เอกสารจากทะเบียนสาธารณะของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ได้รับโดย Schemes ซึ่งเป็นโครงการสืบสวนของสำนักข่าว RFE/RL ประจำยูเครน และได้รับการยืนยันกับ OCCRP แสดงให้เห็นว่าลูกสาวและหลานชายของนายคาไซซื้ออพาร์ทเมนต์สี่แห่งในดูไบระหว่างปี 2565 ถึง 2566 โดยช่วงเวลานี้มีข่าวเรื่องอื้อฉาวในการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของตระกูลคาไซในการจัดหาเสื้อผ้าทหารในราคาที่สูงเกินจริง
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ยังเกาะติดในประเด็นการถือครองทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้อง ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยคราวนี้ผู้ถือครองได้แก่นักการเมืองจากยูเครน
สำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตที่จัดตั้งขึ้น (OCCRP) ได้รายงานข่าวกรณีครอบครัวของนายเฮนนาดี คาไซ (Hennadiy Kasai) สส.ยูเครน สังกัดพรรค Servant of the People ของประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี แอบครอบครองอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (34,841,979 บาท) โดยอสังหาฯที่ว่านี้ได้มาหลังเหตุรัสเซียรุกรานยูเครนในปี 2565 ตามรายงานข่าวสืบสวนของสำนักข่าววิทยุเสรียุโรป (RFE/RL) ประจำยูเครน
เอกสารจากทะเบียนสาธารณะของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ได้รับโดย Schemes ซึ่งเป็นโครงการสืบสวนของสำนักข่าว RFE/RL ประจำยูเครน และได้รับการยืนยันกับ OCCRP แสดงให้เห็นว่าลูกสาวและหลานชายของนายคาไซซื้ออพาร์ทเมนต์สี่แห่งในดูไบระหว่างปี 2565 ถึง 2566 โดยช่วงเวลานี้มีข่าวเรื่องอื้อฉาวในการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของตระกูลคาไซในการจัดหาเสื้อผ้าทหารในราคาที่สูงเกินจริง
นายเฮนนาดี คาไซและน.ส.โพลินา
สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเป็นที่อยู่อาศัยในระดับพรีเมียม ได้มาในช่วงเวลาที่มีการตรวจสอบการใช้จ่ายด้านกลาโหมของยูเครนอย่างเข้มงวด โดยในเดือน เม.ย. 2565 น.ส.โพลินา (Polina) ลูกสาวของนายคาไซ ซึ่งขณะนั้นเธออายุ 22 ปี ได้ซื้ออพาร์ทเมนต์สองห้องนอนในคอมเพล็กซ์ Dubai Gate 2 ในราคา 310,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,801,013 บาท)
ในเดือน เม.ย.2565 เช่นเดียวกัน นายโอเล็กซานเดอร์ (Oleksandr) อายุ 25 ปีในตอนนั้น และยังเป็นหลานชายนายคาไซ ซื้ออพาร์ทเมนต์ในสตูดิโอวันคอมเพล็กซ์มูลค่า 202,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,055,500 บาท) และต่อมาเขาได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมอีกสองแห่งได้แก่ 1.อพาร์ทเมนท์ราคา 330,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,497,853 บาท) ในคอมเพล็กซ์ Palm Views West ย่านหาดปาล์มชื่อดังหรือ Palm Jumeirah โดยซื้อมาในเดือน ส.ค.2565 และ 2.ซื้ออพาร์ทเมนต์ที่สตูดิโอวันคอมเพล็กซ์อีกหนึ่งยูนิต มูลค่า 240,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,362,075 บาท)
แหล่งที่มาของเงินทุนสําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ยังไม่ชัดเจน การประกาศบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกรัฐสภายูเครนและบันทึกรายได้ของครอบครัวของนายคาไซแสดงให้เห็นว่าไม่มีวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ชัดเจนที่จะอธิบายถึงการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ นอกเหนือจากรายได้ทางธุรกิจที่เชื่อมโยงกับสัญญากับกระทรวงกลาโหมของยูเครน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสอบสวนทางอาญาตามมาได้
ในช่วงปี 2565 นายโอเล็กซานเดอร์ หรือชื่อเต็มโอเล็กซานเดอร์ คาไซ พบว่าเคยเป็นเจ้าของร่วมบริษัทสัญชาติตุรเคียชื่อว่า Vector Avia ได้รับสัญญามูลค่า 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (940,733,443 บาท) เพื่อจัดส่งเสื้อผ้าทหารให้กับกองทัพยูเครน ทว่าตามข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐของยูเครน (SBU) พบว่าเสื้อผ้าเหล่านี้คุณภาพไม่เพียงพอและราคาสูงกว่าการประเมินศุลกากรของตุรเคียถึงสามเท่า ซึ่งนี่เป็นการกระตุ้นให้เกิดข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตและใช้จ่ายเงินรัฐอย่างไม่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสองคนถูกตั้งข้อหา เนื่องจากมีส่วนร่วมในข้อตกลง แม้ว่าจะมีเพียงเจ้าของร่วมของ Vector Avia เพียงคนเดียวที่ถูกฟ้องร้อง ณ เวลานี้ เพราะว่านายโอเล็กซานเดอร์ คาไซ ออกจากบริษัทก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมีการตั้งข้อหา
สำหรับเจ้าของบริษัท Vector Avia อีกรายได้แก่นายโรมัน เพลตเนฟ (Roman Pletnev) จากข้อมูลบันทึกการข้ามพรมแดนที่ Scheme ได้รับมา ระบุว่าเขาหนีไปตุรเคียตั้งแต่ปี 2565 แล้ว ซึ่งต่อมาทางหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายยูเครนก็ได้ยืนยันข้อมูลนี้ ส่วนนายโอเล็กซานเดอร์ คาไซ หนีออกจากยูเครนไปในเดือน พ.ค.2566 และก็ไม่เคยกลับมาอีกเลย ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเขาสามารถออกจากยูเครนไปได้อย่างไร ในช่วงเวลาที่ทั้งประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก ที่บังคับไม่ให้ชายตั้งแต่ 18-60 ปี ออกนอกประเทศ ตัวนายโอเล็กซานเดอร์เองก็ไม่ได้ตอบสนองเมื่อทาง Scheme โทรติดต่อหรือเขียนข้อซักถามไป จนถึงอย่างน้อย ณ เวลานี้
ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลการเปิดเผยบัญชีงบการเงินของบริษัท Vector Avia ก็แสดงให้เห็นแหล่งรายได้ที่จำกัดมากสำหรับครอบครัวของนายคาไซ
รัฐสภายูเครนตรวจสอบเสื้อทหารที่เป็นปัญหา
สำหรับประวัติของนายโอเล็กซานเดอร์ คาไซ พบว่าเคยเล่นแฮนด์บอลให้กับคลับของทีม Motor Zaporizhzhia สโมสรในเครือของบริษัทยูเครนผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยาน โดยขณะนี้เขาถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่เล็กน้อยในธุรกิจที่ยูเครน
ขณะที่น.ส.โพลินา คาไซ ประกอบอาชีพเป็นก็อปปี้ไรเตอร์หรือนักคิดคำโฆษณาอิสระ โดยมีรายได้ที่ไม่น่าจะสามารถซื้ออสังหาฯที่ดูไบได้ ทั้งนี้เมื่อพยายามจะสอบถามเกี่ยวกับประเด็นทรัพย์สินที่ดูไบผ่านทางการโทรพูดคุย น.ส.โพลินาก็วางสายทันทีเมื่อได้ยินเกี่ยวกับคำถามดังกล่าว
ย้อนไปตลอดสี่ปีที่ผ่านมา รายได้ของครอบครัวของนายเฮนนาดี คาไซ ดูเหมือนจะไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมมูลค่าของสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ที่พวกเขาได้มาใหม่ นี่จึงทำให้อาจมีการตรวจสอบที่เข้มข้นเกี่ยวกับการทุจริตเกิดขึ้นตามมา
ขณะที่ตัวนายเฮนนาดี คาไซ เขียนตอบสนองต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวว่าลูกสาวของเขาและหลานของเขาโตแล้ว มีอิสระทางการเงินและใช้ชีวิตแยกออกไป อย่างไรก็ตาม เขาเองก็ไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่ถูกใช้ไปกับอสังหาฯที่ดูไบได้
นายเฮนนาดี คาไซยังปฏิเสธความเกี่ยวข้องของตัวเองเกี่ยวกับบริษัทของหลานชายซึ่งไปทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทางทหารที่มีราคาสูงเกินจริง
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพจาก:https://www.rferl.org/a/ukraine-schemes-investigation-lawmaker-dubai-property/33200812.html,https://www.occrp.org/en/news/ukrainian-mps-family-linked-to-1m-dubai-real-estate-amid-war
- ส่องคดีทุจริตโลก:2 ตัวละครพัวพันสัญญาโควิดฉาว รบ.ฟิลิปปินส์ ซื้ออสังหาฯ ณ ดูไบนับร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:แอร์บัสฉาว จ่ายคอมมิชชั่นคนกลางหลายล้านยูโร แลกสัญญาขาย ฮ.คูเวตหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลเปรูพิพากษาจำคุก 20 ปี อดีต ปธน.รับสินบนพันล. บ.ก่อสร้างยักษ์ใหญ่
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับ ผบห.รัฐวิสาหกิจอิตาลีรับคดีสินบน โยงคนสนิทอีลอน มัสก์ ครองเอกสารลับ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยธ.สหรัฐฯขอข้อมูลซาบ หลังปมครหา ทอ.บราซิลทำสัญญาซื้อกริเพน 36 ลำ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์