ในประเด็นเรื่องข้อเสนอที่ควรจะมีความคุ้มค่าเกี่ยวกับสัญญาของโรงงาน Mulwala และโรงงาน Benalla เนื่องจากยังไม่เคยมีการทดสอบความคุ้มค่ามาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และถ้าหากมีการขยายสัญญาในปี 2568 ภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ ก็หมายความว่าจะไม่มีการแข่งขันในสัญญานี้นานถึง 20 ปี
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใส ในกรณีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านความมั่นคงของฝรั่งเศสชื่อว่าบริษัท Thales ได้รับสัญญามูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (31,896,787,000 บาท) เพื่อให้ดำเนินการในโครงการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ทว่าบริษัทนี้กลับไม่ผ่านในขั้นตอนการประมูล
ขณะที่นายเกร็ก มอริอาตี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีว่าขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบได้มีการส่งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ของออสเตรเลียดำเนินการแล้ว
เรื่องอื้อฉาวนี้ถูกเปิดโปงโดยสำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของออสเตรเลีย หรือ Australian National Audit Office (ANAO) โดยรายละเอียดการเปิดโปงในส่วนแรกเล่าถึงการที่กระทรวงกลาโหมได้จัดการกับสัญญาอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างไร ซึ่งเหตุอื้อฉาวนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมได้มีการขอแชมเปญขวดหนึ่งจากบริษัท Thales ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะได้ไปร่วมประชุมกับบริษัท
รายงานจาก ANAO ระบุว่าทางกระทรวงกลาโหมได้มีการยกเลิกการพิจารณาขีดความสามารถในด้านการแข่งขันทางการตลาด เพื่อเข้าหาบริษัท Thales ให้ดำเนินการกับโรงงานที่เมือง Mulwala และเมือง Benalla
โรงงานของบริษัท Thales ในเมือง Banella
ในช่วงเดือน พ.ย. 2559 เจ้าหน้าที่ด้านกลาโหมได้ขอความช่วยเหลือ และให้ข้อมูลกับบริษัท Thales ในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านคำแนะนำให้กับคระกรรมการด้านการลงทุน,รายละเอียดที่เกี่ยวกับกระบวนการของคณะกรรมการกลาโหม และรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดและการวางตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม ซึ่งปกติข้อมูลของรัฐบาลประเภทนี้จะถือว่าเป็นความลับและการแลกเปลี่ยนเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการกระทําที่ผิดจรรยาบรรณ
ทว่าสัญญานี้ ซึ่งมีมูลค่าแรกเริ่มอยู่ที่ 660 ล้านดอลลาร์ฯ (987,137,580 บาท) ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์ฯ (29,443,188,000 บาท) และกลายมาเป็น 1.3 พันล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ
นี่จึงเป็นเหตุทำให้เกิดการเรียกร้องว่าต้องมีการสอบสวนไม่เพียงแต่การสอบสวนการกระทำผิดจรรยาบรรณเท่านั้น เนื่องจากผู้เสียภาษีในออสเตรเลียต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับการตัดสินในที่สำคัญสองประการของกระทรวงกลาโหม
การตัดสินใจประการแรกคือว่าในเดือน ก.ค. 2559 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้มอบสัญญาชั่วคราวให้กับบริษัท Thales ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 2558-2563 เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล ทว่าสัญญานี้กลับไม่มีการประกวดราคาแต่อย่างใด
แน่นอนว่าการตัดสินใจในปี 2559 ทำให้เกิดเสียงคัดค้านตามมา ยกตัวอย่างเช่นเอกสารของเจ้าหน้าที่ทีมงานในแผนกวัตถุระเบิด ซึ่งทาง ANAO ระบุถึงเอกสารนี้ว่าการเปิดอำนวยความสะดวกให้ซัพพลายเออร์ด้านอาวุธระดับโลกจากหลายแห่งน่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจทั่วโลกของพวกเขา เพื่อให้เกิดความประหยัดในระดับสูงสุด ซึ่งการที่ให้บริษัท Thales เป็นซัพพลายเออร์แค่เพียงรายเดียว กระทรวงกลาโหมอาจสูญเสียผลประโยชน์จากผู้ประกอบการรายอื่นที่มีสายป่านด้านอาวุธโธปกรณ์ที่ยาวกว่าได้ โดยยังมิทันได้ทดสอบในทางปฏิบัติเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพวกเขา
ทว่าความเห็นของแผนกระเบิดกลับถูกละเลยจากฝ่ายบริษัทในระดับที่สูงกว่า โดยในวันที่ 18 ก.ค. 2559 ผู้อำนวยการฝ่ายวัตถุระเบิดได้รับทราบข้อมูลนี้ และระบุอีกว่าแนวทางที่ได้รับการรับรองนั้นสอดคล้องกับความต้องการของเลขาธิการด้านกลุ่มงานจัดหาศักยภาพและความยั่งยืนหรือ CASG แม้ว่ามันอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงก็ตาม
ทำให้เกิดคำถามว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อนี้รวมถึงเจ้าหน้าที่จากเอกชนหนึ่งราย ทำไมถึงเจาะจงบริษัท Thales แทนที่จะไปหาตลาดปกติ
เมื่อกรณีความอื้อฉาวนี้ไปถึงคณะกรรมการการลงทุนของกลาโหม หน่วยงานด้านเกี่ยวกับการแข่งขัน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่ได้โจมตีการตัดสินใจของกระทรวงกลาโหม ในประเด็นเรื่องข้อเสนอที่ควรจะมีความคุ้มค่าเกี่ยวกับสัญญาของโรงงาน Mulwala และโรงงาน Benalla เนื่องจากยังไม่เคยมีการทดสอบความคุ้มค่ามาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และถ้าหากมีการขยายสัญญาในปี 2568 ภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ ก็หมายความว่าจะไม่มีการแข่งขันในสัญญานี้นานถึง 20 ปี
โรงงานในเมือง Mulwala
ทว่าคณะกรรมการการลงทุนตัดสินใจที่จะเดินหน้าสัญญาต่อไปโดยตกลงกันเพียงว่าโรงงานในบางจุดจะถูกนำเข้าสู่ตลาดการประมูลปกติในอนาคต
การตัดสินใจอีกประการที่เป็นข้อครหา ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมน่าจะรับรู้เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2562 เมื่อบริษัท Thales ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อคำขอประกวดราคา RFT ซึ่งบริษัท Thales เองก็เป็นผู้ที่ช่วยเหลือและออกแบบกระบวนการประกวดราคาจนทำให้เกิดผู้เข้าร่วมประกวดราคาแค่เพียงรายเดียว ซึ่งรายละเอียดการยื่นขอประกวดราคานั้นแย่มาก จนเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมต้องการที่จะปฏิเสธ แต่ปัญหาก็คือว่ากระทรวงกลาโหมออสเตรเลียใช้เวลานานมากกับบริษัท Thales เพราะในช่วงปี 2562 นั้นเป็นช่วงที่สัญญาโรงงานในปี 2558 ใกล้จะหมดอายุแล้ว
กรณีการขยายสัญญานั้นมีการวิจารณ์กันว่านี่หมายถึงบริษัท Thales มีอำนาจทั้งหมดในการเจรจา ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงกลาโหมได้รับคําเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าสิ่งนี้ (การดำเนินเรื่องเพื่อขยายสัญญา) จะเกิดขึ้นหากพวกเขาปล่อยไว้สายเกินไป โดยบริษัท Thales จะลากสิ่งต่างๆ ออกไป อีกทั้งบริษัทมีประวัติการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงกับหน่วยงานต่างๆ
“แต่พวกเขาก็ปล่อยให้มันสายเกินไปอยู่ดี” รายงานข่าวระบุ
มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่บางคนต้องการที่จะขยายสัญญาออกไปเป็นการชั่วคราวอย่างน้อยอีกหกเดือนหรืออีกหนึ่งปีเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ข้อเสนอแนะเหล่านี้ก็ถูกตีตกไป และมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมกับเจ้าหน้าที่บริษัท Thales ยังมีการประชุมด้วยกันอีกหลายครั้ง ซึ่งทั้งหมดไม่เคยมีการเก็บบันทึกเอาไว้
เรียบเรียงจาก:https://www.crikey.com.au/2024/06/28/defence-thales-scandal-anti-corruption-commission-nacc/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์