คำฟ้องระบุถึงการกระทำผิดของทหารจำนวน 8 นาย และผู้บริหารบริษัท ICS จำนวน 2 คน ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงที่สุดตกเป็นของอดีตหัวหน้าเสนาธิการของศูนย์ปฏิบัติการและการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์ร่วม (CSOA) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลในทางที่ไม่เหมาะสมในการมอบสัญญาให้กับบริษัท ICS และมีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่กลาโหมคนนี้ได้รับการว่าจ้างโดย ICS ในภายหลัง
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสในแวดวงทหารและบริษัทโลจิสติกส์ที่ประเทศฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาปารีส มีการพิจารณานายทหารระดับสูงของฝรั่งเศสจำนวนหลายคนและผู้บริหารของบริษัทโลจิสติกส์ International Chartering Systems (ICS)
คดีนี้ก่อให้เกิดคําถามเกี่ยวกับความโปร่งใสและความยุติธรรมในการมอบสัญญากลาโหม การพิจารณาคดีจะมีระยะเวลาจนถึงวันที่ 25 ก.ย. ความสำคัญของคดีนี้ก็คือว่ามันอาจส่งผลร้ายแรงต่อกองทัพฝรั่งเศสและแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศ
@ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตและการมีความสัมพันธ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของคำฟ้องก็คือว่าข้อกล่าวหาที่มีความร้ายแรงเกี่ยวกับการทุจริต การเลือกเฉพาะเจาะจง การเล่นพรรคเล่นพวก และการละเมิดความลับทางวิชาชีพ โดยคำฟ้องระบุถึงการกระทำผิดของทหารจำนวน 8 นาย และผู้บริหารบริษัท ICS จำนวน 2 คน ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงที่สุดตกเป็นของอดีตหัวหน้าเสนาธิการของศูนย์ปฏิบัติการและการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์ร่วม (CSOA) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลในทางที่ไม่เหมาะสมในการมอบสัญญาให้กับบริษัท ICS และมีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่กลาโหมคนนี้ได้รับการว่าจ้างโดย ICS ในภายหลัง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถูกมองว่าเป็นการเลือกข้างและปฏิบัติอย่างพิเศษ โดยไม่เป็นธรรม
ข่าวบริษัท ICS จัดหาเครื่องบิน AN-124 เพื่อใช้ในกิจการขนส่งของบริษัท
ยังมีบุคลากรทางทหารรายอื่นๆที่ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุน ICS แต่ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหายังมีการระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะมีกรณีการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวถูกนำมาใช้พิจารณาในเรื่องการมอบสัญญาขนส่งทางอากาศ นอกเหนือจากแค่การพิจารณาด้วยเกณฑ์ปกติเพียงอย่างเดียว
โดยอัยการฝรั่งเศสที่เดินเรื่องส่งฟ้องกล่าวถึงสัญญา ICS ที่มีปัญหาว่าสัญญาเหล่านี้โดยมากแล้วเกี่ยวข้องกับการขนส่งยุทโธปกรณ์และบุคลากรทางทหารไปยังพื้นที่ความขัดแย้งสูงเช่นที่แอฟริกาและที่ตะวันออกกลาง
“ICS ได้รับอนุญาตให้เรียกเก็บเงินปลายทางเกินกว่าต้นทุนจริงสําหรับบริการเหล่านี้ บางครั้งก็มากถึงสามเท่าของต้นทุนเดิม การประพฤติมิชอบทางการเงินนั้นมีส่วนทำให้เจ้าหน้าที่และบริษัท ทํากําไรได้มากโดยอาศัยค่าใช้จ่ายของผู้เสียภาษีชาวฝรั่งเศส” อัยการระบุ
ส่วนทางด้านของนายฌอง-ปิแอร์ ดัลเบรต (Jean-Pierre Dalbret) ทนายความจําเลยปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยกล่าวว่าลูกความของเขาดำเนินการตามกฎหมาย และเป็นเรื่องง่ายที่จะตำหนิใครคนหนึ่งในยามวิกฤต แต่ไม่มีหลักฐานโดยตรงว่าพวกเขาทำผิดกฎหมาย
มีรายงานว่าฝ่ายจำเลยบางคนโต้แย้งว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลาโหมไม่มีอำนาจใจการควบคุมกระบวนการทำสัญญาโดยตรง และความผิดปกติที่เห็น แท้จริงแล้วเป็นแค่กระบวนการบริหารเท่านั้น
@ความเป็นมาของเรื่อง
ความผิดปกติของคดีนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2559 เมื่อคณะกรรมาธิการการเงินของวุฒิสภาฝรั่งเศสแสดงความกังวลเกี่ยวกับการพึ่งพาบริษัทเอกชนของกระทรวงกลาโหมในการขนส่งทางอากาศเชิงกลยุทธ์ ขณะที่หน่วยงานตรวจสอบด้านการเงินพบว่า ICS ได้มีการเพิ่มอัตราภาษีอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปี 2559-2560 ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
ในปี 2560 สํานักงานอัยการได้เปิดการสอบสวนที่นําไปสู่การตรวจค้นกระทรวงกลาโหมและที่ทำการของบริษัท ICS พบหลักฐานของบันทึกการสื่อสารที่น่าสงสัยระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและผู้จัดการของบริษัท ICS จากข้อมูลของสำนักข่าว AFP พบว่าความไม่ปกติเหล่านี้ส่งผลทำให้กองทัพฝรั่งเศสต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ประมาณ 163 ล้านยูโร (6,008,605,674 บาท)
@ความสามารถในการขนส่งทางอากาศเชิงกลยุทธ์ในยุโรป
คดีนี้ได้กลายมาเป็นที่สนใจเนื่องจากยุโรปกำลังขาดแคลนขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศเชิงยุทธศาสตร์อย่างเฉียบพลัน นับตั้งแต่เหตุการณ์รัสเซียรุกรายยูเครนในปี 2565 จนทำให้เครื่องบินขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างเครื่อง Antonov An-225 Mriya ถูกทำลาย ซึ่งการทำลายเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ลำนี้ส่งผลทำให้ขีดความสามารถในการขนส่งกองกำลังติดอาวุธของยุโรปลดลเป็นอย่างมาก อีกทั้งเครื่องบินขนส่งรุ่น Antonov An-124 Ruslan ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ผลิตในสหภาพโซเวียต ก็ไม่มีให้บริการในจำนวนที่เพียงพอ
เพื่อตอบสนองต่อปัญหาความขาดแคลนดังกล่าว บริษัทอย่าง Airbus Defense & Space ได้พยายามแก้ปัญหาชั่วคราว โดยบริษัทได้พัฒนาระบบโหลดสินค้าด้วยตนเองสําหรับเครื่องบินอย่าง Airbus Beluga A300-600ST เพื่อขนส่งยุทโธปกรณ์ทางทหารขนาดใหญ่ แต่แม้ว่าเครื่องบิน A300-600ST จะมีความสามารถในการรับน้ำหนัก 35 ตัน แต่ก็ไม่สามารถเทียบกับความจุของเครื่องบิน Antonov ได้ ส่วนเครื่องบินอย่าง BelugaXL ซึ่งเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่า มีความจุที่มากขึ้น แต่ขาดประสิทธิภาพของเครื่องบิน Antonov
เครื่องบิน AN-225 ถูกทำลายในการสู้รบระหว่างยูเครนและรัสเซีย (อ้างอิงวิดีโอจาก The Sun)
@ยุโรปพยายามจะแก้ปัญหา
นาโตและสหภาพยุโรปได้เปิดตัวโครงการการขนส่งทางอากาศเชิงกลยุทธ์สําหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ (SATOC) เพื่อค้นหาทางออกระยะยาวสําหรับช่องว่างการขนส่งทางอากาศเชิงกลยุทธ์ อันเกิดจากการสูญเสียเครื่องบินรุ่น Antonov โครงการนี้มีผู้ประสานงานโดยเยอรมนี มีจุดมุ่งหมายเพื่อกําหนดและประสานข้อกําหนดสําหรับวิธีการแก้ปัญหาทั่วไปของยุโรป การปรับใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ คาดว่าบรรลุเป้าหมายได้ในปี 2569
การพิจารณาคดีอันเกี่ยวกับกองทัพฝรั่งเศสและบริษัท ICS เป็นตัวอย่างที่สําคัญของความท้าทายที่ต้องเผชิญกับการจัดซื้อจัดจ้างด้านกลาโหมและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตและการเล่นพรรคเล่นพวกในกระบวนการจัดซื้อนั้นร้ายแรง เพราะอาจบ่อนทําลายความเชื่อมั่นที่มีต่อความซื่อสัตย์สุจริตและประสิทธิภาพของการจัดซื้อจัดจ้างด้านกลาโหมของยุโรป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศเชิงยุทธศาสตร์กำลังขาดหายไป
เรียบเรียงจาก:https://www.senenews.com/en/international/france-8-senior-french-military-officers-and-contractors-face-corruption-charges-over-overpriced-logistics-contracts-1105.html,https://aviation.direct/en/Corruption-trial-in-France%3A-allegations-against-military-and-logistics-companies-raise-questions
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์