โดยในหัวข้อที่ระบุว่าจะดำเนินการอย่างไรกับบริษัทที่ส่งรายงานช้าในแต่ละเดือน พบว่าแทนที่จะให้กรอกรายละเอียดว่าจำนวนสัญญาของบริษัทจะเป็นศูนย์ในเดือนที่บริษัทไม่สามารถส่งรายงานการทำสัญญาได้ทันในเดือนนั้นๆ แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นกลับได้รับคำแนะนำให้ใช้การกรอกตัวเลขโดยเฉลี่ยของบริษัททั้งหมดที่ดำเนินการส่งรายงานแทน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสด้านการรวบรวมข้อมูลจำนวนและมูลค่าสัญญาโครงการก่อสร้างภายในประเทศญี่ปุ่น
โดยสำนักข่าวอาซาฮี ชิมบุนของประเทศญี่ปุ่นได้จัดทำรายงานข่าวสืบสวนระบุถึงกรณีที่ กระทรวงด้านโครงสร้างพื้นฐานหรือชื่อเต็มว่ากระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวได้ออกคำสั่งไปยังเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่นให้ดำเนินการเพิ่มตัวเลขสัญญาการก่อสร้างที่สูงจนเกินจริงเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีด้วยกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายและเป็นการบิดเบือนข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเองก็ได้ออกมายอมรับว่ากระทรวงได้มีการออกคำแนะนำที่ว่านั้นไปจริง และยอมรับด้วยว่าตัวเลขของจำนวนการทำสัญญาก่อสร้างในระดับท้องถิ่นนั้นไม่ถูกต้อง
สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นตัวเลขจำนวนการทำสัญญามีความหมายถึงข้อมูลสถิติพื้นฐานและจะใช้ในการคำนวณข้อมูลที่สำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆของประเทศ อาทิตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือว่าจีดีพี
โดยในช่วงปีงบประมาณ 2563 พบข้อมูลจากกระทรวงที่ดิน,โครงสร้างพื้นฐาน,การขนส่งและการท่องเที่ยว ว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นมีสัญญาโครงการก่อสร้างรวมคิดเป็นมูลค่า 79.598 ล้านล้านเยน หรือ 23.324 ล้านล้านบาท ซึ่งที่มาของตัวเลขดังกล่าวนั้น กระทรวงได้คำนวณตัวเลขจากกลุ่มตัวอย่างบริษัทก่อสร้างประมาณ 12,000 แห่งทั่วประเทศที่ถูกเลือกให้ทำสัญญาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จากจำนวนบริษัทก่อสร้างทั่วประเทศทั้งหมดที่มีอยู่ 480,000 แห่ง
ซึ่งตามหลักการแล้วบริษัทที่ถูกเลือกดังกล่าวมีหน้าที่และพันธะที่จะต้องส่งรายงานรายเดือนเกี่ยวกับตัวเลขทางการเงินของสัญญาที่ได้รับสำหรับเดือนนั้นๆ และตัวเลขที่ถูกนำมารวมกันก็จะถูกนำไปใช้เพื่อประเมินจำนวนสัญญาก่อสร้างทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวอาซาฮี ชิมบุน พบความผิดปกติจากกรณีที่เจ้าหน้าที่จากกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานได้ออกคำแนะนำไปยังบุคลากรประจำหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่รวบรวมรายงานรายเดือนเกี่ยวกับสัญญาของบริษัทต่างๆ
โดยในหัวข้อที่ระบุว่าจะดำเนินการอย่างไรกับบริษัทที่ส่งรายงานช้าในแต่ละเดือน พบว่าแทนที่จะให้กรอกรายละเอียดว่าจำนวนสัญญาของบริษัทจะเป็นศูนย์ในเดือนที่บริษัทไม่สามารถส่งรายงานการทำสัญญาได้ทันในเดือนนั้นๆ แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นกลับได้รับคำแนะนำให้ใช้การกรอกตัวเลขโดยเฉลี่ยของบริษัททั้งหมดที่ดำเนินการส่งรายงานแทน
และเมื่อบริษัทที่มีปัญหาด้านการส่งรายงานไม่ทัน ส่งรายงานตามมาในภายหลัง ก็ปรากฎว่าตัวเลขสัญญาของบริษัทในเดือนก่อนหน้าที่บริษัทส่งรายงานไม่ทันก็ถูกนำมารวมกับตัวเลขรวมของสัญญาที่บริษัทส่งมาในเดือนถัดไป
แต่เนื่องจากว่าเจ้าหน้าที่ได้ส่งตัวเลขค่าเฉลี่ยจำนวนสัญญาของบริษัทไปแล้วในช่วงเดือนที่บริษัทไม่ได้รายงานตัวเลขสัญญา ดังนั้นผลก็คือว่าตัวเลขจำนวนสัญญาของบริษัทซึ่งไม่ได้ส่งรายงานจำนวนสัญญานั้นจะถูกนับเป็นเท่าทวีคูณ และสูงกว่าตัวเลขที่แท้จริงมาก
ตัวอย่างการกรอกข้อมูลจำนวนสัญญาของบริษัทด้วยวิธีการประมาณตัวเลข ในเดือน มิ.ย.และ ก.ค.ที่ทางบริษัทไม่ได้ส่งข้อมูลจำนวนสัญญามา
ซึ่งข้อมูลจากแหล่งข่าวหลายแหล่งในกระทรวงด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่ามีการส่งรายงานตัวเลขจำนวนสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนนับหมื่นฉบับในทุกๆปี
จนกระทั่งเมื่อช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา หลักปฏิบัติดังกล่าวนั้นได้ยุติลงเนื่องจากแหล่งข่าวรายหนึ่งได้กล่าวว่ามันดูเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่จะเขียนรายงานในลักษณะนี้
แต่คำว่าไม่เหมาะสมนั้นอาจจะดูเป็นการพูดที่น้อยเกินไป เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เนื่องจากในกฎหมายว่าด้วยสถิติของประเทศญี่ปุ่นนั้นได้บัญญัติบทลงโทษที่ชัดเจนเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมแปลงตัวเลขทางสถิติ ถ้าหากพบว่าผู้ที่กระทำความผิดนั้นมีเจตนาในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล
โดยนายฮิเดอากิ ฮิราตะ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคที่มหาวิทยาลัยโฮเซ และยังเคยเป็นผู้ทีทำงานรวบรวมข้อมูลทางสถิติที่ธนาคารประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวถึงการเปิดโปงดังกล่าวนี้ว่าเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมอันอุกอาจ ที่ไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน
“จะไม่มีใครเชื่อถือข้อมูลทางสถิติของทางรัฐบาลอีก ผมตกใจมากที่ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ว่ากระทรวงนั้นกลับกลายเป็นผู้ที่ริเริ่มแนวคิดเรื่องการปลอมแปลงข้อมูลที่ว่านี้เสียเอง”นายฮิราตะกล่าว
ในขณะที่ภาคส่วนของกระทรวงที่รับผิดชอบในข้อมูลด้านสถิติอุตสาหกรรมก็ออกมายอมรับว่าเป็นเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในเรื่องการเขียนข้อมูลใหม่นี้เอง และผลที่ตามมาก็คือตัวเลขจำนวนสัญญาที่สูงเกินจริง
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่กระทรวงได้กล่าวว่าพวกเขาไม่รู้เลยว่าทำไมและเมื่อไรที่หลักปฏิบัตินี้ได้ถูกนำมาเริ่มใช้งาน เพราะว่ามันต้องย้อนกลับไปเป็นระยะเวลานานมากจนยากที่ติดตามข้อมูลได้
ตัวอย่างรายละเอียดเอกสารการกรอกข้อมูลของเจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น (อ้างอิงวิดีโอจาก ANNnewsCH)
@บทเรียนที่ไม่เคยจำ
ในช่วงปลายปี 2561 นั้นก็เกิดกรณีปัญหาการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่ผิดพลาดเช่นเดียวกัน โดยในครั้งนั้นเป็นการเก็บข้อมูลการสำรวจแรงงานเป็นรายเดือนเพื่อที่จะนำข้อมูลไปกำหนดในเรื่องของสิทธิประโยชน์การว่างงานและสิทธิประโยชน์อื่นๆ
ซึ่งในการเก็บข้อมูลดังกล่าว พบว่าทางที่ทำการกรุงโตเกียวได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างบริษัทเพื่อจะเก็บข้อมูล แทนที่จะสำรวจข้อมูลจากทุกบริษัทที่มีพนักงานเป็นจำนวนอย่างน้อย 500 คนขึ้นไป อันเป็นวิธีการที่ควรจะทำ
โดยในการเปิดเผยครั้งนั้นส่งผลทำให้ทุกกระทรวงของรัฐบาลกลางนั้นได้รับคำสั่งให้ไปทบทวนวิธีการเก็บข้อมูลรวบรวมสถิติพื้นฐานกันใหม่หมด
แต่แม้ว่าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้นปี 2561 ก็ไม่ได้ทำให้ทางกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน รับรู้ถึงปัญหาและได้มีการปรับปรุงวิธีการจัดเก็บตัวเลขข้อมูลสัญญาแต่อย่างใด
กระทรวงยังได้เคยกล่าวบนเว็บไซต์ในช่วงเวลานั้นด้วยว่าข้อมูลเชิงสถิติที่เป็นปัญหาดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ และสถิติดังกล่าวนั้นพบว่ายังถูกใช้เพื่อจัดทำข้อมูลดัชนีที่สำคัญ อาทิ รายงานทางเศรษฐกิจรายเดือนที่ถูกนำเสนอโดยสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นต้น
เรียบเรียงจาก: https://www.asahi.com/ajw/articles/14502741
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:'รบ.อังกฤษ-ไฟเซอร์'ทำสัญญาคาดแถบดำอนุญาโตตุลาการ จัดหาวัคซีน 189 ล.โดส
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับนักธุรกิจเซเชลส์ฟอกเงิน1.6 พัน ล. โยงเครือข่าย บ.นอกอาณาเขต
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการสวิส'สั่งปรับ 2.5 ร้อย ล. บ.พลังงาน เอี่ยวปมสินบนแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราแฉ ราชวงศ์ UAE เอี่ยว บ.ออฟชอร์ให้บริการลูกค้าผิด กม.เพียบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63