ข้อตกลงที่บริษัทไฟเซอร์ได้เซ็นกับรัฐบาลบราซิลนั้นระบุถึงสิทธิขาดในการที่บริษัทจะควบคุมอุปทานอันเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ โดยรัฐบาลบราซิลนั้นถูกห้ามไม่ให้รับการบริจาควัคซีนไฟเซอร์ใดๆจากทางหน่วยงานอื่นๆ และถูกห้ามไม่ให้ดำเนินการบริจาคด้วยเช่นกัน และบริษัทไฟเซอร์ยังได้ระบุในประโยคหนึ่งในสัญญากับประเทศอัลบาเนีย,บราซิลและโคลอมเบียอีกว่าถือเป็นสิทธิขาดของบริษัทฝ่ายเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดส่งวัคซีนได้ ถ้าหากเกิดกรณีขาดแคลนขึ้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอขยายประเด็นเรื่องของความไม่โปร่งใสในการทำสัญญาจัดส่งวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ หลังจากที่เคยปรากฏเป็นข่าวไปแล้วเมื่อตอนช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาว่ามีการทำสัญญาเอาเปรียบประเทศที่ยากจน (อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด)
ซึ่ง ณ เวลานี้นั้นมีรายงานว่าบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐฯนั้นมียอดขายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19ไปมากกว่า 3.5 พันล้านโดสแล้ว และคาดว่ายอดขายนี้จะเพิ่มเป็นสองเท่าในปี 2565
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าววอชิงตันโพสต์ได้มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสัญญาวัคซีนที่เอาเปรียบของบริษัทไฟเซอร์เพิ่มเติมโดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์กรกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิผู้บริโภคที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Public Citizen) ซึ่งองค์กรนี้นั้นสามารถเข้าถึงเอกสารสัญญาวัคซีนไฟเซอร์จำนวนมากที่รั่วไหลและไม่ได้คาดแถบดำได้ โดยองค์กรได้กล่าวหาว่ารายละเอียดในเอกสารนั้นบ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทไฟเซอร์กำลังแปรเปลี่ยนความเสี่ยงเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อบริษัท
องค์กรระบุต่อไปด้วยว่ารายละเอียดของสัญญาทั่วไปนั้นมีการระบุถึงรายละเอียดทั้งการเก็บลักษาความลับ,การบล็อกการบริจาควัคซีนไฟเซอร์,การระบุการแก้ไขข้อพิพาทจะต้องดำเนินการอย่างเป็นความลับในชั้นศาลอนุญาโตตุลาการ,ทั้งนี้บริษัทไฟเซอร์นั้นจะมีอภิสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการตัดสินใจที่สำคัญๆได้หลายประการ รวมไปถึงวันที่จะต้องส่งมอบวัคซีน และมีการเรียกระบุให้นำเอาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะของประเทศนั้นๆมาเป็นหลักประกันในเรื่องของการทำสัญญาวัคซีน
ขณะที่นางชารอน คาสติลโล โฆษกหญิงของบริษัทไฟเซอร์ได้ระบุถึงรายละเอียดในเรื่องการรักษาความลับในสัญญาดังกล่าวว่าถือว่าเป็นมาตรฐานของการทำสัญญาการค้าอยู่แล้ว และจะเป็นกลไกทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคู่สัญญา โดยจะเป็นสิ่งที่ปกป้องข้อมูลความลับทางการค้าที่มีการแลกเปลี่ยนจะหว่างกันในช่วงที่มีการเจรจาและการทำขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเซ็นสัญญา
อนึ่งทั้งบริษัทไฟเซอร์และบริษัทโมเดอร์นานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี mRNA เพื่อใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาก็มีผู้วิจารณ์ว่าทั้ง 2 บริษัทกำลังดำเนินการผูกขาดตลาดแต่เพียงผู้เดียว
โดยบริษัทไฟเซอร์แม้ว่าจะไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาลสหรัฐฯผ่านปฏิบัติการณ์วาร์ปสปีด แต่ตัวบริษัทก็ยังได้รับคำสั่งซื้อล่วงหน้าคิดเป็นปริมาณที่มหาศาลจากทางรัฐบาลสหรัฐฯ และบริษัทก็ได้คัดค้านในเรื่องของการสละสิทธิ์การครอบครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อที่จะแบ่งปันการใช้เทคโนโลยีของบริษัทมาโดยตลอดด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวกรณีบริษัทไฟเซอร์ทำสัญญาเอาเปรียบรัฐบาล (อ้างอิงวิดีโอจาก WION)
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้มีการตรวจสอบเงื่อนไขของสัญญาระหว่างบริษัทไฟเซอร์กับรัฐบาลประเทศต่างๆนั้นได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่าข้อเรียกร้องต่างๆที่ปรากฎอยู่ในเงื่อนไขนั้นมีความสุดโต่งเป็นอย่างยิ่ง โดยในสัญญาที่ได้กระทำกับรัฐบาลของประเทศบราซิล,ชิลี,โคลอมเบียและสาธารณรัฐโดมินิกัน พบว่ามีการระบุในรายละเอียดว่า “มีการขอสิทธิคุ้มครองต่อการเข้าไปยึดทรัพย์สินใดๆของตัวบริษัทเอง”
“มันเกือบจะคล้ายว่าบริษัทได้ขอทางรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อที่จะให้เอาหุบเขาแกรนด์แคนย่อนมาเป็นหลักประกัน” นายลว์เรนซ์ กอสติน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์กล่าว
ขณะที่บริษัทไฟเซอร์ก็ได้ปฎิเสธข้อสรุปดังกล่าว
“ไฟเซอร์ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงทรัพย์สินอันเกี่ยวข้องกับการทูต,การทหาร,หรือวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆแต่อย่างใด การนำเสนอข้อมูลอะไรก็ตามที่ขัดแย้งจากนี้ถือเป็นการนำเสนอข้อมูลอันไร้ความรับผิดชอบและนำไปสู่ความเข้าใจผิด” นางคาสติลโลกล่าว
ซึ่งจากรายละเอียดของสัญญานั้นก็ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่งวัคซีนให้กับหลายประเทศ โดยพบข้อมูลว่ามี 2 ประเทศเป็นอย่างน้อยที่ถอนตัวจากการเจรจาและวิจารณ์ข้อเรียกร้องของบริษัทให้สาธารณชนได้รับทราบ แต่อย่างไรก็ตามในภายหลังทั้ง 2 ประเทศที่ว่ามานี้ในที่สุดก็บรรลุข้อตกลงกับบริษัทไฟเซอร์
อนึ่งประเด็นเรื่องกาทำสัญญาโดยเฉพาะการพึ่งพาศาลอนุญาโตตุลาการและการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายนั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกอยู่แล้ว โดยในกรณีของประเทศบราซิลมีประเด็นที่น่าสังเกตุก็คือในเรื่องของราคาวัคซีนไฟเซอร์นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (333.65 บาท) ซึ่งถือว่าถูกกว่าวัคซีนของคู่แข่งมาก
“บริษัทยาควรที่จะต้องมีความกังวลในแง่มุมต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือกรณีการใช้งานวัคซีนซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งพวกเขาอาจต้องมีภาระรับผิดชอบต่อกรณีการบาดเจ็บใดๆที่มีต้นเหตุมาจากวัคซีน”นางจูเลีย บาร์นส์-ไวส์ ผู้อำนวยการกลุ่มพันมิตรเพื่อการเร่งผลิตนวัตกรรมการดูแลสุขภาพระดับโลกหรือ Global Healthcare Innovation Alliance Accelerator กล่าว
@สัญญาอันเป็นความลับ
บริษัทไฟเซอร์ได้มีการทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการจำนวน 73 รายการ อันเกี่ยวข้องกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่า โดยข้อมูลดังล่าวนั้นมาจากองค์อรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ แต่อย่างไรก็ตามมีสัญญาจำนวนแค่ 5 ฉบับเท่านั้นที่ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาล และรายละเอียดส่วนมากก็มีการคาดแถบดำในส่วนที่สำคัญ
“กรณีการปกปิดการเผยแพร่เอกสารสำคัญหรือสัญญาให้สาธารณชนรับรู้ด้วยการคาดแถบดำที่ข้อความนั้นมีความหมายว่าเราไม่รู้เลยว่าวัคซีนจะมาถึงอย่างไร และมาถึงเมื่อไร ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรถ้าหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และไม่รู้ว่าถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้นมา ผู้ซื้อจะต้องแบกรับความเสี่ยงทางการเงินเป็นระดับใดกันแน่”นายทอม ไรท์ ผู้ดำเนินการด้านการวิจัยสาธารณสุขในองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติกล่าว
อนึ่งข้อมูลส่วนมากเกี่ยวกับสัญญาของบริษัทไฟเซอร์นั้นมักจะเป็นที่รับรู้จากการรั่วไหลผ่านการทำงานของผู้สื่อข่าวทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับนานาชาติ ซึ่งรวมไปถึงการเปิดโปงจาก “สำนักข่าวสืบสวน” The Bureau of Investigative Journalism เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่องค์กร Public Citizen ก็ได้มีการวิเคราะห์ข้อตกลงหลายฉบับ ทั้งฉบับร่างที่ยังไม่มีการคาดแถบดำที่บริษัทไฟเซอร์ได้ทำขึ้นกับรัฐบาลประเทศอัลบาเนีย รวมไปถึงเอกสารข้อตกลงขึ้นสุดท้ายซึ่งไม่ได้มีการคาดแถบดำที่บริษัทได้ทำไว้กับประเทศบราซิล,โคลอมเบีย,สาธารณรัฐโดมินิกัน,เปรู และสหภาพยุโรปหรืออียู วิเคราะห์เอกสารคาดแถบดำที่ถูกเปิดเผยโดยประเทศชิลี,สหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักรเพิ่มเติมแม้ว่าเอกสารเหล่านี้จะขาดรายละเอียดที่สำคัญบางประการ
ก็พบข้อมูลว่าสัญญาที่ได้ทำไว้กับประเทศบราซิลนั้นมีการห้ามไม่ให้รัฐบาลดำเนินการ “ประกาศต่อสาธารณชนใดๆอันเกี่ยวกับเงื่อนไขของข้อตกลง หรือแสดงความเห็นอันเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบริษัทไฟเซอร์” ก่อนที่จะได้รับความยินยอมจากบริษัทเสียก่อน
“เรื่องเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกระดับหนึ่งเลย”นายทาฮีร์ อามีน นักกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง I-Mak องค์กรด้านสาธารณสุขอันไม่แสวงหาผลกำไรกล่าว
ทั้งนี้ข้อตกลงที่บริษัทไฟเซอร์ได้เซ็นกับรัฐบาลบราซิลนั้นระบุถึงสิทธิขาดในการที่บริษัทจะควบคุมอุปทานอันเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ โดยรัฐบาลบราซิลนั้นถูกห้ามไม่ให้รับการบริจาควัคซีนไฟเซอร์ใดๆจากทางหน่วยงานอื่นๆ และถูกห้ามไม่ให้ดำเนินการบริจาคด้วยเช่นกัน และบริษัทไฟเซอร์ยังได้ระบุในประโยคหนึ่งในสัญญากับประเทศอัลบาเนีย,บราซิลและโคลอมเบียอีกว่าถือเป็นสิทธิขาดของบริษัทฝ่ายเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดส่งวัคซีนได้ ถ้าหากเกิดกรณีขาดแคลนขึ้น
เอกสารสัญญาการจัดซื้อของรัฐบาลอัลแบเนีย ที่ระบุชัดเจนว่าผู้ซื้อต้องปกป้องบริษัทไฟเซอร์
นอกจากนี้ในรายละเอียดสัญญากับประเทศบราซิล,ชิลี,โคลอมเบีย,สาธารณรัฐโดมินิกัน และเปรู ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศเหล่านี้เซ็นยอมรับในรายละเอียดของเอกสารอีกว่า “จะต้องสละสิทธิ์คุ้มครองอย่างชัดแจ้ง และไม่สามารถเพิกถอนได้ ต่อกรณีการมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทที่จะได้รับในอนาคต” หรือก็คือหมายความว่าเงื่อนไขของข้อตกลงนั้นเรียกร้องให้ทางรัฐบาลได้ละเว้นต่อการคุ้มกันต่อการยึดทรัพย์สินของทางบริษัทนั่นเอง
ขณะที่องค์กร Public Citizen ได้ตรวจสอบพบว่าสัญญาหลายฉบับนั้นเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ “เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ปกป้องและไม่ทำอันตรายต่อบริษัทไฟเซอร์จากทั้งการต่อต้าน,การฟ้องร้องทางกฎหมาย,ข้อเรียกร้อง,ความเสียหาย และค่าใช้จ่ายใดๆก็ตามอันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของวัคซีน”
@บริษัทขนาดใหญ่อันมีข้อปกปิด
ทั้งนี้บริษัทไฟเซอร์นั้นยังไม่เคยเจอประเด็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทางสาธารณชนแบบเดียวกับที่บริษัทโมเดอร์นาเจอเมื่อครั้งมีข้อกล่าวหาว่าบริษัทโมเดอร์นาอาจจะเคยมีพฤติกรรมการโก่งราคาและการชะลอการจัดส่งวัคซีนมาก่อน โดยบริษัทวิเคราะห์ Airfinity ในสัปดาห์นี้นั้นได้มีการคาดการณ์กันว่ายอดขายวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์นั้นจะมีมูลค่าพุ่งสูงถึง 5.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,818,392,500,000 บาท) ในช่วงปี 2565 หรือคิดเป็นยอดขายสูงเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทโมเดอร์นา
มีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่จากประเทศหนึ่งซึ่งมีส่วนในการเจรจากับบริษัทไฟเซอร์ และไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยเรื่องนี้ได้กล่าวว่าประเทศของเขาพบว่าบริษัทไฟเซอร์นั้นถือว่าเป็นคู่เจรจาที่ยากจะเจรจาด้วยได้ แต่ตัวบริษัทก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือได้ในแง่การส่งมอบปริมาณวัคซีน
ซึ่งแน่นอนว่าวัคซีน mRNA ของบริษัทไฟเซอร์นั้นมีลักษณะที่เหมือนกับวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นาประการหนึ่งก็คือมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ให้ภูมิคุ้มกันได้ยาวนาน โดยเฉพาะเมื่อต้องรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทั้งนี้จากข้อมูลที่รั่วไหลออกมา ดูเหมือนว่าบริษัทไฟเซอร์จะมีการขายวัคซีนในราคาที่ถูกกว่าเมื่อต้องขายวัคซีนให้กับประเทศที่ยากจนซึ่งมีอำนาจต่อรองที่ต่ำกว่า
ขณะที่นางคาสติลโล โฆษกหญิงของบริษัทไฟเซอร์ได้มุ่งมั่นที่จะมีการกำหนดราคาแบบเป็นลำดับราคาไป โดยประเทศร่ำรวยนั้นจะจ่ายในราคาต่อโดสวัคซีนเทียบเท่ากับราคาอาหารสั่งกลับบ้าน ในคณะที่ประเทศรายได้ต่ำและปานกลางจะได้รับการเสนอราคาอันเป็นราคาที่ไม่แสวงหาผลกำไร และบริษัทก็ได้มีการจัดส่งวัคซีนไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางไปแล้วเป็นจำนวนกว่า 99 ล้านโดส และคาดว่าจะเพิ่มการจัดส่งปริมาณวัคซีนเหล่านี้ในสัดส่วนที่มากขึ้นภายในช่วงสิ้นปี 2564
ส่วนนายบาร์น-ไวส์ กล่าวว่าเงื่อนไขสัญญาอันเกี่ยวข้องกับความคุ้มกันแห่งรัฐนั้นอาจจะเป็นความพยายามของบริษัทไฟเซอร์ที่จะครอบคลุมความเสี่ยงในปัจจัยซึ่งบริษัทมีอำนาจควบคุมได้น้อยมาก ซึ่งรวมไปถึงการใช้งานวัคซีนที่ใหม่และยังไม่ได้รับการอนุมัติ ในประเทศคู่ค้าที่บริษัทมีขอบเขตในการกำกับดูแลการจัดเก็บและแจกจ่ายวัคซีนได้น้อยมาก ดังนั้นจึงทำให้บริษัทไฟเซอร์มีความกังวลว่าอาจจะเกิดการฟ้องร้องขึ้นมาได้
ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่เรียกว่ากฎหมายชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ผลิตวัคซีนอยู่แล้ว แต่ทว่าประเทศส่วนมากแล้วไม่มีกฎหมายที่ว่านี้
อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติก็ได้โต้แย้งในข้อถกเถียงนี้ โดยระบุว่ามีข้อมูลว่ามีอย่างน้อย 4 สัญญา หรือว่าร่างสัญญาที่ทางองค์กรได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว และพบว่าบริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องไปไกลกว่าบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนรายอื่นๆ อันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อรัฐบาลของประเทศต่างๆและผลักภาระความรับผิดชอบไปให้ห่างจากบริษัทผู้พัฒนาวัคซีน แม้ว่าความผิดพลาดจะเกิดจากตัวบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนหรือบริษัทคู่ค้าที่ดำเนินการด้านห่วงโซ่อุปทานก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นข้อผิดพลาดที่ว่ามานี้นั้นถือว่าไปไกลกว่าแค่ในเรื่องผลข้างเคียงอันหายากของวัคซีนเป็นอย่างมาก
ส่วน พญ.ซูรี มูน ผู้อำนวยการร่วมที่ศูนย์สาธารณสุขโลกที่สถาบันบัณฑิตศึกษานานาชาติและการพัฒนา ณ กรุงเจนีวาได้กล่าวว่าในประเด็นเรื่องข้อห้ามประเทศเหล่านี้รับบริจาควัคซีนนั้นคือสิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งและเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเป้าหมายการดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องการโดยเร็วที่สุด
แต่นางคาสติลโลยืนยันว่าบริษัทไฟเซอร์ ณ เวลานี้ ไม่ได้มีการดำเนินการทางกฎหมายกับทางรัฐบาลใดๆเลยในประเด็นอันเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส
สำหรับประเด็นเรื่องที่ว่ามี 2 ประเทศที่ต้องออกจากการเจรจากับบริษัทไฟเซอร์ และสุดท้ายก็ต้องกลับเข้ามาสู่การเจรจานั้น ก็มีในกรณีได้แก่เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศบราซิลได้ออกมาป่าวประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบว่าบริษัทไฟเซอร์ได้ยืนยันเงื่อนไขสัญญาอันไม่เป็นธรรมและไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในส่วนของสัญญาอันเกี่ยวกับการรักษาความลับ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายเดือนหลังจากนั้น ประเทศบราซิลก็ได้มีการเซ็นสัญญามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (33,365,000,000 บาท) กับบริษัทเพื่อแลกวัคซีนจำนวนกว่า 100 ล้านโดส
ซึ่งทางด้านขององค์กร Public Citizen ได้กล่าวว่าในเอกสารสัญญาที่ประเทศบราซิลได้เซ็นและรั่วไหลออกมาในภายหลังนั้นพบว่ามีรายละเอียดเป็นจำนวนมากที่ประเทศบราซิลได้คัดค้านไว้ก่อนหน้านี้
องค์กร Public Citizen เปิดเผยถึงการทำสัญญาของบริษัทไฟเซอร์อันไม่เป็นธรรม (อ้างอิงวิดีโอจาก NewsNation Now)
ส่วนอีกประเทศหนึ่งที่คัดค้านและออกจากการเจรจากับบริษัทไฟเซอร์ในตอนแรกก็คือประเทศอาร์เจนตินา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนก่อนหน้านี้นั้นได้ออกมาประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบว่าบริษัทไฟเซอร์มีพฤติกรรมที่แย่มากและข้อเรียกร้องของบริษัทยังไม่เป็นการเคารพต่อกฎหมายของประเทศอาร์เจนตินา แต่อย่างไรก็ตาม ในภายหลังประเทศอาร์เจนตินาก็ได้มีการเซ็นสัญญาจัดซื้อวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์จำนวนกว่า 20 ล้านโดส โดยจนถึง ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีการเปิดโปงเอกสารสัญญาที่ไม่ได้คาดแถบดำออกมา
อนึ่งโครงการโคแวกซ์ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการแบ่งปันวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ก็พบว่ามีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทในการเจรจาภายหลังกับบริษัทไฟเซอร์เช่นกัน โดยในท้ายที่สุดพบว่าโคแวกซ์สามารถจัดซื้อวัคซีนโดยตรงกับบริษัทไฟเซอร์ได้เพียงแค่ 40 ล้านโดสเท่านั้น และภายหลังโคแวกซ์ก็ได้บรรลุข้อตกลงกับทางกรุงวอชิงตันดีซีประเทศสหรัฐอเมริกา ในการจัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์จากสหรัฐฯจำนวนกว่า 500 ล้านโดส ซึ่งทางโคแวกซ์ก็ได้นำวัคซีนไฟเซอร์ที่ว่านี้ไปบริจาคให้กับประเทศรายได้ต่ำที่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ต่อไป
ทางองค์กร Public Citizen ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯใช้ข้อต่อรองของทางรัฐบาลเองบังคับให้บริษัทไฟเซอร์ดำเนินการที่แตกต่างออกไปหลังจากนี้ ซึ่งรวมไปถึงการที่บริษัทจะต้องแบ่งปันเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาให้กับเหล่าผู้ผลิตรายอื่นๆเพื่อที่พวกเขาจะสามารถผลิตวัคซีนได้มากขึ้น
“ประชาคมโลกไม่ควรจะนิ่งเฉยและอนุญาตให้บริษัทยานั้นมีสิทธิที่จะผูกขาด เรียกร้องอยู่ฝ่ายเดียว ทีมบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ควรที่จะต้องก้าวเข้ามาและสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น” นพ.เซน ริซวี นักวิจัยขององค์กร Public Citizen ที่เขียนเรื่องนี้กล่าวในรายงาน
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/