การสืบสวนตลาดอสังหาริมทรัพย์อันไม่โปร่งใสในนครดูไบนั้นเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย. 2566 โดยมีข้อมูลตั้งต้นมาจากศูนย์ C4ADS ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา แล้วจึงได้มีการแบ่งปันข้อมูลให้กับสำนักข่าวว่าด้วยการเงิน E24 ของนอร์เวย์ และสำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (OCCRP)
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข่าวกลุ่มผู้ก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งมีการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อทำการฟอกเงิน
โดยสำนักข่าวนิกเกอิ เอเชีย ของญี่ปุ่นรายงานข่าวกรณีที่มีบุคคลหลายคนซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มที่เป็นเป้าหมายการคว่ำบาตรของทางการสหรัฐอเมริกา เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้มีฐานะเป็นองค์กรก่อการร้าย อาทิ กลุ่มฮิซบุลเลาะห์และกลุ่มกบฏฮูธี ได้เข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในนครดูไบเป็นจำนวนหลายแสนแห่ง โดยข้อมูลนี้มาจากศูนย์การศึกษาการป้องกันประเทศขั้นสูงหรือว่า C4DS สหรัฐอเมริกา
ประเทศต่างๆ ได้พยายามควบคุมการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้ายโดยการตัดองค์กรและบุคคลออกจากระบบการเงินและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มก่อการร้าย อย่างไรก็ตามมีการเปิดเผยข้อมูลฉบับใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการสอบสวนร่วมกันโดยองค์กรสื่อ 74 แห่งใน 58 ประเทศชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ในการคว่ำบาตรดังกล่าว ที่น่าจะเป็นการเปิดช่องสําหรับการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ตัวอย่างก็มีอาทิ นายอัดฮัม ทาบาจา (Adham Tabaja) นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ก็อยู่ในรายชื่อครอบครองอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน เช่นเดียวกับผู้จัดหาเงินทุนชาวกาตาร์ชื่อว่านายอาลี อัล-บาไน (Ali al-Banai) ก็เชื่อกันว่าเขาคนนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายนานาชาติในการสนับสนุนทางการเงินให้กับปฏิบัติการของฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งเครือข่ายของเขานั้นครอบคลุมทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เลบานอน กาตาร์ อิหร่าน คูเวต บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย และตุรเคีย
มีข้อมูลว่านายทาบาจา ที่ถูกสหรัฐฯคว่ำบาตรตั้งแต่ปี 2558 นั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สินขนาดใหญ่อย่างน้อยหนึ่งแห่งในเขตชานเมืองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยถือครองภายใต้ชื่อของเขาเอง
ส่วนนายอาลี ออสเซรัน (Ali Osseiran) ที่ถูกคว่ำบาตรเนื่องจากมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกด้านการฟอกเงินให้กับกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ พบว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินในตึกเบิร์จคาลิฟา ในนครดูไบ ซึ่งตึกนี้เป็นตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลก
สื่ออังกฤษรายงานว่ามีผู้ถูกกล่าวหาจากทางการอังกฤษ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ดูไบ (อ้างอิงวิดีโอจาก:Times Radio)
จากการตรวจสอบพบความเป็นไปได้ในระดับสูงว่ามีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากกว่า 200 คน ที่อาจจะตกเป็นเป้าหมายการสอบสวนและบางคนอาจอยู่ภายใต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ได้เข้าไปซื้อทรัพย์สินในนครดูไบ
กรณีการสืบสวนตลาดอสังหาริมทรัพย์อันไม่โปร่งใสในนครดูไบนั้นเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย. 2566 โดยมีข้อมูลตั้งต้นมาจากศูนย์ C4ADS ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา แล้วจึงได้มีการแบ่งปันข้อมูลให้กับสำนักข่าวว่าด้วยการเงิน E24 ของนอร์เวย์ และสำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (OCCRP) ซึ่งได้ประสานงานกับสำนักข่าวเชิงสืบสวนอีกหลายสิบแห่งทั่วโลก
ข้อมูลที่รั่วไหลออกมาให้ภาพรวมโดยละเอียดของอสังหาริมทรัพย์หลายแสนแห่งในดูไบ และข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของหรือการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปี 2563 และปี 2565
สำนักข่าวนิกเกอิยังรายงานเพิ่มเติมด้วยว่ามีกรณีของชาวญี่ปุ่นจำนวนอย่างน้อย 1 พันคนที่เข้าไปถือครองทรัพย์สินในนครดูไบ ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงผู้ที่กระทำความผิดด้วย
มีกรณีที่พบว่าหญิงรายหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นในวัย 52 ปี (ไม่ได้ระบุสัญชาติ) ถูกนำตัวขึ้นศาล เนื่องจากเธอถูกกล่าวหาว่าชักชวนให้เหยื่อมาลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทน บริษัทของเธอยังถูกตั้งข้อหาว่ารายงานข้อมูลผลกำไรต่ำเกินไป
ปรากฏว่าหญิงรายนี้กลับไปซื้อคอนโดมูลค่า 710,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,787,200 บาท) และเธอก็ไม่ได้ตอบคำถามว่าเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อคอนโด
รายชื่อบุคคลที่ถูกทางการสหรัฐฯคว่ำบาตร ปรากฎว่าเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ
อีกกรณีเป็นชายชาวญี่ปุ่นในวัย 47 ปี พบว่าเขาเป็นเจ้าของคอนโดมูลค่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (47,216,000 บาท) แต่ปรากฎว่าชายคนนี้ทำธุรกิจบัตรของขวัญดิจิทัล ซึ่งมีปัญหาว่าไม่สามารถใช้บริการได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ทางด้านของนายโยจิ อาโอโตะ ทนายความผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเหยื่อในคดีนี้กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าบริการนี้ (การซื้ออสังหาริมทรัพย)อาจจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการฟอกเงินที่แปลงบัตรของขวัญดิจิทัลซึ่งมาจากกลุ่มฉ้อโกงหลอกลวงไปเป็นเงินสด
ในปัจจุบัน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของดูไบกำลังเฟื่องฟูอย่างยิ่ง โดยข้อมูลจากบริษัท Knight Frank บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักร พบว่าในปี 2565 การซื้อขายที่อยู่อาศัยในดูไบเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าจากในปี 2563 โดยราคาคอนโดมิเนียมในเบิร์จคาลิฟา เพิ่มขึ้น 55% ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา และในปี 2566 จํานวนบ้านในดูไบมีการเปลี่ยนมืออย่างน้อยคิดเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (363,200,000 บาท) เพิ่มขึ้น 92% เป็น 431 ยูนิต
เหตุผลที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในดูไบได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความพยายามของทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการดึงดูดผู้มั่งคั่งทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2565 ผู้ที่สนใจสามารถครอบครองวีซ่าระยะยาวได้ แค่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 545,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,794,400 บาท) ซึ่งการไม่มีภาษีใดๆดึงดูดนักลงทุนได้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่หละหลวม ตัวอย่างเช่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีมหาเศรษฐีชาวรัสเซียที่เป็นเป้าการคว่ำบาตรเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์จำนวนหลายราย หนึ่งในนั้นก็คือนายรุสลัน ไบซารอฟ นักธุรกิจชาวรัสเซียที่มีความใกล้ชิดกับนายรามซาน คาดีรอฟ ผู้นำกลุ่มเชเชน ส่วนอีกรายก็ได้แก่นายอเล็กซานเดอร์ โบโรได ซึ่งครั้งหนึ่งเคยแสดงตนว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์ที่ประกาศแยกตัวออกจากยูเครน หลังจากการรุกรานไครเมียของรัสเซียในปี 2557 และรัสเซียได้ประกาศผนวกโดเนตสค์ไปในปี 2565
เรียบเรียงจาก:https://asia.nikkei.com/Politics/Terrorism/Terrorist-groups-suspected-of-funneling-money-to-Dubai-properties
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์