ในรายงานระบุว่านายราจีฟ มีการสมรู้ร่วมคิดกับนักกฎหมายคนหนึ่งในกรุงนิวเดลีที่ชื่อว่านายเกาแตม ไขตัน (Gautam Khaitan) รับเงินเป็นจำนวนกว่า 12.40 ล้านยูโร (480,492,285 บาท) จากบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์เข้าไปสู่บัญชีของบริษัท Interstellar Technologies และเงินจำนวนนี้นั้นยังได้มีการนำไปฟอกเงินต่อไปเพื่อนำไปจ่ายให้กับคนกลางและข้าราชการอีกหลายคน
ส่องคดีทุจริตโลกสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงอยู่กันที่ประเด็นความไม่โปร่งใสซึ่งถูกเปิดโปงโดยเอกสารแพนโดร่า หรือแพนโดร่าเปเปอร์สในต่างประเทศ
โดยสำนักข่าวอินเดียนเอ็กเพรสซ์ ของประเทศอินเดีย ได้รายงานข่าวสืบสวนเปิดโปงกรณีที่มีบุคคลสำคัญในการเจรจาสัญญาการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์จากบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์ (AgustaWestland)อันอื้อฉาว นั้นถูกปรากฎชื่ออยู่ในเอกสารแพนโดร่า เนื่องจากประเด็นเรื่องการใช้บริษัทออฟชอร์หรือว่าบริษัทนอกอาณาเขตเป็นเส้นทางการเงิน
ซึ่งบุคคลที่ถูกปรากฏชื่อดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วยนายบกุล นาถ (Bakul Nath) ชาวอินเดียผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในต่างแดน และนายบกุลนี้ยังเป็นบุตรชายของนายคามาล นาถ (Kamal Nath) อดีตหัวหน้าคณะรัฐมนตรีประจำรัฐรัฐมัธยประเทศ และเป็นอดีตสมาชิกรัฐสภาอินเดียหลายสมัย,นายราจีฟ แซกเซนา (Rajiv Saxena) ซึ่งถูกตั้งข้อหาว่าฟอกเงิน โดยประเด็นเหล่านี้นั้นยังคงถูกสอบสวนโดยศูนย์อำนวยการบังคับใช้กฎหมาย ( Enforcement Directorateหรือ ED ) และสำนักงานสืบสวนกลาง ( CBI ) ของประเทศอินเดีย โดยมีบุคคลผู้เกี่ยวข้องดังนี้
@ความเกี่ยวข้องของนายบกุล นาถ
สำหรับความเกี่ยวข้องในกรณีนี้ของนายบกุลนั้นมีที่มาที่ไปจากการสอบสวนนายราจีฟ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการประกันตัว โดยในรายงานระบุว่านายราจีฟ มีการสมรู้ร่วมคิดกับนักกฎหมายคนหนึ่งในกรุงนิวเดลีที่ชื่อว่านายเกาแตม ไขตัน (Gautam Khaitan) รับเงินเป็นจำนวนกว่า 12.40 ล้านยูโร (480,492,285 บาท) จากบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์เข้าไปสู่บัญชีของบริษัท Interstellar Technologies และเงินจำนวนนี้นั้นยังได้มีการนำไปฟอกเงินต่อไปเพื่อนำไปจ่ายให้กับคนกลางและข้าราชการอีกหลายคน
รายงานข่าวการสอบสวนนายบกุล นาถ (อ้างอิงวิดีโอจาก TIMES NOW)
โดยข้อมูลเมื่อปี 2543 พบว่านายราจีฟนั้นเป็นผู้ที่ถือหุ้น 99.99 เปอร์เซ็นต์ในบริษัท Interstellar Technologies ดังกล่าวนี้ ซึ่งตัวของนายราจีฟก็ได้ให้ปากคำว่าเรา ซึ่งก็คือเขาและนายซูเชน โมฮัน กุปตา (Sushen Mohan Gupta) ผู้ถูกกล่าวหาอีกคนได้รับเงินกู้แบบชั่วคราว จากบริษัทอีกแห่งที่ชื่อว่า Pristine River Investments ซึ่งบริษัทนี้ถูกบริหารโดยนายจอห์น โดเชอร์ตี้ (John Docherty) และมีความเชื่อมโยงไปถึงนายบกุล,ซึ่งเงินทางอ้อมจำนวนหลายล้านยูโรที่เข้าไปสู่บัญชีของบริษัท Interstellar Technologies ดังกล่าวนั้นก็ถูกนำไปจ่ายชำระเงินกู้ยืมจากบริษัท Pristine River Investments นั่นเอง
และข้อมูลล่าสุดจากเอกสารแพนโดร่า ซึ่งมาจากข้อมูลเอกสารไทนเด้น ทรัสต์ ก็ได้มีระบุว่านายโดเชอร์ตี้ ซึ่งเป็นชายสัญชาติสวิส นั้นก็มีความเชื่อมโยงไปถึงนายบกุล นาถ ผ่านทางบริษัทนอกอาณาเขตแห่งหนึ่งที่ถูกก่อตั้งเมื่อเดือน ก.พ. 2561
โดยบริษัทนอกอาณาเขตดังกล่าวนี้นั้นมีชื่อว่าบริษัท Spector Consultancy Services Ltd มีที่ตั้งอยู่ ณ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีผู้อำนวยการบริษัทก็คือนายจอห์น โดเชอร์ตี้ และระบุให้นายบกุล นาถเป็นผู้รับผลประโยชน์ของบริษัท ด้วยที่อยู่ ณ นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ข้อมูลในเอกสารไทรเด้นท์ที่ระบุให้นายบกุล นาถเป็นผู้รับผลประโยชน์จากบริษัทนอกอาณาเขต
และยังพบข้อมูลบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินอีกแห่งที่มีชื่อว่า Cellbrook Limited ซึ่งบริษัทนี้นั้นก็มีผู้ถือหุ้นคือบริษัท Spector Consultancy Services โดยบริษัท Cellbrook Limited นั้นมีการระบุวัตถุประสงค์ตอนจัดตั้งบริษัทเอาไว้ว่าเป็นบริษัทเพื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ และในช่วง 3 ปีแรกพบว่าบริษัท Cellbrook Limited มีทรัพย์สินอยู่ทั้งสิ้น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (334,055,000 บาท)
ซึ่งทางนายบกุล นาถก็ไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวอินเดียนเอ็กซ์เพรสซ์ ในประเด็นความเป็นเจ้าของบริษัทเหล่านี้แต่อย่างใด
@ความเกี่ยวข้องของนายนายราจีฟ แซกเซนา
มีข้อมูลบันทึกทางคดีอกัสตาเวสต์แลนด์ ซึ่งกล่าวหาว่าตัวนายราจีฟได้มีการตั้งกองทุนทรัสต์ในปี 2557 เพื่อใช้ในการบริหารทรัพย์สิน่วนบุคคล โดยมีบริษัทที่ปรึกษากองทุนก็คือบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินที่มีชื่อว่า Tanay Holdings Limited และบริษัทนี้ก็ได้เข้าเป็นเป็นเจ้าของบริษัทและทรัพย์สินอื่นๆอีก 14 รายการ
ซึ่งทรัพย์สินและบริษัทที่ว่านี้ก็รวมถึงวิลล่าส่วนตัวใน ปาล์ม จูไมราห์ ซึ่งเป็นเกาะชื่อดังในนครดูไบ,แฟลตในกรุงลอนดอน,และสำนักงานอีกจำนวน 2 แห่ง ขณะที่ข้อมูลของกองทุน Tanay Trust ได้ระบุต่อไปด้วยว่ามีบริษัทอีกแห่งในประเทศเบลีซที่มีชื่อว่า Tanay Holdings Ltd ซึ่งบริษัทนี้ได้ควบคุมบัญชีธนาคารทั้งในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์.บัญชีธนาคารยูบีเอส,ธนาคาร Credit Suisse หรือธนาคารเพื่อการลงทุนสวิส
และในปี 2557 เช่นเดียวกัน ก็พบว่านายราจีฟได้มีการก่อตั้งกองทุนทรัสต์อีกกองทุนที่ชื่อว่า Matrix UAE Trust โดยมีลักษณะเป็นกิจการนอกอาณาเขต และมีบริษัทนอกอาณาเขต ณ บริติชเวอร์จินอีกแห่งที่ชื่อว่า Matrix International Limited เข้ามาดูแลกองทุน ซึ่งกองทุนทรัสต์นี้ก็ได้เข้าไปมีส่วนดูแลบริษัทชั้นนำของนายราจีฟหลายรายการ รวมไปถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินบนอกัสตาเวสต์แลนด์
โดยจากกรณีสินบนดังกล่าวก็ทำให้รัฐบาลอินเดียยกเลิกข้อตกลงกับบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์ในปี 2557 ซึ่งความเชื่อมโยงของโครงข่ายบริษัทไปถึงนายราจีฟนั้นปรากฎสู่สาธารณชนครั้งแรกเมื่อปี 2560 เมื่อนางชิวานี แซกเซนา (Shivani Saxena) ถูกจับกุมตัวที่ท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน ประเทศอินเดีย
ซึ่งหลายเดือนก่อนการจับกุมตัวนางชิวานี,นายราจีฟได้มีการออกคำแนะนำไปยังบริษัทไทรเด้น ทรัสต์ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรากฎว่าเป็นผุ้จัดการบริษัทในเอกสารแพนโดรา โดยให้ทางไทรเด้นชำระบัญชีโครงสร้างของทั้งกองทุน Tanay Trust และบริษัท Matrix UAE Trust รวมไปถึงบริษัทในบริติชเวอร์จินอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และโอนหุ้นรวมไปถึงความเป็นเจ้าของกลับมาให้กับตัวนายราจีฟเอง
โดยในช่วงเดือน พ.ค. 2559 ปรากฏอีเมลว่า “ลูกค้าต้องการให้มีการปิดทั้งกองทุนทรัสต์และบริษัทที่เกี่ยวข้อง เราแนะนำเขาไปว่ากองทุนทรัสต์ไม่สามารถจะปิดตัวลงได้ ณ เวลานี้ แต่กลุ่มลูกค้าก็ยังยืนยันว่าพวกเขานั้นสามารถที่จะปิดกองทุนได้” ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวนั้นมีความคล้ายคลึงกับที่ทางนายราจีฟได้ขอให้ปิดบริษัท Mountwood Limited ซึ่งเป็นบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินอีกแห่งที่ถูกก่อตั้งโดยไทรเด้น ทรัสต์ในปี 2557
แต่นายราจีฟก็ไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวอินเดียนเอ็กซ์เพรสซ์ในประเด็นเหล่านี้แต่อย่างใด
@ความเกี่ยวข้องของนายเกาแตม ไขตัน
นายเกาแตม ไขตัน เป็นทนายความอยู่ที่กรุงนิวเดลี และเป็นกุญแจสำคัญในโครงสร้างของการฟอกเงินในข้อตกลงกับบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์ โดยเขาถูกจับกุมตัวในเดือน ธ.ค. 2559 พร้อมกับ พล.อ.อ. ชาชินดรา พาล ทายากิ (Shashindra Pal Tyagi) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ซึ่งตอนนี้นั้นนายเกาแตมก็อยู่ในระหว่างการประกันตัว
ในข้อมูลบันทึกสาธารณะระบุอีกว่านายเกาแตมยังทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์และเป็นคนกลางในกองทุนทรัสต์ที่ชื่อว่า Glacier Trust โดยเป็นกองทุนทรัสต์นอกอาณาเขตในนามของนายอาทิตยา ขันนา (Aditya Khanna) เจ้าของร้านอาหารในกรุงลอนดอน แต่อย่างไรก็ตาม ในรายงานที่ชื่อว่า Volcker Report มีการระบุชื่อนายอาทิตยาอันเกี่ยวกับกรณีการทุจริตน้ำมันประกอบอาหารที่ประเทศอิรัก ซึ่งกองทุนดังกล่าวนี้ก็ถูกก่อตั้งโดสไทรเด้นทรัสต์นั่นเอง
และตัวนายเกาแตมยังเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์ของกองทุนทรัสต์ให้กับนายราเดช ชยาม ซาราฟ (Radhe Shyam Saraf) เจ้าของโรงแรมไฮแอทในกรุงนิวเดลี และโรงแรมยัคแอนด์เยติในเมืองกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ซึ่งกองทุนทรัสต์ดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า Varunisha Trust
ซึ่งในกรณีนี้ นายเกาแตมก็ได้ตอบคำถามว่า “ลูกค้าของผมทั้ง 2 คนที่ทางสำนักข่าวได้กล่าวถึงนั้นเป็นชาวอินเดียนอกประเทศมานานกว่าหลายสิบปีแล้ว ตัวผมนั้นได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางมืออาชีพให้กับพวกเขา และเฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่สามารถตอบได้ว่าบริษัทยังคงประกอบกิจการอยู่หรือไม่”
ขณะที่นายอาทิตยาก็ได้กล่าวเช่นกันว่า “ผมเป็นชาวอินเดียนอกประเทศมานับตั้งแต่ปี 2526 หรือก็คือตลอดทั้งชีวิตเขา ตัวผมใช้บริการไทรเด้นทรัสต์ เพื่อช่วยก่อตั้ง Glacier Trust ในปี 2555 โดยกองทุนทรัสต์นี้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท Fritton BVI ซึ่งเป็นบริษัทที่มีพ่อของผมเป็นเจ้าของในกิจการธุรกิจร้านอาหารที่ประเทศอังกฤษ และผมก็ได้สืบทอดกิจการนี้มาจากพ่อของผม ซึ่งมูลค่าของกองทุนในช่วงเวลานั้นน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (116,919,250 บาท) จนกระทั่งมีการปิดโครงสร้างไปในปี 2556 ซึ่งเรื่องนี้ทั้งทางหน่วยงานกำกับภาษีของอังกฤษและหน่วยงานของอินเดียก็เข้ามาตรวจสอบและรับทราบแล้ว”
ขณะที่นายราเดชก็ได้กล่าวสั้นๆว่า “ผมเป็นชาวอินเดียนอกประเทศมากว่า 50 ปีแล้ว และผมอยากให้เข้าใจด้วยว่าการวางแผนความมั่งของของผมนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของผม”
@ความเกี่ยวข้องของนายซูเชน โมฮัน กุปตา
สำหรับกรณีของนายซูเชน โมฮัน กุปตานั้น ครอบครัวของนายกุปตาถือว่ามีส่วนในธุรกิจการทหารในประเทศอินเดียมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยมีการระบุว่าบริษัทของตระกูลซึ่งมีชื่อว่าบริษัทเดฟซิสโซลูชั่น (Defsys Solutions) ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทั้งสัญญาของบริษัทอกัสตาเวสต์แลนด์ และสัญญาการจัดซื้อเครื่องบินรบราฟาลของฝรั่งเศส (อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ)
ข่าวการจับกุมนายซูเชน กุปตา ในคดีเครื่องบินรบราฟาล (อ้างอิงวิดีโอจากช่อง Swarajya)
ซึ่งในเอกสารแพนโดราระบุว่าในปี 2548 นายเดฟ โมฮาน กุปตา บิดาของนายนายซูเชน ได้เข้าไปก่อตั้งกองทุนทรัสต์ในประเทศเบลีซที่มีชื่อว่ากองทุนทรัสต์ Lange Trust โดยนายเดฟ โมฮานนั้นเป็นผู้ที่มอบทรัพย์สิน มีนางชูบรา กุปตา ภรรยา และนายซูเชน โมฮัน กุปตา เป็นผู้รับผลประโยชน์รายที่หนึ่งและรายที่สองตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุสินทรัพย์ของกองทุนทรัสต์ที่แน่นอน ในช่วงปี 2554 หลังจากที่นายเดฟ โมฮัน กุปตา ได้เซ็นเพิกถอนกองทุนทรัสต์นี้ไปแล้ว
ขณะที่นายเนอร์วิการ์ ซิง (Nirvikar Singh) ทนายความส่วนตัวของนายเดฟ โมฮัน ก็ได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีนี้เพียงสั้นๆว่าลูกความของเขาไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/