บริษัท Randox ซึ่งเป็นบริษัทวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ชนะการประกวดราคา และได้รับสัญญาการจัดหาชุดตรวจโควิดมูลค่ารวมกว่า 133 ล้านปอนด์ (5,847,694,752 บาท) แต่อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ได้รับสัญญาทางเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษก็ตรวจสอบข้อมูลในเอกสารพบว่าบริษัทนี้ไม่มีอุปกรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการตามสัญญา
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงติดตามประเด็นความไม่โปร่งใสอันเกี่ยวกับสัญญาการตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสที่ประเทศอังกฤษ
โดยนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.เป็นต้นมา สำนักข่าวหลายแห่งของประเทศอังกฤษได้ลงข่าวกรณีบริษัท Randox ซึ่งเป็นบริษัทวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ชนะการประกวดราคา และได้รับสัญญาการจัดหาชุดตรวจโควิดมูลค่ารวมกว่า 133 ล้านปอนด์ (5,847,694,752 บาท) แต่อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ได้รับสัญญาทางเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษก็ตรวจสอบข้อมูลในเอกสารพบว่าบริษัทนี้ไม่มีอุปกรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการตามสัญญา
ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่ทำให้สาธารณชน ประเทศอังกฤษให้ความสนใจก็คือว่าบริษัทนี้เคยมีประวัติการจ่ายเงินว่าจ้างนายโอเว่น แพทเตอร์สัน อดีต ส.ส.เขตนอร์ธ ชร็อพเชียร์ จากพรรคอนุรักษ์นิยม ให้ทำงานเป็นล็อบบี้ยิสต์ให้กับทางบริษัทในช่วงเวลาอดีตที่ผ่านมา
และประเด็นที่สำคัญถัดมาก็คือว่าในกระบวนการประกวดราคาหลายๆครั้ง ที่บริษัทนี้ชนะการประกวดราคานั้นพบว่าส่วนมากแล้วไม่มีบริษัทคู่เทียบอื่นๆเข้ามาร่วมในการแข่งขันประกวดราคาแต่อย่างใด ในช่วงเวลาตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
โดยจากการเปิดโปงข้อมูลดังกล่าวนั้น ก็ส่งผลทำให้ทางด้านของนายแพทเตอร์สัน ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา เพราะจากการตรวจสอบนั้นพบว่านายแพทเตอร์สันทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเนื่องจากว่าเขาได้รับเงินค่าจ้างจากการทำหน้าที่เป็นล็อบบี้ยิสต์ให้กับทั้งบริษัท Randox คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสนปอนด์ (4,396,762 บาท) ต่อปี และจากการทำหน้าที่ให้กับบริษัทอีกแห่งทื่ชื่อว่า Lynn’s Country Foods ในช่วงเวลาระหว่างเดือน พ.ย. 2559- ก.พ. 2563 ขณะที่ประวัติการทำหน้าที่เป็น ส.ส.ของนายแพทเตอร์สันพบว่าดำรงตำแหน่งเป็น ส.ส.เขตนอร์ธ ชร็อพเชียร์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2540- 5 พ.ย.2564
ซึ่งในแถลงการณ์การลาออกของนายแพทเตอร์สันระบุว่าเขาต้องการออกจากความโหดร้ายของวงการการเมืองอังกฤษหลังจากถูกกล่าวหาอย่างร้ายกาจากทางพรรคฝ่ายตรงข้าม และยืนยันว่าเขานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ในกรณีนี้
พรรคแรงงานกล่าวโจมตีนายแพทเตอร์สันถึงการทำหน้าที่ด้านการเป็นล็อบบี้ยิสต์ ขณะที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่าต้องมีการทำเรื่องนี้ให้ถูกต้อง (อ้างอิงวิดีโอจาก ITV NEWS)
ขณะที่สำนักข่าวซันเดย์ไทม์ก็ได้รายงานข้อมูลว่าพบว่ามีกรณีการโทรศัพท์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2563 ระหว่างนายแพทเตอร์สัน กับลอร์ดเจมส์ เบเทล เพื่อนร่วมสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม และยังเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษที่ดำเนินการสัญญาอันเกี่ยวข้องกับการตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19
ซึ่งการสนทนาวันที่ 9 เม.ย. 2563 ดังกล่าวนั้นเป็นช่วงเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ครึ่งหลังจากบริษัท Randox ได้รับสัญญามูลค่า 133 ล้านปอนด์ให้ดำเนินการจัดหาและวิเคราะห์ชุดตรวจโควิด-19
ขณะที่ทางด้านของกระทรวงสาธารณสุขและการให้บริการมนุษย์ก็ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียดการพูดคุยจำนวนหลายนาทีดังกล่าวออกมา
แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเอกสารทางการพบว่ามีความพยายามที่จะจัดหาอุปกรณ์เอามาใช้เพื่อชดเชยกับช่องว่างที่ทางบริษัท Randox ไม่สามารถหาอุปกรณ์มาให้ได้ตามสัญญา
โดยข้อมูลโต้ตอบจากอีเมลทางการระบุเอาไว้ตอนหนึ่งว่า “ในการหารือล่วงหน้ากับบริษัท Randox ในช่วงบ่ายวันนี้ เราได้ทราบถึงสถานะปัจจุบันแล้ว โดยเราจะมีการดำเนินการจัดหาแหล่งอุปกรณ์ให้ ถ้าหากพวกเขา (บริษัท Randox) ประสบปัญหาในการจัดหาอุปกรณ์ที่ว่ามา”
หรือสรุปก็คือทางเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯนั้นรับทราบอยู่แล้วว่าบริษัท Randox ขาดแคลนอุปกรณ์ชุดตรวจโควิด-19และยังมีรายงานด้วยว่านายแมทท์ แฮนค็อก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาที่มีการทำสัญญานั้นก็ได้มีการส่งจดหมายไปยังมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศโดยระบุว่า “เพื่อจะขอยืมในสิ่งต่างๆที่เรามีความต้องการอย่างมาก”
ซึ่งผลก็คือมีมหาวิทยาลัยแห่งได้ยกเลิกการใช้งานชุดตรวจโควิดของตัวเองและส่งชุดตรวจเหล่านี้ไปให้กับบริษัท Randox
ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่าการประกวดราคาในสัญญาจัดหาชุดตรวจโควิดมูลค่า 133 ล้านปอนด์ดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการลงประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบในขั้นตอนการประกวดราคาแต่อย่างใด โดยทางด้านของกระทรวงสาธารณสุขฯได้อ้างข้อยกเว้นเอาไว้ซึ่งระบุว่า “มีเพียงแค่เอกชนผู้จัดหาผลิตภัณฑ์เพียง 1 รายเท่านั้นที่มีขีดความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ ตรงตามเงื่อนไขและข้อกำหนด หรือก็คือสามารถจัดหาได้ตรงตามกรณีความเร่งด่วนที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์อันไม่คาดคิด”
ขณะที่ทางบริษัท Randox ก็ได้ชี้แจงกับสำนักข่าวซันเดย์ไทม์เช่นกันว่าทางบริษัทสามารถชนะสัญญาของรัฐบาลได้ก็เพราะว่าบริษัทมีคุณสมบัติที่น่าจะได้รับการยกย่อง และเนื่องจากในช่วงแรกที่เกิดการแพร่ระบาดขึ้นมานั้นทำให้ความต้องการอุปกรณ์ชุดตรวจและการสนับสนุนด้านวินิจฉัยโรคทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลันและเร่งด่วน
บริษัท Randox ให้คำแนะนำการใช้ชุดตรวจโควิดที่บ้าน (อ้างอิงวิดีโอจาก Randox Laboratories)
บริษัทได้ชี้แจงต่อไปโดยยอมรับว่ารัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือบริษัทจริง แต่เป็นความช่วยเหลือเพียงชั่วคราวเท่านั้น ในช่วงเวลาที่มีความสำคัญ เนื่องจากตอนนั้นต้องมีการขยายจำนวนห้องปฏิบัติการณ์หลักจำนวน 2 แห่งให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ณ เวลานี้อุปกรณ์ที่ทางรัฐบาลได้ให้บริษัทยืมมาก็ได้ถูกส่งคืนไปหมดแล้ว
ส่วนทางด้านของโฆษกของรัฐบาลอังกฤษก็ได้กล่าวว่าในการที่จะ “สร้างอุตสาหกรรมการวินิจฉัยโรคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ หน่วยงานทดสอบและติดตามโรคของสำนักสาธารณสุขอังกฤษหรือ NHS นั้นจะต้องดึงเอาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาร่วมตรงนี้ ซึ่งก็ทำให้เราได้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อไปแล้วเป็นจำนวนกว่า 323 ล้านครั้ง และมีการติดต่อคนอีกเกือบ 20 ล้านคน ที่อาจจะกลายเป็นผู้ที่แพร่เชื้อไวรัสไปโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้”
โฆษกรัฐบาลยังได้เน้นย้ำต่อไปด้วยว่าในกระบวนการจัดซื้อนั้นมีกฎ ระเบียบการและขั้นตอนอันเคร่งครัดอยู่แล้วในการที่จะยืนยันว่าไม่มีกรณีการขัดกันแห่งผลประโยชน์เกิดขึ้น และผู้ที่ได้รับสัญญานั้นก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบการด้านการจัดซื้อจัดจ้างและความโปร่งใสอย่างแน่นอน ซึ่ง ณ เวลานี้นั้นทางรัฐบาลอังกฤษก็กำลังดำเนินการอย่างแข็งขันในการที่จะตอบสนองต่อคำร้องต่างๆเพื่อขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจำนวนคำร้องขอข้อมูลดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นจำนวนที่มากชนิดที่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในช่วงเวลา 18 เดือนที่ผ่านมา
เรียบเรียงจาก:https://inews.co.uk/news/politics/owen-paterson-randox-133m-covid-testing-contract-despite-lacking-equipment-1288605
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/