มีรายงานว่าในรายละเอียดส่วนมากของสัญญาของรัฐบาลอังกฤษกับบริษัทไฟเซอร์เพื่อที่จะจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศอังกฤษคิดเป็นจำนวนกว่า 189 ล้านโดสนั้นถูกคาดสีดำเอาแล้ว และยังได้มีการเก็บความลับในส่วนรายละเอียดต่างๆอันเกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นอันเกี่ยวกับสัญญาของบริษัทวัคซีนไฟเซอร์กันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศราได้นำเสนอประเด็นความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการทำสัญญาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ในประเทศที่มีรายได้ต่ำจนถึงปานกลางไปแล้ว
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ล่าสุดเมื่อประมาณวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวการ์เดี้ยนของอังกฤษได้รายงานข้อมูลว่ารัฐมนตรีหลายคนของประเทศอังกฤษนั้นได้มีการทำข้อตกลงอันเป็นความลับในเรื่องเกี่ยวกับข้อพิพาทใดๆกับทางบริษัทไฟเซอร์ ในส่วนของรายละเอียดอันเกี่ยวข้องกับการจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศอังกฤษ
โดยมีรายงานว่าในรายละเอียดส่วนมากของสัญญาของรัฐบาลอังกฤษกับบริษัทไฟเซอร์เพื่อที่จะจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศอังกฤษคิดเป็นจำนวนกว่า 189 ล้านโดสนั้นถูกคาดสีดำเอาแล้ว และยังได้มีการเก็บความลับในส่วนรายละเอียดต่างๆอันเกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
อนึ่งการเปิดโปงดังกล่าวนั้นมีที่มาที่ไปมาจากกรณีที่มีอดีตเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กล่าวหาบริษัทไฟเซอร์ว่า “ทำสงครามแสวงหาผลกำไร” ในช่วงระหว่างที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19
ซึ่งรายละเอียดการเปิดโปงดังกล่าวนั้นมาจากรายการข่าวสืบสวนสอบสวนของช่อง Channel 4 ที่มีการออกอากาศเมื่อสัปดาห์ท่านมา โดย นพ.ทอม ฟรีเดน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯหรือว่าซีดีซี ในสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้กล่าวในรายการว่า “ถ้าหากคุณมุ่งเน้นไปที่การแสวงหาผลกำไรเป็นหลักและคุณเป็นผู้ผลิตวัคซีน คุณก็คือคนที่ทำสงครามด้านการแสวงหาผลกำไร”
รายการ Channel 4 ซึ่งเปิดโปรงบริษัทไฟเซอร์
ขณะที่นายเซน ริซวี นักวิจัยจากองค์กร Public Citizen อันเป็นองค์กรเกี่ยวกับการสนับสนุนผู้บริโภคในสหรัฐฯ และยังเป็นองค์กรที่ตรวจสอบสัญญาวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ก็ได้กล่าวว่า “มีกำแพงความลับอยู่ล้อมรอบในสัญญาเหล่านี้และมันอยู่ในระดับที่ยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติในด้านการสาธารณสุข”
นายริซวีกล่าวต่อไปว่ารัฐบาลประเทศอังกฤษนั้นควรที่จะอธิบายว่าทำไมถึงได้มีการตกลงที่จะให้มีกระบวนการอนุญาโตตุลาการในเชิงลับ
“ประเทศอังกฤษนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีรายได้สูงเพียงประเทศเดียวที่เราเห็นว่าได้เซ็นตกลงภายใต้บทบัญญัตินี้ ซึ่งอนุญาตให้ทางบริษัทยานั้นสามารถใช้ช่องทางเลี่ยงกระบวนการทางกฎหมายภายในประเทศได้ โดยรัฐบาลอังกฤษนั้นได้อนุญาตให้บริษัทยาจำนวนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องในสัญญาได้ ก็เลยต้องถามว่าเราตกอยู่ภายใต้สถานการณ์นี้ได้อย่างไร สถานการณ์ซึ่งบริษัทยาจำนวนหนึ่งนั้นสามารถควบคุมหนึ่งในรัฐบาลที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกได้ นี่เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่ามันคือระบบที่มีปัญหา” นายริซวีกล่าว
อนึ่งบริษัทไฟเซอร์นั้นได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างยิ่งจากบทบาทในโครงการจัดหาวัคซีน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทข้ามชาติของสหรัฐฯแห่งนี้ก็ต้องเผชิญกับการถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากประเด็นเรื่องการหาผลกำไรที่มาก และสัดส่วนของปริมาณวัคซีนที่ส่งไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำ
ในขณะที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้านั้นตกลงที่จะขายวัคซีนในราคาที่เท่าทุนในช่วงของวิกฤติการระบาด บริษัทไฟเซอร์กลับต้องการที่จะหาผลกำไร โดยสัญญาของวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์หรือที่มีชื่อทาการว่าโคเมอร์นาตี้นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในสัญญาด้านการยาที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯหรือว่า FDA กล่าวว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 55 ปี ในการดำเนินการขอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสัญญาวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์
ซึ่งในการสืบสวนของ Channel 4 ได้เปิดเผยบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชีวภาพรายหนึ่งที่อ้างว่าบริษัทไฟเซอร์นั้นใช้ทุนเพื่อผลิตวัคซีนไปประมาณ 76 เพนนี หรือประมาณ 33.90 บาท ต่อโดส แต่ปรากฏว่ามีการขายวัคซีนต่อโดสคิดเป็นมูลค่า 22 ปอนด์ (981.39 บาท) ให้กับทางรัฐบาลอังกฤษ
ทั้งนี้มีการประเมินกันว่าราคาต้นทุนการผลิตดังกล่าวนั้นไม่รวมค่าวิจัย,ค่าแจกจำหน่ายและค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ทางบริษัทไฟเซอร์นั้นได้กล่าวว่าอัตรากำไรของบริษัทก่อนการหักภาษีนั้นอยู่ที่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป โดยบริษัทนั้นมีกำหนดการที่จะส่งวัคซีนจำนวนกว่า 2.3 พันล้านโดสในปีนี้ และมีการคาดการณ์รายได้เอาไว้ที่ 2.63 หมื่นล้านปอนด์ (1,173,212,462,807 บาท)
ส่วนรายงานเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อวัคซีน (People’s Vaccine Alliance) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันขององค์กรการกุศลช่วยเหลือทางสังคมต่างๆก็ได้กล่าวว่าบริษัทไฟเซอร์และบริษัทยาอื่นๆนั้นได้ขายโดสวัคซีนเป็นจำนวนมากให้กับประเทศที่ร่ำรวย และทิ้งประเทศที่ยากจนกว่าไป โดยพบว่ามีแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำเท่านั้นที่มีการฉีดวัคซีนครบแล้ว และบริษัทยาก็ควรที่จะระงับสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19,การรักษาผู้ป่วย และในเรื่องของอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ
โดยขณะนี้บริษัทไฟเซอร์นั้นกำลังถูกตรวจสอบว่าในข้อหาว่ามีการหาผลกำไรจากทั่วโลกที่มากจนเกินไป ขณะที่บริษัทร่วมทุนอย่างบริษัทไบออนเท็คเองก็ประกาศในช่วงเดือน ก.ย. 2563 ว่าบริษัทนั้นได้รับเงินจำนวนกว่า 375 ยูโร (14,263,663,875 บาท) จากรัฐบาลเยอรมนี เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีน
ขณะที่นางแอนนา แมริออท ผู้จัดการด้านนโยบายสุขภาพที่องค์กรอ็อกแฟนซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับทุนจากเอกชนซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านการบรรเทาทุกข์และการพัฒนาแก่พื้นที่ยากจนหรือประสบภัยพิบัติ ก็ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกถูกปฏิเสธในการเข้าถึงวัคซีน เพียงเพราะว่าบริษัทยานั้นต้องการที่จะทำกำไร เนื่องจากว่าการลงทุนของภาครัฐนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาวัคซีนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลยที่บริษัทยาจจะให้ความสำคัญกับการผูกขาดมากกว่าชีวิตของผู้คน
ทั้งนี้บริษัทไฟเซอร์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะจัดส่งวัคซีนอีก 40 ล้านโดสให้กับโครงการโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการการจัดส่งวัคซีนของสหประชาชาติให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งนั่นถือว่าน้อยกว่าจำนวน 2 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการผลิตทั่วทั้งโลกในช่วงปี 2564 โดยบริษัทได้กล่าวว่าบริษัทได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะส่งวัคซีนอีกกว่าสองพันล้านโดสในช่วงก่อนสิ้นปี 2565
บริษัทไฟเซอร์กล่าวว่าการผลิควัคซีนของบริษัทนั้นถือว่ามีการขยายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และบริษัทก็ภูมิใจที่ได้จัดส่งวัคซีนมากกว่า 2 พันล้านโดสไปยัง 162 ประเทศทั่วโลก และขอยืนยันว่าการจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศรายได้ต่ำนั้นก็เป็นราคาที่ไม่แสวงหาผลกำไร และประเทศอื่นๆเองก็ได้รับวัคซีนในราคาที่มีส่วนลดอย่างมีนัยยะสำคัญ
บริษัทกล่าวต่อว่า “โรคระบาดนี้นั้นได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าอันมหัศจรรย์ที่ภาคส่วนเอกชนจะสามารถมอบให้กับภาคสังคมได้” ซึ่งข้อตกลงคววามลับของบริษัทนั้นแสดงให้เห็นถึงหลักปฏิบัติตามมาตรฐาน
บริษัทไฟเซอร์ยังได้ตอบโต้ต่อคำวิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชีวภาพที่ไปออกรายการใน Channel 4 โดยกล่าวว่าข้อมูลเรื่องราคาคาดการณ์เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตวัคซีนนั้นไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรงและไร้ความหมาย เพราะว่าข้อมูลนี้ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงราคาของการจัดส่งวัคซีนไปให้ถึงผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีน และยังไม่สะท้อนถึงราคาในกระบวนการทดลอง การศึกษา การเพิ่มกำลังการผลิต และการจัดส่งวัคซีนทั่วโลก
ขณะที่รัฐบาลอังกฤษก็ได้กล่าวว่าสัญญาวัคซีนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางการค้าและรัฐบาลก็ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก ขณะที่บริษัทไบออนเท็คนั้นก็ปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียงจาก:https://www.theguardian.com/uk-news/2021/dec/05/wall-of-secrecy-in-pfizer-contracts-as-company-accused-of-profiteering
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับนักธุรกิจเซเชลส์ฟอกเงิน1.6 พัน ล. โยงเครือข่าย บ.นอกอาณาเขต
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการสวิส'สั่งปรับ 2.5 ร้อย ล. บ.พลังงาน เอี่ยวปมสินบนแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราแฉ ราชวงศ์ UAE เอี่ยว บ.ออฟชอร์ให้บริการลูกค้าผิด กม.เพียบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/