สัญญาเหล่านี้มีข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับความพยายามที่จะดำเนินการผลิต,สิทธิพิเศษของทางรัฐบาลต่างๆ,ภาระผูกพัน,ตารางการส่งมอบของ,รายละเอียดการเตรียมออกใบอนุญาตสำหรับการผลิตในระดับที่สูงขึ้นในอนาคต,และข้อมูลอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการเปิดข้อมูลเกี่ยวกับสัญญา,ตารางการส่งมอบ,การจัดหาวัคซีน,และข้อมูลด้านอื่นๆของโครงการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยทำให้แต่ละภาคส่วนของรัฐบาลสามารถพูดคุยซึ่งกันและกันและมองเห็นปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ก่อนที่จะไม่สามารถควบคุมปัญหานั้นได้
.............................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นข้อครหาการจัดหาวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ที่เกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย
โดยสำนักข่าวเอบีซีภูมิภาคออสเตรเลียได้มีการรายงานข่าวเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ประเทศออสเตรเลียโดยระบุว่ารัฐบาลของออสเตรเลียนั้นได้มีการทำข้อตกลงกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อที่จะรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด และมีการวางแผนเอาไว้ว่าจะมีการผลิตวัคซีนจำนวนกว่า 50 ล้านโดสในประเทศ ซึ่งการผลิตดังกล่าวนั้นก็อยู่ภายใต้ข้อตกลงกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าอีกเช่นกัน โดย ณ เวลานี้ มีรายงานว่าข้อตกลงวัคซีนของประเทศออสเตรเลียที่ได้ทำกับบริษัทวัคซีนจำนวน 5 แห่งนั้นจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (121,526,300,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดส่วนมากของข้อตกลงวัคซีนกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้านั้นยังคงไม่เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณชนแต่อย่างใด
โดยที่ผ่านมา รัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้มีการเผยแพร่หนังสือแสดงเจตจํานงให้มีการจัดซื้อวัคซีนกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าไปแล้ว แต่ปรากฎว่ารายละเอียดของสัญญาที่ได้มีการทำไว้กับบริษัท ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินภาษีประชาชนคิดเป็นจำนวนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ (24,305,260,000 บาท) นั้น กลับไม่ถูกเปิดเผยรายละเอียดให้สาธารณชนเห็นแต่อย่างใด
ขณะที่รายการข่าวของสำนักข่าวเอบีซีที่มีชื่อว่า 7.30 ก็ได้พยายามขอข้อมูลรายละเอียดสัญญา ด้วยการยื่นเรื่องตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร ก็ถูกปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลเช่นกัน โดยมีการแจ้งสาเหตุการปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลว่า มันอาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อประเด็นความมั่นคงของประเทศออสเตรเลีย
รายการข่าว 7.30 รายงานข่าวเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในเด็ก (อ้างอิงวิดีโอจากสำนักข่าวเอบีซี ออสเตรเลีย)
โดยผู้ช่วยเลขานุการของคณะทำงานพิเศษด้านวัคซีนโควิด-19 ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเขียนจดหมายตอบกลับมาว่ามันจะเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติถ้าหากสัญญาถูกเปิดเผยออกไป
“ผมพิจารณาแล้วเห็นว่ามันจะทำให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะต่อความมั่นคงของเครือจักรภพ ถ้าหากมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวออกไป ซึ่งข้อมูลที่ว่านั้นมีการระบุถึงรายละเอียดข้อตกลงที่มีความเฉพาะเจาะจงในด้านทั้งการผลิตและการจัดส่งวัคซีนโควิด-19” ผู้ช่วยเลขานุการระบุในจดหมายและเน้นย้ำด้วยว่าถ้าหากมีการปล่อยข้อมูลสัญญาออกไป ก็จะผลกระทบในเชิงว่าจะส่งสัญญาณไปยังประเทศอื่นๆให้มาสนใจที่ข้อตกลงของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าและทางเครือจักรภพ
“ความสมบูรณ์และความมีประสิทธิภาพในการทำตามข้อตกลงเพื่อที่จะมีการผลิตและแจกจ่ายวัคซีนนั้นอาจจะได้รับผลกระทบในเชิงลบเป็นอย่างยิ่งและจะทำไปสู่ภัยต่อความมั่งคงของชาติของเครือจักรภพด้วย ถ้าหากมีการเปิดเผยเงื่อนไขในสัญญา”ผู้ช่วยเลขานุการระบุทิ้งท้าย
นายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 (อ้างอิงวิดีโอจาก 7News Australia)
@ความมั่นคงของชาติควรต้องรับใช้ต่อความไว้วางใจของประชาชน
ขณะที่นายเกวิน เฮย์แมน ผู้อำนวยการของกลุ่ม Open Contracting ซึ่งทำหน้าที่เรียกร้องให้มีการเปิดเผยการทำสัญญาให้เป็นธรรมทั่วโลกนั้นก็ได้กล่าวว่าข้ออ้างของรัฐบาลออสเตรเลียที่ระงับการเปิดเผยสัญญาถือเป็นเรื่องที่แปลกและผิดปกติเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ
“ไม่ควรมีการใช้ข้ออ้างในประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อที่จะปกปิดรายละเอียดของสัญญาวัคซีนให้พ้นจากการรับรู้ของประชาชน และอันที่จริงแล้ว เรื่องความมั่นคงแห่งชาตินั้นควรจะต้องเกิดขึ้นจากการสร้างให้ประชาชนมีความไว้ใจต่อโครงการฉีดวัคซีน ซึ่งเราคิดว่าการเผยแพร่ข้อมูลสัญญาด้วยคำอธิบายที่ชัดเจน จะเป็นหนทางไปสู่สิ่งที่ว่ามาดังกล่าว” นายเฮย์แมนกล่าว
นอกจากนี้มีรายงานว่ากระทรวงสาธารณสุขยังได้อ้างด้วยว่าข้อมูลสัญญานั้นควรจะมีการรับการเปิดเผยเอาไว้ก่อนเพราะมันอาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
“บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้ดำเนินกิจการในตลาดระดับโลกที่มีการแข่งขันกันในระดับสูงมาก ถ้าหากข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยออกไปในสภาวการณ์ที่เป็นแบบนี้ มันอาจทำให้ผู้แข่งขันที่เป็นกลุ่มบุคคลที่ 3 สามารถเข้าถึงข้อมูลอันมีประโยชน์ในเชิงการค้าได้” ผู้ช่วยเลขานุการระบุ
ซึ่งทางด้านของนายเฮย์แมนก็ได้วิจารณ์ว่าแนวทางที่ประเทศออสเตรเลียทำนั้นถือได้ว่าตรงกันข้ามกับของประเทศอื่นๆอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากประเทศอย่างกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียู,ประเทศอังกฤษ,ประเทศสหรัฐอเมริกา,ประเทศเม็กซิโก และประเทศบราซิลนั้นต่างล้วนที่จะเปิดเผยรายละเอียดส่วนใหญ่ของสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
นายเฮย์แมนกล่าวต่อไปด้วยว่าเพราะเนื่องจากมีการใช้ค่าใช้จ่ายมูลค่าจำนวนมหาศาลไปกับสัญญา ดังนั้นจึงเป็นข้อตัดสินที่สำคัญว่าควรจะมีการเปิดเผยว่ามีการทำข้อตกลงกันและมีเงื่อนไขที่ระบุในสัญญากันอย่างไร
“สัญญาเหล่านี้มีข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับความพยายามที่จะดำเนินการผลิต,สิทธิพิเศษของทางรัฐบาลต่างๆ,ภาระผูกพัน,ตารางการส่งมอบของ,รายละเอียดการเตรียมออกใบอนุญาตสำหรับการผลิตในระดับที่สูงขึ้นในอนาคต,และข้อมูลอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการเปิดข้อมูลเกี่ยวกับสัญญา,ตารางการส่งมอบ,การจัดหาวัคซีน,และข้อมูลด้านอื่นๆของโครงการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยทำให้แต่ละภาคส่วนของรัฐบาลสามารถพูดคุยซึ่งกันและกันและมองเห็นปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ก่อนที่จะไม่สามารถควบคุมปัญหานั้นได้” นายเฮย์แมนกล่าว
รายงานข่าวปัญหาการแจกวัคซีนของออสเตรเลีย (อ้างอิงวิดีโอจาก 7News Australia)
ขณะที่นายเกร็ก ฮันท์ โฆษกของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้กล่าวถึงคำถามของรายการ 7.30 ที่สอบถามไปยังกระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน โดยกล่าวว่า “กระทรวงสาธารณสุขนั้นพิจารณาอย่างเต็มที่ในประเด็นการขอข้อมูลตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร ภายใต้ข้อผูกพันทางกฎหมายและได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการยกเว้นเอกสารอีกเช่นกัน”
อนึ่งที่ผ่านมานั้นมีรายงานว่ารัฐบาลกลางของออสเตรเลียได้มีการปกปิดเอกสารสำคัญหลายอย่างอันเกี่ยวกับรับมือกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ของประเทศออสเตรเลียมาโดยตลอด และก็มีการวิเคราะห์กันว่าประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียในภูมิภาคแปซิฟิกนั้นก็ได้มีเลือกที่จะปกปิดข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับการรับมือโควิด-19 เอาไว้เป็นความลับเช่นกัน
นอกจากนี้รายการ 7.30 ยังเคยถูกปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูล จากทางกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของประเทศออสเตรเลีย เมื่อรายการนี้ได้พยายามขอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบวัคซีนของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้ตรวจสอบคือบริษัท ABT Associates Pty Ltd ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกำลังการจัดส่งวัคซีนไปยังภูมิภาคแปซิฟิก
โดยในจดหมายที่ถูกส่งมาจากผู้ที่ทำงานเป็นทูตความมั่นคงด้านสุขภาพระดับภูมิภาคเขียนไว้ว่า “คาดว่าการเปิดเผยข้อมูลจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลีย" และจะมี "ผลกระทบอย่างมากต่อการดําเนินงานของกระทรวงเพื่อติดตามผลประโยชน์ในต่างประเทศของออสเตรเลีย"
ขณะที่ทางด้านของนายเร็กซ์ แพทริค สมาชิกวุฒิสภาอิสระก็ได้เคยออกมาเรียกร้องขอดูเอกสารสำคัญของคณะรัฐมนตรีอันเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 เช่นกัน แต่ทว่าเขาก็ถูกกดดันและถูกต่อต้านในการเข้าถึงข้อมูลอย่างหนักเช่นกัน
ซึ่งนายแพทริคกล่าวว่าตัวเขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่จะระงับข้อมูลสัญญาของแอสตร้าเซนเนก้านั้นถือว่าเป็นอีกครั้งที่รัฐบาลออสเตรเลียได้อ้างข้อมูลอันเป็นความลับในระดับสูงเพื่อที่จะไม่เปิดข้อมูลการแจกจ่ายวัคซีนของประเทศ
เรียบเรียงจาก:https://www.abc.net.au/news/2021-07-05/australia-covid-astrazeneca-deal-withheld-national-security/100261920
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/