ในช่วงเวลานับตั้งแต่ที่บริษัท Rofly ถูกก่อตั้งจนมาถึงช่วงเวลาที่นาย Jecl ได้เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทพบข้อมูลว่าบริษัทนี้รับเงินไปจากหัวเว่ยไปทั้งสิ้นกว่า 6.5 แสนยูโร (24,996,725 บาท) แต่ไม่พบว่าบริษัทนี้นั้นมีธุรกิจอื่นๆแต่อย่างใด ...และยังพบข้อมูลอีกด้วยว่านาย Jecl ยังได้ทำข้อตกลงเพื่อที่จะรับเงินก้อนใหญ่จากบริษัท Rofly ก่อนที่จะได้เป็นเจ้าของบริษัทดังกล่าวอีกเสียด้วยซ้ำ
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข้อสงสัยว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของประเทศจีนอย่างบริษัทหัวเว่ยนั้น อาจจะมีส่วนในการจ่ายเงินอย่างผิดกฎหมายเพื่อแลกกับการได้สัญญาในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมให้กับประเทศเซอร์เบีย
โดยการเปิดโปงข้อมูลดังกล่าวนั้นถูกรายงานโดยสำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต ( OCCRP ) ซึ่งทำข่าวนี้ร่วมกับสำนักข่าว KRIK ซึ่งเป็นสำนักข่าวออนไลน์ที่รายงานข่าวสืบสวนของประเทศเซอร์เบีย
โดยสำนักข่าว OCCRP ได้รายงานข้อมูลจากเอกสารแพนโดร่าหรือแพนโดร่าเปเปอร์ส พบว่าบริษัทหัวเว่ยนั้นได้มีสัญญาบางอย่างอันเป็นความลับกับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมของประเทศเซอร์เบีย ที่มีชื่อว่ารัฐวิสาหกิจ Telekom ซึ่งการทำสัญญาของบริษัทหัวเว่ยดังกล่าวนั้นดำเนินผ่านบริษัทนอกอาณาเขตหลายแห่งที่ตั้งอยู่ทั้งในประเทศปานามา และในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน
ขณะที่เว็บไซต์ KRIK ได้ระบุว่าข้อมูลเอกสารนั้นพบว่ามีเงินจำนวนอย่างน้อย 1 ล้านยูโร (38,479,698 บาท) ที่ถูกส่งไปถึงอดีตผู้อำนวยการของ Telekom ซึ่งก็คือนาย Igor Jecl และนาย Milorad Ignjacevic นักกฎหมายชื่อดังของประเทศ
โดยนาย Milorad Ignjacevic นั้นถูกตรวจสอบพบว่าเขาและลูกชายได้แก่นาย Uroš Ignjacevic มีธุรกิจที่เคยเป็นคู่สัญญาอยู่กับรัฐวิสาหกิจ Telekom ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็คือบริษัท Trident Media Group (ปิดกิจการไปแล้ว) โดยรายละเอียดของสัญญานั้นก็คือว่าบริษัทแห่งนี้ได้ทำเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Nadlanu ให้กับทาง Telekom เพื่อเป็นเว็บไซต์ที่รายงานกิจกรรมสำคัญต่างๆ และในภายหลังก็ปรากฏว่าขายเว็บไซต์นี้คืนให้กับบริษัท Trident Media คิดเป็นมูลค่าแค่ 1 ดินาร์เซอร์เบีย (0.33 บาท) เท่านั้น
อนึ่งสำหรับเส้นทางการจากบริษัทหัวเว่ยเพื่อไปสู่นาย Igor Jecl และนาย Milorad Ignjacevic นั้น ทางสำนักข่าว OCCRP ได้รายงานข้อมูลว่านาย Jecl ได้เคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าบริษัทนอกอาณาเขตที่ชื่อว่า Rofly Investments ที่ตั้งอยู่ ณ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน นับตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 2558
นาย Milorad Ignjacevic
โดยข้อมูลจากเอกสารแพนโดร่าพบว่าบริษัท Rofly Investments นั้นก่อตั้งขึ้นมาในปี 2554 และปัจจุบันก็ปิดกิจการบริษัทไปแล้ว โดยบริษัทนี้พบว่ามีเจ้าของเป็นบริษัทอีกแห่งหนึ่งซึ่งก็คือบริษัทเปลือกอีกแห่งในประเทศปานามา แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่าบริษัทที่ปานามาดังกล่าวนั้นคือบริษัทใดกันแน่
ซึ่งในช่วงเวลานับตั้งแต่ที่บริษัท Rofly ถูกก่อตั้งจนมาถึงช่วงเวลาที่นาย Jecl ได้เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทพบข้อมูลว่าบริษัทนี้รับเงินไปจากหัวเว่ยไปทั้งสิ้นกว่า 6.5 แสนยูโร (24,996,725 บาท) แต่ไม่พบว่าบริษัทนี้นั้นมีธุรกิจอื่นๆแต่อย่างใด
และยังพบข้อมูลอีกด้วยว่านาย Jecl ยังได้ทำข้อตกลงเพื่อที่จะรับเงินก้อนใหญ่จากบริษัท Rofly ก่อนที่จะได้เป็นเจ้าของบริษัทดังกล่าวอีกเสียด้วยซ้ำ โดยนับตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2558 พบข้อมูลว่าบริษัท Rofly ได้จ่ายเงินให้กับนาย Jecl คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 50,000 ยูโร (1,922,825 บาท) ซึ่งเป็นเงินค่าที่ปรึกษา และต่อมาในช่วงปลายปี 2558 บริษัทแห่งนี้ก็ได้ให้เงินกู้ยืนอีกกว่า 250,000 ยูโร (9,614,125 บาท) เพื่อให้นาย Jecl ไปเปิดสาขาร้านไอศกรีมในประเทศสเปน
ร้านไอศครีมของนาย Igor Jecl ในประเทศสเปน
ข้อมูลจากเฟซบุ๊กระบุว่านาย Igor Jecl เคยเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนในเมืองโซโตแกรนด์ ประเทศสเปนในปี 2559
โดยในช่วง 3 วันก่อนหน้าที่นาย Jecl ได้เข้าไปเป็นเจ้าของบริษัท พบว่าบริษัท Rofly ได้รับสัญญางานที่ปรึกษาจากบริษัทหัวเว่ยอีกจำนวน 4 สัญญา ในรูปแบบที่ผิดปกติ เนื่องจากว่าเป็นสัญญาที่ถูกโอนมาจากบริษัทเปลือกแห่งหนึ่งชื่อว่า Goldberg Brokerage ในประเทศปานามาที่มีเจ้าของก็คือนาย Milorad Ignjacevic
อนึ่งผู้สื่อข่าวได้มีการไปติดต่อขอสัมภาษณ์นาย Milorad Ignjacevic ในวัย 84 ปี เพิ่มเติมที่สำนักงาน ณ กรุงเบลเกรด โดยนาย Milorad Ignjacevic ยอมรับตรงๆว่าบริษัท Goldberg Brokerage นั้นเป็นบริษัทของเขาจริง แต่ ณ ปัจจุบันไม่ได้ทำธุรกิจอะไร ซึ่งจุดประสงค์ของการก่อตั้งบริษัทนั้นก็เพื่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต
เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามต่อถึงกรณีสัญญากับบริษัทหัวเว่ย นาย Milorad Ignjacevic กล่าวเหมือนกับจะเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าบริษัทหัวเว่ยเคยจ่ายเงินให้เขาผ่านบริษัทนอกอาณาเขตเพื่อให้เป็นเงินค่าที่ปรึกษาในช่วง 2-3 ปีที่บริษัทได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศเซอร์เบีย
นาย Milorad Ignjacevic ยังได้ยืนยันข้อมูลว่านาย Uroš Ignjacevic นั้นเป็นเพื่อนที่ดีกับ นาย Jecl ยังระบุด้วยว่านาย Jecl เป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญระดับสูงและเป็นบุคคลที่มีแนวคิดล้ำสมัย แต่ว่าพวกเขาก็ไม่ได้ติดต่อกับนาย Jecl มานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงสัญญาของบริษัท Goldberg ที่ถูกโอนไปให้กับบริษัท ROFLY INVESTMENTS LIMITED นาย Milorad Ignjacevic กล่าวว่านี่ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเขา และเขาก็ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับบริษัท ROFLY มาก่อนเลย และถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ว่าบริษัทของนาย Jecl นั้นได้พยายามที่จะเอาธุรกิจของเขาไป นาย Jecl ก็เป็นค่คนที่โกหกและหลอกลวงคนหนึ่งเท่านั้น
อนึ่ง สัญญาของบริษัทหัวเว่ยในประเทศเซอร์เบียนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2550 เป็นต้นมา และจากข้อมูลทางเอกสารพบว่าสัญญาสุดท้ายมีการเซ็นขึ้นในวันที่ 1 ม.ค. 2557 ก่อนที่บริษัทหัวเว่ยจะเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญของในกิจการโทรคมนาคมของประเทศเซอร์เบีย
โดยข้อมูลของสัญญานั้นทางเว็บไซต์ KRIK รายงานว่าบริษัทหัวเว่ยได้รับงานให้พัฒนาระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตหรือ IPTV สำหรับระบบโทรคมนาคม และ 2 ปีหลังจากนั้น บริษัทหัวเว่ยก็ได้รับสัญญาคิดเป็นมูลค่ากว่า 150 ล้านยูโร (5,768,475,003 บาท) สำหรับการแนะนำระบบเคเบิลออปติกในระบบโทรคมนาคม
ขณะที่นาย Jecl ซึ่งเคยทำงานให้กับรัฐวิสาหกิจ Telekom ในช่วงปี 2546-2551 ก็ปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆกับผู้สื่อข่าว
เส้นทางการทำสัญญาของบริษัทหัวเว่ยในประเทศเซอร์เบีย
ส่วนนาย Vladimir Lucic ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ Telekom คนปัจจุบันก็กล่าวว่าตัวเขาไม่รู้เลยเกี่ยวกับทั้งธุรกิจของนาย Ignjacevic และธุรกิจของนาย Jecl ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทหัวเว่ย
“บอกตามตรง ผมตกใจมากที่ได้ยินเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ซึ่งทั้งบริษัทหัวเว่ย รัฐวิสาหกิจ Telekom เองก็คงไม่ต้องการให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น” นาย Lucic กล่าว
ขณะที่บริษัทหัวเว่ยก็ไม่ได้ตอบของทางผู้สื่อข่าวสำนักข่าว KRIK แต่อย่างใด
เรียบเรียงจาก:https://www.occrp.org/en/the-pandora-papers/chinese-tech-giant-huawei-had-secret-offshore-contracts-with-men-linked-to-serbian-state-telecom-company,https://rs.n1info.com/english/news/krik-huawei-had-secret-offshore-contracts-with-people-linked-to-telecom-serbia/
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/