บริษัทคาวาซากิ เฮฟวี่อินดัสทรีนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของกองเรือดำน้ำให้กับ MSDF แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าบริษัทนี้มีพฤติกรรมควบคุมผู้รับเหมาช่วงต่อ เพื่อจะสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จ เอื้อให้เกิดการสร้างกองทุนลับ ซึ่งเป็นปลายททางที่เงินถูกโอนเข้าไปสู่บัญชีที่ถูกควบคุมผู้รับเหมาช่วง แต่แทนที่เงินจะถูกนำไปใช้จ่ายให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปรากฎว่าเงินในกองทุนนี้ถูกนำไปใช้ซื้อของใช้ส่วนตัวและค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิงให้กับเจ้าหน้าที่ MSDF ซึ่งรวมไปถึงอาหารมื้อหรูหราและการไปเที่ยวต่างๆ
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีเรื่องอื้อฉาวทางทหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในกระทรวงกลาโหมประเทศญี่ปุ่นหรือ MOD ส่งผลทำให้ MOD ต้องลงโทษทางวินัยกับบุคลากรจำนวน 218 นาย รวมไปถึงการเลิกจ้าง 12 กรณี และการระงับสัญญาอีก 83 กรณี โดยทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา
กองกำลังป้องกันตัวเองทางทะเลของญี่ปุ่นหรือ MSDF ถูกพบว่าเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ถูกลงโทษทางวินัยมากที่สุด โดยมีเจ้าหน้าที่จำนวนอย่างน้อย 181 นายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่างๆ ขณะที่ พล.ร.อ.เรียว ซาไกได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการ MSDF เพื่อแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออกจะมีผลในวันที่ 19 ก.ค.นี้
ขณะนี้ MOD และกองกำลังป้องกันประเทศหรือ SDF กำลังหาทางยกเครื่องการจัดการภายในหน่วยงานทั้งหมดเพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของสาธารณชน
@รายละเอียดข้อหาการประพฤติมิชอบ
การลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่นั้นพุ่งเป้าไปที่ 4 ด้านหลักด้วยกันได้แก่
1.กรณีการเปิดโปงข้อมูลที่เป็นความลับ: มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 115 นาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยความลับ และมี 26 นายต้องโทษทัณฑ์อย่างร้ายแรง
มีการยืนยันว่าอย่างน้อย 58 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยเรือรบใน MSDF อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่พบข้อมูลว่ามีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ภายนอก
อย่างไรก็ตามจำนวนการกระทำความผิดที่มากเน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการจัดการความปลอดภัยและการกำกับดูแลภายใน
พล.ร.อ.เรียว ซาไกได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการ MSDF เนื่องจากปัญหาจัดการความลับ
2.ความไม่โปร่งใสกรณีรับเงินช่วยเหลือในการฝึกประดาน้ำ: กรณีเกี่ยวข้องกับจำนวนเงินสูงถึง 43 ล้านเยน (9,854,956 บาท) มีเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 74 นาย และมีเจ้าหน้าที่ 65 นาย ลงถูกลงโทษพฤติการณ์ฉ้อโกงนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการปลอมแปลงบันทึกการฝึกดำน้ำและภารกิจประดาน้ำเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากระบบค่าตอบแทน ซึ่งจะจ่ายเงินให้โดยยึดโยงกับความลึกและระยะเวลาของปฏิบัติการณ์ประดาน้ำ กรณีนี้มีเจ้าหน้าที่บางคนแอบอ้างว่าใช้เวลาดำน้ำนานถึงนานถึง 1,500 ชั่วโมง เพื่อรับเงินที่ไม่เหมาะสม
3.การบริโภคอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตในฐานทัพหลายแห่ง: กรณีนี้มีการเบียดบังเงินหลวงไป 1.6 ล้านเยน (366,421 บาท) และมีเจ้าหน้าที่ 22 นายถูกลงโทษในความผิดเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตในฐานทัพ และมีกรณีหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้บริโภคอาหารไปถึง 4,921 มื้อ คิดเป็นมูลค่า 3 แสนเยน (68,704 บาท)
ส่งผลให้มีมีมาตรการทางวินัยสําหรับการละเมิดเหล่านี้รวมถึงการเลิกจ้าง การระงับและการลดเงินเดือน
4.การล่วงละเมิดในที่ทำงาน: กรณีนี้เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงภายใน MOD และ SDF ถูกพบว่ามีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เรื่องนี้ส่งผลทำให้ข้าราชการระดับสูงเทียบเท่ารัฐมนตรีต้องเผชิญกับการลงโทษ อาทิ พล.ร.อ.ซาไกต้องเผชิญกับการลดเงินเดือน นายคาซูโอะ มาสึดะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมต้องส่งคืนเงิน 10% ของเงินเดือนของเขาเป็นเวลาสามเดือน และนายโยชิฮิเดะ โยชิดะ เสนาธิการทหารถูกลงโทษว่ากล่าวตักเตือน
ขณะที่นายมิโนรุ คิฮาระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวขอโทษต่อสาธารณะ และกล่าวยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้ทรยศต่อความไว้วางใจของสาธารณชนและเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และตัวเขาจะคืนเงินเดือน 1 เดือนเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
@กรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับกองทุนเรือดำน้ำ
ในกรณีอื้อฉาวอื่นๆ พบว่า MSDF มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างกองทุนที่ไม่โปร่งใส สำหรับเจ้าหน้าที่กับผู้รับเหมาด้านสัญญาเรือดำน้ำจากบริษัทคาวาซากิ เฮฟวี่อินดัสทรี
สำหรับบริษัทคาวาซากิ เฮฟวี่อินดัสทรีนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของกองเรือดำน้ำให้กับ MSDF แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าบริษัทนี้มีพฤติกรรมควบคุมผู้รับเหมาช่วงต่อ เพื่อจะสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จ เอื้อให้เกิดการสร้างกองทุนลับ ซึ่งเป็นปลายททางที่เงินถูกโอนเข้าไปสู่บัญชีที่ถูกควบคุมผู้รับเหมาช่วง แต่แทนที่เงินจะถูกนำไปใช้จ่ายให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปรากฎว่าเงินในกองทุนนี้ถูกนำไปใช้ซื้อของใช้ส่วนตัวและค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิงให้กับเจ้าหน้าที่ MSDF ซึ่งรวมไปถึงอาหารมื้อหรูหราและการไปเที่ยวต่างๆ
กรณีการทุจริตนี้ถูกเปิดโปงในช่วงต้นเดือน ก.ค.เช่นกัน หลังจากที่มีการสอบสวนโดยสำนักงานภาษีประจำภูมิภาคโอซาก้า โดยการสอบสวนนั้นเปิดเผยว่าแผนกซ่อมบํารุงของอู่ต่อเรือโกเบได้สั่งให้ผู้รับเหมาช่วงมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายเหล่านี้มานานกว่า 20 ปี
ข่าวบริษัทคาวาซากิ เฮฟวี่ อินดัสทรีเข้าไปมีส่วนในการปรับปรุงเรือดำน้ำช่วงเดือน ธ.ค. 2566
@การฟื้นฟูความไว้วางใจของสาธารณชน
นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ได้รับทราบกรณีเหล่านี้แล้วและขอโทษต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีความไม่โปร่งใสหลายกรณีทั้งใน MOD และ SDF
นายกรัฐมนตรีคิชิดะกล่าวว่า “เหตุการณ์หลายกรณีรวมถึงการจัดการข้อมูลชั้นความลับที่กําหนดไว้เป็นพิเศษอย่างไม่ถูกต้องได้รับการยืนยันว่าเกิดขึ้นทั้งภายในกระทรวงกลาโหมและกองกําลังป้องกันตนเอง ก่อนอื่น ผมต้องขอโทษประชาชนสําหรับความกังวลที่เกิดขึ้น”
ขณะที่ MOD ต้องมีการยกเครื่องการทำงานทั้งหมดรวมถีงกระบวนการรับรองความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เนื่องจากสาธารณชนต้องการให้เห็นว่ามีการจัดการเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ
เรียบเรียงจาก:https://www.tokyoweekender.com/japan-life/news-and-opinion/military-scandals-plague-japans-ministry-of-defense/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์