ในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนโควาซินนั้นทาง CPI จะมุ่งเน้นไปที่การสอบสวนในด้านของราคาวัคซีนและความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น และคำถามที่สำคัญก็คือว่าทำไมรัฐบาลบราซิลถึงได้ดำเนินการทำสัญญาอย่างรวดเร็วกับบริษัทภารัต ไบโอเทค ในขณะที่ข้อเสนอจากบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐอเมริกาที่จะเสนอวัคซีนในราคาที่ถูกกว่านั้นกลับถูกละเลย
...................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอข้อทุจริตกรณีปัญหาการจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของประเทศบราซิลที่ต้องระงับการจัดซื้อวัคซีนโควาซินจากประเทศอินเดียที่ปรากฎเป็นข่าวไปทั่วโลก ซึ่งข้อครหาดังกล่าวนั้นถือว่ามีความสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับประเด็นข้อครหาการจัดหาวัคซีนจากบริษัทโมเดอร์น่าของประเทศไทย
โดยสำนักข่าว The Print ของประเทศอินเดียได้รายงานว่าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ทางการบราซิลได้ระงับการเซ็นสัญญามูลค่ากว่า 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (10,408,824,000 บาท) ในการที่จัดซื้อวัคซีนโควาซินจำนวน 20 ล้านโดสที่ผลิตจากบริษัทภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ประเทศอินเดีย
และต่อมาในวันที่ 30 มิ.ย. ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศบราซิลก็ได้ออกประกาศระงับการใช้งานวัคซีนโควาซินโดยฉุกเฉินทันที ด้วยเหตุผลว่าข้อมูลเอกสารที่มีการจัดทำโดยคนกลางนั้นมีความไม่สมบูรณ์
ขณะที่ นพ.มาร์เซโล เควโรก้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลได้มีการทวีตข้อความว่าระบุว่าการตัดสินใจดังกล่าวนั้นไม่ได้มาจากความผิดปกติของเอกสาร แต่มาจากประเด็นเรื่องการปฏิบัติตามสัญญา
“สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกก็คือว่ารัฐบาลบราซิลนั้นยังไม่ต้องจ่ายแม้แต่เซ็นต์เดียวสำหรับวัคซีนโควาซินแต่อย่างใด” นพ.เควโรก้า รัฐมนตรีสาธารณสุขคนที่ 4 ของประเทศบราซิลนับตั้งแต่ที่เกิดเหตุโรคระบาดระบุ
ทั้งนี้ประเด็นความไม่ชอบมาพากลระหว่างประเทศบราซิลกับการทำสัญญากับบริษัทภารัต ไบโอเทค นั้นถือว่ามีความเป็นไปเป็นมาได้หลายเดือนแล้ว โดยสำนักข่าว The Print ได้นำเสนอรายละเอียดเอาไว้ดังนี้
@ข้อกล่าวหา
สำหรับการตัดสินใจในการที่จะระงับสัญญากับบริษัทภารัต ไบโอเทค เอาไว้ก่อนนั้น มีรายงานว่าเกิดขึ้นช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการสอบสวนสัญญาโดยอัยการกลางบราซิลและสมาชิกรัฐสภา
โดยที่ไปที่มาของข้อกล่าวหานั้นมาจากการเปิดโปงของผู้ร้องเรียนในกระทรวงสาธารณสุขที่ร้องว่ามีประเด็นเกี่ยวกับทั้งการให้สินบนและการทุจริตอันเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาวัคซีนโควาซิน ซึ่งนี่ส่งผลทำให้คณะกรรมการสอบสวนของรัฐสภาหรือว่า CPI ต้องเข้าไปสอบสวน ควบคู่ไปกับการสอบสวนในประเด็นเรื่องประสิทธิภาพการรับมือไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลของประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู
ซึ่งในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนโควาซินนั้นทาง CPI จะมุ่งเน้นไปที่การสอบสวนในด้านของราคาวัคซีนและความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น และคำถามที่สำคัญก็คือว่าทำไมรัฐบาลบราซิลถึงได้ดำเนินการทำสัญญาอย่างรวดเร็วกับบริษัทภารัต ไบโอเทค ในขณะที่ข้อเสนอจากบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐอเมริกาที่จะเสนอวัคซีนในราคาที่ถูกกว่านั้นกลับถูกละเลย
โดยทางด้านของนายโบลโซนารูที่โดนกดดันอย่างหนักให้อธิบายเรื่องสัญญากับบริษัทอินเดียก็ได้กล่าวเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ท่านมาว่าไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใดเกี่ยวกับสัญญาและยืนยันว่าเขานั้นไม่ใช่บุคคลที่จะมีพฤติกรรมทุจริตแต่อย่างใด
ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์เองก็รายงานเช่นกันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สั่นคลอนต่อคำมั่นสัญญาของนายโบลโซนารูที่บอกว่า “เขาจะไม่ทนต่อการทุจริตต่างๆที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของเขา” เป็นอย่างยิ่ง
ส่วนที่บริษัทภารัต ไบโอเทค ก็ได้ออกมาปฏิเสธความผิดต่างๆเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.เช่นกัน โดยกล่าวว่าบริษัทนั้นได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนควบคู่ไปกับหน่วยงานของประเทศบราซิลและบริษัท “Precisa Medicamentos” ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างรัฐบาลบราซิลและบริษัทภารัต ไบโอเทค
รายงานข่าวบราซิลระงับข้อตกลงวัคซีนโควาซิน (อ้างอิงวิดีโอจาก CRUX)
@ข้อเรียกร้องจากผู้เปิดโปงเกี่ยวกับสัญญา
นายลุยส์ ริคาร์โด มิแรนด้า หัวหน้าฝ่ายนำเข้าของกรมกรมการโลจิสติกส์ด้านสุขภาพและพี่ชายของเขาคือนายลุยส์ มิแรนด้า ที่เป็น ส.ส.นั้นกลายเป็นพยานปากที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับการสอบสวนสัญญาวัคซีนโควาซิน
โดยในแถลงการณ์ของอัยการกลางเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมิแรนด้ากล่าวว่าตัวเขานั้นได้รับความกดดันอย่างผิดปกติ เพื่อกดดันให้เร่งซื้อวัคซีนโควาซินจากตัวผู้จัดหาวัคซีน ซึ่งหนึ่งในผู้ที่กดดันก็คือ พ.ท.อเล็กซ์ เลียล มารีน อดีตผู้ประสานงานอันเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเพื่อสุขภาพในเชิงกลยุทธ์ และ พ.ท.มารีนคนดังกล่าวนั้นก็ยังเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ พล.อ.เอดูอาร์โด้ ปาซูเอลโล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและยังเป็นหนึ่งในพันธมิตรคนสำคัญของนายโบลโซนารู
นายมิแรนด้ายังได้กล่าวด้วยว่าตัวเขาและน้องชายได้มีการเข้าพบกับนายโบลโซนารูในช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับสัญญา แต่จนถึงวันนั้นก็ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อที่จะสืบสวนในสัญญาแต่อย่างใด และมีรายงานด้วยว่าในระหว่างที่นายมิแรนด้า (คนที่เป็น ส.ส.) ได้ให้ปากคำต่อหน้าวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ตัวเขาต้องใส่เสื้อเกราะกันกระสุนด้วยเพื่อความปลอดภัย
นายลุยส์ มิแรนด้าในชุดเสื้อเกราะกันกระสุน (อ้างอิงวิดีโอจาก UOL)
โดยข้อมูลจาก 2 พี่น้องมิแรนด้านั้นระบุว่า นายโบลโซนารูรับรู้ดีว่าสถานการณ์นั้นร้ายแรงและยังได้บอกพวกเขาอีกว่ามี ส.ส.อีกคนที่ชื่อว่านายริคาร์โด บาร์รอส เกี่ยวข้องกับสัญญากับบริษัทภารัต ไบโอเทค
ทั้งนี้มีรายงานว่านายบาร์รอสนั้นยังมีความเชื่อมโยงไปถึงการทำสัญญากับวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งการทำสัญญาดังกล่าวก็มีคนกลางอีกเช่นกันซึ่งก็คือบริษัท Davati Medical Supply และ ณ เวลานี้นั้นก็มีรายงานว่าบริษัทแห่งนี้กำลังถูกสืบสวนในข้อหาเรื่องสินบน
@ช่วงเวลาเกี่ยวกับการทำสัญญากับบริษัทภารัต-ประเทศบราซิล
ทั้งนี้นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทภารัต ไบโอเทค กำลังเผชิญกับความท้าทายในการส่งวัคซีนโควาซินไปให้กับประเทศบราซิล
โดยในช่วงปลายเดือน มี.ค.ทีผ่านมา มีรายงานว่าหน่วยงานอันเกี่ยวกับระเบียบสุขภาพของบราซิลที่มีชื่อว่าแอนวิซ่า (Anvisa) ได้ออกมาปฏิเสธคำอนุญาตที่จะนำเข้าวัคซีนโควาซินหลังจากที่หน่วยงานได้ตรวจสอบพบว่าวัคซีนโควาซินของบริษัทภารัต ไบโอเทค ที่ตั้งอยู่ในเมืองไฮเดอราบาดนั้นไม่ผ่านสิ่งที่เรียกว่าข้อกำหนดว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการผลิต (GMP) ซึ่งการผ่านข้อกำหนด GMP ดังกล่าวนั้นถือว่าข้อกำหนดเบื้องต้นในการที่บริษัทผู้ผลิตยานั้นจะได้รับการอนุมัติให้ใช้วัคซีนในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทางแอนวิซ่ายังได้เคยออกรายงานระบุด้วยว่าบริษัทภารัต ไบโอเทคได้มีการข้ามขั้นตอนที่สำคัญไป ซึ่งก็คือการยืนยันว่าไวรัส SARS-CoV-2 ที่อยู่ในวัคซีนนั้นเป็นไวรัสที่ถูกฆ่าตายไปแล้วหรือทำให้เป็นไวรัสที่ไม่มีความสามารถในด้านการแบ่งตัวไปแล้วจริงๆ
สำหรับรายละเอียดของวัคซีนโควาซินเบื้องต้นนั้นมีการระบุไว้ชัดเจนว่าวัคซีนนี้ทำมาจากไวรัสโควิด-19 ที่เป็นเชื้อตายไปแล้ว
ทั้งนี้เมื่อย้อนไปในช่วงเดือน ม.ค. ที่บริษัทภารัต ไบโอเทคได้มีการเซ็นสัญญากับบริษัท Precisa Medicamentos นายเอมานูเอลา เมดราดส์ ผู้อํานวยการเภสัชกรรมของบริษัทได้กล่าวว่า “เราได้มีการยืนยันว่าวัคซีนนี้มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง,ใช้ทั้งระบบควบคุมทางวิทยาศาสตร์และสุขอนามัย,วัคซีนนี้นั้นถือว่ามีผลการทดสอบที่ดีมากในกระบวนการทดลองทางคลินิก โดยผลการทดลองจะถูกนำมาเผยแพร่ในเร็วๆนี้ บริษัทภารัต ไบโอเทค สามารถทำได้เกินกว่าความคาดหมายของเรา และทำให้เห็นว่าวัคซีนนั้นมีคุณภาพและความปลอดภัยในระดับเดียวของผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก”
ต่อมาในช่วงเดือน เม.ย. ก็มีการไปถามนายกฤษณะ เอลล่า ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทภารัต ไบโอเทค เกี่ยวผลประเด็นเรื่องข้อกำหนด GMP ทางด้านของนายกฤษณะก็ได้กล่าวว่ามันเป็นผลมาจากนโยบายความเป็นชาตินิยมของประเทศบราซิลและต้องการที่จะไม่ให้วัคซีนจากอินเดียนั้นเข้าไปยังประเทศบราซิล
“แต่ละประเทศก็ต้องการที่จะว่าร้ายประเทศอื่น และว่าร้ายไปถึงแนวทางเกี่ยวกับวัคซีนของพวกเขา นี่เป็นปรากฎการณ์ในระดับโลกที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เราไม่ต้องไปห่วงอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้”นายกฤษณะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นดีทีวีของอินเดียในเดือน เม.ย.
พอมาถึงวันที่ 25 เม.ย. บริษัทภารัต ไบโอเทคก็ได้ยื่นคำร้องครั้งใหม่เพื่อที่จะทำให้ได้รับการรับรองจากทางการบราซิล และต่อมาในวันที่ 4 มิ.ย. ทางบริษัทภารัตก็ได้รับการรับการรับรองให้ใช้งานฉุกเฉินจากทางแอนวิซ่า ด้วยเงื่อนไขบางอย่าง โดยบราซิลนั้นจะได้รับวัคซีนโควาซินจำนวน 4 ล้านโดสหลังจากที่แอนวิซ่าได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วและประเมินข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนวัคซีนว่าจะมีการนำเข้าเท่าไร
ขณะที่ในประเทศอินเดียเองบริษัทภารัต ไบโอเทค นั้นก็กำลังเผชิญกับการตรวจสอบเช่นกัน โดยในช่วงเดือน ธ.ค.2563 บริษัทภารัต ไบโอเทคได้มีการยื่นขอคำอนุมัติตามระเบียบเพื่อที่จะให้มีการใช้งานวัคซีนโควาซิน แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนก็ตาม
และมีข้อครหาต่อมาว่าหน่วยงานที่ควบคุมด้านยาของอินเดียหรือ DCGI ได้มีการอนุมัติการใช้งานโควาซินอย่างเร่งด่วน โดยให้การอนุมัติในวันที่ 3 ม.ค.ทั้งๆที่การทดลองทางคลินิกในระยะ 3 ของวัคซีนนั้นเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน พ.ย. 2563 และผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 นั้นก็เพิ่งที่จะมีการประกาศออกมาเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
และบริษัทยังต้องเผชิญกับข้อครหาอีกประการก็คือว่าบริษัทนั้นได้เคยประกาศว่าวัคซีนโควาซินนั้นมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 81 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่าในเดือน เม.ย.มีการแก้ข้อมูลใหม่ว่ามีประสิทธิภาพอยู่ที่ 78 เปอร์เซ็นต์
รายงานข่าวประสิทธิภาพของวัคซีนโควาซิน (อ้างอิงวิดีโอจาก NDTV)
ส่วนที่ประเทศไทยนั้นมีรายงานว่าบริษัทที่จะนำเข้าวัคซีนโควาซินเข้ามาใช้งานก็คือ บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ที่ขณะที่กำลังอยู่ในระหว่างการขอเอกสารอยู่
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/