จากเอกสารที่สำนักข่าว Folha de Sao Paulo รวบรวมมาได้นั้น ในเอ็มโอยู มีการเสนอรายละเอียดสัญญาในอนาคตระหว่างกลุ่มบุคคลจำนวน 3 ฝ่ายด้วยกัน ซึ่งในอีเมลที่มีการตอบโต้กันระหว่างนางเอ็มมานูเอลลา เมดราเดส (Emmanuela Medrades) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขอบริษัท Precisa Medicamentos และบริษัทภารัต ไบโอเทค พบข้อมูลว่า บริษัทที่ดูไบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารข้อตกลงอย่างแน่นอน
.................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอข้อทุจริตเกี่ยวกับโครงการการฉีดวัคซีนของประเทศบราซิลเพิ่มเติม หลังจากที่เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ประเทศบราซิลได้มีการระงับการสัญญาวัคซีนโควาซินจากบริษัทภารัต ไบโอเทค ของประเทศอินเดียไป ด้วยข้อครหาในประเด็นเรื่องของราคาโควาซินที่สูงผิดปกติ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (10,408,824,000 บาท) ในการจัดซื้อวัคซีนโควาซินจำนวน 20 ล้านโดส (อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน)
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าว The Wire ของประเทศ อินเดียมีการขยายประเด็นนี้เพิ่มเติมโดยอ้างอิงข้อมูลบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู)การทำสัญญา จากสำนักข่าว Folha de Sao Paulo ของประเทศบราซิล ซึ่งในรายละเอียดของเอ็มโอยูพบว่ามีการส่งมาจากตัวแทนของบริษัทอินเดียในประเทศบราซิล ซึ่งก็คือบริษัท Precisa Medicamentos โดยส่งไปถึงกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลเพื่อจะเป็นเครื่องมือยืนยันถึงความร่วมมือของบริษัทอินเดียกับกระทรวงสาธารณสุขบราซิลในการทำสัญญาวัคซีนดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม ในเอ็มโอยูนั้นยังได้ปรากฏชื่อของบริษัทที่ 3 และมีประเด็นเรื่องของวันที่เซ็นสัญญา ที่ทำให้กลายเป็นข้อซักถามของทางคณะกรรมการสอบสวนของรัฐสภาบราซิล หรือ CPI
โดยวันที่เซ็นเอ็มโอยู 3 ฝ่ายนั้นระบุไว้ว่าเป็นวันที่ 24 พ.ย. 2563 หรือก็คือ 4 วันหลังจากการพบกันครั้งแรกของผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทภารัต ไบโอเทค,ตัวแทนจากบริษัทตัวแทนของบริษัทภารัตในประเทษบราซิล,และตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขบราซิล
และในเอ็มโอยูยังได้ระบุอีกด้วยว่าบริษัท เอ็นวิเซียฟาร์มาซูติคอล (Envixia Pharmaceuticals LLC) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนในนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะเป็นผู้ที่ดำเนินการรับผิดชอบในการสนับสนุนกิจกรรมทั้งหมดนับตั้งแต่การลงทะเบียนและการค้าวัคซีนโควาซินในประเทศบราซิล
ขณะที่บทบาทของบริษัท Precisa Medicamentos นั้นไม่เป็นที่รับทราบในรายละเอียดเอ็มโอยูดังกล่าว และบริษัทแห่งนี้ก็กำลังถูกสอบสวนอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม ชื่อของบริษัทเอ็นวิเซียดังกล่าวนั้นไม่เคยปรากฏให้สาธารณชนได้รับรู้มาก่อนแต่อย่างใด
จากเอกสารที่สำนักข่าว Folha de Sao Paulo รวบรวมมาได้นั้น ในเอ็มโอยู มีการเสนอรายละเอียดสัญญาในอนาคตระหว่างกลุ่มบุคคลจำนวน 3 ฝ่ายด้วยกัน ซึ่งในอีเมลที่มีการตอบโต้กันระหว่างนางเอ็มมานูเอลลา เมดราเดส (Emmanuela Medrades) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขอบริษัท Precisa Medicamentos และบริษัทภารัต ไบโอเทค พบข้อมูลว่า บริษัทที่ดูไบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารข้อตกลงอย่างแน่นอน
เอกสารบันทึกความเข้าใจที่ลงนามโดย 3 บริษัท (อ้างอิงรูปภาพจาก The Wire)
“การมีส่วนร่วมของเอ็นวิเซียเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว บริษัทแห่งนี้ถูกเลือกจากบริษัทภารัต ไบโอเทค เพื่อที่จะสำรวจความเป็นไปได้สำหรับทั้งที่ประเทศบราซิลและที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์”นางเมดราเดสกล่าว โดยในช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ก็มีรายงานว่าเขาได้บินไปที่ประเทศอินเดียเพื่อที่จะเซ็นสัญญากับบริษัทภารัต ไบโอเทค และต่อมาในวันที่ 25 ก.พ. ก็มีรายงานว่าชื่อของนางเมดราเดสได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับรัฐบาลบราซิล
ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวนั้นทำให้เกิดการสอบสวนใน 2 กรณีควบคู่กันไปคือ 1.ทำไมบริษัทภารัตจึงได้มีการพบปะหารือกันกับกระทรวงสาธารณสุขก่อนที่จะมีการเซ็นเอ็มโอยูกับบริษัท และ 2.บทบาทของบริษัทเอ็นวิเซียนั้นเป็นอย่างไรกันแน่
และนอกจากนี้ก็มีรายงานการส่งใบส่งของที่มีการจ่ายเงินกันล่วงหน้า คิดเป็นมูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (1,475,235,000 บาท) ที่ถูกส่งมาจากบริษัทเมดิสัน ไบโอเทค ซึ่งเป็นบริษัทนอกอาณาเขต (ออฟชอร์) ในประเทศสิงคโปร์ ที่ไม่ได้อยู่ในข้อตกลงโควาซินแค่อย่างใดด้วยเช่นกัน
@ความเกี่ยวข้องที่เมืองมุมไบ
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าว The Wire ได้มีการติดตามตัวตนของบริษัทเอ็นวิเซีย หรือที่มีชื่อเต็มว่า เอ็นวิเซียฟาร์มาซูติคอล เพิ่มเติม ก็พบว่าไม่สามารถหาข้อมูลของบริษัทนี้ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตาม จากการสืบสวนของสำนักข่าว ก็พบข้อมูลที่บ่งชี้ว่าบริษัทนี้นั้นน่าจะมีความเชื่อมโยงไปถึงบริษัทแห่งหนึ่งที่เมืองมุมไบชื่อว่าอินเว็กซ์ เฮลท์แคร์ (Invex Healthcare) ซึ่งบริษัทนี้มีเจ้าของที่กำลังถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐอุตตราขัณฑ์ ในข้อหาว่าขายชุดตรวจโควิดปลอมในช่วงเทศกาลกุมภเมลา (เทศกาลแสวงบุญของศาสนาฮินดูที่มักจะจัดในเดือน เม.ย.) ที่เมืองหริทวาระ
ทั้งนี้ในเอกสารเอ็มโอยูดังที่เซ็นกันเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ดังกล่าว บริษัทเอ็นวิเซียได้ถูกระบุว่าเป็นบริษัทในหน่วยงานเขตปลอดปลอดภาษีระหว่างประเทศ (IFZA) เมืองฟูไจราห์ โดยบริษัทแห่งนี้มีการระบุที่ตั้งอยู่ที่ Kidnah, Block A, Plot 4 เมืองฟูไจราห์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
แต่อย่างไรก็ตามในบันทึกของ IFZA กลับไม่พบอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทเอ็นวิเซียที่ว่านี้เลย เช่นเดียวกับในบันทึกของหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเงินนครดูไบและทะเบียนเศรษฐกิจแห่งชาติ สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ไม่พบข้อมูลการแสดงผลของบริษัทเอ็นวิเซียแต่อย่างใด หรือก็คือไม่สามารถหาชื่อบริษัทเอ็นวิเซียเจอนั่นเอง ดังนั้นทางสำนักข่าว The Wire จึงได้ส่งอีเมลสอบถามข้อมูลไปยัง IFZA แล้ว ว่ามีบริษัทเอ็นวิเซียได้เคยมาจดทะเบียนกับหน่วยงานนี้หรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบกลับ และยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ย้อนไปเมื่อวันที่ 5 ก.ค. ได้มีการตอบกลับมาทางอีเมลจากหน่วยงานในนครดูไบ ซึ่งยืนยันข้อมูลว่าบริษัท เอ็นวิเซียฟาร์มาซูติคอล FZCO (FZCO ย่อมาจากคำว่าเขตปลอดอากรสำหรับบริษัท) ได้มาจดทะเบียนกับทาง IFZA จริง และใบอนุญาตนั้นก็ยังมีผลอยู่ ในขณะที่ในเอกสารเอ็มโอยูนั้นจะใช้คำว่า เอ็นวิเซียฟาร์มาซูติคอล LLC หรือก็คือแปลว่าบริษัทจำกัดนั่นเอง
อนึ่งรายละเอียดของเอ็มโอยูนั้นทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับบริษัทเอ็นวิเซียว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามที่ท้ายเอกสารเอ็มโอยู พบว่ามีรายละเอียดสามลายเซ็นด้ายกัน โดยลายเซ็นหนึ่งเป็นของบริษัทภารัต ไบโอเทค เซ็นโดย นายวี คริชนา โมหาร ที่เป็นผู้บริหารของบริษัทภารัต ไบโอเทค ลายเซ็นหนึ่งเป็นของนายฟรานซิสโก แม็กซิเมียโน ผู้บริหารบริษัท Precisa Medicamentos และลายเซ็นสุดท้ายในส่วนของบริษัทเอ็นวิเซีย พบว่ามีผู้เซ็นคือนายอนุเดช โกยาล ระบุว่าเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทเอ็นวิเซีย แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของลายเซ็นของนายอนุเดชนั้นไม่มีการระบุวันที่เซ็นเอาไว้
ลายเซ็นที่ปรากฎในเอกสารเอ็มโอยู (อ้างอิงรูปภาพจาก The Wire)
สำนักข่าว The Wire ยังได้ส่งคำถามไปยังบริษัทภารัตและบริษัท Precisa Medicamentos เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่าความสัมพันธุ์ของพวกเขากับบริษัทเอ็นวิเซียและนายอนุเดชในประเด็นเรื่องการจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศบราซิลนั้นเป็นอย่างไรกันแน่แต่ก็ไม่มีการตอบกลับมาแต่อย่างใด แม้ว่าทางฝ่ายประสานงานสื่อจะได้รับปากว่าจะส่งคำถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องก็ตาม
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชื่อเอ็นวิเซียนั้นจะไม่เป็นที่คุ้นเคย แต่ว่าชื่ออนุเดช โกยาลนั้นกลับค่อนข้างที่จะเป็นที่รู้จักพอสมควรในแวดวงเกี่ยวกับการยา ทั้งในเมืองมุมไบ และที่เมืองดูไบ โดยมีรายงานว่านายอนุเดชได้เคยเข้าร่วมงานอีเวนท์ “อาหรับ เฮลท์” ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์ดูไบ เวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อเดือน ม.ค. 2563ด้วยบูธของบริษัทอินเว็กซ์ เฮลท์ ซึ่งบนเว็บไซต์ของบริษัทอินเว็กซ์นั้นระบุว่าบริษัทแห่งนี้เป็นบริษัทยาแบบครบวงจรนับตั้งแต่การส่งผลิตยา ไปจนถึงการควบรวมและซื้อกิจการยาในด้านต่างๆ
หน้าเว็บไซต์บริษัทอินเว็กซ์ เฮลท์
และบนประวัติของนายอนุเดชบนเว็บไซต์ LinkedIn ได้มีการระบุว่านายอนุเดชเป็นผู้อำนวยการบริษัทอินเว็ก เฮลท์ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2561 เมื่อบริษัทได้ถูกก่อตั้งขึ้น และมีลูกจ้างบริษัทเพียงแค่ 4 คนเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือนางอนากา กาแวนเด ที่ระบุว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานพัฒนาธุรกิจ โดยทำงานตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562-ก.พ. 2564 และมีรายงานด้วยว่า
นอกจากนี้ในเอกสารเอ็มโอยูดังกล่าวยังปรากฏลายเซ็นกาแวนเดอยู่ในส่วนของบริษัทเอ็นวิเซียด้วยเช่นกัน
อนึ่งสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนายอนุเดชนั้น พบว่ามีการรายงานจากสื่อในประเทศอินเดียว่ามีบุคคลชื่อว่าอนุเดช โกยาล อยู่ในระหว่างถูกสอบปากคำจากทีมสอบสวนพิเศษของตำรวจรัฐอุตตราขัณฑ์ ในข้อหาว่าเป็นผู้ประสานงานบริษัทจำนวน 2 ให้ดำเนินการเกี่ยวกับชุดตรวจโควิด-19 ซึ่งมีปัญหาในระหว่างช่วงเทศกาลกุมภเมลา
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงในรัฐอุตตราขัณฑ์ได้ยืนยันข้อมูลกับสำนักข่าว The Wire เพิ่มเติมว่านายอนุเดชคนดังกล่าวนี้นั้นเป็นผู้ที่มีบริษัทที่ว่าอินเว็กซ์ เฮลท์ จริง
“เราไม่สามารถตอบได้ว่าเขาได้ทำบริษัทที่ชื่อว่าเอ็นวิเซียจริงหรือไม่ แต่แน่นอนว่าเขามีธุรกิจบางอย่างอยู่ในเมืองดูไบ แต่อย่างไรก็ตาม ที่เรากำลังมุ่งเน้นการตรวจสอบ ณ เวลานี้ก็คือประเด็นเกี่ยวกับเทศกาลกุมมภาลา” เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไม่ระบุนามกล่าว
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/