ถ้าหากมีการละเมิดกฎหมาย FCPA เกิดขึ้นจริง บริษัท Saab North America หรือแม้แต่ตัวบริษัทซาบอาจจะต้องเผชิญกับค่าปรับจำนวนมาก และถ้ามีการสืบสวนเกิดขึ้นจริงก็อาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงบริษัท
ส่องคดีทุจริตโลกสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข้อครหาการจัดซื้อเครื่องบินรบ JAS 39 กริเพน ในต่างประเทศ
โดยสำนักข่าวที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการบินอย่าง Flightglobal ได้รายงานข่าวกรณีที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการตรวจสอบข้อตกลงการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลบราซิลกับบริษัทซาบ ผู้ผลิตเครื่องบินรบสัญชาติสวีเดน ซึ่งเป็นคู่สัญญาในการจัดหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ให้กับกองทัพอากาศบราซิล ซึ่งการทำสัญญานี้เกิดขึ้นในปี 2557
สิบปีให้หลังจากการทำสัญญา ทางบริษัทซาบได้ออกมากล่าวยอมรับว่าบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังได้รับหมายจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เพื่อขอให้มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E/F จำนวน 36 ลำของรับบาลบราซิล
“ซาบตั้งใจจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องในการให้ข้อมูล และให้ความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ในเรื่องนี้” บริษัทซาบกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 10 ต.ค.
อย่างไรก็ตามบริษัทจากสวีเดนปฏิเสธจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการตรวจสอบจากทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลเรื่อง “ข้อผูกมัดที่เป็นความลับ”
เครื่องบินกริเพน E ของบราซิล (อ้างอิงวิดีโอจากซาบ)
สำหรับประเทศบราซิลได้มีการจัดหาเครื่องบินรบกริเพน E/F จำนวนอย่างน้อย 36 ลำ แต่ว่ามีความเป็นไปได้ว่าจำนวนนี้จะถูกขยายให้ครอบคลุมถึง 70 ลำ
ส่วนทางด้านของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เองก็ปฏิเสธจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
อนึ่งก่อนหน้านี้ศาลในประเทศสวีเดนและในประเทศบราซิลได้มีการสอบสวนสัญญาการจัดซื้อเครื่องบินรบ เนื่องจากข้อกล่าวหาว่าพัวพันกับการทุจริต โดยในปี 2559 อัยการบราซิลได้กล่าวหานายลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล ว่าใช้อิทธิพลของเขาเหนือรัฐบาลเพื่อช่วยให้ซาบชนะในการประกวดราคาจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 36 ลำ
ทั้งนี้มีการวิจารณ์กันว่านายลูลานั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเจ้าหน้าที่จากสวีเดน
ขณะที่ทางฝ่ายของนายลูลาได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างรวดเร็ว โดยนายลูลาและทนายความส่วนตัวออกมากล่าวว่าข้อกล่าวหานี้เป็นข้อกล่าวหาที่มีแรงจูงใจทางการเมือง ในช่วงเวลาที่บราซิลประสบกับความวุ่นวาย
“ผมไม่มีส่วนกับการทุจริต ศัตรูแค่พยายามจะทำลายชื่อเสียงของผม” นายลูลากล่าว
ต่อมาในปี 2566 นายลูลาก็ชนะการเลือกตั้งและได้กลับไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยจนถึงปัจจุบัน
นายลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ชนะการเลือกตั้งในดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 (อ้างอิงวิดีโอจากบีบีซี)
ทางบริษัทซาบได้ออกมาอ้างว่าบทบาทของบริษัทในการทำสัญญาดังกล่าวนั้นผ่านกระบวนการตรวจสอบทั้งกับหน่วยงานตุลาการในประเทศสวีเดนและประเทศบราซิล
“การสอบสวนเหล่านี้ยุติลงแล้ว โดยไม่พบการกระทําผิดใด ๆ ของซาบ” บริษัทระบุในแถลงการณ์
อนึ่งการดำเนินการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ตอนนี้ยังเป็นแค่การขอข้อมูลเท่านั้น ยังไม่ใช่การสอบสวนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตในต่างแดน ทางการสหรัฐฯ สามารถดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวได้หากมีข้อสงสัยว่ามีการละเมิดที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าการทำธุรกรรมจะไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ ก็ตาม กฎหมายนี้ทำให้สหรัฐฯ สามารถตรวจสอบคดีทุจริตและการให้สินบนต่างๆที่เกี่ยวกับบริษัทอเมริกัน หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องในเครือต่างประเทศได้ ซึ่งในกรณีนี้มีความเป็นไปได้ว่าบริษัท Saab North America ซึ่งอยู่ในเครือซาบอาจกำลังถูกตรวจสอบ
ถ้าหากมีการละเมิดกฎหมาย FCPA เกิดขึ้นจริง บริษัท Saab North America หรือแม้แต่ตัวบริษัทซาบอาจจะต้องเผชิญกับค่าปรับจำนวนมาก และถ้ามีการสืบสวนเกิดขึ้นจริงก็อาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการเปิดโปงการทุจริต หรือว่ามีการละเมิดกฎหมาย FCPA กรณีนี้บริษัทอาจถูกห้ามไม่ให้ลงประมูลงานในอนาคตหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม มีข้อวิจารณ์ว่าเหตุผลที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อาจจะไม่พอใจกับข้อสรุปผลการตรวจสอบที่บราซิลและสวีเดนนั้น มีสาเหตุเริ่มมาจากทางบริษัทโบอิ้ง ของสหรัฐฯ
อนึ่งโครงการการจัดหาเครื่องบินรบของบราซิลนั้นเป็นโครงการที่รู้จักกันในชื่อว่า FX-2 เป็นโครงการที่เดินหน้าตั้งแต่ระหว่างปี 2551-2557 โดยมีเครื่องบินรบที่เข้าตัวเลือกในโครงการนี้ได้แก่ กริเพน E/F รุ่นล่าสุดจากซาบ, เครื่องบินรบ F/A-18/E/F Super Hornet จากบริษัทโบอิ้ง และเครื่องบินรบ Rafale F3 จากบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเครื่องบินรบรุ่น Dassault Mirage 2000Cs ที่ใช้งานในกองทัพอากาศบราซิลมาอย่างยาวนาน
โดยตอนแรกแม้เครื่องบินรบจากฝรั่งเศสจะได้เปรียบ แต่ในที่สุดซาบก็ชนะในการจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 36 ลำในปี 2557 คิดเป็นมูลค่าสัญญา 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (149,152,500,000 บาท) และเครื่องบินกริเพนลำแรกของบราซิลก็ได้เข้าประจำการในปี 2565
ณ เวลานี้ สวีเดนและบราซิลเป็นเพียงสองชาติที่ใช้งานเครื่องบินรบกริเพน E แม้ว่าบริษัทซาบได้เคยออกมาประกาศว่าบริษัทกำลังหารือกับลูกค้ารายอื่นๆที่มีศักยภาพ ทั้งลูกค้าในยุโรป,อเมริกาใต้ และเอเชีย รวมไปถึงประเทศที่ประจำการเครื่องบินกริเพนรุ่นเก่า
ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กองทัพอากาศไทยเคยประกาศไปแล้วว่ามีความสนใจในเครื่องบินขับไล่จากสวีเดนหรือเครื่องบินรบ F-16V จากบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน ในโครงการจัดซื้อเครื่องบินรบ 12 ลำเพื่อปรับปรุงศักยภาพของกองทัพอากาศให้มีความทันสมัย
อย่างไรก็ตามตัวเลือกนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทำให้ยังมีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินจากล็อคฮีดจะชนะในโครงการจัดซื้อเครื่องบินรบ โดยข้อเสนอที่มีการทบทวนใหม่
เรียบเรียงจาก:https://bulgarianmilitary.com/2024/10/11/u-s-department-of-justice-eyes-36-brazilian-gripen-jet-deal/,https://www.flightglobal.com/fixed-wing/us-government-subpoenas-saab-regarding-brazilian-gripen-acquisition/160263.article
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์