รัฐวิสาหกิจ BEST ของประเทศบรูไนได้ประกอบกิจการแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งร่วมกับบริษัทข้ามชาติของเมียนมาที่ชื่อว่า International Group of Entrepreneurs (IGE) ซึ่งบริษัทข้ามชาติแห่งนี้ก็มีความสนิทกับกลุ่มผู้นำทหารและยังได้สัญญาการทำแท่นขุดเจาะดังกล่าวในปี 2557 โดยในปีนั้นยังเป็นช่วงเวลาที่พรรคสหสามัคคีเพื่อการพัฒนา (ยูเอสดีพี) ซึ่งเป็นพรรคตัวแทนของกองทัพเมียนมาเข้าปกครองประเทศเมียนมา
.............................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสในกรณีที่รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศบรูไนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของกองทัพเมียนมา ในขณะที่เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 54ได้มติเห็นชอบการแต่งตั้งดาโตะเอรีวัน เปฮิน ยูซอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศคนที่สองของบรูไน เป็นผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา (Special Envoy of the ASEAN Chair on Myanmar)
ดาโตะเอรีวัน เปฮิน ยูซอฟ ขณะพูดที่องค์การสหประชาชาติเมื่อเดือน ก.ย. 2562 (อ้างอิงวิดีโอจากองค์การสหประชาชาติ)
โดยสำนักข่าวอิระวดีของเมียนมาได้รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มเคลื่อนไหว Justice for Myanmar ซึ่งได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทางอาเซียนนั้นเป็นการไม่เหมาะสมเนื่องจากความเกี่ยวข้องกันระหว่างรัฐวิสาหกิจของประเทศบรูไนที่เข้าไปมีส่วนกับกองทัพเมียนมา
ซึ่งรัฐวิสาหกิจแห่งดังกล่าวนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานมีชื่อว่า Brunei Energy Services & Trading หรือมีตัวย่อว่า BEST (รัฐวิสาหกิจแห่งนี้มีเชื่อเดิมว่าบรรษัทน้ำมันแห่งชาติบรูไนหรือ PetroleumBRUNEI)
โดยจากการตรวจสอบพบว่ารัฐวิสาหกิจ BEST ของประเทศบรูไนได้ประกอบกิจการแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งร่วมกับบริษัทข้ามชาติของเมียนมาที่ชื่อว่า International Group of Entrepreneurs (IGE) ซึ่งบริษัทข้ามชาติแห่งนี้ก็มีความสนิทกับกลุ่มผู้นำทหารและยังได้สัญญาการทำแท่นขุดเจาะดังกล่าวในปี 2557 โดยในปีนั้นยังเป็นช่วงเวลาที่พรรคสหสามัคคีเพื่อการพัฒนา (ยูเอสดีพี) ซึ่งเป็นพรรคตัวแทนของกองทัพเมียนมาเข้าปกครองประเทศเมียนมา
เส้นทางธุรกิจของบริษัท International Group of Entrepreneurs (IGE)
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าธุรกิจน้ำมันของประเทศบรูไนนั้นยังได้ดำเนินกิจการผ่านรัฐวิสาหกิจบรุไนอีกแห่งที่มีชื่อว่า BRUNEI Energy Myanmar หรือที่มีชื่อเดิมว่า PB Myanmar ซึ่งมีข้อตกลงกันชัดเจนว่าจะมีการแบ่งผลประกอบการให้กับรัฐวิสาหกิจก๊าซและน้ำมันพม่า (Myanmar Oil Gas Enterprise) หรือ MOGE ด้วยเช่นกัน
โดยมีความเชื่อกันว่ารัฐวิสาหกิจ MOGE นี้คือแห่งรายได้ที่สำคัญของเผด็จการทหารและกองทัพเมียนมา ณ เวลานี้
ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท IGE นั้นพบว่าเคยเป็นของนายทหารผู้ล่วงลับและอดีตรัฐมนตรีชื่อว่าอองเตี่ยง (Aung Thaung) ซึ่งนายอองทังคนนี้นั้นมีประวัติในด้านการทุจริตและถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุสังหารหมู่ที่เมืองเดปายินในปี 2546 ซึ่งทำให้เขาเป็นบุคคลที่ถูกรังเกียจเป็นอย่างมากจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2558 และในปี 2557 กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาก็ยังได้ออกมาตรการลงโทษนายอองทัง อันเนื่องมาจากว่าเขามีส่วนในการบ่อนทำลายกระบวนการปฏิรูปของเมียนมาและมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในปัจจุบันบริษัท IGE มีผู้นำก็คือนายเนย์ออง (Ne Aung) ที่เป็นลูกของนายอองทัง และนายเนย์อองยังได้ดำเนินกิจการโรงแรมล็อตเต้ในเมียนมาควบคู่ไปกับการถือหุ้นในบริษัทอีกแห่งของเมียนมาที่ชื่อว่า Mytel ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ถูกควบคุมโดยบริษัทเศรษฐกิจเมียนมาร์ (Myanmar Economic Corporation) ซึ่งมีกองทัพเมียนมาเป็นข้าวของบริษัทข้ามชาติแห่งนี้
นายเนย์ออง ประธานบริษัท International Group of Entrepreneurs (IGE) ซึ่งจากประวัติพบว่าเขาได้รับประกาศนียบัตรจาก สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (THAI INSTITUTE OF DIRECTORS ASSOCIATION)
ส่วนพี่ชายของนายเนย์อองซึ่งก็คือ พล.ร.อ.โมออง (Moe Aung) ณ เวลานี้ก็เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ กองทัพเมียนมาและยังเป็นอดีตผู้อำนวยการบริษัทข้ามชาติของเมียนมาอีกแล้วที่ชื่อว่า Myanma Economic Holdings Limited
และนอกจากนี้ยังมีรายงานว่าทั้งครอบครัวอองนั้นมีความสนิทสนามกับ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย และนายพลหม่อง เอ (Maung Aye) ผู้ช่วยของ พล.อ.ตาน ฉ่วย ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นผู้ที่รวยที่สุดในเมียนมา
ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านในประเด็นที่บุคลากรทางการทูตจากต่างประเทศ ซึ่งถูกแต่งตั้งเป็นทูตประจำประเทศเมียนมา เข้าไปมีผลประโยชน์ทับซ้อนในประเทศเมียนมาเสียเอง
เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกรณีของนายราซาลี่ อิสมาอิล อดีตประธานสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของมาเลเซียและอดีตทูตพิเศษขององค์การสหประชาชาติประจำประเทศเมียนมาในช่วงปี 2543-2548 ก็ถูกกล่าวหาว่าใช้ตำแหน่งของตัวเองเพื่อทำข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเมียนมากับบริษัทไอริส เทคโนโลยี (IRIS Technologies) บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งมีนายราซาลี่เป็นผู้ร่วมกิจการส่วนหนึ่งในช่วงหลังจากปี 2543
โดยนายราซาลี่ก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดไปแล้ว พร้อมทั้งกล่าวว่าเขาไม่ได้เคยคุยเกี่ยวกับรายละเอียดธุรกิจใดๆเลยกับทางการเมียนมา และทางสหประชาชาติก็ได้เข้ามาตรวจสอบแล้วแต่ไม่พบข้อทุจริตในเรื่องของประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นักการทุตจากฝั่งตะวันตกหลายคน รวมไปถึงจากสหรัฐอเมริกาก็ได้ตั้งคำถามถึงความเกี่ยวข้องในเรื่องธุรกิจระหว่างตัวเขากับเผด็จการทหารเมียนมา ส่งผลทำให้นายราซาลี่ต้องลาออกในปี 2548
เรียบเรียงจาก:https://www.irrawaddy.com/news/burma/bruneis-business-links-with-myanmar-military-raise-questions-over-asean-envoys-fitness.html,https://www.justiceformyanmar.org/stories/bruneis-conflict-of-interest-muddies-role-of-asean-special-envoy
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/