โครงการพัฒนาของดูไบ ที่ชาวรัสเซียได้เข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการดังกล่าวซึ่งมีมูลค่า 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯพบว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่แล้วจำนวน 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (87,943,200,000 บาท) และอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังพัฒนาอยู่ที่มูลค่า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (142,907,700,000 บาท)
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงเกาะติดในเรื่องของการเปิดโปงเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มูลค่ามหาศาลในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือที่เรียกกันว่า Dubai Unlocked
โดยคราวนี้เป็นการรายงานข่าวของ สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ที่รายงานเกี่ยวกับกรณีชาวรัสเซียที่ได้เข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์หลังเหตุรุกรานยูเครนระบุว่า
นับตั้งแต่ปี 2565 หลังการรุกรานยูเครน ชาวรัสเซียจำนวนมากได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ภายใต้โครงการพัฒนาของดูไบคิดเป็นมูลค่ารวม 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (230,850,900,000 บาท) โดยข้อมูลนี้มาจากรายงานของกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จาก ศูนย์ EU Tax Observatory และ Centre for Tax Research ของนอร์เวย์
ข้อมูลจากนักเศรษฐศาสตร์ที่เขียนโดยนางแอนเน็ต อัลแสตดซิเดอร์ (Annette Alstadsæter),นายแมทธิว คอลลิน และนักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆได้มีการอัปเดตเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2563-2567 โดยอาศัยทั้งข้อมูลการรั่วไหลและข้อมูลธุรกรรมเพิ่มเติม
“เราประเมินว่าปริมาณเงินรัสเซียที่ไหลเข้าสู่อสังหาริมทรัพย์ในดูไบเพิ่มขึ้นมากกว่าสิบเท่าหลังจากการรุกรานยูเครน" นายแมทธิวนักวิจัยอาวุโสของ EU Tax Observatory กล่าว "นี่แสดงให้เห็นว่าเมืองนี้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สําคัญสําหรับชนชั้นนำชาวรัสเซียที่หลบเลี่ยงการคว่ำบาตรหรือหลบหนีสงครามที่เกิดขึ้น
สำหรับโครงการพัฒนาของดูไบ ที่ชาวรัสเซียได้เข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการดังกล่าวซึ่งมีมูลค่า 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯพบว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่แล้วจำนวน 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (87,943,200,000 บาท) และอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังพัฒนาอยู่ที่มูลค่า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (142,907,700,000 บาท)
@ชาวรัสเซียในดูไบ
มีข้อมูลว่าเหล่าบรรดานักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในดูไบนั้นหลายคนพบว่ามีบทบาทสำคัญในการเมืองรัสเซีย เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ และตัวละครที่มีสีสันอาทินางแอนนา แชปแมน ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสายลับรัสเซีย
กรณีนางแชปแมนถูกจับกุมที่นครนิวยอร์กในปี 2553 ด้วยข้อหาจารกรรมข้อมูลและต่อมาเธอก็ถูกแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย
ตามข้อมูลบันทึกอสังหาริมทรัพย์ระบุว่านางแชปแมนได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์คิดเป็นมูลค่า 566,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,739,938 บาท) ในช่วงต้นปี 2565 โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่เธอได้โปรโมตการลงทุนในดูไบให้กับผู้ติดตามชาวรัสเซียของเธอในอินสตราแกรม
อินสตราแกรมของนางแชปแมน
อีกกรณีเกิดขึ้นเมื่อเดือน มี.ค. 2565 หลังจากการรุกรานยูเครนได้ไม่ถึงเดือน นายกริกอรี อนิคีฟ หนึ่งในสมาชิกรัฐสภาดูมาที่ร่ำรวยที่สุดก็ได้ไปซื้อเพนท์เฮาส์อพาร์ทเมนท์มูลค่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (476,359,000 บาท) ซึ่งตั้งอยู่ ณ ชายหาดหมู่เกาะต้นปาล์มในนครดูไบ ตามข้อมูลของสำนักข่าว IStories
ต่อมาในเดือน เม.ย. 2565 นางอิริน่า คูปาเรวา อดีตภรรยาของนายอนิคิฟ และยังเป็นแม่ของลูกทั้งสองคนของเขาได้กลายเป็นเจ้าของเพนท์เฮ้าส์ขนาด 140 ตารางเมตรที่ว่านี้
พอมาถึงต้นปีอพาร์ทเม้นท์ก็ถูกปล่อยให้เช่าไปในราคา 84,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (3,078,012 บาท) ต่อปี ขณะที่นางโอลกา โปลิอาโควา ภรรยาที่เป็นแม่อีกคนของลูกชายนายอนิคีฟ ก็พบว่าเธอเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สองแห่งในดูไบมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (109,929,000 บาท)
สำนักข่าวฟอร์บส์สรุปความมั่งคั่งของนายกริกอรี อนิคีฟเอาไว้ในปี 2558
Dubai Unlocked ได้มีการเปิดเผยข้อมูลบันทึกทรัพย์สินจากปี 2565 ซึ่งข้อมูลการสืบสวนนี้ครอบคลุมชาวรัสเซียจำนวน 5 พันคน และบริษัทรัสเซียที่เข้าไปเป็นข้าวของอสังหาริมทรัพย์ในดูไบอีก 6,600 แห่ง มูลค่ารวม 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (120,921,900,000 บาท)
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังพบว่าพลเมืองรัสเซียหลายคนปรากฏในข้อมูลว่ามีสัญชาติอื่นและหมายเลขหนังสือเดินทางอื่นๆ ซึ่งการใช้หลายสัญชาติสามารถช่วยให้บุคคลที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรสามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
ส่วนทีมนักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าการลงทุนของรัสเซียทั้งหมดในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยในดูไบอยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (175,886,400,000 บาท) ในปี 2565 ทําให้ชาวรัสเซียอยู่ในอันดับที่ 7 ในบรรดาเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยของชาวต่างชาติในนครดูไบ
@ความเสี่ยงในการฟอกเงินและการหลีกเลี่ยงภาษี
นักวิจัยพบว่าในปี 2563 ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยในดูไบมูลค่าประมาณ 9.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,591,014,000,000 บาท) ในนครดูไบ ต่อมาตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,433,803,000,000 บาท)ในปี 2565 นั่นคือ 43% ของมูลค่ารวมของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยทั้งหมดและสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในโลกที่มีการประมาณการที่มีอยู่ และภายในปี 2565 ชาวต่างชาติเหล่านี้ยังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกคิดเป็นมูลค่า 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,429,077,000,000 บาท)
รายงานยังเตือนอีกว่าขนาดของการลงทุนจากต่างประเทศในตลาดอสังหาริมทรัพย์ดูไบแสดงให้เห็นถึง "ช่องโหว่ในการฟอกเงิน"
“เป็นที่ทราบกันดีว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับฟอกเงินมากที่สุด” นายมาร์คุม เฟเบอร์ สมาชิกรัฐสภายุโรปและรองประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านภาษีของรัฐสภากล่าวและกล่าวย้ำว่าดูบนั้นมีจุดบอดที่สำคัญสำหรับหน่วยงานด้านภาษีต่างประเทศ ตัวอย่างเช่นประมาณ 70% ของทรัพย์สินในดูไบที่ผู้เสียภาษีชาวนอร์เวย์เป็นเจ้าของไม่ได้รายงานเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีในปี 2562 ตามรายงานก่อนหน้านี้
ขณะที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ทำแถลงการณ์ถึงสำนักข่าว The Times ซื่งเป็นสื่อพันธมิตรของ ICIJ ระบุว่า "สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีบทบาทในการปกป้องความสมบูรณ์ของระบบการเงินโลกอย่างจริงจังอย่างยิ่ง" และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ "ทํางานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อขัดขวางและยับยั้งการเงินที่ผิดกฎหมายทุกรูปแบบ"
เรียบเรียงจาก:https://www.icij.org/news/2024/05/russians-bought-up-6-3-billion-in-dubai-property-after-2022-ukraine-invasion-report-finds/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์