NPA ระบุว่านายชาร์มาได้ไปพบกับเจ้าหน้าที่จากบริษัท Nepal Airlines Corporation ในช่วงเดือน พ.ย. 2558 เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อตกลงที่น่าจะเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินรุ่น Airbus A330-200 aircraft สองลำมูลค่ารวม 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,186,196,745 บาท) ซึ่งฝ่ายสายการบินเนปาลเสนอให้ใช้คนกลางที่ไม่ระบุนามรายหนึ่งทำหน้าที่เป็นล็อบบี้ยิสต์ และนายชาร์มาก็ตกลงข้อเสนอนี้
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการจ่ายสินบนโดยบริษัทอากาศยานยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ทางการทั้งในประเทศแอฟริกาใต้และในประเทศเนปาล
โดยสำนักข่าว Fortune รายงานว่าบริษัท AAR Corp ได้ตกลงที่จะจ่ายเงิน 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,882,099,147 บาท) เพื่อเป็นค่าปรับและบทลงโทษ ในการยุติการดำเนินคดีสินบนที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในเนปาลและในแอฟริกาใต้ ตามข้อมูลของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ
บริษัท AAR ที่ตั้งอยู่ในเมืองวู้ดเดล รัฐอิลลินอยส์ ได้เข้าสู่ข้อตกลงการไม่ดำเนินคดี (NPA) เป็นระยะเวลา 18 เดือนเกี่ยวกับคดีนี้ ขณะที่ทางการกล่าวว่าอดีตผู้บริหารของบริษัทย่อยของ AAR ก่อนหน้านี้ได้สารภาพความผิดในบทบาทของตัวเองในแผนการที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่เนปาลแล้ว ส่วนบุคคลากรรายหนึ่งที่เป็นบุคคลที่สามที่ติดต่อกับ AAR ได้ออกมาสารภาพความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนที่แอฟริกาใต้
“AAR ติดสินบนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเพื่อทําธุรกิจกับสายการบินของรัฐในเนปาลและแอฟริกาใต้ และเก็บเกี่ยวผลกําไรที่ผิดกฎหมายเกือบ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (821,279,628 บาท)” นายเบรนท์ ไวเบิล หัวหน้าที่ปรึกษา จากแผนกอาญาของกระทรวงยุติธรรมกล่าวและกล่าวอีกว่ากระทรวงยุติธรรมจะยังคงดำเนินการให้บริษัทและบุคคลรับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วมในการทุจริตระหว่างประเทศ
ส่วนบริษัท AAR กล่าวในแถลงการณ์ระบุว่าข้อตกลงการยุติการดำเนินคดีนั้นบริษัทได้ดำเนินการกับทั้งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ทำให้นี่มีความชัดเจนว่าการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องนั้นดำเนินการโดยอดีตพนักงานบริษัทในเครือและอดีตตัวแทนบุคคลที่สามของบริษัทเป็นหลัก
“เรายินดีที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และกับ SEC” นายจอห์น เอ็ม. โฮล์มส์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AAR กล่าว โดยนายโฮล์มส์กล่าวยืนยันว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นต่อความโปร่งใส จริยธรรม และการปฏิบัติตามข้อกําหนดในการดําเนินงาน
อนึ่งบริษัท AAR เป็นบริษัทที่มีสัญญามูลค่าสูงหลายรายการในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ด้วยมูลค่ารวมเกินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา AAR เพิ่งได้รัฐสัญญากินระยะเวลาห้าปี มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (41,063,981,400 บาท) โดยรายละเอียดของสัญญานั้นคือการปรับปรุงรักษาโครงเครื่องบินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจนถึงบัดนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยังไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ AAR มีข้อครหาเรื่องสินบน
บริษัท AAR ที่รัฐอิลลินอยส์
@ความเป็นมาของสินบนทั้งสองกรณี
กรณีสินบน ซึ่งมีการดำเนินการยุติข้อพิพาทโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ NPA และดำเนินการตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท พบว่ามีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อนในแง่ของการทำสัญญา มีทั้งการโกงการประกวดราคา การปลอมแปลงจุดประสงค์ของเงินโดยอ้างว่าเป็นค่าที่ปรึกษา การจ่ายเงินค่ายานพาหนะด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นต้น
ตามรายละเอียดที่ระบุใน NPA สัญญาของบริษัท AAR เกี่ยวข้องกับโครงการที่เนปาลนั้นเชื่อมโยงระหว่างบริษัทสายการบิน Nepal Airlines Corporation และผู้บริหารบริษัทย่อยของ AAR ชื่อว่านาย ดีปัค ชาร์มา (Deepak Sharma) โดยสัญญาที่เนปาลกินระยะเวลาครอบคลุมระหว่างปี 2558-2561
NPA ระบุว่านายชาร์มาได้ไปพบกับเจ้าหน้าที่จากบริษัท Nepal Airlines Corporation ในช่วงเดือน พ.ย. 2558 เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อตกลงที่น่าจะเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินรุ่น Airbus A330-200 aircraft สองลำมูลค่ารวม 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,186,196,745 บาท) ซึ่งฝ่ายสายการบินเนปาลเสนอให้ใช้คนกลางที่ไม่ระบุนามรายหนึ่งทำหน้าที่เป็นล็อบบี้ยิสต์ และนายชาร์มาก็ตกลงข้อเสนอนี้
ต่อมาเจ้าหน้าที่เนปาลรายหนึ่งได้ปล่อยข้อมูลที่เป็นความลับ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับร่างคำขอข้อเสนอ (RFP) ส่งไปให้กับนายชาร์มา ก่อนที่ข้อมูลใน RFP นี้จะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างถูกต้อง ซึ่งการปล่อยข้อมูลส่งให้นายชาร์มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการไม่สุจริตในกระบวนการเสนอราคา และมีรายงานข้อกล่าวหาว่าคนอื่นๆในบริษัท AAR ได้ใช้ข้อมูลภายในเพื่อแนะให้มีการเปลี่ยน RFP เพื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับบริษัท AAR และทำให้บริษัทคู่แข่งเสียเปรียบในการเสนอราคา
เพื่อจะทำให้มั่นใจแน่นอนว่าได้ข้อตกลง เจ้าหน้าที่เนปาลได้มีการส่งข้อความถึงนายชาร์มาเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2559 ระบุเนื้อหาว่า “ไม่ต้องกังวลเลย ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเกือบทั้งหมดอยู่ในกระเป๋าของเราแล้ว”
เจ้าหน้าที่กล่าวหานายชาร์มาว่าได้มีการทำข้อตกลงช่วยทำให้เขาเอื้อต่อการให้สินบนมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (85,549,961 บาท) และกล่าวหาว่ายังมีส่วนในการกำหนดวิธีการให้ในการชำระเงินให้กับเจ้าหน้าที่ในเนปาล เพราะหลังจากที่ธนาคารในฮ่องกงปิดกั้นพวกเขาจากการทำธุรกรรม พวกเขาก็เปลี่ยนการชำระเงินแบบใหม่ โดยดำเนินการผ่านตัวกลางในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แทน ในที่สุด AAR ก็ทำกำไรไปได้ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (205,319,907 บาท) จากสัญญาที่เนปาล ตามข้อมูลของ NPA
ส่วนกรณีที่แอฟริกาใต้นั้นเริ่มมาตั้งแต่เดือน ม.ค.2559-ม.ค. 2563 โดยเกี่ยวข้องกับบุคคลชื่อว่านายจูเลียน ไอเรส เขาเป็นชายจากเมืองซานดิเอโก ผู้เป็นผู้บริหารของบริษัทชิ้นส่วนเครื่องบิน และควบคุมกิจการร่วมค้าในแอฟริกาใต้กับบริษัทในเครือ AAR
นายไอเรสถูกกล่าวหาว่าได้ไปพบปะหลายครั้งกับเจ้าหน้าที่ของสายการบินของแอฟริกาใต้ชื่อว่า South African Airways (SAA) และยังเป็นผู้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่แอฟริกาใต้จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ที่บริษัททำสัญญากับบริษัทซ่อมบำรุงของสายการบินแอฟริกาใต้ชื่อว่า South African Airways Technical (SAAT) โดยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินส่วนแบ่ง เจ้าหน้าที่จะช่วย AAR ในการได้รับและรักษาสัญญาธุรกิจกับ SAAT ซึ่งรวมไปถึงสัญญากินระยะเวลาห้าปี
ข่าวเจ้าหน้าที่สายการบินแอฟริกาใต้รับสินบน
ข้อกล่าวหาตามที่ระบุใน NPA ระบุว่านายไอเรสได้ดำเนินการจ่ายเงินผ่านบริษัทที่ไม่ระบุนามแห่งหนึ่งและผ่านกิจการร่วมค้า โดยมีการอ้างว่าค่าใช้จ่ายนี้คือ “ค่าประสบความสำเร็จ” และพบว่ามีการชำระเงินหนึ่งครั้งเพื่อให้สินบนเจ้าหน้าที่แอฟริกาใต้ โดยแลกกับการชนะสัญญา มีรายงานว่านายไอเรสและนายชาร์มาติดต่อกันในระหว่างกระบวนการนี้ และยังติดต่อกันเรื่อยมาผ่านอีเมล และยังมีข้อกล่าวหาว่านายไอเรสได้ส่งภาพถ่ายเกี่ยวกับข้อมูลการประมูลที่เป็นความลับของนายชาร์มา เพื่อช่วยเหลือบริษัทย่อยของ AAR
ยิ่งไปกว่านั้นนายไอเรสและพนักงานบริษัทที่ไม่เปิดเผยชื่ออีกแห่งยังได้มีการเก็บบันทึกการให้สินบน โดยอ้างว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการปรึกษาและในระหว่างการติดต่อกันทั้งสองคนยังได้ใช้รหัสลับแทนชื่อเจ้าหน้าที่แต่ละคน อาทิ "Cuz" "Sisi หรือ "Sissy" และ "Boetie"
เจ้าหน้าที่กล่าวว่านายชาร์มารับสารภาพว่ามีความผิดในกระบวนการพิจารณาคดีที่เขตโคลัมเบีย กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดที่จะละเมิดพระราชบัญญัติการทุจริตในต่างประเทศ (FCPA) สําหรับบทบาทของเขาในโครงการเนปาล ในขณะที่นายไอเรสสารภาพว่ามีความผิดในเขตโคลัมเบียเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดที่จะละเมิดกฎหมาย FCPA สําหรับบทบาทของเขาในโครงการแอฟริกาใต้
ทางบริษัท AAR กล่าวว่าได้รายงานการละเมิดที่อาจเกิดขึ้นต่อ SEC และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ในปี 2562 และตั้งแต่นั้นมาได้ดําเนินการ "ขั้นตอนอย่างกว้างขวาง" เพื่อปรับปรุงโปรแกรมการปฏิบัติตามข้อกําหนดทั่วโลก ซึ่งสามารถลดกรณีที่เจ้าหน้าที่ถูกดำเนินคดีทางอาญาลงได้ 45%
“บริษัทที่แข่งขันกันในสนามแข่งขันที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน สิ่งนี้เป็นค่านิยมหลักที่เราคาดหวังให้บริษัทในสหรัฐฯ หรือใครก็ตามที่ทําธุรกิจในสหรัฐอเมริกายอมรับ” นายแมทธิว เอ็ม. เกรฟส์ อัยการสหรัฐฯที่เขตโคลัมเบียกล่าวและกล่าวว่าแผนการติดสินบน ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกสหรัฐอเมริกา เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและบริษัทที่พยายามดําเนินธุรกิจอย่างถูกกฎหมาย นั่นคือเหตุผลที่สํานักงานอัยการพร้อมกับพันธมิตรผู้บังคับใช้กฎหมายของเราจะยังคงติดตามบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ที่แสวงหาผลกําไรผ่านวิธีการทุจริตหรือผิดกฎหมายต่อไป
เรียบเรียงจาก:https://fortune.com/2024/12/20/aar-aviation-military-navy-bribery-nepal-south-africa/
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉความมั่งคั่งแสนล.ปธน.อัสซาด ปกครองซีเรียนาน 24 ปี ก่อนถูกกบฎโค่นอำนาจ
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.แมคคินเซย์จ่ายเงิน 4.1 พันล. แลกยุติคดีสินบน-พัวพันทุจริตในแอฟริกาใต้
- ส่องคดีทุจริตโลก:เบื้องหลัง 'สี จิ้นผิง' สั่งกวาดล้างกองทัพ-กห.จีน อ้างข้อหาคอร์รัปชั่น
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสั่งสอบ 'อดานี' มหาเศรษฐีอินเดีย จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ครอบครัว สส.ยูเครน เอี่ยวสัญญาชุดทหารด้อยคุณภาพ ซื้ออสังหาฯดูไบ 34 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:2 ตัวละครพัวพันสัญญาโควิดฉาว รบ.ฟิลิปปินส์ ซื้ออสังหาฯ ณ ดูไบนับร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:แอร์บัสฉาว จ่ายคอมมิชชั่นคนกลางหลายล้านยูโร แลกสัญญาขาย ฮ.คูเวตหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลเปรูพิพากษาจำคุก 20 ปี อดีต ปธน.รับสินบนพันล. บ.ก่อสร้างยักษ์ใหญ่
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับ ผบห.รัฐวิสาหกิจอิตาลีรับคดีสินบน โยงคนสนิทอีลอน มัสก์ ครองเอกสารลับ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยธ.สหรัฐฯขอข้อมูลซาบ หลังปมครหา ทอ.บราซิลทำสัญญาซื้อกริเพน 36 ลำ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์