ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีเหตุผลอะไรหรืออย่างไร ข้อเสนอจากอดานีจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นทางเลือกสำหรับโครงการขยายสนามบินที่เคนยา ทั้งๆที่ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา บริษัท ALG ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาจากสเปนได้สรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้โครงการโดยแนะนำว่าให้ใช้ “ขั้นตอนการประมูลที่แข่งขันได้”เพื่อ “เพิ่มมูลค่าให้มีความคุ้มค่าสูงสุดสำหรับหน่วยงานที่ทำสัญญา”
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีที่กลุ่มบริษัทจากอินเดียอย่างกลุ่มอดานี (Adani Group) เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำข้อตกลงอันไม่โปร่งใสในการก่อสร้างสนามบินที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศเคนยา
โดยสำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (OCCRP) รายงานข่าวในกรณีที่ตอนนี้ชาวเคนยาจำนวนมากกำลังเดินหน้าประท้วงต่อข้อตกลงอันไม่โปร่งใส อันเกี่ยวข้องกับการครอบครองสนามบินนานาชาติโจโมเคนยัตตาในกรุงไนโรบี ขณะที่ สว.ได้มีการยื่นคำร้องไปยังรัฐบาลเพื่อให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแผนการครอบครองสนามบินดังกล่าวนี้ ที่ไม่เคยถูกประกาศต่อสาธารณะมาก่อนเลย
เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา แนวร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมเคนยาก็ได้มีการทำจดหมายเปิดผนึกร่วมกันถึงการท่าอากาศยานเคนยา (KAA) เพื่อเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน
สำนักข่าว OCCRP รายงานว่าที่ผ่านมากลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้รัฐบาลเคนยาดำเนินการประกวดราคาสาธารณะเพื่อทำสัญญาขยายสนามบิน ทว่ารัฐบาลกลับอนุญาตให้ดำเนินการตาม “ข้อเสนอที่มีการจัดทำโดยฝ่ายเอกชน” ที่ยื่นโดยบริษัท อดานี แอร์พอร์ต โฮลดิ้งส์ (Adani Airport Holdings) ในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาแทน
ตามเอกสารที่ OCCRP ได้มาพบว่าข้อเสนอของอดานีได้รับการอนุมัติให้ดําเนินการต่อใน "ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ" ซึ่งนํามาซึ่งการปรึกษาหารือและการเจรจาเพิ่มเติม
ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีเหตุผลอะไรหรืออย่างไร ข้อเสนอจากอดานีจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นทางเลือกสำหรับโครงการขยายสนามบินที่เคนยา ทั้งๆที่ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา บริษัท ALG ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาจากสเปนได้สรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้โครงการโดยแนะนำว่าให้ใช้ “ขั้นตอนการประมูลที่แข่งขันได้”เพื่อ “เพิ่มมูลค่าให้มีความคุ้มค่าสูงสุดสำหรับหน่วยงานที่ทำสัญญา”
ผู้ประท้วงที่ประเทศเคนยาขู่จะยึดสนามบิน (อ้างอิงวิดีโอจาก Firspost)
บริษัท ALG ชี้แจงกับสำนักข่าว OCCRP เพียงสั้นๆว่า “เราไม่ทราบถึงข้อเสนอใดๆที่ริเริ่มโดยฝ่ายเอกชนสำหรับโครงการนี้ และโดยทั่วไปแล้วเราไม่แนะนำให้ใช้วิธีการดังกล่าว” และบริษัท ALG ก็ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆเพิ่มเติมอีก
อย่างไรก็ตามหลังจากมีคำแนะนำจากบริษัทสเปน ในเดือนถัดมา (มี.ค.) บริษัทอดานีได้มีการยื่นข้อเสนอที่ริเริ่มโดยเอกชนหรือที่เรียกกันว่า PIP สำหรับสัมปทานระยะยาวเพื่อขยายและดําเนินการท่าอากาศยานเป็นเวลา 30 ปีหรือที่รู้จักกันในชื่อสัญญาเช่า BOT (Build Operate Transfer) อันเป็นรูปแบบของสัญญาที่เอกชนผู้รับสัมปทาน เป็นผู้ออกแบบ-ก่อสร้าง-บริการจัดการ และเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วก็โอนกิจการและทรัพย์สินคืนแก่รัฐบาล
สำหรับอดานีกรุ๊ป เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดของอินเดีย โดยกลุ่มบริษัทนี้ผลประโยชน์และกิจการทั้งในด้านธุรกิจพลังงาน การเกษตรและอาวุธตลอดจนธุรกิจการก่อสร้างสนามบิน แต่กลุ่มบริษัทก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเรื่องอื้อฉาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องฉ้อโกงและการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน (กลุ่มบริษัทปฏิเสธข้อกล่าวหานี้)
ในข้อเสนอยื่นต่อรัฐบาลเคนยา อดานีโต้แย้งและยืนยันว่าข้อเสนอ PIP "มีข้อได้เปรียบที่ชัดเจนเหนือการประมูลที่แข่งขันได้"
“PIP ช่วยให้รัฐบาลสามารถรักษาเงื่อนไขอื่นๆนอกเหนือจากการพิจารณาในประเด็นแค่เรื่องการเงินอย่างเดียว เพื่อทำให้มั่นใจในสวัสดิภาพของประชาชน” อดานีระบุในจดหมายและระบุต่อไปว่า “ในทางกลับกันการเสนอราคา การประกวดราคาแข่งขันตามปกติ เสี่ยงต่อการทําให้ข้อตกลงเป็นเรื่องของธุรกรรมล้วนๆ โดยไม่มีที่ว่างสําหรับการพิจารณาร่วมกัน ดังนั้น PIP สร้างสถานการณ์แบบต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ (win-win) สําหรับประชาชนในเคนยา รัฐบาลเคนยา และนักลงทุนเอกชน
สำหรับรายละเอียดภายใต้เงื่อนไขสัญญา BOT มูลค่า 2.047 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (73,556,898,000 บาท) อดานีจะดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารสนามบิน ปรับปรุงทางสำหรับรถแท็กซี่ และอาจสร้างรันเวย์ใหม่ การปรับปรุงเหล่านี้จะได้รับเงินทุนจากรายได้จากสนามบิน การเพิ่มค่าธรรมเนียมสนามบิน และการระดมทุนจากนักลงทุนเอกชน พอเวลาผ่านไป 30 ปี อดานีจะได้รับหุ้น 18 เปอร์เซ็นต์ในสนามบิน อย่างไรก็ตามเอกสารความเห็นอีกชุดที่ OCCRP ได้รับมาระบุชัดเจนว่าตัวเลขนี้ถือว่าสูงเกินไปสำหรับสัญญาสัมปทานสนามบิน
ที่ทำการกลุ่มบริษัทอดานี ณ ประเทศอินเดีย
ข้อเสนอของอดานียังระบุด้วยว่าความสําเร็จของโครงการสนามบินจะ "ขึ้นอยู่กับนโยบายภาษีที่เอื้ออํานวยเป็นอย่างมาก" และขอให้รัฐบาลเคนยาพิจารณา "ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้จากสัมปทานในบางปี"
ขณะที่อดานียังไม่ให้ความเห็นกับสำนักข่าว OCCRP ที่สอบถามเกี่ยวกับกรณีนี้แต่อย่างใด
ทางด้านของนายเฮนรี่ โอโกเย (Henry Ogoye) ผู้บริหารการท่าอากาศยานเคนยา ทวีตแถลงการณ์บนทวิตเตอร์ว่บริษัท อดานี แอร์พอร์ต โฮลดิ้งส์ แน่นอนเป็นผู้ที่ยื่นข้อเสนอเพื่อสร้างอาคารผู้โดยสารและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างแท้จริง และย้ำอีกว่าข้อเสนอดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การทบทวนทางเทคนิค กรเงิน และกฎหมายตามกระบวนการที่จำเป็น
นายโอโกเยยังได้มีการส่งแถลงการณ์ไปยังสำนักข่าว OCCRP ระบุว่าการลงทุนที่จำเป็นสำหรับสนามบินนั้นเป็นเรื่องที่มี “นัยสำคัญ” และไม่สามารถดำเนินการได้ “หากไม่มีการขอความช่วยเหลือจากเงินทุนส่วนตัว”
แต่ทางด้านของนายเนลสัน อเมนยา (Nelson Amenya) ผู้ประกอบการดิจิทัลที่เป็นคนเปิดเผยข้อเสนอของอดานีเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมาล่าวว่าเขากังวลว่าเงื่อนไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นอาจถูกเก็บไว้เป็นความลับจากสาธารณชนโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้หลังจากได้รับเอกสารข้อตกลง นายอเมนยาได้ติดต่อไปยังนายริชาร์ด ออนยองก้า (Richard Onyonka) เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงสนามบินนี้ และนายออนยองก้าก็ได้เขียนจดหมายยื่นส่งไปให้กับคณะกรรมการเกี่ยวกับการถนนและการขนส่ง เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลง และล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.ค. นายออนยองก้าก็ได้กล่าวต่อรัฐสภาเพื่อรอให้มีการเรียกคณะกรรมการการท่าอากาศยานมาให้ปากคำ
ทังนี้หลังจากนายอเมนยาเปิดข้อมูลผ่านโพสต์ของเขาไม่นาน ก็มีเทรนบนโซเชียลมีเดียชื่อว่า #OccupyJKIA และชาวเคนยาจำนวนหลายพันคนก็ได้เดินทางไปยังสนามบินเพื่อประท้วงข้อตกลงที่เกิดขึ้น และเรื่องนี้ยังได้ตอกย้ำความไม่พอใจที่ประชาชนเคนยามีอยู่แล้วจากนโยบายการขึ้นภาษีและข้อครหาเรื่องการทุจริตอื่นๆที่มีในรัฐบาลประธานาธิบดีวิลเลียม รูโต
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์