ยังไม่พบความชัดเจนในประเด็นเรื่องเรื่องช่วงเวลาที่ระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นที่รัฐไหน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเอกสารนั้นพบว่าบริษัทอเมซอนได้ใช้เงินไปมากกว่า 8.5 หมื่นล้านรูปี (38,496,092,000 บาท) เป็นค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย ซึ่งนี่ก็ทำให้ต้องมาฉุกคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้อง
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีข้อครหากรณีการให้สินบนของบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่างอเมซอน ณ ประเทศอินเดีย
เมื่อสำนักข่าวอินเดียทูเดย์ได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ว่า บริษัทอเมซอนสาขาประเทศอินเดียได้ดำเนินการสอบสวนภายในกับทางฝ่ายกฎหมายของบริษัท หลังจากที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเงินค่าธรรมเนียมทางกฎหมายซึ่งฝ่ายกฎหมายได้จ่ายไปนั้น แท้จริงแล้วอาจจะเป็นเงินสินบนที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการในระดับต่างๆทั่วประเทศอินเดีย
โดยมีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวในระดับสูงของรัฐบาลได้กล่าวว่าเอกสารงบการเงินของบริษัทนั้นแสดงให้เห็นว่าในช่วงปี 2560-2561,2561-2562 และ 2562-2563 พบว่ามีการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมกฎหมายโดยบริษัทอเมซอนเป็นจำนวนมหาศาลในช่วงเวลาดังกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อถึงจำนวนเงินค่าธรรมเนียมทางกฎหมายนี้ว่าบริษัทอเมซอนได้มีการจ่ายเงินไปมากกว่า 8 หมื่นล้านรูปีอินเดีย (36,222,402,081บาท) ในช่วงปี 2561-2562 และในช่วงปี 2562-2563 และเมื่อตรวจสอบเอกสารงบทางการเงินเพิ่มเติมก็พบว่ามีบริษัทอเมซอน 5 แห่งที่ได้มีการจ่ายค่าธรรมเนียมกฎหมายในช่วงปี 2560-2561,2561-2562 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.22 หมื่นล้านรูปี (23,635,117,358 บาท)
แหล่งข่าวของรัฐบาลระบุว่าการแสดงค่าใช้จ่ายซึ่งมีมูลค่าสูงมากในส่วนของ “ค่าใช้จ่ายสำหรับมืออาชีพทางกฎหมาย” ที่ว่ามานั้น เป็นข้อบ่งชี้ว่าบริษัทอเมซอนอาจจะเข้าไปมีส่วนในเรื่องของการดำเนินงานในประเทศอินเดียบางประการ โดยได้แสดงจํานวนเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามและการดําเนินคดี
@ค่าใช้จ่ายสำหรับมืออาชีพทางกฎหมายเปรียบเทียบกับข้อมูลรายได้ของบริษัท
จากเอกสารงบการเงินของบริษัทที่มีการยื่นส่งมาโดยบริษัทในเครือของอเมซอนจำนวน 5 แห่ง พบข้อมูลว่ามีรายจ่ายสูงสุดที่มีการจ่ายกันนั้นมีผู้จ่ายคือบริษัท Amazon Seller Services Private Limited ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองบังคาลอร์ โดยปีงบประมาณในปี 2561-2563 และในปีงบประมาณ 2562-2563 พบว่าบริษัทมีรายจ่ายซึ่งเป็นธรรมเนียมกฎหมายดังกล่าวอยู่ที่ 1.448 หมื่นล้านรูปี (6,557,340,400บาท) และ 19.69 ล้านรูปี ( 8,917,506 บาท) ตามลำดับ ขณะที่รายได้ของบริษัทนั้นอยู่ที่ 7.8 หมื่นล้านรูปี (35,325,825,600 บาท) และ 1.1 แสนล้านรูปี (49,818,472,000 บาท) ขณะที่ในช่วงปี 2560-2561 พบว่าบริษัทมีรายจ่ายอยู่ที่ 1.451 หมื่นล้านรูปี (5,186,102,935 บาท)
ขณะที่บริษัท Amazon Retail India Private Limited พบข้อมูลว่ามีค่าใช้จ่ายตามเอกสารงบการเงินซึ่งระบุว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายสำหรับมืออาชีพทางกฎหมาย” พุ่งสูงขึ้นจาก 9 ล้านรูปี (4,076,056 บาท) ในช่วงปี 2560-2561 ไปอยู่ที่ 636 ล้านรูปี (288,041,347 บาท) ในช่วงปีงบประมาณ 2562-2563
นอกจากนี้ในเอกสารข้อมูลงบการเงิน ยังพบการจ่ายเงินมูลค่าสูงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยในปีงบประมาณนับตั้งแต่ 2560-2561 และ 2562-2563 พบข้อมูลว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายมูลค่าสูงในส่วนของคำแนะนำทางกฎหมาย ซึ่งผู้จ่ายก็คือบริษัทในเครืออเมซอนอื่นๆอีก 3 แห่ง อันได้แก่บริษัท Amazon Wholesale (India) Pvt Ltd,บริษัท Amazon Retail India Pvt Ltd และบริษัท Amazon Internet Services Pvt Ltd
@อเมซอนเข้าสืบสวนข้อครหา
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา โฆษกของบริษัทอเมซอนได้ออกมาระบุว่าทางบริษัทกำลังสอบสวนภายในเกี่ยวกับข้อครหานี้
“เราไม่ทนต่อการทุจริตใดๆก็ตาม และเรารับฟังข้อกล่าวหาเรื่องการประพฤติที่ไม่เหมาะสมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนข้อกล่าวหานั้นอย่างเต็มที่และมีการดำเนินการที่เหมาะสม” โฆษกบริษัทกล่าว
อย่างไรก็ตามในประเด็นซึ่งมีผู้เปิดโปงข้อมูลว่าการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมทางกฎหมายในมูลค่าที่สูงนั้นคือช่องทางของการจ่ายสินบน ทางโฆษกบริษัทกล่าวว่ายังไม่ขอมีความเห็นใดๆเกี่ยวกับข้อกล่าวหาซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงหรือกำลังถูกตรวจสอบอยู่ ณ เวลานี้
มีรายงานจากแหล่งข่าวยืนยันด้วยว่า ณ เวลานี้ทางบริษัทได้กำลังสืบสวนว่าเงินค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่ถูกจ่ายไปดังกล่าวนั้นถูกใช้เป็นเงินจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการจริงหรือไม่ และในช่วงระหว่างการสอบสวน ทางบริษัทอเมซอนก็ได้ขอให้กันตัวที่ปรึกษาบริษัทระดับอาวุโสคนหนึ่งออกไป โดยไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการสอบสวนภายใน
@รัฐบาลกำลังจับตาข้อกล่าวหา
ขณะที่แหล่งข่าวจากทางรัฐบาลที่ได้พูดคุยกับสถานีโทรทัศน์อินเดียทูเดย์ทีวีก็ได้กล่าวยืนยันเช่นกันว่ารัฐบาลนั้นมีนโยบายที่จะไม่ทนต่อการทุจริตในเรื่องเหล่านี้
“จากรายงานที่ระบุ ยังไม่พบความชัดเจนในประเด็นเรื่องเรื่องช่วงเวลาที่ระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นที่รัฐไหน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเอกสารนั้นพบว่าบริษัทอเมซอนได้ใช้เงินไปมากกว่า 8.5 หมื่นล้านรูปี (38,496,092,000 บาท) เป็นค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย ซึ่งนี่ก็ทำให้ต้องมาฉุกคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้อง” แหล่งข่าวกล่าว
รายงานการสอบสวนของทางรัฐบาลอินเดียต่อบริษัทอเมซอน (อ้างอิงวิดีโอจาก NDTV)
@สมาพันธ์ผู้ค้าอินเดียยื่นเรื่องให้สอบทุจริต
ข้อกล่าวหาดังกล่าวซึ่งมีผู้ออกมาเปิดโปงจนนำไปสู่การสอบสวนของบริษัทอเมซอนด้วยข้อกังวลว่าบริษัทอาจจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสินบนในประเทศอินเดียนั้นได้ทำให้เกิดความไม่พอใจต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดียเช่นกัน
โดยบางหน่วยงานการค้าบางแห่งได้ออกมากล่าวหาว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลกนั้นมีการดำเนินธุรกิจที่เป็นภัยต่อความอยู่รอดของธุรกิจค้าปลีกรายย่อยในประเทศอินเดีย
ซึ่งหน่วยงานที่ว่านี้ก็ได้แก่สมาพันธ์ผู้ค้าทั้งมวลแห่งประเทศอินเดียหรือ CAIT ซึ่งมีผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยจำนวนรวมกว่า 70 ล้านรายก็ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายปิยอุช โกยาล (Piyush Goyal) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้นำเรื่องนี้ไปสู่การตรวจสอบของสำนักงานสอบสวนกลาง (CBI) เพื่อที่จะดำเนินการตรวจสอบบริษัทอเมซอนในประเด็นเรื่องค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย
โดยนายประวีณ ขันเดลวัลย์ (Praveen Khandelwal) เลขาธิการ CAIT กล่าวว่า “รัฐบาลนั้นควรที่จะนำประเด็นเรื่องค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่ถูกใช้โดยอเมซอนเพื่อที่จะจ่ายเป็นสินบนไปสอบสวนอย่างจริงจัง เนื่องจากมีการตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของทั้งรัฐบาลและกับเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ประกอบกับเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จำเป็นจะต้องปกป้องตลาดอีคอมเมิร์ซของและการค้าปลีกของประเทศอินเดียจากอิทธิพลการครอบงำตลาดและการครอบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต”
ขณะที่นายบีซี ภารติ (BC Bharti)ประธาน CAIT ก็ได้กล่าวว่ากรณีการสืบสวนภายในของบริษัทอเมซอนนั้นถือว่าเป็นการยอมรับว่าภายในบริษัทนั้นมีการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งขั้นตอนเหนือจากนี้ก็คือว่าจะทำอย่างไรจึงจะปกป้องตลาดอีคอมเมิร์ซและปกป้องการค้าปลีกของประเทศอินเดียจากการถูกคุกคามโดยอิทธิพลอันไม่เหมาะสมและการครอบงำเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการปราบปรามการทุจริต
สมาพันธ์ผู้ค้าทั้งมวลแห่งประเทศอินเดียเรียกร้องให้มีการสอบสวนบริษัทอเมซอน (อ้างอิงวิดีโอจาก The Economic Times)
เอกสารสมาพันธ์ผู้ค้าทั้งมวลแห่งประเทศอินเดียถึงรัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์
@ปัญหาท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
อนึ่งตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศอินเดีย ณ เวลานี้นั้นถือว่ามีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากมายและบริษัทอเมซอนก็กำลังเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่บริษัท ฟลิบการ์ต (Flipkart),บริษัททาทา กรุ๊ป และบริษัท Reliance JioMart ซึ่งทั้งหมดนั้นมีสัดส่วนธุรกิจคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในประเทศอินเดีย
อย่างไรก็ตามประเด็นข้อครหาดังกล่าวนี้นั้นก็ถือว่าไม่เป็นผลดีเลยต่อทิศทางธุรกิจของบริษัทอเมซอนในประเทศอินเดีย เพราะจะทำให้ทางบริษัทนั้นถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลอินเดียมากขึ้นไปอีก หลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์ก็ได้รายงานโดยอ้างข้อมูลเอกสารภายในซึ่งบ่งชี้ว่าบริษัทอเมซอนนั้นมีการข้ามขั้นตอนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI ) ในธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซที่ประเทศอินเดีย
@การตอบสนองของบริษัทอเมซอน
เมื่อประมาณวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ออกมาชี้แจงว่าค่าใช้จ่ายทั้งในด้านกฎหมายและการบริษัทระดับมืออาชีพต่างๆสำหรับบริษัทอีคอมเมิร์ซในเครือที่อยู่ในประเทศอินเดียดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งมาจากการกรอกข้อมูลเอกสารซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดพลาด
“เพราะการเสนอข้อมูลไปยังสื่อซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในส่วนของรายละเอียดอันเกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย เราขอชี้แจงรายละเอียดของหัวข้อค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่าที่จริงแล้วเป็นค่าใช้จ่ายในด้าน “กฎหมายและค่าใช้จ่ายระดับมืออาชีพ” ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้นั้นจะต้องมีการแยกส่วนกัน มันไม่ใช่ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมกฎหมายทั้งหมด แต่ค่าใช้จ่ายตรงนี้นั้นยังเกี่ยวข้องกับการว่าจ้างให้บริการอื่นๆ อาทิ การจ้างบุคลากรคนนอก การจ้างที่ปรึกษาทางภาษี การวิจัยลูกค้า การสนับสนุนการขนส่ง การบริการออนบอร์ดของผู้ค้าและเงินค่าบริการลูกค้าอื่นๆ จึงทำให้เกิดเป็นยอดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นในช่วงสิ้นเดือน มี.ค. 2563 ค่าธรรมเนียมทางกฎหมายนั้นจะอยู่ที่ 520 ล้านรูปีเท่านั้น (235,505,504 บาท) จากยอดรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในหัวข้อว่าด้วยกฎหมายและค่าใช้จ่ายระดับมืออาชีพ ซึ่งมียอดรวมค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.967 หมื่นล้านรูปี (8,908,448,584 บาท)” แถลงการณ์ของบริษัทระบุ
เรียบเรียงจาก:https://www.indiatoday.in/business/story/amazon-india-internal-investigation-bribery-charges-legal-fee-1855197-2021-09-21
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/