รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ยังได้มีการจัดซื้อเวชภัณฑ์จากบริษัทนี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าหลังจากที่เจ้าของบริษัทซึ่งก็คือนาย หวง ซึ เยน หรือ Huang Tzu Yen ถูกสอบสวนโดยอัยการเขตกรุงไทเปในเดือน ส.ค. 2563 และต่อมาในเดือน ธ.ค. 2563 ทางอัยการก็มีการออกหมายจับสากลกับนายหวง พร้อมกับผู้ที่เป็นบิดาซึ่งก็คือนาย หวงเหวินลี (Huang Wen Lie) หรืออีกชื่อก็คือนายโทนี่ หวง ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ในกลุ่มฟาร์มัลลี่ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง
...................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอนำเสนอกรณีการจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์อันเกี่ยวข้องกับการรับมือโรคระบาดไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ซึ่งมีบริษัทผู้ที่ได้รางวัลก็คือบริษัทของนักโทษหนีคดีของประเทศไต้หวัน
โดยสำนักข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้รายงานขมวดปมดังกล่าวว่าทางวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ ณ เวลานี้ได้มีการสอบสวนในกรณีที่บริษัทยาแห่งหนึ่งได้รับสัญญาจัดซื้อจัดจ้างคิดเป็นมูลค่าพันล้านเปโซเพื่อที่จะจัดส่งชุดป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือว่าชุดพีพีอี หน้ากากอนามัย และชุดตรวจโควิด แต่ปรากฎข้อมูลในภายหลังว่าเจ้าของบริษัทนั้นเป็นผู้ที่มีหมายจับในประเทศไต้หวันในข้อหาเรื่องการฉ้อโกงหลักทรัพย์
ซึ่งบริษัทที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มอบสัญญาให้ก็คือบริษัทที่ชื่อว่าฟาร์มัลลี่ ฟาร์มาซูติคัล หรือ Pharmally Pharmaceutical Corporation โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มีการสั่งซื้อเวชภัณฑ์กับบริษัทนี้เป็นจำนวนหลายรายการคิดเป็นมูลค่า 8.7 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 173 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,665,394,481 บาท)นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563- ก.ค. 2564
และรัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ยังได้มีการจัดซื้อเวชภัณฑ์จากบริษัทนี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าหลังจากที่เจ้าของบริษัทซึ่งก็คือนาย หวง ซึ เยน หรือ Huang Tzu Yen ถูกสอบสวนโดยอัยการเขตกรุงไทเปในเดือน ส.ค. 2563 และต่อมาในเดือน ธ.ค. 2563 ทางอัยการก็มีการออกหมายจับสากลกับนายหวง พร้อมกับผู้ที่เป็นบิดาซึ่งก็คือนาย หวงเหวินลี (Huang Wen Lie) หรืออีกชื่อก็คือนายโทนี่ หวง ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ในกลุ่มฟาร์มัลลี่ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง หรือ Pharmally International Holding โดยบริษัทนี้นั้นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทเป
ทั้งนี้จากข้อมูลบันทึกของทางรัฐแสดงให้เห็นว่าทางรัฐบาลฟิลิปปินส์นั้นยังได้มีการสั่งซื้อสินค้ารายการล่าสุดเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเป็นชุดทดสอบโควิดแบบเรืองแสงจำนวน 2 ราคา ได้แก่ชุดทดสอบมูลค่า 45,550 เปโซ (29,661) ต่อหน่วย คิดเป็นมูลค่าการจัดซื้อรวม 774 ล้านเปโซ (504,024,750 บาท) และชุดทดสอบมูลค่า 37,450 เปโซ (24,387 บาท) ต่อหน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม 1 พันล้านเปโซ (651,194,768 บาท) โดยการจัดซื้อดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ 2 พ่อลูกจากบริษัทฟาร์มัลลี่กำลังหนีคดี
“ทำไมเราถึงได้มีข้อตกลงกับกลุ่มบุคคลและบริษัทอันดำมืดเหล่านี้” นางริซ่า ฮอนทเวรอส (Risa Hontiveros) ส.ว.จากพรรค Akbayan ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านตั้งคำถามเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา
พรรค Akbayan ทำรายละเอียดความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ เผยแพร่ลงบนเฟซบุ๊กพรรค
นางฮอนเทวรอสกล่าวต่อไปว่าตัวเธอนั้นรู้สึกประหลาดใจและไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่นายลอยด์ คริสโตเฟอร์ เหลา (Lloyd Christopher Lao) ผู้ช่วยเลขานุการในกระทรวงงบประมาณและการจัดการซึ่งได้เข้ามาเป็นผู้ดูแลการจัดซื้อจัดจ้างนี้ ได้ออกมายอมรับกับทางวุฒิสภาว่าเขาได้มีการข้ามขั้นตอนการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับบริษัทด้วยข้ออ้างว่า เขาต้องดำเนินการเพื่อแย่งชิงสินค้าเวชภัณฑ์นี้เลยไม่ได้ตรวจสอบ
“แค่ค้นอินเทอร์เน็ตเล็กน้อย นายเหลาก็น่าจะพบข้อมูลแล้วว่าทั้งพ่อและลูกซึ่งมีส่วนบริหารบริษัทนี้กำลังกลายเป็นนักโทษหลบหนีคดี” นางฮอนเทวรอสกล่าว
ทางวุฒิสภายังได้มีการสอบสวนต่อไปว่าทำไมถึงได้มีการทำสัญญาขนาดใหญ่ในช่วงแรกกับบริษัทที่เพิ่งจะตั้งได้ประมาณปีก่ว่าด้วยทุนจดทะเบียนแค่ประมาณ 625,000 เปโซ (406,996 บาท) และยังไม่มียอดขายในช่วงปีแรก
และภายหลังจากการจัดซื้อไปแล้ว บริษัทนี้ยังถูกกล่าวหาว่าได้ขายชุดพีพีอีเป็นราคาที่แพงเกินจริงให้กับทางประเทศฟิลิปปินส์ โดยในช่วงของการสอบสวนของวุฒิสภาพบข้อมูลว่ามีการขายหน้ากากอนามัยในช่วงราคาตั้งแต่ 13-27 เปโซ (8.47-17.58 บาท) ต่อชิ้น ขณะที่กาชาดฟิลิปปินส์สามารถจัดซื้อหน้ากากอนามัยมาได้ด้วยราคาชิ้นละ 5 เปโซ (3.26 บาท)
ซึ่งจากการตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจต่อกรณีเรื่องอื้อฉาวดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับมีการตั้งคำถามว่าในลำดับการบริหารงานของบริษัทนั้นมีอิทธิพลโยงใยไปถึงใครกันบ้าง
“เราเห็นรูปแบบการทุจริตที่กระทำโดยผู้ช่วยเลขานุการเหลาและ เพื่อนร่วมงานของเขา ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะกระทำโดยนายเหลาคนเดียว เขาต้องมีผู้หนุนหลัง และเราต้องรู้ให้ได้ว่าผู้หนุนหลังคนนี้คือใคร” นายแฟรงคลิน ดริลลอน (Franklin Drilon) ส.ว.จากพรรคฝ่ายค้านกล่าวในกระบวนการสอบปากคำเมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การสอบสวนดังกล่าวนี้ ก็ใช่ว่าจะเป็นการสอบสวนเดียวที่เกิดขึ้นแล้วโยงใยไปถึงนายโรดริโก้ ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพราะ ณ เวลานี้ วุฒิสภายังได้ดำเนินการสอบสวนว่านายไมเคิล หยางอดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีนั้นเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลงด้วยหรือไม่
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นวุฒิสภาได้มีการตรวจสอบวิดีโอที่บันทึกเอาไว้ในปี 2560 ที่ทำเนียบรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งในวิดีโอพบว่านายหยางได้แนะนำนายดูเตอร์เต้ให้รู้จักกับผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทฟาร์มัลลี่ ซึ่งรวมไปถึง 2 พ่อลูกที่กำลังหนีคดี ณ เวลานี้
การพบปะกันระหว่างนายดูเตอร์เต้ กับฝ่ายบริหารของบริษัทฟาร์มัลลี่ (อ้างอิงวิดีโอจาก RTVMalacanang)
“ดูเหมือนว่าทางฟาร์มัลลี่นั้นจะมีเพื่อนอยู่ในระดับที่สูง” นางฮอนเทวรอสกล่าว
อนึ่งสำนักข่าวอัยการของไทเปได้กล่าวหาสองพ่อลูกนายหวังและนายเจิ้ง บิงเฉียง (Zheng Bingqiang) ในความผิดข้อหาปั่นหุ้น,ทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินและโยกย้ายทรัพย์สินของบริษัทโดยผิดกฎหมายภายในกลุ่มบริษัทฟาร์มัลลี ซึ่งส่งผลทำให้ตัวบริษัทนั้นเป็นหนี้ธนาคารกวางโจวในเมืองเซี่ยเหมินกว่า 237,220,000 หยวน (1,193,911,104 บาท)
นางฮอนเทวรอสกล่าวต่อไปว่านายเจิ้งยังได้มีส่วนเชื่อมโยงไปถึงนายหยางและเคยพบกับนายดูเตอร์เต้ เนื่องจากพบข้อมูลว่านายเจิ้งนั้นเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของบริษัท Full Win group ในช่วงเดียวกับที่นายหยางเป็นประธานของบริษัท Full Win ประเทศฟิลิปปินส์
“อันที่จริง นายเจิ้ง บิงเฉียง เคยพบกับนายดูเตอร์เต้ในปี 2558 ในช่วงเวลาที่นายดูเตอร์เต้อยู่ในช่วงเวลาโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเป็นประธานาธิบดี และก็เป็นช่วงปี 2558 เช่นเดียวกันที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ได้ไปเยี่ยมชมที่ทำการบริษัท Full Win ในเมืองเซี่ยเหมินพร้อมกับนายหยาง”นางฮอนเทวรอสกล่าวและกล่าวย้ำว่านอกจากนี้ยังมีวิดีโอที่นายดุเตอร์เต้ไปพบกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทฟาร์มัลลี่ในปี 2560 ด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้เธอเชื่อว่าเรื่องนี้นั้นมีอะไรมากกว่าที่ประธานาธิบดีได้ออกมาชี้แจง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น นายดูเตอร์เต้ได้ออกมาแก้ต่างในข้อกล่าวหาจากการสอบสวนของทางวุฒิสภาผ่านการออกอาการสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล RTVM โดยเขากล่าวว่าตัวเขานั้นรู้จักกับเพื่อนคือนายหยางเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว นับตั้งแต่เจอกันครั้งแรกที่เมืองดาเวา
โดยในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ทางวุฒิสภาจะเรียกตัวนายหยาง,กลุ่มผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทฟาร์มัลลี่และเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำต่อไป
เรียบเรียงจาก:https://www.scmp.com/week-asia/politics/article/3147308/philippines-gave-us173-million-pandemic-supplies-contracts-firm,https://teznews.online/philippines-gave-us173-million-pandemic-supplies-contracts-to-a-firm-owned-by-a-fugitive-from-taipei-senator-asks-didnt-you-google/
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/