บริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) ....,บริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์ (Interactive Brokers LLC) และยังมีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอื่นๆอีกหลายรายได้เข้าไปจัดการบัญชีส่วนใหญ่ให้กับนายหลุยส์ มาเรียโน โรดริเกซ กาเบลโล (Luis Mariano Rodriguez Cabello) นักธุรกิจชาวเวเนซุเอลาที่กำลังถูกสอบสวนว่าเขาอาจมีบทบาทในการช่วยปกปิดเงินจำนวนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (67,508,000,000 บาท) โดยนำเงินจำนวนนี้มาหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงินของประเทศสหรัฐฯ ด้วยจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่เป็นญาติของเขาซึ่งก็คือนายราฟาเอล รามิเรซ (Rafael Ramírez) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลา
.................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสของบริษัทเอกชนที่ปรึกษาทางการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อสำนักข่าววอลสตรีท เจอร์นัลของสหรัฐฯได้รายงานว่าหน่วยงานตรวจสอบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ณ เวลานี้กำลังตรวจสอบบริษัทด้านการค้าและที่ปรึกษาทางการเงินยักษ์ใหญ่จำนวน 2 รายด้วยกัน ด้วยข้อสงสัยที่ว่าบริษัทดังกล่าวนั้นจะมีส่วนช่วยในการจัดการบัญชีให้กับนักธุรกิจชาวเวเนซุเอลารายหนึ่ง ซึ่งนักธุรกิจรายนี้นั้นก็กำลังถูกสอบสวนเช่นกันว่ามีส่วนช่วยเหลืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลาในการฟอกเงินเป็นจำนวนนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยอ้างอิงข้อมูลเอกสารพบว่าบริษัทดังกล่าวนั้นก็คือบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) เป็นบริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลก มีที่ตั้งอยู่ที่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ,บริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์ (Interactive Brokers LLC) และยังมีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอื่นๆอีกหลายรายได้เข้าไปจัดการบัญชีส่วนใหญ่ให้กับนายหลุยส์ มาเรียโน โรดริเกซ กาเบลโล (Luis Mariano Rodriguez Cabello) นักธุรกิจชาวเวเนซุเอลาที่กำลังถูกสอบสวนว่าเขาอาจมีบทบาทในการช่วยปกปิดเงินจำนวนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (67,508,000,000 บาท) โดยนำเงินจำนวนนี้มาหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงินของประเทศสหรัฐฯ ด้วยจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่เป็นญาติของเขาซึ่งก็คือนายราฟาเอล รามิเรซ (Rafael Ramírez) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลา
นายราฟาเอล รามิเรซ (Rafael Ramírez) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลา
ซึ่ง ณ เวลานี้หน่วยงานของทั้งสหรัฐฯและหน่วยงานระหว่างประเทศกำลังตรวจสอบ กรณีว่านายโรดริเกซได้ช่วยเหลือนายรามิเรซในการโยกย้ายถ่ายเทเงินจำนวนมากจากกองทุนของประเทศเวเนซุเอลา ผ่านสัญญาประกันภัยอันไม่สุจริตของรัฐวิสาหกิจน้ำมันแห่งชาติเวเนซุเอลา และนำเงินจำนวนดังกล่าวนี้นั้นไปฟอกเงินตามบัญชีเงินฝากหลายแห่งในต่างประเทศด้วยกัน ซึ่งรวมถึงที่ประเทศสหรัฐฯด้วย
โดยทางด้านของสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯหรือ FBI และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ SEC และหน่วยงานรัฐบาลกลางอื่นๆได้มีประเด็นการสืบสวนว่าทำไม่บริษัทในสหรัฐฯหลายแห่งถึงได้มีการเข้าไปจัดการกับเงินและทรัพย์สินจำนวนมากกว่าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งๆที่เห็นอยู่ว่าลักษณะบัญชีนั้นแสดงให้เห็นถึงธงแดงว่าจะความเป็นไปได้ในเรื่องการฟอกเงินเกิดขึ้น
ซึ่งพฤติกรรมที่เป็นธงแดงดังกล่าวนั้นก็ได้แก่ข้อมูลจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านี้และข้อเท็จจริงที่ว่าแหล่งที่มาของทรัพย์สิน เงินทุนนั้นมาจากประเทศเวเนซุเอลา อันเป็นประเทศที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้จัดอันดับมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้วว่าเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการฟอกเงินสูง
ที่ตั้ง บ.มอร์แกน สแตนลีย์ ณ นครนิวยอร์ก
โดยกฎหมายธนาคารกล่าวของสหรัฐฯได้กำหนดให้ผู้ที่เป็นโบรกเกอร์ (บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์) และสถาบันการเงินอื่นๆนั้นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจของพวกเขาถูกใช้ด้วยจุดประสงค์อันผิดกฎหมาย ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนทั้งข้อมูลลูกค้าของตัวเอง,ข้อมูลความสัมพันธ์อันเกี่ยวข้องกับลูกค้า,และจะต้องมีการประเมินเงินทุนและการโอนเงินจำนวนมหาศาลที่กระทำโดยลูกค้า โดยมาตรการเหล่านี้นั้นเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนของทางรัฐบาลสหรัฐฯ
ซึ่งผลจากการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้นั้นหมายความว่าถ้าหากสถาบันทางการเงินล้มเหลวในการตรวจจับ รายงานและป้องกันการฟอกเงินไม่ให้เกิดขึ้น สถาบันทางการเงินและโบรกเกอร์เหล่านี้ก็จะต้องโทษทางกฎหมายทั้งโทษปรับและโทษทางอาญา แม้ว่าหน่วยงานที่ดำเนินการสอบสวนจะได้ข้อสรุปว่าสถาบันทางการเงินเหล่านี้นั้นจะไม่ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดกฏหมายก็ตาม เพราะถือว่านี่ควรเป็นสิ่งที่สถาบันทางการเงินจะต้องรับรู้ด้วย
อนึ่ง ทั้งนายโรดริเกซและนายรามิเรซนั้นยังไม่ถูกตั้งข้อหาใดๆในประเทศสหรัฐฯแต่อย่างใด ส่วนบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ และบริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์ รวมไปถึงที่ปรึกษาทางการเงินของนายโรดริเกซก็ยังไม่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเช่นกัน
โดยทั้ง SEC และก็ทาง FBI นั้นต่างก็ปฏิเสธที่จะออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนทางบริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์ ก็ได้กล่าวว่า “บริษัทนั้นมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมด แต่บริษัทคงไม่สามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับลูกค้าหรือว่าบัญชีที่เฉพาะเจาะจงได้”
ส่วนนายโรดริเกซและนายรามิเรซ,บริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 2 คนนี้ ทั้งหมดนี้นั้นก็ไม่มีใครตอบคำถามเกี่ยวกับข้อครหาแต่อย่างใด โดยนายรามิเรซ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลาได้เคยระบุถึงกรณีการตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าวแล้วว่าไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและมีแรงจูงใจทางการเมือง
ทั้งนี้นายรามิเรซได้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของรัฐวิสาหกิจบรรษัทน้ำมันแห่งเวเนซุเอลาหรือว่า PDVSA และต่อมาก็ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีด้านพลังงานในสมัยของประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ และต่อมาก็เป็นนายนิโคลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาคนปัจจุบัน โดยนายรามิเรซนั้นยังได้เป็นตัวแทนของประเทศเวเนซุเอลาในเวทีสหประชาชาติจนถึงปี 2560 ซึ่งในเวลาดังกล่าวนั้นทั้งนายมาดูโรและพรรคพวกของเขานั้นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการทุจริต
อนึ่งที่ผ่านมานั้นมีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ PDVSA ได้ถูกไล่ออกจากตำแหน่งได้ข้อกล่าวหาว่าทุจริตในหลายกรณีแล้ว โดยเป็นการกล่าวหาและตัดสินในประเทศสหรัฐฯว่ามีความเกี่ยวข้องการใช้เงินอันผิดประเภทเกิดขึ้น
ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ความปลอดภัยทางการคลังก็ได้กล่าวว่าการสืบสวนนายโรดริเกซนั้นแสดงให้เห็นถึงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับระบบการคลังและระบบตรวจสอบของสหรัฐฯว่าต้องพึ่งพากลุ่มสถาบันทางการเงินเป็นอย่างมากในการจับตาดูกรณีการฉ้อโกงที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ที่ไปที่มาเกี่ยวกับการสอบสวนนั้นเริ่มต้นมาจากผู้แจ้งเบาะแสเข้ามาร้องเรียนการส่งงบทางการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องให้กับทาง SEC เมื่อช่วงปี 2562 โดยมีการร้องให้สอบสวนว่าบริษัทดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวกับกิจกรรมของนายโรดริเกซ ซึ่งการร้องเรียนก็ได้นำไปสู่การสอบสวนความเป็นไปเป็นมา อันสามารถย้อนหลังไปได้เกือบสิบปี
โดยนายโรดริเกซพร้อมด้วยพรรคพวกอีกหลายคนรวมถึงนายรามิเรซถูกกล่าวหาโดยคณะอัยการกำลังถูกไต่สวนที่ศาล ณ ราชรัฐอันดอร์รา (ประเทศในทวีปยุโรปอยู่ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน) ในช่วงปี 2555 ว่ามีการใช้ธนาคาร Banca Privada D’Andorra หรือว่า BPA ของประเทศในการฟอกเงินจำนวนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเงินจำนวนนี้นั้นได้มาจากการทำสัญญาประกันภัยโดยมิชอบกับรัฐวิสาหกิจ PDVSA
สหรัฐอเมริกาออกมาตรการลงโทษยึดทรัพย์รัฐวิสาหกิจ PDVSA เมื่อปี 2562 (อ้างอิงวิดีโอจาก Financial Times)
ขณะที่ทางการสหรัฐฯได้กล่าวว่าทางเวเนซุเอลานั้นได้มีการอนุมัติสัญญาที่มีมูลค่าสูงเกินจริงให้กับรัฐวิสาหกิจน้ำมันโดยอนุมัติให้กับทางคู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำเงินดังกล่าวซึ่งอยู่ในโครงการพลังงานของประเทศเวเนซุเอลาไปแบ่งรายได้กันเอง ซึ่งในกรณีนี้นั้นทางนายรามิเรซได้โต้แย้งข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับทนายความของนายโรดริเกซและจำเลยคนอื่นๆก็ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องการฟอกเงินเช่นกัน โดย ณ เวลานี้คดีในประเทศอันดอร์ราก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาอยู่
อนึ่ง กรณีการกล่าวหาเรื่องการฟอกเงินในประเทศอันดอร์รานั้นถือเป็นอีกเหตุผลที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้นำมาใช้เพื่อลงโทษต่อธนาคาร BPA ในปี 2558 ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวก็ได้ถูกระงับไปแล้ว แต่นั่นก็ส่งผลทำให้ธนาคารแห่งนี้ต้องปิดกิจการลง
ซึ่งทางด้านของอดีตเจ้าหน้าที่ด้านกํากับดูแลการต่อต้านการฟอกเงินและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้กล่าวว่าสถาบันทางการเงินของประเทศสหรัฐฯควรจะจะนำเรื่องเหล่านี้เข้ามาเป็นข้อพิจารณาว่าไม่ควรที่จะเข้าไปจัดการบัญชีให้กับนายโรดริเกซแต่อย่างใด
ทั้งนี้เงินของกองทุนเวเนซุเอลาที่ธนาคาร BPA นั้นถูกสั่งระงับโดยศาลที่ประเทศอันเดอร์รา แต่ปรากฏว่ามีเงินจำนวนกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,750,800,000 บาท) ซึ่งได้ถูกเพิกถอนคำสั่งอายัดไปแล้ว โดยข้อมูลนี้นั้นมาจากรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐฯเมื่อตอนปี 2559 ระบุว่าหลังจากที่ได้มีการเพิกถอนคำสั่งอายุด นายโรดริเกซและพรรคพวกก็ได้มีการโอนเงินกว่า 107.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,628,555,000 บาท) เข้าไปสู่บัญชีของเขาซึ่งเป็นบัญชีในนามบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์
โดยบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ได้เริ่มระแคะระคายเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากมีการรับการโอนเงินเป็นจำนวน 15 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค. 2557-พ.ย. 2558 ซึ่งที่ไปที่มาของเงินก็มาจากเงินในธนาคาร BPA
บริษัทมอร์แกนสตนลีย์จึงได้ปิดบัญชีและนายโรดริเกซก็ได้เคลื่อนย้ายบัญชีไปเมื่อปี 2560 และต่อมานายโรดริเกซก็ได้ไปเปิดบัญชีใหม่กับบริษัท Capital Guardian Wealth Management ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็มีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นของนายฌ็อง ฟรองซัวส์ เดอ แคลร์มอนต์-ตองเนร์ (Jean François de Clermont-Tonnerre) นักธุรกิจและที่ปรึกษาทางการเงินชาวฝรั่งเศสและยังเป็นเพื่อนกับนายโรดริเกซมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ต่อมาในปี 2561 บริษัท Capital Guardian LLC ซึ่งเป็นบริษัทน้องของบริษัท Capital Guardian Wealth Management อันมีเจ้าของบริษัทคนเดียวกัน ก็ได้ถูกขับออกจาก FINRA (The Financial Industry Regulatory Authority หรือ FINRA เป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในการจัดระเบียบตนเองในอุตสาหกรรมการเงิน) เนื่องจากบริษัทแห่งนี้ไม่ได้จ่ายเงินค่าปรับจำนวน 1.25 แสนดอลลาร์สหรัฐ (4,219,250 บาท) เนื่องจากบริษัทเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ทาง FINRA มองว่าเป็นข้อผิดปกติของในด้านธุรกรรมอันเกี่ยวข้องกับประเทศเวเนซุเอลา ซึ่งกรณีนี้นั้นเป็นคนละกรณีกับการสืบสวนนายโรดริเกซ ดังนั้นการไล่ออกจึงมีความหมายว่าบริษัทแห่งนี้ได้เสียใบอนุญาตการเป็นโบรกเกอร์ไปแล้ว
มีรายงานต่อมาว่านายเดอ แคลร์มอนต์-ตองเนร์ได้มีการทำสัญญากับบริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์ ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐเพื่อให้จัดการบัญชีบริษัทของนายโรดริเกซต่อไป
อย่างไรก็ตามโฆษกส่วนตัวของนายเดอ แคลร์มอนต์-ตองเนร์กล่าวว่าตัวนายเดอ แคลร์มอนต์-ตองเนร์นั้นไม่ได้รับรู้และทราบเลยว่านายโรดริเกซกำลังมีพฤติกรรมการฟอกเงินและขอยืนยันว่าทั้งนายเดอ แคลร์มอนต์-ตองเนร์และบริษัทต่างๆของเขาไม่ได้มีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายต่างๆแต่อย่างใด อีกทั้งพวกเขายังได้ดำเนินการตรวจสอบทั้งบทบาทของของบริษัท Capital Guardian,เจ้าของบริษัทและผู้สืบทอดหลังจากนั้นรวมไปถึงบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Avenir Private Advisors ด้วยเช่นกัน
ขณะที่นายมาร์ค คอฟฟี่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบสำหรับทั้งบริษัท Capital Guardian และบริษัท Avenir และยังเป็นผู้ที่แจ้งเบาะแสในแบบฟอร์มในช่วงการยื่นเอกสารให้กับ SEC เมื่อปี 2562 ก็ได้อ้างชื่อนักกฎหมาย 2 คนในแบบฟอร์มนั้นได้แก่นายฟิล บรูวสเตอร์ และนายแพทริค มินซีย์
โดยในแบบฟอร์ม นายคอฟฟี่ได้ให้เอกสารสเตทเม้นท์ทางการเงิน,อีเมล,ข้อความ,บันทึกของบริษัทและหลักฐานอื่นๆ ซึ่งเขายืนยันว่ามีการละเมิดต่อกฎหมายป้องกันการฉ้อโกงในหลายกรณี
ส่วนนายจัสติน โลว์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัท Avenir กล่าวว่าทาง SEC ได้มีการตรวจสอบบริษัทไปแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือนเมื่อช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่พบประเด็นปัญหาแต่อย่างใด และยืนยันว่าบริษัทของเขานั้นไม่ได้มีพฤติกรรมละเมิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตามหลังจากการตรวจสอบของ SEC หน่วยงานกํากับดูแลของสหรัฐฯก็ได้ลงบันทึกในสถานะลงทะเบียนของบริษัทว่าถูกเพิกถอน ซึ่งหมายความว่าบริษัทนี้ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้แล้ว
นายคอฟฟี่ยังได้กล่าวด้วยว่าตัวเขานั้นมีความระแคะระคายตั้งแต่ต้นแล้ว ในตอนที่เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินได้มีการส่งมอบข้อมูลบัญชีของบริษัท Avenir Private Advisors ในช่วงปี 2562 ซึ่งในข้อมูลบัญชีดังกล่าวพบว่านายโรดริเกซมีการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับที่ปรึกษาทางการเงินเป็นมูลค่าที่สูงมาก คิดเป็น 2-3 เท่าของราคาตลาดเมือเปรียบเทียบกับขนาดบัญชีของนายโรดริเกซเอง
ซึ่งในช่วงเวลาที่นายโรดริเกซได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมอันน่าสงสัยที่เขาได้ตรวจพบเกี่ยวกับบัญชี ทางเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินก็ได้เริ่มกระบวนการชำระบัญชี โดยเฉพาะกับจำนวนเงินที่ยังเหลือกว่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,362,780,000 บาท) ซึ่งเงินดังกล่าวถูกเปิดเป็นชื่อของนายโรดริเกซในบัญชีของบริษัทอินเตอร์แอคทิฟ โบรคเกอร์
เรียบเรียงจาก:https://www.wsj.com/articles/morgan-stanley-and-interactive-brokers-face-federal-scrutiny-in-venezuela-probe-11633020321
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/