ข้อมูลการถือครองทรัพย์สินต่างชาติของนายโวลคอฟไม่ได้จำกัดแค่ที่ตุรเคียเท่านั้น เพราะมีข้อมูลว่ามีทั้งบริษัทสัญชาติไซปรัสและสัญชาติอเมริกันของนายโวลคอฟยังดำเนินกิจการอยู่ภายใต้ชื่อว่าโอเวอร์รอน (Overon) โดยบริษัท อเมริกัน โอเวอร์รอน กรุ๊ป (American Overon Group Corporation) ซึ่งมีการจัดตั้งในปี 2555 ที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ได้ทำหน้าเพื่อเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ของบริษัทในประเทศรัสเซีย
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประวัติของนักธุรกิจและซัพพลายเออร์ให้กับกองทัพเรือรัสเซีย ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้เคยนำเสนอแล้วว่าลูกชายของนักธุรกิจคนนี้เปิดบริษัทให้ชาวรัสเซียมีซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
โดยองค์กร Trap Aggressor ซึ่งเป็นโครงการด้านสื่อซึ่งมาจากการรวมตัวกันของสื่อมวลชนและนักคิดเพื่อรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคว่ำบาตรประเทศรัสเซียและยึดทรัพย์สินเพื่อฟื้นฟูประเทศยูเครนขึ้นมาใหม่ ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับนายโอเลก โวลคอฟ เจ้าของบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalit) ซัพพลายเออร์หลักของกองทัพเรือรัสเซียระบุว่า
ย้อนไปเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 มากกว่า 300 บริษัทด้านกลาโหมในรัสเซียได้รวมตัวกันที่เมืองครอนสตัดท์ เมืองท่าทางตอนใต้ของนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในงานอีเวนท์ Fleet-2024 ซึ่งเป็นนิทรรศการด้านการต่อเรือ อากาศยานกองทัพเรือ และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เปิดตัวใหม่ใหม่ ในบรรดาผู้เข้าร่วมมีบริษัทชื่อว่าอาร์มาไลต์ ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์สำหรับชิ้นส่วนเรือรบในกองทัพรัสเซีย
บริษัทอาร์มาไลต์มีประวัติการก่อตั้งตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยมีเจ้าของคือชาวเยอรมันในขณะนั้น ในช่วงแรกที่ก่อตั้ง โรงงานของบริษัทผลิตหัวจ่ายน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ทองแดงสําหรับท่อส่งน้ำ ท่อส่งก๊าซและน้ำมัน พอหลังจากสหภาพโซเวียตถือกำเนิดขึ้น ก็มีการครอบงำและแปลงสัญชาติบริษัทแห่งนี้ ต่อมาในช่วง ค.ศ. 1930 อาร์มาไลต์ได้กลายเป็นผู้ผลิตวาล์วท่อหลักสําหรับกองทัพเรือของสหภาพโซเวียต
หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงหลังปี ค.ศ.1990 บริษัทก็ได้มีการแปรสภาพจากความเป็นรัฐวิสาหกิจไปสู่บริษัทเอกชน โดยมีนักธุรกิจจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กชื่อว่านายโอเลก โวลคอฟ เข้ามาบริหารกิจการ
สำหรับประวัติของนายโวลคอฟนั้นพบว่านอกจากอาร์มาไลต์ เขายังเป็นเจ้าของบริษัทผลิตวาล์วต่อเรือในรัสเซียอีกแห่งชื่อว่าบริษัท Spetskomplektresurs ซึ่งบริษัทนี้เป็นซัพพลายเออร์ให้กับกองทัพเรือรัสเซียเช่นกัน และการที่นายโวลคอฟได้ทำธุรกิจร่วมกับหุ้นส่วนอีกคนชื่อว่านายอเล็กซานเดอร์ คุซเนตซอฟ (Alexander Kuznetsov) ส่งผลทำให้เขาได้เป็นเจ้าของบริษัทอีกอย่างน้อย 12 แห่งทั่วรัสเซีย มีทำธุรกิจตั้งแต่สวิตช์ไฟฟ้า,ธุกิจโรงงานผลิตวาล์วอีกหลายแห่ง, ธุรกิจต่อเรือพลเรือน,ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ไม้ แต่ประเด็นสำคัญก็คือหลังจากเหตุรัสเซียรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2565 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ในบริษัทเหล่านี้ก็ถูกบดบัง
ทางองค์กร Trap Aggressor จึงได้มีการไปสืบค้นข้อมูลว่านายโอเลก โวลคอฟ ปัจจุบันได้มีการถ่ายโอนทรัพย์สินไปที่ไหน และมีความมั่งคั่งในต่างประเทศที่ใดบ้าง ซึ่งรวมถึงที่ประเทศตุรเคีย โดยข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจที่ตุรเคียพบว่าในเดือน มิ.ย. 2565 ทั้งนายโวลคอฟและนายคุซเนตซอฟได้มีการจัดตั้งกลุ่มบริษัทในอิสตันบูล ชื่อว่ากลุ่มบริษัท Overon Group İthalat İhracat Danişmanlik Mühendi̇sli̇k Ti̇caret Anoni̇m Şi̇rketi̇ (แปลจากภาษาตุรกีชื่อว่าบริษัทด้านที่ปรึกษาการส่งออก วิศวกรรมการค้า)
ข้อมูลศุลกากรของรัสเซียระบุว่าในปี 2566 บริษัทนี้ได้จัดหาสินค้าที่ทางตะวันตกคว่ำบาตรให้กับองค์กรของพันธมิตรทางธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งรวมถึงเครื่องกลึงเทคโลยี CNC ในแนวนอนที่ผลิตโดยบริษัท Trevisan Macchine Utensili SpA สัญชาติอิตาลีมูลค่าประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (33,278,000 บาท) และอุปกรณ์ป้องกันโครงข่ายไฟฟ้าของบริษัทซีเมนส์มูลค่า 5,353 ดอลลาร์สหรัฐฯ (178,137 บาท)
อนึ่งเครื่องกลึงเทคโลยี CNC เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมทางทหารยุคใหม่ ซึ่งรัสเซียยังขาดความสามารถในการผลิตเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนภายในประเทศตัวเอง จึงต้องมีการหาแหล่งเครื่องจักรเหล่านี้จากแหล่งอื่นๆ นอกประเทศ การที่ตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซีย รัสเซียจึงต้องแหล่งเครื่องจักรใหม่จากเขตอำนาจศาลที่เป็นมิตร ซึ่งก็รวมถึงจากประเทศตุรเคีย
องค์กร Trap Aggressor ได้ติดต่อไปยังบริษัทต้นทางเทคโนโลยีในตะวันตก เพื่อสอบถามว่าพวกเขาได้ส่งของให้กับอาร์มาไลต์หรือไม่ ทางบริษัทซีเมนส์ได้ชี้แจงยืนยันว่าไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ตุรเคีย โดยสัญญาการจัดหามีข้อที่กําหนดให้ลูกค้าปฏิบัติตามกฎระเบียบการควบคุมการส่งออกทั้งหมดเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่จัดหาโดยซีเมนส์ บริษัทซีเมนส์ยังเน้นย้ำด้วยว่าได้ตรวจสอบข่าวการหลบเลี่ยงการคว่ำโดยทันที โดยร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ทางบริษัท Trevisan Macchine Utensili SpA จากอิตาลีก็ได้ออกแถลงการณ์ในลักษณะเดียวกันปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับบริษัท Turkish Overon จากตุรเคีย พร้อมยืนยันว่าบริษัทอาร์มาไลต์เคยเป็นลูกค้าเครื่องกลึง CNC จากพวกเขาจริง โดยเป็นการสั่งซื้อในปี 2551 แต่ในปัจจุบันบริษัทได้ยุติความสัมพันธ์ทางการค้ากับบริษัท Trevisan O.O.O. ซึ่งเคยเป็นบริษัทสาขาในประเทศรัสเซียลงไปแล้วหลังจากเกิดสงครามรัสเซียยูเครนขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลศุลกากรของรัสเซียระบุว่าทั้งสองบริษัทจากตะวันตกจัดหาผลิตภัณฑ์ให้กับรัสเซียในช่วงต้นปี2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้กับ Trevisan O.O.O และบริษัทอาร์มาไลต์ ของรัสเซีย มูลค่าของผลิตภัณฑ์ Trevisan ที่นําเข้าไปยังรัสเซียในปี 2566 อยู่ที่ 7.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (262,896,200 บาท) แต่บริษัทจากอิตาลีปฏิเสธการส่งมอบเหล่านี้
อนึ่งข้อมูลการถือครองทรัพย์สินต่างชาติของนายโวลคอฟไม่ได้จำกัดแค่ที่ตุรเคียเท่านั้น เพราะมีข้อมูลว่ามีทั้งบริษัทสัญชาติไซปรัสและสัญชาติอเมริกันของนายโวลคอฟยังดำเนินกิจการอยู่ภายใต้ชื่อว่าโอเวอร์รอน (Overon) โดยบริษัท อเมริกัน โอเวอร์รอน กรุ๊ป (American Overon Group Corporation) ซึ่งมีการจัดตั้งในปี 2555 ที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ได้ทำหน้าเพื่อเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ของบริษัทในประเทศรัสเซีย และขายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่หลากหลายมากรวมไปถึงอุปกรณ์ทางทะเล พอหลังจากปี 2555 นายโวลคอฟก็ได้จัดตั้งบริษัทในสหรัฐอเมริกาอีกหกแห่ง โดยมุ่งเน้นไปที่งานรับเหมาก่อสร้าง และซ่อมแซมบ้านเป็นหลัก
มีรายงานว่าผลจากการทำธุรกิจของโอเวอร์รอน ทำให้นายโวลคอฟสามารถครอบงำบริษัทแคนาดาได้แก่บริษัท Canadian CLetch และบริษัท Attraverso เอาไว้ในบางส่วนเช่นกัน
Trap Aggressor รายงานว่าผลจากการลงทุนตลอด 12 ปี รวมไปถึงการถือครองอสังหาริมทรัพย์ทำให้ครอบครัวนายโวลคอฟเข้ามาอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญที่นั่นได้ โดยนายโอเลก โวลคอฟ และนางเวโรนิก้า โวลโควา (Veronika Volkova) ผู้เป็นภรรยาพบว่าทั้งสองร่วมกันครอบครองคฤหาสน์ขนาด 908 ตารางเมตรที่ตั้งอยู่ในนครแอตแลนตา ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของคฤหาสถ์อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (166,390,000 บาท) ดูภาพประกอบ
คฤหาสน์นายโวลคอฟในแอตแลนตา
ส่วนที่ทางตอนเหนือของนครแอตแลนตา ขับรถไปไม่เกิน 15 นาทีจากบ้านหลังแรก พบว่าที่นั่นมีบ้านอีกหลังของนางเวโรนิก้า คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (33,278,000 บาท) ผลการวิเคราะห์บัญชีโซเชียลมีเดียของครอบครัว รวมไปถึงลูกสาวของนายโวลคอฟมีการระบุว่าบ้านแห่งนี้เป็นที่อยู่หลักของครอบครัว นอกจากนี้บุคคลชื่อว่านายโอเลก โวลคอฟยังพบว่าเป็นเจ้าของอพาร์ทเมนต์อีกแห่งมีมูลค่าประมาณ 424,616 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,130,371 บาท)
อสังหาฯได้แก่บ้านทั้งสองแห่งพบว่าอยู่ใกล้กับโรงเรียนเอกชน Holy Innocents’ Episcopal School ในพื้นที่ Sandy Springs ซึ่ง น.ส.วาร์วารา โวลคอฟ ลูกสาวคนเล็กของนายโวลคอฟสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากที่นั่นในปี 2566 แล้วจากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Northeastern University ที่นครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยมหาวิทยาลัยนี้มีค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษาอยู่ที่ 31,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,041,601 บาท)
ปรากฎข้อมูลด้วยว่า น.ส.วาร์วารา มักจะไปแล่นเรือยอชต์และเข้าร่วมบัลเล่ต์ที่โรงละครมาริอินสกี้ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยข้อมูลจากโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่าเธอมักจะไปต่างประเทศเป็นประจำ เช่นไปเที่ยวที่อิตาลี ฝรั่งเศส และฮาวาย นอกจากนี้ภาพถ่ายในต่างประเทศยังแสดงให้เห็นว่า น.ส.วาร์วารา ใช้หนังสือเดินทางสีดำ บ่งชี้ว่าเธอเป็นพลเมืองสหรัฐฯ
อินสตราสแกรม น.ส.น.ส.วาร์วารา โวลคอฟ
น.ส.วาร์วารามีพี่สาวอีกหนึ่งคนชื่อว่า น.ส.มาเรีย โวลคอฟโดน น.ส.มาเรียนั้นจบปริญญาตรีด้านการตลาดและการจัดการแฟชั่นจากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบสะวันนาห์ (Savannah College of Art and Design) รัฐจอร์เจีย และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านการสื่อสารแฟชั่นที่การสื่อสารแฟชั่นที่ Conde Nast College ในลอนดอน (Conde Nast College) ในกรุงลอนดอน
อินสตราแกรม น.ส.มาเรีย โวลคอฟ
ส่วนลูกชายคนโตของนายโวลคอฟ ได้แก่นายวลาดิเมียร์ โวลคอฟ สำนักข่าวอิศราเคยนำเสนอข้อมูลก่อนหน้านี้ไปแล้วโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Trap Aggressor ระบุว่านายวลาดิเมียร์เป็นประธานผู้บริหารหรือซีอีโอบริษัทโอเวอร์รอน เอสเตท อินเวสต์เมนท์ (Overon Estate Investment) ซึ่งบริษัทแห่งนี้ขายอสังหาให้กับลูกค้าชาวรัสเซียในประเทศไทย
ที่ผ่านมานายวลาดิเมียร์ เคยแชร์ภาพผ่านอินสตราแกรมว่าใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือน ส.ค. 2565 คาดกันว่าเขาย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่รัฐฟลอริดา นายวลาดิเมียร์ที่เป็นซีอีโอบริษัท Overon Estate Investment พบว่าบริษัทแห่งนี้นั้นเชี่ยวชาญด้านการขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้าชาวรัสเซียบน จ.ภูเก็ตในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าในการค้นหาอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมสําหรับที่อยู่อาศัยหรือการลงทุน
บริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษอย่างยิ่งหลังจากที่รัสเซียได้รุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ เนื่องจากชาวรัสเซียที่ร่ำรวยกำลังถอนสกุลเงินออกจากรัสเซีย โดยอาศัยการซื้อทรัพย์สินในต่างแดน และบริษัทในเครือของนายโวลคอฟก็กำลังสนับสนุนกระบวนการนี้ในประเทศไทย ตามเว็บไซต์ของบริษัท พบว่าได้มีการลงทุนในโครงการมากกว่า 90 โครงการในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันบริษัท Overon Estate Investment ยังคงเข้าถึงได้และยังคงอยู่ในรัสเซีย โดยบริษัทได้ออกคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะติดต่อว่าให้ติดต่อที่อยู่บริษัทที่กรุงมอสโก
อนึ่งนายวลาดิเมียร์นั้นแต่งงานแล้วและมีบุตรอย่างน้อยสามคน และคาดกันว่าเขาเคยอาศัยในประเทศไทยอย่างน้อยในช่วงก่อนปี 2565 (อ่านประกอบ:NGO ต้านสงครามยูเครนเผย ลูกชายซัพพลายเออร์ ทร.รัสเซีย เปิด บ.ขายอสังหาฯ จ.ภูเก็ต)
ขณะที่ภรรยาของนายวลาดิเมียร์ ซึ่งก็คือนางมาริน่ายังเคยโพสต์ข้อความอินสตราแกรมของเธอ โดยแสดงจุดยืนอย่างเด่นชัดว่าสนับสนุนการที่รัสเซียรุกรานยูเครน และสนับสนุนการที่รัสเซียผนวกแคว้นไครเมียในปี 2557
บริษัทอาร์มาไลต์ของนายโวลคอฟยังคงรักษาความร่วมมือกับบริษัทอื่นๆที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศที่ถูกสหรัฐฯและยุโรปคว่ำบาตร โดยที่บูทในงาน Fleet 2024 บริษัทของนายโวลคอฟได้มีการแสดงนวัตกรรมทหารอาทิ เรือ Caiman ซึ่งเป็นเรือจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินน้ำสะเทินบกที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยตามประสบการณ์การปฏิบัติการรบ มีการติดตั้งระบบตรวจจับและรบกวนโดรน ป้องกันการโจมตีทางอากาศและทางทะเลได้ทุกด้านด้วยปืนกล AK-630 และปืนกลลํากล้องขนาดใหญ่
เรือลำที่ว่านี้พบว่าถูกผลิตที่โรงงานชื่อว่า Yantar ในรัสเซีย ซึ่งโรงงานนี้เป็นสถานที่ที่บริษัทอาร์มาไลต์จัดส่งวาล์วสำหรับเรือทะเลไปให้ โดยลูกค้าของโรงงานนี้พบว่ามี อาทิ บริษัท Zvezdochka Ship Repair Center JSC และบริษัท Baltic Shipyard LLC ซึ่งทั้งสองบริษัทผลิตและบํารุงรักษาเรือประเภทต่างๆ รวมถึงเรือที่มีระบบขับเคลื่อนนิวเคลียร์ ระบบเหล่านี้มักใช้กับเรือดําน้ำทหารและเรือบรรทุกเครื่องบิน
ทั้งที่บริษัทอาร์มาไลต์มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลาโหมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของเศรษฐกิจรัสเซีย ทว่าบริษัทรวมไปถึงตัวนายโวลคอฟก็ไม่ได้ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯแต่อย่างใด
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์