บทสรุปของรายงานฉบับสุดท้ายซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของรัฐสภาคูเวตอ้างว่าเงินทุนสาธารณะ 349 ล้านยูโร (12,862,744,000 บาท) ถูกทำให้ "สูญเปล่า" ในสัญญาแอร์บัส และอ้างอีกว่า "เจ้าหน้าที่บางคนในกระทรวงกลาโหม" ได้"ปกปิด" "การฉ้อโกงและการหลอกลวง" ของแอร์บัสเกี่ยวกับการจ่ายค่าคอมมิชชั่น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอเสนอกรณีอื้อฉาวการทำสัญญาจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ระหว่างแอร์บัสกับประเทศคูเวต ที่ปรากฏเรื่องอื้อฉาว
เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตที่จัดตั้งขึ้น ( OCCRP ) รายงานข่าวกรณีที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแอร์บัสยังคงเดินหน้าหารือเกี่ยวกับสัญญาเฮลิคอปเตอร์ของคูเวต ในช่วงเวลาที่บริษัทแห่งนี้อยู่ภายใต้การสอบสวนเพราะถูกกล่าวหาว่าใช้คนกลางในหลายประเทศเพื่อติดสินบนลูกค้า
ปรากฏข้อความบางถ้อยคำที่บ่งชี้ว่าแอร์ยัสยังคงเต็มใจที่จะจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ของนายฟาริด อับเดลนัวร์ (Farid Abdelnour) พ่อค้าคนกลางในกรณีสัญญาคูเวต โดยข้อมูลนี้อ้างอิงจากจดหมายบันทึกการตอบโต้ถ้อยคำซึ่งถูกนำไปใช้เพื่อชนะคำตัดสินในข้อพิพาทตามอนุญาโตตุลาการ ที่กำหนดว่าบริษัทจะต้องจ่ายเงินให้กับนายอับเดลนัวร์ 12 ล้านยูโร (442,272,000 บาท)
สำหรับประวัติของนายอับเดลนัวร์ พว่าเขาเป็นที่ปรึกษาวัย 65 ปี มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจาสัญญา 1 พันล้านยูโร (36,856,000,000 บาท) เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ทหารรุ่นคาราคัล (Caracal) จำนวน 30 ลำในช่วงปี 2559 ให้กับกระทรวงกลาโหมคูเวต และเขายังมีส่วนในการเจรจาสัญญาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเฮลิคอปเตอร์พลเรือน
ในปี 2563 บริษัทแอร์บัสได้มีการทำข้อตกลงกับทางการประเทศสหราชอาณาจักร,ทางการฝรั่งเศสและสหรัฐฯ อเมริกาเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากการถูกดำเนินคดีในข้อสงสัยที่ว่าบริษัทได้จ่ายเงินให้กับคนกลางในอย่างน้อย 12 ประเทศ
ข้อตกลงดังกล่าวเรียกว่า ข้อตกลงการดำเนินคดีที่เลื่อนออกไป (Deferred Prosecution Agreement: DPA) ซึ่งจะระงับการดำเนินคดีอาญาแลกกับการที่จำเลยต้องบรรลุเงื่อนไขบางประการ รวมไปถึงการจ่ายค่าปรับที่เหมาะสม ซึ่งกรณีนี้แอร์บัสต้องจ่ายค่าปรับไปถึง 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (132,502,441,110 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นค่าปรับคดีที่สูงสุดเป็นสถิติ ณ เวลานั้น
อนึ่งกรณีนายอับเดลนัวร์และสัญญาที่คูเวต ดูเหมือนว่าจะไม่ครอบคลุมข้อตกลง DPA ที่สหราชอาณาจักร,ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ แต่ในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการรัฐสภาคูเวตได้มีการเผยแพร่ผลการสอบสวนของตนเองเกี่ยวกับสัญญาเฮลิคอปเตอร์คาราคัล และกล่าวหาว่าแอร์บัสฉ้อโกงและหลอกลวงในการจัดการข้อตกลง
จากข้อตกลงทางตุลาการที่เผยแพร่โดยอัยการฝรั่งเศสระบุว่าแอร์บัสยุติการจ่ายเงินให้คนกลางไปตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2558 แล้ว ทว่าจดหมายตอบโต้ที่สำนักข่าว Revue XXI ของฝรั่งเศสรวบรวมมาได้ และแชร์ข้อมูลให้กับ OCCRP ระบุว่านายกิลโยม ฟอรี (Guillaume Faury) ซีอีโอแอร์บัสตอนนี้ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัทย่อยของแอร์บัสที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการด้านเฮลิคอปเตอร์ได้มีการส่งอีเมลไปให้กับนายอับเดลนัวร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลงเฮลิคอปเตอร์คูเวต โดยส่งอีเมลไปในช่วงปี 2559
นายกิลโยม ฟอรี (Guillaume Faury) ซีอีโอแอร์บัส
ในช่วงเดือน พ.ค. 2559 มีรายงานว่าผู้บริหารแอร์บัสอีกคนได้ส่งข้อความไปหานายอับเดลนัวร์ ระบุว่าแอร์บัสพร้อมจะจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ของเขา
โดยจดหมายบันทึกการตอบโต้ดังกล่าวนั้นยังถูกนำไปใช้ในภายหลังในกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่หอการค้าระหว่างประเทศกรุงปารีส โดยข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการนี้ มีผู้ร้องเรียนได้แก่นายอับเดลนัวร์ ร้องเรียนว่าบริษัทแอร์บัสว่าไม่ยอมจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ของเขา
ในปี 2563 ผู้พิพากษาอนุญาโตตุลาการได้มีคำพิพากษาระบุว่าบริษัทแอร์บัสและนายอับเดลนัวร์ดำเนินกิจการตามปกติในช่วงปี 2558-2559 จนกระทั่งเดือน ธ.ค.2559 จึงได้มีการพบปะกัน ซึ่งผู้บริหารแอร์บัสบอกกับนายอัลเดลนัวร์ว่านายอับเดลนัวร์ไม่สามารถที่จะทำงานให้กับบริษัทต่อไปได้แล้ว
ผู้พิพากษาสั่งให้แอร์บัสจ่ายเงิน 12 ล้านยูโรให้กับนายอับเดลนัวร์ และแน่นอนว่าหลังจากที่ทางการคูเวตทราบเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พวกเขาก็ได้ตรวจสอบว่าการชำระเงินนี้ถือว่าเป็นค่าคอมมิชชั่นในสัญญาหรือไม่ แม้ว่าทางแอร์บัสจะรับรองว่าไม่มีกรณีการจ่ายเงินก็ตาม ตามข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลระหว่างแอร์บัสและรัฐบาลคูเวต
ขณะที่ทนายความส่วนตัวของนายอับเดลนัวร์ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเช่นเดียวกับ ตัวนายฟอรีและตัวแทนของรัฐบาลคูเวต ก็ไม่ตอบคำถามของขอให้แสดงความเห็นเช่นกัน
ในเดือน ต.ค. 2558 นายอับเดลนัวร์ส่งอีเมลไปหานายฟอรี ซึ่งเนื้อหาถ้อยคำมีลักษณะโกรธแค้นอย่างเห็นได้ชัด และเรียกร้องให้โทรกลับหาเขาอย่างเร่งด่วน โดยช่วงเวลาที่มีการส่งอีเมลยังเป็นช่วงเวลาที่สัญญาเฮลิคอปเตอร์คูเวตนั้นมีความสุ่มเสี่ยง
นายฟอรีตอบกลับอย่างรวดเร็วระบุเนื้อหาว่า “ผมอยากจะขอบคุณ สำหรับการกระทำและความช่วยเหลือของคุณ ซึ่งนั่นสำคัญมากสำหรับเรา ดังที่คุณชี้ให้เห็นเด่นชัดแล้วว่าเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดมากกว่าที่เราเคยเป็นมาจนถึงตอนนี้”
ช่วงปลายปี 2558 แอร์บัสได้มีการสรุปการสอบสวนภายใน ว่ามีปัญหากับการใช้งานคนกลางทั่วโลก ต่อมาในปี 2560 สื่อรายงานว่าแอร์บัสต้องเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายกับการใช้งานพ่อค้าคากลางมากกว่า 20 คน
แอร์บัสยังได้รายงานผลการสอบสวนด้วยตัวเองไปให้ทางการอังกฤษในต้นปี 2559 ซึ่งผลจากการรายงานครั้งนั้น ทางการอังกฤษจึงได้ส่งคำแจ้งเตือนไปยังสหรัฐฯและฝรั่งเศส
ในเดือน พ.ค.2559 หลังจากแอร์บัสรายงานผลให้กับทางการอังกฤษได้ไม่นาน นายมาร์วาน ลาฮูด (Marwan Lahoud) ผู้บริหารแอร์บัสระดับสูงได้เขียนจดหมายบอกกับนายอับเดลนัวร์ว่าสืบเนื่องจากที่มีการตรวจสอบเพิ่มเติมจนกระทั่งบรรลุกระบวนการตรวจสอบ พวกเขาสามารถสรุปผลการเจรจาได้แล้ว จากกรณีที่นายอับเดลนัวร์ได้ดำเนินการให้ความร่วมมือในแคมเปญเฮลิคอปเตอร์จนเสร็จสิ้นตามคำร้องขอของทางแอร์บัส
แม้จะไม่มีการลงรายละเอียดเกี่ยวกับการร้องขอ แต่ว่านายลาฮูดก็แสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าพร้อมจะจ่ายเงินให้กับนายอับเดลนัวร์แม้ว่าจะมีการระงับชำระเงินดังกล่าว เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบภายใน
“คุณได้ยอมรับและสำหรับเรื่องนี้ ผมขอบคุณ โดยการพิจารณาเรื่องนี้ใหม่อีกครั้งหลังจากที่มีการเจรจาอย่างยากลำบาก คุณได้ตกลงที่จะจ่ายเงินทั้งสิ้น 48 ล้านยูโร (1,769,088,000 บาท) เป็นระยะเวลาสองปี” นายลาฮูดเขียนในจดหมายและระบุอีกว่าเส้นตายของฝ่ายบริหารได้ขัดขวางการสรุปสัญญาที่เกี่ยวข้องในวันนี้ อีกไม่นานเราจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถสรุปการดำเนินการเรื่องนี้ได้
นายลาฮูดยังกล่าวถึงโอกาสที่จะเปิดสัญญาในอนาคต อย่างไรก็ตามค่าตอบแทนในอนาคตจะลดลง ซึ่งนายลาฮูดไม่ยอมตอบคำถามผู้สื่อข่าวในกรณีนี้
อนึ่งบริษัทแอร์บัสสามารถปิดข้อตกลงเฮลิคอปเตอร์คาราคัลได้กับคูเวตได้ในเดือน ส.ค.2559 หรือก็คือหนึ่งเดือนหลังจากอังกฤษและฝรั่งเศสได้ดำเนินการสอบสวนเรื่องการใช้คนกลาง
ทว่าแม้นายลาฮูดจะให้การยืนยัน แต่จนถึงเดือน ต.ค. 2559 นายอับเดลนัวร์ก็ยังคงไม่ได้รับการจ่ายเงิน สำหรับงานของเขาที่เป็นนายหน้าให้กับแอร์บัสในหลายสัญญา นี่ส่งผลทำให้นายฟอรีต้องอีเมลตอบกลับนายอับเดลนัวร์ในเดือน ต.ค.เช่นเดียวกันว่าเขาขอโทษสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในบริษัทเรา
พอมาถึงเดือน พ.ค.2560 ก็ยังไม่มีการจ่ายเงินให้กับนายอับเดลนัวร์อีก เขาจึงนำเรื่องขึ้นสู่อนุญาโตตุลาการ และชนะข้อพิพาทในเดือน พ.ย.2563
เฮลิคอปเตอร์ H22M คาราคัล ใช้ในกองทัพอากาศและกองกำลังป้องกันประเทศคูเวต
@อาชญากรรมจากการแสวงหาผลกำไร
ในเดือน ม.ค.2563 แอร์บัสได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ,สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส จ่ายเงินค่าปรับมากกว่า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามข้อตกลง DPA โดยอัยการฝรั่งเศสตรวจสอบกิจกรรมของแอร์บัสในคูเวต แต่กรณีคูเวตนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ ตามที่อัยการการเงินแห่งชาติของฝรั่งเศสกล่าว อย่างไรก็ตาม การสอบสวนได้รับความสนใจจากทางการคูเวต ซึ่งเริ่มการสอบสวนสัญญาเฮลิคอปเตอร์ของตนเองในปลายปี 2560
การสอบสวนที่คูเวตสิ้นสุดลงเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา เมื่อรัฐสภาคูเวตประกาศผลสอบสวนว่าแอร์บัสได้จ่าย "ค่าคอมมิชชั่น" เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาแม้ว่าจะให้คํามั่นว่าจะไม่จ่ายเงินดังกล่าวก็ตาม
ข้อความที่รั่วไหลออกมาในช่วงปลายปี 2566 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่คูเวตที่กระทรวงกลาโหมมีข้อร้องทุกข์มากมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญา รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนอะไหล่ เครื่องยนต์ทํางานผิดปกติ และนักบินและช่างเทคนิคที่ไม่ได้รับการฝึกฝน
ขณะที่บริษัทแอร์บัสได้มีการส่งเอกสารให้กับทางการคูเวต ซึ่งเป็นเอกสารประกาศลงนามยืนยันว่าไม่มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นหรืออื่นๆเทียบเท่าแต่อย่างใด (ดูภาพประกอบ)
ทั้งนี้เมื่อกระทรวงกลาโหมคูเวตได้รับคำพิพากษาอนุญาโตตุลาการที่สั่งให้จ่ายเงินให้กับนายอับเดลนัวร์ ทางกระทรวงได้ร้องขอให้แอร์บัสส่งเอกสารมาใหม่ โดยลบแถบคาดดำออกไป
แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามีการส่งเอกสารที่ลบแถบคาดดำออกไปหรือไม่ แม้เวลาที่ทางกระทรวงขอเอกสารคำพิพากษาจากแอร์บัสจะผ่านมาถึงเกือบห้าปีแล้วก็ตาม โดยบริษัทอ้างว่าไม่สามารถหารือเกี่ยวกับคำพิพากษาอนุญาโตตุลาการได้โดยละเอียดและปฏิเสธคำกล่าวอ้างของนายอับเดลนัวร์ที่อ้างถึงการชำระหนี้ของบริษัท
มีรายงานด้วยว่ากรณีสัญญาเฮลิคอปเตอร์นี้ ปรากฎว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพและรัฐบาลคูเวตอย่างน้อยแปดคนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและพฤติกรรมที่ส่งผลทำให้กระทรวงและกองทุนสาธารณะได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล โดยหนึ่งในนั้นต้องสงสัยว่าก่ออาชญากรรมการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปิดเผยค่าคอมมิชชั่นในสัญญาที่ทำโดยรัฐ
บทสรุปของรายงานฉบับสุดท้ายซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของรัฐสภาคูเวตอ้างว่าเงินทุนสาธารณะ 349 ล้านยูโร (12,862,744,000 บาท) ถูกทำให้ "สูญเปล่า" ในสัญญาแอร์บัส และอ้างอีกว่า "เจ้าหน้าที่บางคนในกระทรวงกลาโหม" ได้"ปกปิด" "การฉ้อโกงและการหลอกลวง" ของแอร์บัสเกี่ยวกับการจ่ายค่าคอมมิชชั่น
ยังไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของคูเวตได้ดําเนินการใด ๆ หลังจากรายงานของคณะกรรมการรัฐสภาถูกเผยแพร่หรือไม่ เนื่องคูเวตมีการยุบสภาในเดือน พ.ค.2567 ดังนั้นจึงไม่สามารถติดต่อคณะกรรมการเพื่อขอความเห็นได้
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลเปรูพิพากษาจำคุก 20 ปี อดีต ปธน.รับสินบนพันล. บ.ก่อสร้างยักษ์ใหญ่
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับ ผบห.รัฐวิสาหกิจอิตาลีรับคดีสินบน โยงคนสนิทอีลอน มัสก์ ครองเอกสารลับ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยธ.สหรัฐฯขอข้อมูลซาบ หลังปมครหา ทอ.บราซิลทำสัญญาซื้อกริเพน 36 ลำ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์