เครื่องบินแอร์บัส A319 ที่ ณ เวลานี้ยังคงทำการบินภายใต้สีและโลโก้ของสายการบิน MAI แม้ว่าจะยังคงอยู่ในช่วงของการทำเอกสารการจัดซื้อก็ตาม แต่ทางด้านของ Justice For Myanmar ก็ได้นำข้อมูลออกมาเปิดเผยบนเว็บไซต์เพิ่มเติมว่าเจ้าของที่แท้จริงของเครื่องบิน A319 ก็คือกองทัพเมียนมานั่นเอง
.....................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอขยายปมการทุจริตของกองทัพเมียนมาอันเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
โดยเมื่อวันที่ 10 ก.พ. สำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตคอรัปชั่น (OCCRP) ได้รายงานข่าวว่าบริษัทฮ่องกงแห่งหนึ่งได้ดำเนินการตัดความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมาหลังก่อเหตุการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยได้มีการยกเลิกสัญญาที่จะอัพเกรดเครื่องบินพาณิชย์ที่จะใช้เป็นเครื่องบินวีไอพีสำหรับเหล่าบรรดานายพลในกองทัพเมียนมา หลังจากที่ก่อนหน้านี้นั้นสำนักข่าว OCCRP ได้เคยเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าวไปแล้ว(อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก: กองทัพพม่าใช้บริษัทลูกจัดซื้ออาวุธ หลังโดนอียูคว่ำบาตรปมโรฮีนจา)
ย้อนไปเมื่อเดือน ธ.ค.สำนักข่าว OCCRP ได้เคยเผยแพร่รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่กองทัพอากาศเมียนมาได้ทำกับบริษัทฮ่องกงที่ชื่อว่า HAECO Xiamen ทั้งนี้รายละเอียดของสัญญาระบุว่าบริษัทแห่งนี้ได้ตกลงอัพเกรดเครื่องบินแอร์บัสรุ่น A319 ที่จะใช้ในสายการบินพาณิชย์ โดยมีการระบุคุณสมบัติว่าสามารถใช้ทำภารกิจวีไอพีได้ พร้อมถึงมีการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตและระบบความบันเทิงบนเครื่องบินประกอบกัน
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้น ทางด้านของกลุ่มนักกิจกรรมความยุติธรรมเพื่อเมียนมา หรือ Justice For Myanmar (JFM) ได้มีการส่งข้อมูลมาให้กับสำนักข่าว OCCRP โดยเป็นข้อมูลเอกสารลับ สรุปข้อตกลงการปรับปรุงเครื่องบิน และมีบริษัทคนกลางเมียนมาแห่งหนึ่งชื่อว่า Aero Sofi เป็นผู้ดำเนินการทำข้อตกลง
ขณะที่ทางด้านของบริษัท HAECO ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกับสำนักข่าว OCCRP หลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานข่าวไปเมื่อช่วงเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ว่าพอหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. บริษัท HAECO ถึงออกมากล่าวว่าข้อตกลงปรับปรุงเครื่องบินมูลค่า 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (143,376,000 บาท) ถูกยกเลิกไปแล้วในเดือน ม.ค.
“บริษัท HAECO ยืนยันว่าเคยมีข้อตกลงกับบริษัทเมียนมาชื่อว่า Aero Sofi ในการดำเนินการปรับปรุงเครื่องบิน แต่ว่าสัญญานั้นถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว ก่อนที่จะได้มีการเริ่มงานใดๆบนตัวเครื่องบิน” บริษัทระบุในอีเมลตอบกลับ
อนึ่งการสอบสวนของ OCCRP ได้เปิดโปงว่ากองทัพเมียนมาหรืออีกชื่อคือ ตั๊ดมะดอ (Tatmadaw) ได้มีการกักตุนอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) แม้ว่าในช่วงปี 2561 อียูจะได้เพิ่มความเข้มข้นมาตรการการกีดกันการค้ากับกองทัพเมียนมาที่กินเวลานานนับทศวรรษ เพื่อตอบโต้กรณีข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพเมียนมาก็ตาม
นอกเหนือจากเครื่องบินสายการบินพาณิชย์ ที่จะถูกปรับปรุงให้เป็นเครื่องบินรองรับภารกิจวีไอพีแล้ว ยังพบเอกสารที่หลุดออกมาระบุถึงแผนการที่จะซื้อเครื่องบินจากกองทัพอากาศจอร์แดนด้วยเช่นกัน
@เครื่องบินจากกองทัพอากาศจอร์แดน
หลังจากที่สำนักข่าว OCCRP ได้มีการเปิดเผยข่าวการจัดซื้อเครื่องบิน C295 ของกองทัพเมียนมาจากทางกองทัพอากาศจอร์แดนไปแล้ว ทางด้านของโฆษกกองทัพเมียนมาในตอนแรกก็ได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินมูลค่า 38.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,152,982,000 บาท) ดังกล่าว แต่ในเวลาถัดมาก็มีการยืนยันข้อตกลงนี้ว่าเป็นความจริง หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวไปสักระยะหนึ่ง
“เหตุผลที่กองทัพบกได้ซื้อเครื่องบินเหล่านี้มานั้นไม่ใช่เพราะจะใช้ในภารกิจการขนส่งทางทหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องใช้ในภารกิจการขนส่งที่จำเป็นต่อรัฐด้วยเช่นกัน” พลจัตวาซอ มิน ตัน (Zaw Min Tun) กล่าวเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.
พลจัตวาซอ กล่าวต่อไปด้วยว่า กองทัพอากาศเมียนมาเองก็ต้องใช้เครื่องบินที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อภารกิจด้านการบรรเท่าสาธารณภัย และทำภารกิจการจัดส่งบัตรเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามแต่ เนื่องจากว่าเครื่องบิน C295 นั้นเป็นเครื่องบินทหาร จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของระเบียนการควบคุมอาวุธนานาชาติ หรือก็คือ การขายเครื่องบินชนิดนี้นั้นจะต้องมีใบอนุญาตของทางการจากประเทศสเปนที่เป็นสมาชิกอียูและเป็นสถานที่ผลิตเครื่องบินนี้ ก่อนที่กองทัพอากาศจอร์แดนจะสามารถดำเนินการขายเครื่องบินชนิดนี้จำนวน 2 เครื่องให้กับทางกองทัพเมียนมาได้
แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนจากโฆษกกองทัพอากาศจอร์แดนว่ามีการส่งเครื่องบินไปแล้วหรือยัง และเครื่องบินที่ว่านั้นได้รับใบอนุญาตขายจากทางกรุงมาดริดแล้วหรือไม่
ขณะที่กระทรวงกลาโหมประเทศสเปนก็ยังไม่ตอบคำถามของสำนักข่าวแต่อย่างใด เช่นเดียวกับบริษัทแอร์บัสที่ได้ชี้แจงว่าไม่มีส่วนในการขายสินค้าใดๆให้กับทางเมียนมาแต่อย่างใด
“แอร์บัสไม่เคย และจะไม่ขายสินค้าหรือบริการให้กับเมียนมา ซึ่งยังอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรทางการค้า และการควบคุมการส่งออกอย่างเด็ดขาด”นายฌอน ลี (Sean Lee) โฆษกแอร์บัสระบุในอีเมล
ส่วนบริษัท Aero Sofi ก็ปฏิเสธการการตอบคำถามทั้งการจัดซื้อเครื่องบินรุ่น C295 และเครื่องบินแอร์บัสรุ่น A319 เช่นกัน
@ธุรกิจที่เสี่ยง
ทั้งนี้การจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A319 มีความแตกต่างจากการจัดซื้อเครื่องบินจากกองทัพอากาศจอร์แดน เพราะว่าเป็นการโอนเครื่องบิน A319 จากสายการบินมายังกองทัพเมียนมา ซึ่งการกระทำเช่นนั้นจะทำให้ไม่เป็นการละเมิดต่อบทลงโทษของอียู เนื่องจากว่าไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์ในการทหาร โดยเครื่องบินดังกล่าวนั้นถูกใช้งานในสายการบินนานาชาติเมียนมาหรือ Myanmar Airways International (MAI)
เครื่องบินแอร์บัส A319ของสายการบิน Myanmar Airways International ลงจอดที่สนามบินดอนเมืองเมื่อตอนปี 2557
โดยนับตั้งแต่การรัฐประหาร ข้อตกลงใดๆก็ตามที่มีเกี่ยวกับกองทัพเมียนมาก็ถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมา กองทัพเมียนมามีผลประโยชน์อย่างกว้างขวางในภาคเศรษฐกิจของเมียนมาเอง อาทิการเป็นเจ้าของกิจการบริษัทสบู่ บริษัททำเหมือง บริษัทท่องเที่ยว บริษัทโทรคมนาคม และกิจการธนาคาร
ในช่วงปี 2556 หรือตลอดเกือบ 50 ปีที่กองทัพเมียนมาได้ครองอำนาจ กองทัพเมียนมาได้เริ่มมีการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ และมีการถ่ายโอนอำนาจไปสู่ความเป็นรัฐบาลพลเรือนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนี่ก็ทำให้สหรัฐอเมริกา,แคนาดา,อียู และออสเตรเลียได้ผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรกับเมียนมาลงไป
แต่หลายบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมียนมานั้นกลับต้องพบว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ลำบาก เนื่องจากพบว่าพวกเขาต้องทำธุรกิจในประเทศเคยถูกควบคุมด้วยทหารและยังเป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเดียวตัวเองมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ขณะที่กลุ่ม Justice For Myanmar ก็ได้มีการปล่อยเอกสารเพิ่มเติม ระบุถึงรายชื่อบริษัทจำนวน 130 แห่ง ที่นับตั้งแต่การยึดอำนาจ บริษัทเหล่านี้ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพและทำหน้าที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญ โดยทาง Justice For Myanmar ได้อ้างถึงบริษัทได้แก่บริษัท Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE) ที่เป็นคู่ค้ากับบริษัทข้ามชาติชั้นนำด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และบริษัทเทคโนโลยีคมนาคมเมียนมาแห่งหนึ่งชื่อว่า MPT ที่เป็นคู่ค้ากับบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
@เที่ยวบินลึกลับ
กลับมาที่ประเด็นเครื่องบินแอร์บัส A319 ที่ ณ เวลานี้ยังคงทำการบินภายใต้สีและโลโก้ของสายการบิน MAI แม้ว่าจะยังคงอยู่ในช่วงของการทำเอกสารการจัดซื้อก็ตาม แต่ทางด้านของ Justice For Myanmar ก็ได้นำข้อมูลออกมาเปิดเผยบนเว็บไซต์เพิ่มเติมว่าเจ้าของที่แท้จริงของเครื่องบิน A319 ก็คือกองทัพเมียนมานั่นเอง
ซึ่งจากการติดตามข้อมูลทางอากาศยาน ก็พบว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกจดทะเบียนด้วยหมายเลขจดทะเบียน XY-AGR และได้ทำการบินระยะสั้นในเมียนมาตั้งแต่ช่วง ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยสนามบินที่เครื่องบินลำนี้ได้ขึ้นบินและลงจอด ส่วนมากก็จะอยู่ที่สนามบินในเมืองย่างกุ้งและพบว่ามีอย่างน้อยครั้งหนึ่งที่เครื่องบินลำนี้ได้เดินทางไปกรุงเนปิดอว์
อนึ่ง มีรายงานจากเจ้าหน้าที่สายการบิน MAI รายหนึ่งที่ไม่ระบุนามเนื่องจากเป็นกังวลต่อสถานการณ์การเมืองเมียนมากล่าวว่าเที่ยวบินที่บินไปมาหลายครั้งนั้นเป็นการบินเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการทดสอบ และมีนักบินจากกองทัพอากาศที่มีประสบการณ์สูงเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเครื่องบิน โดยเครื่องบินลำนี้จะไม่ปรากฏอยู่บนตารางของสายการบินภายในประเทศแต่อย่างใด
เจ้าหน้าที่สายการบินรายนี้กล่าวต่อไปว่านี่ถือเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติ และทำให้สายการบิน MAI มีความเป็นกังวลเป็นอย่างยิ่ง โดยพนักงานของสายการบิน MAI บางคนสงสัยว่าทำไมเครื่องบินลำนี้ถึงบินภายใต้ชื่อของสายการบิน และสายการบินจะต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ ถ้าหากเกิดความเสียหายหรือว่าเครื่องบินลำนี้ประสบอุบัติเหตุขึ้นมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.พ. หรือ 1 สัปดาห์หลังการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา มีรายงานว่าเครื่องบินลำนี้บินไปที่สนามบินนานาชาติคลาร์ก ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งสนามบินดังกล่าวนั้นเคยถูกใช้เป็นฐานทัพกองทัพสหรัฐฯ และตอนนี้ก็กลายมาเป็นสนามบินที่รองรับทั้งเครื่องบินพลเรือนและเครื่องบินของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์
โดยไม่ปรากฏข้อมูลเด่นชัดว่าจุดประสงค์ของเที่ยวบินนั้นคืออะไรกันแน่ และมีใครบ้างที่อยู่บนเครื่องบิน ขณะที่ทางด้านของสายการบินก็ได้กล่าวว่าบางครั้งสายการบิน MAI ก็จะใช้สนามบินคลาร์กเพื่อภารกิจในด้านการซ่อมบำรุงเครื่องบิน
ขณะที่ทางด้านของรัฐบาลฟิลิปปินส์และบริษัทเอกชนผู้ที่ดูแลสนามบินก็ปฏิเสธจะให้ความเห็นต่อเรื่องนี้เช่นกัน
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัท-ผู้ลงทุนปริศนา ชนะสัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 8 พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกดขี่แรงงานชาวอุยกูร์ ถึงหน้ากากอนามัยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรป
ส่องคดีทุจริตโลก: กองทัพพม่าใช้บริษัทลูกจัดซื้ออาวุธ หลังโดนอียูคว่ำบาตรปมโรฮีนจา
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม CDC จีนผูกขาด 3 บ.ชุดตรวจโควิดไร้คุณภาพ ส่งผลไวรัสระบาดที่อู่ฮั่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนสหรัฐฯส่อโกงงบโควิด หลังส่งนมเข้าองค์กรการกุศลเครือข่ายบริษัท
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม สธ.ลิทัวเนียซื้อคอร์สรักษาผู้ป่วยโควิด ราคาแพงเกินจริง 24 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อพรรคการเมืองบอสเนียฯรวมหัวใช้งบหลวงแจกของโควิดก่อนเลือกตั้งท้องถิ่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดพิรุธ ซอฟต์แวร์ระบบ ลต.สหรัฐฯให้คะแนน'ไบเดน-ทรัมป์'ผิดที่มิชิแกน
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ รบ.อังกฤษเปิดช่องซื้อชุด PPE แพงไม่เกิน 25% ไม่ต้องแจ้งรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมเมื่อ รบ.อังกฤษทำสัญญาชุด PPE บ.แฟชั่น 6 พัน ล.ไม่ระบุรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐนิวยอร์กถูกวิศวกรเสนอขายเครื่องช่วยหายใจให้'ทรัมป์'ฉ้อโกง
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ สธ.สหรัฐฯ ต่อสัญญา 316 ล.จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์เก็บข้อมูลโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'อียู'ตรวจสอบ'วาติกัน'หลังเจอครหาฉ้อโกงเงินบริจาคนับหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เพนตากอนเอางบช่วยโควิด 3.1 หมื่น ล.ไปพัฒนาอาวุธ,โดรน-ชุดเกราะ
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'เอกชน' สหรัฐฯปลอมแปลงเอกสาร FDA รับรองชุดตรวจโควิด 19
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีนตายปริศนา สู่ข้อพิรุธโครงการวันเบลท์วันโรด
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อโครงการเยียวยา SME สหรัฐฯเจอปัญหากู้เงินซ้ำซ้อน-ฉ้อโกง 3 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage