว่า Mehr Trade Ltd
และจากข้อมูลบันทึกระบุด้วยว่านายทาบิบีนั้นเป็นผู้อำนวยการบริษัทอีกแห่งที่ชื่อว่า GIC International ซึ่งบริษัทนี้จดทะเบียนที่ประเทศอิหร่านในฐานะบริษัทย่อยของบริษัท Ghadir Investment ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าบริษัทนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของ อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Ali Khamenei) ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน
โดยทางประเทศสหรัฐฯได้มีมาตรการการคว่ำบาตรสลับกับถอนการคว่ำบาตรมูลนิธิของคาเมเนอี และการลงทุนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว เนื่องจากมีประเด็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ดังนั้นอิหร่านจึงได้ใช้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ยาวนานกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
ขณะที่ทางด้านของนายทาบิบีและบริษัทที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้ตอบคำถามของ ICIJ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ และประเด็นว่าบริษัทดังกล่าวนั้นเชื่อมโยงกับผู้นำสูงสุดของประเทศอิหร่านหรือไม่แต่อย่างใด
ส่วนลูกค้าอีกรายของบริษัท SFM ที่ปรากฎชื่อในเอกสารแพนโดราก็คือนายซาเมียร์ ทราบูลซี นักการเงินชาวเลบานอนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกปรับในปี 2536 เนื่องจากมีส่วนร่วมในกรณีอื้อฉาวเรื่องการขายที่ดินครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาในช่วงปี 2557 ก็มีการตัดสินจำคุกนายอาจาซ ซัดดิก ผู้บริหารบริษัทแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี หลังจากที่ทางการพบว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องเหล่านี้ด้วยการฉ้อโกงภาษีคิดเป็นมูลค่ากว่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เรียบเรียงจาก:https://www.icij.org/investigations/pandora-papers/pandora-papers-reveal-emirati-royal-families-role-in-secret-money-flows/
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/