นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่าการทุจริตนั้นอาจจะบ่อนทำลายความพร้อมรบของกองทัพจีนไปมากแล้ว ในขณะที่ตอนนี้ยังมีความยังมีความกังวลในช่วงเวลาที่ทางกรุงปักกิ่งได้ดำเนินการเสริมสร้างกองกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการจัดการเรื่องทุจริตที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งก็คือกรณีที่รัฐบาลจีนได้จัดการกับการทุจริตในกระทรวงกลาโหมของจีน โดยสำนักข่าว AFP รายงานว่าทางการกรุงปักกิ่งได้มีการถอดถอนตำแหน่งพล.ร.อ.เหมี่ยว หัว(Miao Hua) เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงออกจากตำแหน่ง สืบเนื่องจากว่ามีการสอบสวน “กรณีการละเมิดวินัยอย่างร้ายแรง” ซึ่งนี่เป็นคำที่สละสลวยที่มักใช้กันสำหรับกรณีการทุจริต
การสอบสวน พล.ร.อ.เหมี่ยว นั้นเกิดขึ้นควบคู่กับการสอบสวนอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกสองคน ซึ่งล้มเหลวในการปราบปรามการทุจริตของกองทัพจีนในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่าการทุจริตนั้นอาจจะบ่อนทำลายความพร้อมรบของกองทัพจีนไปมากแล้ว ในขณะที่ตอนนี้ยังมีความยังมีความกังวลในช่วงเวลาที่ทางกรุงปักกิ่งได้ดำเนินการเสริมสร้างกองกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี
และนี่คือสรุปกรณีการปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้นจนถึงตอนนี้
@ความไม่ไว้วางใจที่เรื้อรังมายาวนาน
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนได้รณรงค์การต่อต้านการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่ฝังรากลึกมาโดยตลอด นับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจเมื่อทศวรรษที่แล้ว
ผู้สนับสนุนนายสีกล่าวว่านโยบายนี้ส่งเสริมการปกครองที่สะอาด ในขณะที่นักวิจารณ์กล่าวว่าช่วยให้นายสีกวาดล้างคู่แข่งทางการเมือง
ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนการปราบทุจริตดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่กองทัพ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและอุตสาหกรรมกลาโหมเกือบ 20 คนถูกถอดออกตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2566
โดยตำแหน่งสูงสุดที่ต้องถูกถอดออกจากตำแหน่งเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจำนวนหลายราย
สื่อทางการของประเทศจีนยืนยันว่า พล.อ.เว่ย เฟิ่งเหอ (Wei Fenghe) และผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถัดจากเขาได้แก่ พล.อ.หลี่ ฉางฟู่ (Li Shangfu) ทั้งสองถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนและตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนการทุจริต
นายอันคิต แพนด้า (Ankit Panda) จากกองทุนคาร์เนกี้เพื่อสันติภาพสากล (Carnegie Endowment for International Peace) กล่าวว่าดูเหมือนว่านายสีจะไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงมายาวนานแล้ว
นักวิเคราะห์ในตอนนั้นสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการกวาดล้างกับการสอบสวนที่กว้างกว่าในกองกำลังขีปนาวุธ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งมีส่วนในการดูแลขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธโดยทั่วไปของประเทศจีน และกองกำลังนี้น่าจะเป็นแนวรุกแรกในยามที่รัฐบาลปักกิ่งเกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ขึ้นมา
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้งสองคนต่างก็มีความเชื่อมโยงกับกองกำลังขีปนาวุธที่ว่านี้ โดย พล.อ.เว่ย พบว่าเคยเป็นหัวหน้ากองกำลังนี้ และ พล.อ.หลี่ ฉางฟู่ ก็เคยเป็นผู้นำแผนกที่พัฒนาอาวุธรวมถึงขีปนาวุธ
มีรายงานว่าในช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา หัวหน้าหน่วยซึ่งเป็นนายพลสองนายชื่อว่าหลี่ หยูเฉา (Li Yuchao) และพล.อ.ซุน จินหมิง (Sun Jinming) นั้นถูกขับไล่ออกจากพรรคและถูกสอบสวนในข้อหาทุจริต
เจ้าหน้าที่อาวุโสสามคนยังถูกปลดออกจากตําแหน่งในหน่วยงานป้องกันขีปนาวุธของรัฐในเดือน ธ.ค. 2566
@กรณีอื่นนอกเหนือจากกองกำลังขีปนาวุธ
สื่อจากอังกฤษชื่อว่าไฟแนนเชียลไทม์ส รายงานช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พล.ร.อ.ต่ง จวิน (Dong Jun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบันก็กำลังถูกสอบสวน แต่ต่อมาในวันที่ 28 พ.ย.ทางกรุงปักกิ่งก็ได้ออกมาปฏิเสธและกล่าวว่ารายงานนี้เป็นข้อมูลที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาล้วนๆ และไม่มีมูลความจริง
อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการยืนยันว่ามีการถอดถอนทั้ง พล.ร.อ.เหมี่ยว และพล.ร.อ.ต่ง นี่ก็เท่ากับเป็นการบ่งชี้ว่าการกวาดล้างได้มีการขยายวงกว้างมากขึ้น
พล.ร.อ.เหมี่ยว ไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับกองกำลังขีปนาวุธ โดยเขาไต่เต้าขึ้นมาในกองทัพบก ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งให้เป็นพลเรือเอกในกองทัพเรือในปี 2558
รายงานข่าวการปลด พล.ร.อ.เหมี่ยว หัว (อ้างอิงวิดิโอจาก CNA)
เช่นเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบันซึ่งถูกแต่งตั้งในเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ก็ไต่เต้ามาจากสายกองทัพเรือจนได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ
นายนีล โธมัส (Neil Thomas) จากสถาบัน Chinese politics at the Asia Society กล่าวว่ากรณีที่ พล.ร.อ.ต่ง ถูกจัดการแสดงให้เห็นถึงปัญหาความฟอนเฟะในกองทัพจีนที่หยั่งรากลึกมากกว่าการคาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้
การปราบปรามภายในกองทัพจีนนั้นเกิดขึ้นในขณะที่จีนเพิ่มแรงกดดันทางทหารต่อไต้หวันและผลักดันเพื่อนบ้านซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับดินแดนพิพาทในทะเลจีนใต้
แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่าการทุจริตในกองทัพจีนอาจทําให้เกิดความกังวลว่ากองทัพอาจไม่พร้อมสําหรับภารกิจในทะเลจีนใต้นี้
“การทุจริตในกองทัพจีน ทำให้ต้องมีคําถามเกี่ยวกับความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางทหารและบรรลุ 'การฟื้นฟูครั้งใหญ่' ตามที่ประธานาธิบดีสีได้เคยจินตนาการไว้” นางเฮเธอร์ วิลเลียมส์ (Heather Williams) ผู้อํานวยการโครงการประเด็นนิวเคลียร์ที่ศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน (Project on Nuclear Issues at Washington's Center for Strategic and International Studies) เขียนเอาไว้ตอนหนึ่ง
@กรณีการถูกบั่นทอน
สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างข่าวกรองของสหรัฐฯ รายงานในปีนี้ว่าการทุจริตที่ระบาดในกองกําลังขีปนาวุธได้นําไปสู่กรณีอุปกรณ์ที่ทํางานผิดปกติและแม้แต้ข่าวว่าเชื้อเพลิงขีปนาวุธของจีนถูกแทนที่ด้วยน้ำเปล่า
“หากเป็นจริง ข้อบกพร่องเหล่านี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติการด้วยขีปนาวุธ ทําให้เกิดคําถามถึงความพร้อมของกองกําลังนิวเคลียร์และความสามารถโดยรวมของจีน” สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเขียนในจดหมายเปิดผนึก พูดถึงข้อกล่าวอ้างเหล่านี้
นายสีให้คํามั่นว่าการรวมชาติจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และให้คํามั่นว่าจะใช้ "มาตรการทั้งหมดที่จําเป็น" เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
ข่าวการทุจริตในกองกำลังขีปนาวุธของจีน (อ้างอิงวิดีโอจาก Perun)
การปราบปรามในกองทัพเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ทําให้เกิดคําถามว่านายสีเลือกที่จะทิ้งใครเอาไว้ และใครบ้างที่เขาสามารถไว้วางใจได้ และเรื่องอื้อฉาวที่เล่นงานเจ้าหน้าที่คนสําคัญเหล่านี้ลึกซึ้งเพียงใด" นายโจเอล วูธโนว์ นักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยด้านกลาโหมแห่งชาติสหรัฐฯ (National Defense University) กล่าวและกล่าวอีกว่า “"มันต้องเป็นสิ่งรบกวนสมาธิของนายสีอย่างมาก... ขณะที่เขากดดันให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเตรียมพร้อมสําหรับสงครามกับไต้หวันภายในปี 2570"”
ทั้งนี้การถอดพล.ร.อ.เหมี่ยว ออกจากตำแหน่ง ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าอาจจะเพื่อตัดขาการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดก็เป็นได้
“การแข่งขันเพื่อตําแหน่งสูงสุดนั้นดุเดือดมากจนอาจมีการตําหนิซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่ซึ่งจะนําไปสู่วงจรการจับกุมการแต่งตั้งใหม่และการกล่าวหาที่ไม่มีที่สิ้นสุด” นายวิคเตอร์ ชิห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจีนชั้นสูงกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.yahoo.com/news/chinas-military-corruption-crackdown-explained-034656021.html
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสั่งสอบ 'อดานี' มหาเศรษฐีอินเดีย จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ครอบครัว สส.ยูเครน เอี่ยวสัญญาชุดทหารด้อยคุณภาพ ซื้ออสังหาฯดูไบ 34 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:2 ตัวละครพัวพันสัญญาโควิดฉาว รบ.ฟิลิปปินส์ ซื้ออสังหาฯ ณ ดูไบนับร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:แอร์บัสฉาว จ่ายคอมมิชชั่นคนกลางหลายล้านยูโร แลกสัญญาขาย ฮ.คูเวตหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลเปรูพิพากษาจำคุก 20 ปี อดีต ปธน.รับสินบนพันล. บ.ก่อสร้างยักษ์ใหญ่
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับ ผบห.รัฐวิสาหกิจอิตาลีรับคดีสินบน โยงคนสนิทอีลอน มัสก์ ครองเอกสารลับ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยธ.สหรัฐฯขอข้อมูลซาบ หลังปมครหา ทอ.บราซิลทำสัญญาซื้อกริเพน 36 ลำ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์