ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวสเตรทไทม์ได้เดินทางลงพื้นที่ไปยังที่อยู่ ณ ตึกแถว 21/2 เลขที่ 31 ถนน Cantonment เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ก็พบว่าที่มีหนึ่งในผู้ที่อยู่อาศัยระบุชื่อเป็นบริษัท Sashi & Sekar Associates ซึ่งเป็นบริษัทของชายชาวสิงคโปร์แห่งหนึ่งที่ชื่อว่านายกฤษณามูร์ทิ เซการ์ (Krishnamurthy Sekar) โดยนายเซการ์นั้นถูกแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคด้วยเช่นกันเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2563
.................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอกลับไปนำเสนอความคืบหน้ากรณีทุจริตกรณีการจัดซื้อวัคซีนที่ประเทศบราซิลซึ่งเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่สำนักข่าวอิศราได้เคยเสนอประเด็นนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว (อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ,ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน)
โดยสำนักข่าวสเตรทไทม์ของประเทศสิงคโปร์ได้รายงานข้อมูลว่ามีบริษัทในประเทศสิงคโปร์แห่งหนึ่งกลายเป็นตัวละครสำคัญอันเกี่ยวข้องกับการสอบสวนของประเทศบราซิลที่ ณ เวลานี้กำลังสอบสวนในประเด็นข้อพิรุธอันนำไปสู่การยกเลิกการจัดซื้อวัคซีนโควาซินของประเทศอินเดียมูลค่า 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (10,408,824,000 บาท)
ข่าวการยกเลิกการจัดหาวัคซีนโควาซิน (อ้างอิงวิดีโอจาก WION)
ซึ่งทางด้านของคณะกรรมการรัฐสภาบราซิลได้มีการตรวจสอบความผิดปกติอันร้ายแรง หลังจากที่มีผู้เปิดโปงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศบราซิลได้ระบุชื่อบริษัทแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค (Madison Biotech) ณ ประเทศสิงคโปร์ อันเป็นต้นตอของใบแจ้งหนี้ล่วงหน้าอันน่าสงสัยสำหรับค่าวัคซีนวัคซีนโควาซินที่มีราคาแพงผิดปกติ
โดยข้อมูลจากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นประจำประเทศบราซิลได้มีการรายงานการเปิดโปงเอกสารแถลงการณ์จำนวนกว่า 11 หน้าจากคณะกรรมการสอบสวนของทางรัฐสภา พบว่าในวันที่ 19 มี.ค. มีการออกใบแจ้งหนี้ฉบับหนึ่งเรียกเก็บเงินมูลค่า มูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (1,475,235,000 บาท)จากบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค เพื่อเรียกเก็บเงินล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจัดส่งวัคซีนให้กับกระทรวงสาธารณสุขบราซิลเป็นจำนวนกว่า 3 ล้านโดส
ซึ่งทางด้านของอัยการประเทศบราซิลได้มีการกล่าวหาว่าบริษัทเมดิสันนั้นมีพฤติกรรมเป็นบริษัทเปลือกและไม่ได้มีส่วนร่วมในสัญญาแต่อย่างใด
“แม้ว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หรือว่าบรรลุข้อตกลงใดๆ แต่ปรากฏว่าบริษัทภารัต ไบโอเทค ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนโควาซินได้ส่งใบแจ้งหน้าที่มีลักษณะเป็นคุณกับบริษัทต่างชาติในสัญญาที่ชื่อว่าบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค” แถลงการณ์ของคณะสอบสวนของทางรัฐสภาบราซิลระบุ
แต่อย่างไรก็ตาม ทางโฆษกของบริษัทภารัตนั้นก็ได้มีการปฎิเสธการกระทำความผิดทั้งหมดและกล่าวกับสำนักข่าวสเตรทไทม์ว่าบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือจำนวน 13 แห่ง โดยบริษัทแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปีที่ผ่านมาโดยผู้ก่อตั้งคือกฤษณา เอลล่า ด้วยจุดประสงค์ทั้งการวิจัยและการพัฒนาภาย ดำเนินการขายและการพัฒนาวัคซีน
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลแล้วพบว่าบริษัทภารัตไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเคยมีประวัติการส่งออกวัคซีนป้องกันโรคหลายชนิด อาทิ อหิวาตกโรค,ไวรัสซิกา,และโรคชิคุนกุนยา นั้นก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 25 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่าบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค นั้นกลับเพิ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 โดยมีที่อยู่คือ เลขที่ 31 ถนน Cantonment ตามข้อมูลที่ระบุในหน่วยงานบัญชีและกฎระเบียบของประเทศสิงคโปร์
โดยแถลงการณ์จากโฆษกของบริษัทภารัตนั้นไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใดในประเด็นว่าบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค นั้นมีการทำงานร่วมกันกับบริษัทภารัต ไบโอเทค ในด้านสัญญาระดับโลกกับประเทศอื่นๆหรือไม่ นอกเหนือจากประเทศบราซิล
ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวสำนักข่าวสเตรทไทม์ได้เดินทางลงพื้นที่ไปยังที่อยู่ ณ ตึกแถว 21/2 เลขที่ 31 ถนน Cantonment เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ก็พบว่าที่มีหนึ่งในผู้ที่อยู่อาศัยระบุชื่อเป็นบริษัท Sashi & Sekar Associates ซึ่งเป็นบริษัทของชายชาวสิงคโปร์แห่งหนึ่งที่ชื่อว่านายกฤษณามูร์ทิ เซการ์ (Krishnamurthy Sekar) โดยนายเซการ์นั้นถูกแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคด้วยเช่นกันเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2563
นายเซการ์ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสเตรทไทม์ว่าตัวเขาเป็นแค่ตัวแทนกรรมการบริษัท และดำเนินการรับคำแนะนำต่างๆตามแต่ที่ทีทำการบริษัทแม่ในประเทศอินเดียจะสั่งการมา
นายเซการ์ยังได้กล่าวต่อด้วยว่าบริษัทที่เขาเป็นผู้อำนวยการนั้นมีชื่อว่า Sashi & Sekar Associates ได้ดำเนินกิจการทำหน้าที่เป็นเลขานุการให้กับบริษัทลูกค้าจำนวนนับ 100 แห่ง และบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคก็เป็นหนึ่งในลูกค้าของเขา
สำนักข่าวอิศรารายงานข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่านอกเหนือจากสำนักข่าวสเตรทไทม์แล้ว ช่องวิดีโอของสำนักข่าว The Intercept Brasil จากประเทศบราซิลยังได้โพสต์วิดีโอการลงพื้นที่ ณ ที่อยู่ของบริษัท Sashi & Sekar Associates เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ด้วยเช่นกัน โดยวิดีโอนั้นถูกนำเสนอเป็นภาษาโปรตุเกส แต่มีการสนทนากับผู้ที่คาดว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ (ดูวิดีโอประกอบ)
สภาพที่ทำการของที่ตั้งของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค (อ้างอิงวิดีโอจาก The Intercept Brasil)
กลับมาที่ทางด้านของนายเซการ์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสเตรทไทม์ต่อไปว่า “ในประเทศสิงคโปร์นั้น ชาวต่างชาติไม่สามารถที่จะจัดตั้งบริษัทได้ ดังนั้นบริษัทที่มีลักษณะแบบนี้ เราจะเสนอการให้บริการ โดยกรณีของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคนั้นไม่ได้มีลูกจ้างและพนักงานเป็นชาวสิงคโปร์แต่อย่างใด ซึ่ง ณ เวลานี้ทางบริษัทแม่ที่ประเทศอินเดียก็กำลังรับสมัครพนักงานอยู่”
ทั้งนี้เมื่อถามต่อถึงกรณีข้อกล่าวหาที่มาจากทางอัยการประเทศบราซิลที่กล่าวหาว่าบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคนั้นเป็นบริษัทเปลือก นายเซการ์กล่าวว่า “เรามีหน้าที่จัดทำหนังสือบัญชีและยื่นรายงานประจำปี เราไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับทางด้านของธุรกิจ”
@ข้อผิดปกติ
ที่ผ่านมานั้นเคยมีการรายงานไปแล้วโดยสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ประเทศบราซิล ว่ารัฐสภาประเทศบราซิลนำโดยสมาชิกวุฒิสภาจำนวนกว่า 11 คนได้มีการสอบสวนความผิดปกติเกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนโควาซินไปแล้ว โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดซื้ออันมีราคาที่สูงเกินไปสำหรับการซื้อวัคซีนจำนวน 20 ล้านโดสที่มีมูลค่า 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณโดสละ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (486.92 บาท) สูงกว่าราคาที่ได้มีการแจ้งไว้ในอีเมลที่บริษัทภารัตฯได้ส่งให้กับกระทวงสาธารณสุขประเทศบราซิล ซึ่งแจ้งราคาต่อโดสอยู่ที่ 1.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.50 บาท) ซึ่งราคาดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นราคาที่สูงเป็นอย่างยิ่งสำหรับวัคซีนแม้ว่าจะไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการเรื่องราคาวัคซีนออกมาก็ตาม
โดยเงินจำนวน 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯดังกล่าวนั้นก็จะถูกสั่งจ่ายให้กับบริษัท Precisa Medicamentos ซึ่งระบุว่าเป็นบริษัทสัญชาติบราซิลที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัทภารัตฯอีกเช่นกัน
ขณะที่ชื่อของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทคนั้นปรากฎอยู่ในการสอบสวนหลังจากการให้การของนายลุยส์ ริคาร์โด มิแรนด้า หัวหน้าฝ่ายนำเข้าของกรมกรมการโลจิสติกส์ด้านสุขภาพและพี่ชายของเขาคือนายลุยส์ มิแรนด้า ที่เป็น ส.ส. ซึ่งทั้ง 2 คนนั้นเข้าพบกับประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู ของบราซิล เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เพื่อที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับบริษัทสิงคโปร์จำนวนกว่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯดังกล่าว
ซึ่งต่อมาในช่วงเดือน มิ.ย.ทั้ง 2 คนก็ออกมายอมรับว่าพวกเขาเจอแรงกดดันอย่างหนักว่าจะต้องมีการนำเข้าวัคซีนล่วงหน้าด้วยการจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ของบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค ที่พวกเขามีความกังวลอย่างชัดเจนก็เพราะว่ากระทรวงสาธาณสุขของประเทศบราซิลนั้นดูเหมือนว่าจะมีความต้องการจ่ายเงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้กับบริษัทเปลือก
ส่วนทางด้านของนายเซการ์ก็ได้ยืนยันกับสำนักข่าวสเตทไทม์ว่าบริษัทแม่ในประเทศอินเดียนั้นมีการเตรียมใบแจ้งหนี้ล่วงหน้ามูลค่า 45 ล้านดอลลาร์จริง และตัวเขาก็ได้เซ็นกำกับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวตามคำแนะนำของบริษัทแม่ด้วยเช่นกัน
นายเซการ์กล่าวต่อไปว่านับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เขาก็ได้ประสานการทำงานกับนายเวนกาตรามัน ศิวรามรักษ์นันท์ (Venkatraman Sivaramakrishnan) รองประธานด้านแฟรนไชส์ธุรกิจระหว่างประเทศ และได้ยืนยันต่อด้วยว่า “นายเวนกาตนั้นเป็นหัวหน้าของแผนกการส่งออก” ในสำนักงานใหญ่ของบริษัทภารัตฯ เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
อย่างไรก็ตามเมื่อติดต่อไปแล้ว ปรากฏว่านายศิวรามรักษ์นันท์นั้นปฏิเสธที่จะตอบคำถามของสำนักข่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.straitstimes.com/business/companies-markets/spore-company-at-centre-of-brazils-probe-into-import-of-indian-vaccine
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/