โดยนาง Heng Sokha ภรรยาของนาย Ing Bun Hoaw อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เข้าไปถือความเป็นเจ้าของของบริษัทคอนเนคทัมนับตั้งแต่ในช่วงเดือน พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนให้หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบด้านการเงินของประเทศอังกฤษได้เข้าไปตรวจสอบการถือครอบบริษัทดังกล่าว
.......................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีที่นักการเมืองระดับสูงในประเทศกัมพูชาเข้าถือครองบริษัทอันเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษ
โดยสำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชียได้รายงานข่าวว่าเมื่อปีที่ผ่านมานั้น หนึ่งในสมาชิกครอบครัวที่มีความใกล้ชิดกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้เข้าไปควบคุมบริษัทคอนเนคทัม ลิมิเต็ด (Connectum Limited) ซึ่งบริษัทดังกล่าวนั้นสามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในแต่ละปี ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและบริษัทบัตรเครดิตขนาดใหญ่ อาทิ วีซ่าและมาสเตอร์การ์ด
โดยนาง Heng Sokha ภรรยาของนาย Ing Bun Hoaw อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เข้าไปถือความเป็นเจ้าของของบริษัทคอนเนคทัมนับตั้งแต่ในช่วงเดือน พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนให้หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบด้านการเงินของประเทศอังกฤษได้เข้าไปตรวจสอบการถือครอบบริษัทดังกล่าว
นาย Ing Bun Hoaw อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนาง Heng Sokha ผู้เป็นภรรยา
อนึ่งเคยมีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของนาย Ing Bun Hoaw เนื่องจากต้องสงสัยว่าเขามีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ เนื่องมาจากแหล่งความมั่งคั่งของเขานั้นสามารถเชื่อมโยงไปถึงในช่วงเวลาที่ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอยู่ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น นาย Bun Hoaw ได้ใช้ตำแหน่งในรัฐบาลหาผลประโยชน์จากบริษัทเอกชน อาทิ การแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ซึ่งทางด่วนดังกล่าวนั้นมีผู้ที่สนับสนุนการก่อสร้างคือรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
กลับมาที่ประเด็นบริษัทคอนเนคทัม โดยบริษัทนี้นั้นได้มีการหารายได้ด้วยการทำตัวเองให้มีลักษณะคล้ายกับธนาคารเอกชน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทนี้ก็ไม่เคยมีการจดทะเบียนว่าเป็นธนาคารเอกชนแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 7 ก่อน โดยชายสัญชาติลัตเวีย ที่เคยเป็นผู้บริหารธนาคารลัตเวียจำนวน 2 แห่ง และธนาคารทั้ง 2 แห่งที่ว่ามานั้นก็ถูกระบุว่ามีส่วนพัวพันกับการฟอกเงิน โดยผู้บริหารบริษัทคอนเนคทัมก็คือนายเอ็ดการ์ส ลาสมานิส (Edgars Lasmanis) ซึ่งเป็นที่จับตามองของสื่อประเทศลัตเวียนับตั้งแต่อายุ 27 ปี ต้นมาเนื่องจาก นายลีโอนิด ลาสมานิส (Leonid Lasmanis)ผู้เป็นบิดาของนายเอ็ดการ์สนั้นก็มีส่วนในการทุจริต อาทิ การลักลอบขายอาวุธ การให้สินบน และเป็นที่ต้องการตัวของทางสำนักงานตำรวจยุโรปหรือยูโรโพล
ซึ่งในช่วงเวลาที่ผู้เป็นบิดาหลบหนีคดีอยู่นั้น นายเอ็ดการ์สก็เริ่มที่มีบทบาทในภาคธุรกิจการเงิน และเมื่ออายุได้ 27 ปี เขาก็ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดของธนาคารลัตเวียที่ชื่อว่า Multibanka แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือน เม.ย. 2548 กระทรวงการคลังสหรัฐฯก็ได้ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารแห่งนี้นั้นจะเป็นเส้นทางหลักในการฟอกเงิน
กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้อ้างต่อด้วยว่าธนาคาร Multibanka แห่งนี้นั้นได้มีการอนุญาตให้การดำเนินธุรกรรมธนาคารอันเป็นความลับ และปรากฎข้อมูลว่าเลขบัญชีธนาคารที่มีลักษณะคล้ายบัญชีของธนาคารสวิสหลายบัญชีก็ถูกใช้ในกิจกรรมอาชญากรรมนานาชาติ เพื่อที่จะใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่อาชญากรรมทางการเงิน ในการปลอมแปลงแหล่งที่มาของเงินซึ่งมาโดยผิดกฎหมายหรือก็คือการฟอกเงินนั่นเอง
โดยในเวลานั้นนายเอ็ดการ์สที่ทำหน้าที่เป็นโฆษกธนาคารก็ได้ให้ธนาคารให้ข้อมูลต่อสื่อ โดยระบุว่าธนาคารปฎิเสธการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟอกเงิน และไม่รู้ตัวตนของผู้ที่เป็นลูกค้าที่มีจำนวนมากแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 15 เดือนหลังจากนั้น ธนาคาร Multibanka ก็ได้เปลี่ยนท่าทีกับเรื่องเหล่านี้ โดยธนาคารได้มีการทบทวนข้อมูลพอร์ตโฟลิโอทั้งหมด ก่อนที่จะแจ้งข้อมูลให้กับทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ทราบว่าธนาคารนั้นได้มีการยุติความสัมพันธ์กับลูกค้าจำนวนมากกว่า 2,600 ราย ซึ่งจากรายงานของกระทรวงการคลังระบุว่ากลุ่มลูกค้าดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะยืนยันชุดข้อมูล และมาตรฐานการระบุตัวตนของธนาคาร Multibanka ได้
ต่อมาในปี 2551 นายเอ็ดการ์สก็ได้ลาออกจากธนาคาร Multibanka และเข้าทำงานที่ธนาคารลัตเวียอีกแห่งที่ชื่อว่า Latvijas Pasta Banka โดยได้ทำหน้าที่เป็นรองประธานธนาคารแห่งนี้ ซึ่งพอถึงช่วงปี 2555 ธนาคาร Latvijas Pasta Banka หรือที่มีตัวย่อว่า LPB ก็ได้มีการให้บริการลูกค้าหลายรายที่เป็นบริษัทนอกอาณาเขต และลูกค้าที่มีความเกี่ยวพันกับบุคคลทางการเมืองระดับสูงในประเทศมอลโดวา โดยในช่วง 2 ปีหลังจากนั้น พบว่าบัญชีธนาคารที่ทางบริษัทนอกอาณาเขตเหล่านี้ได้เปิดกับทางธนาคาร LPB กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินอันสำคัญคิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (31,040,000,000 บาท) ซึ่งที่ไปที่มาของเงินอันผิดกฎหมายเหล่านี้ก็มาจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของประเทศมอลโดวาจำนวน 3 แห่ง (อ้างอิงข้อมูลส่วนนี้จากรายงานของธนาคารแห่งชาติมอลโดวา ปี 2558)
นายเอ็ดการ์ส ลาสมานิส ในช่วงเวลาที่ทำหน้าที่เป็นรองประธานธนาคาร Latvijas Pasta Banka
หน่วยงานด้านการกำกับดูแลการเงินของประเทศลัตเวียจึงได้ปรับเงินธนาคาร LPB ทั้งสิ้น 305,000 ยูโร (11,515,182 บาท) ในช่วงเดือน ก.ค. 2559 เนืองจากธนาคารแห่งนี้ไม่สามารถหยุดธุรกรรมอันเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงที่ประเทศมอลโดวาได้ ทางด้านของนายเอ็ดการ์สจึงงได้ออกจากธนาคารแห่งนี้ไปในช่วงปี 2560 อย่างไรก็ตาม หลังจากนายเอ็ดการ์สลาออกไปแล้วหนึ่งปี ธนาคารแห่งนี้ก็โดนโทษปรับอีกคิดเป็นจำนวน 2.2 ล้านยูโร (83,060,333 บาท) ในฐานความผิดฝ่าฝืดระเบียบการว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน
@ผู้อำนวยการแค่เพียงหนึ่งวัน
ย้อนไปในช่วงเดือน มี.ค. 2557 ในช่วงเวลาที่นายเอ็ดการ์สยังคงดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานธนาคาร LPB เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัทคอนเน็คทัม หรือ Connectum Limited ขึ้นที่กรุงลอนดอน ซึ่งบริษัทแห่งนี้จะถูกเข้าควบคุมกิจกรรมโดยภรรยาของนาย Bun Boaw ในช่วงปลายปี 2563
โดยภายในระยะเวลาประมาณ 12 เดือนหลังจากที่มีการก่อตั้งบริษัท นายเอ็ดการ์สได้หาผู้ร่วมเป็นเจ้าของกิจการรายหนึ่งเป็นชาวเอสโตเนียที่มีชื่อว่านายยูริ พาล (Juri Paal) ซึ่งนายพาลถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการบริษัทเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2558 อย่างไรก็ตาม ในเอกสารบริคนสนธิของบริษัทคอนเน็คทัมลงวันที่ 30 ก.ค. ในปีเดียวกันนั้น ระบุว่านายพาลได้ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการบริษัทในวันที่ 6 มี.ค.
ซึ่งทางด้านของนายเกรแฮม บาร์โรว์ (Graham Barrow) ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางการเงิน และที่ปรึกษาด้านการแก้ไขปัญหากฎระเบียบแก่ธนาคารกล่าวว่านี่ไม่ใช่วิธีการที่บริษัทโดยปกติจะทำงานกัน และส่อให้เห็นว่าอาจจะมีความผิดปกติทางกฎหมายบางประการเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าวนี้
และเมื่อลงลึกถึงประวัติของนายพาลก็พบความไม่ชอบมาพากลอีกประการหนึ่ง ก็คือเมื่อประมาณ 2 ปีก่อนที่นายพาลจะเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการ เขาไม่ได้ใช้ชื่อนี้ แต่กลับใช้ชื่อซึ่งมาจากสูติบัตรของเขาที่ชื่อว่ายูริ ซิติน (Juri Zitin) ในการดำเนินธุรกิจ
โดยในช่วงเดือน เม.ย. 2556 หนังสือพิมพ์เอสโตเนียที่ชื่อว่า Post Timees ได้รายงานข่าวความเชื่อมโยงของนายซิตินกับคดีฟอกเงินขนาดใหญ่ในประเทศเอสโตเนีย โดยคดีดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการโอนเงินรูเบิลรัสเซีย ที่คิดเป็นเงินจำนวนมูลค่ารวม 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,328,000,000 บาท) ไปยังบัญชีธนาคารในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งเมื่อเงินไปถึงประเทศเอสโตเนียแล้วก็จะมีการแปลงค่าเงินเป็นทั้งเงินยูโรและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และก็จะมีการส่งเงินข้ามพรมแดนกลับไปยังประเทศรัสเซีย และในหนังสือพิมพ์ยังได้ยกถ้อยคำแถลงการณ์ที่เขียนโดยนายซิตินตอนหนึ่งที่สารภาพว่าเขาได้เผยแพร่ข้อมูลในแง่ลบเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของเอสโตเนียรายหนึ่งด้วย เพื่อจะหวังผลในทิศทางรูปคดีการฟอกเงินดังกล่าว
@ลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับเครมลิม
ในช่วงปี 2559 หลังจากที่นายลาสมานิสก่อตั้งบริษัทคอนเนคทัม ก็มีการรายงานผลกำไรบริษัทเป็นครั้งแรก โดยระบุว่ามีบริษัทแห่งนี้มีรายได้แค่ 819 ปอนด์ (35,543 บาท) เท่านั้น แต่หลังจากนั้น ผลกำไรของบริษัทก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ โดยในช่วงเดือน มี.ค. 2561 มีรายงานว่าบริษัทมีผลกำไรเป็นจำนวนถึง 2.3 ล้านปอนด์ (99,766,750 บาท) และมีการอ้างว่ามีเงินทุนของลูกค้าถึง 82 ล้านปอนด์ (3,556,901,536 บาท) และพอในปีถัดมาบริษัทก็มีการรายงานผลประกอบการที่ประสบความสำเร็จในลักษณะเดียวกัน
ข้อมูลบริคนสนธิของบริษัทคอนเนคทัมฯ
พอมาถึงช่วงเดือน มี.ค. 2563 บริษัทก็มีการรายงานผลประกอบการประจำปีว่ามีกำไรอยู่ที่ 4.5 ล้านปอนด์ (195,195,816 บาท) และจากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่าในช่วงต้นปีงบประมาณ ซึ่งก็คือในช่วงเดือน ก.ค. 2562 ก็พบข้อมูลว่าบริษัทคอนเนคทัมนั้นได้มีลูกค้ารายใหม่ที่ชื่อว่าบริษัทคริปโตยูนิเวิร์ส (CryptoUniverse)
โดยบริษัทคอนเนคทัมได้อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการขุดสกุลเงินดิจิตัลหลายประการ อาทิ การขุดบิทคอยน์เป็นต้น สำหรับตัวตนของบริษัทคริปโตยูนิเวิร์สนั้นพบว่ามีการจดทะเบียนในประเทศเอสโตเนีย แต่ปรากฎว่าตัวตนและกิจกรรมทางกายภาพของบริษัทคริปโตยูนิเวิร์สนั้นพบว่าอยู่ที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการดำเนินคดีกับทั้งบริษัทและผู้อำนวยการบริษัทในข้อหาความผิดอาชญากรรม และในช่วงฤดูร้อนปี 2563 ก็มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าตรวจค้นสำนักงานบริษัทในประเทศรัสเซีย ต่อมาพอถึงเดือน มี.ค. 2564 ศาลนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก็ได้มีคำสั่งพิจารณาคดีบริษัทนี้ในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับเงินจำนวนนับหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ
อนึ่งก่อนที่บริษัทคริปโตยูนิเวิร์สจะถูกสืบสวนในความผิดอาชญากรรม ก็มีการส่งสัญญาณอันตรายมาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยกล่าวว่าควรจะมีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของบริษัทคอนเนคทัมให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้วยเช่นกัน
สำหรับเว็บไซต์ของบริษัทคริปโตยูนิเวิร์สเองก็มีการอธิบายว่ามีผู้ดำเนินการบริหารเว็บไซต์เป็นบริษัทเปลือกสัญชาติสก็อตที่มีชื่อว่ามิโอเทค อิมเพ็กซ์ แอลพี (Miotech Impex LP) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2560 โดยบริษัทมิโอเทคแห่งนี้ก็ถูกจดทะเบียนโดยมีหุ้นส่วนเป็นชาวฮังการีสองคน ซึ่งทั้ง 2 คนนี้ก็ถูกขึ้นทะเบียนว่าเป็นผู้จัดการบริษัทเปลือกซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฉ้อโกงและคดีทุจริตตั้งแต่ประเทศยูเครนไปจนถึงประเทศไซปรัส
พอมาถึงเดือน ต.ค. 2562 บริษัทคริปโตยูนิเวิร์สก็ได้มีการเข้าร่วมทุนกับนายดมิทรี มารินิเชฟ (Dmitry Marinichev) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยหลังจากการควบรวมกิจการ กลุ่มกิจการร่วมทุนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโรงงานเหล็กอลูมิเนียมของนายโอเล็ก เดริปาสก้า (Oleg Deripaska) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรของนายปูตินเช่นกัน ให้กลายเป็นธุรกิจการทำเหมืองบิทคอยน์ โดยประวัติของนายเดริปาสก้านั้นพบว่าเขาเคยถูกลงโทษจากทางการสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯก็ได้ยกเลิกมาตรการลงโทษไปในช่วงเดือน ม.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงงานอลูมิเนียมที่ถูกแปรสภาพเป็นเหมืองบิทคอยน์ ก็ยังคงมีการดำเนินกิจการต่อจนถึงปัจจุบัน
โดยบริษัทคริปโตยูนิเวิร์สเองก็ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นกับกรณีดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของคริปโตยูนิเวิร์สต่างๆ ก็ทำให้เกิดสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับบริษัทคอนเนคทัม ว่าจะมีการดำเนินธุรกิจอันไม่โปร่งใส
ซึ่งทางด้านของนายเบน คาวด็อก ผู้นำการสืบสวนในกรณีดังกล่าว จากองค์กรเพื่อความโปร่งใส ประเทศอังกฤษได้กล่าวกับเรดิโอฟรีเอเชียว่า “ต้องคิดในรูปแบบนี้ก่อน คือพบว่ามีกิจกรรมอันเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่ประเทศรัสเซีย และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยการทำธุรกรรมตามมา นี่ถือเป็นกิจกรรมที่น่าสงสัย”
@สัญญาณอันตรายสำหรับผู้ที่ตรวจสอบ
แม้ว่า ณ เวลานี้จะไม่พบหลักฐานว่าบริษัทคอนเนคทัมนั้นทำผิดกฎหมายข้อไหนแต่อย่างใด แต่ทางผู้เชี่ยวชาญก็ได้ให้ข้อมูลกับเรดิโอฟรีเอเชียว่ามีปัจจัยหลายประการที่ทำให้บริษัทแห่งนี้มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บริษัทแห่งนี้ถูกเข้าควบคุมโดยบุคคลระดับชนชั้นนำในระดับผู้ปกครองประเทศกัมพูชา
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวต่อไปว่าดังนั้นธนาคารที่มีส่วนทำธุรกรรมกับบริษัทคอนเนคทัม รวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบควรจับตากิจกรรมของดูบริษัทคอนเนคทัมอย่างใกล้ชิด
และในกรณีที่นาง Heng Sokha ซึ่งเป็นภรรยาอดีตรัฐมนตรีเข้ามามีส่วนเป็นลูกค้าของบริษัทนั้นถือว่าเป็นลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง หรือที่เรียกกันว่าลูกค้าประเภท PEP ซึ่งทางสถาบันการเงินนั้นมีข้อผูกมัดกับการตรวจสอบลูกค้า PEP ในระดับสูง ก็ควรที่จะต้องมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินเพื่อจะดูความเป็นไปได้ในเรื่องของความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาชญากรรมและการทุจริตเช่นกัน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Opencorperates ระบุว่านาง Heng Sokha เป็นบุคคลที่ได้รับประโยชน์ในทอดสุดท้าย (Ultimate Beneficial Owner) จากบริษัทคอนเนคทัมฯ
ซึ่งสิ่งที่มีความชัดเจนประการหนึ่งก็คือว่า หลังจากที่ภรรยาของนาย Heng Sokha ได้เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทคอนเนคทัมแล้ว ก็จะเปิดโอกาสสำคัญให้มรการลงทุนกับธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษคิดเป็นมูลค่าหลายล้านปอนด์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพจาก:https://www.rfa.org/english/news/cambodia/hunsen-bank-05062021154026.html
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัท-ผู้ลงทุนปริศนา ชนะสัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 8 พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกดขี่แรงงานชาวอุยกูร์ ถึงหน้ากากอนามัยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรป
ส่องคดีทุจริตโลก: กองทัพพม่าใช้บริษัทลูกจัดซื้ออาวุธ หลังโดนอียูคว่ำบาตรปมโรฮีนจา
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม CDC จีนผูกขาด 3 บ.ชุดตรวจโควิดไร้คุณภาพ ส่งผลไวรัสระบาดที่อู่ฮั่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนสหรัฐฯส่อโกงงบโควิด หลังส่งนมเข้าองค์กรการกุศลเครือข่ายบริษัท
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม สธ.ลิทัวเนียซื้อคอร์สรักษาผู้ป่วยโควิด ราคาแพงเกินจริง 24 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อพรรคการเมืองบอสเนียฯรวมหัวใช้งบหลวงแจกของโควิดก่อนเลือกตั้งท้องถิ่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดพิรุธ ซอฟต์แวร์ระบบ ลต.สหรัฐฯให้คะแนน'ไบเดน-ทรัมป์'ผิดที่มิชิแกน
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ รบ.อังกฤษเปิดช่องซื้อชุด PPE แพงไม่เกิน 25% ไม่ต้องแจ้งรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมเมื่อ รบ.อังกฤษทำสัญญาชุด PPE บ.แฟชั่น 6 พัน ล.ไม่ระบุรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐนิวยอร์กถูกวิศวกรเสนอขายเครื่องช่วยหายใจให้'ทรัมป์'ฉ้อโกง
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ สธ.สหรัฐฯ ต่อสัญญา 316 ล.จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์เก็บข้อมูลโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'อียู'ตรวจสอบ'วาติกัน'หลังเจอครหาฉ้อโกงเงินบริจาคนับหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เพนตากอนเอางบช่วยโควิด 3.1 หมื่น ล.ไปพัฒนาอาวุธ,โดรน-ชุดเกราะ
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'เอกชน' สหรัฐฯปลอมแปลงเอกสาร FDA รับรองชุดตรวจโควิด 19
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีนตายปริศนา สู่ข้อพิรุธโครงการวันเบลท์วันโรด
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อโครงการเยียวยา SME สหรัฐฯเจอปัญหากู้เงินซ้ำซ้อน-ฉ้อโกง 3 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage