รายละเอียดคำฟ้องระบุว่าในช่วงระหว่างปี 2563-2567 จำเลยตกลงจะจ่ายสินบนมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเพื่อแลกกับสัญญาพลังงานแสงอาทิตย์มูลค่าสูง ซึ่งคาดว่าจะสร้างกำไรมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (68,959,952,800 บาท) ในช่วงระยะเวลาโครงการนานกว่า 20ปี
ส่องคดีทุจริตโลกสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการทุจริตของนายโกตัม อดานี ประธานมหาเศรษฐีของ กลุ่มบริษัท Adani ของอินเดีย และหนึ่งในมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก ถูกตั้งข้อกล่าวหาในนิวยอร์กว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการรับสินบนและฉ้อโกงมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
โดยรายละเอียดมีดังนี้
เป็นระยะเวลาเกือบ 22 เดือน ที่กลุ่มบริษัทอดานี (Adani group) เผชิญกับข้อกล่าวหาว่ามีการบิดเบือนและการฉ้อโกงทางบัญชี โดยผู้กล่าวโทษได้แก่บริษัทฮิเดนเบิร์ก รีเสิร์ช (Hindenburg Research) บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางการเงินออกมาตีพิมพ์รายงานว่า “อดานีกรุ๊ป เครือบริษัทใหญ่ของนายโกตัม อดานี (Gautam Adani) มหาเศรษฐีชาวอินเดียที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย และอันดับ 3 ของโลก ได้มีส่วนร่วมในแผนปั่นหุ้น และฉ้อโกงมากมาย ทำให้หลายๆ บริษัทภายใต้เครือ Adani มีมูลค่าเกินจริง และมีถึง 5 บริษัทมีสถานะการเงินย่ำแย่ถึงขั้นเสี่ยงขาดสภาพคล่องในระยะสั้น
และไม่นานมานี้ นายอดานีก็กำลังถูกกล่าวหาจากศาลสหรัฐฯ ว่ามีพฤติกรรมติดสินบนครั้งใหญ่เพื่อแลกกับการลงนามในสัญญาเกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน
ข้อกล่าวหาใหม่ของนายอดานี ที่ยื่นต่อศาลแขวงบรูคลินของสหรัฐฯ นั้นร้ายแรงมาก เนื่องจากมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสนทนาและบันทึกสําคัญอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามีเงินที่ระดมทุนจากนักลงทุนสหรัฐฯ ถูกใช้เพื่อติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐบาลในอินเดีย
@ม.ค.2566 ข้อหาคดีฮินเดนเบิร์ก
ในช่วงเดือน ม.ค.2566 บริษัทฮินเดนเบิร์ก บริษัทขายชอร์ตหุ้น (เป็นการยืมหุ้นจาก บริษัทที่มีบริการธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์)ได้มีเผยเอกสาร 106 หน้า กล่าวโทษนายโกตัม อดานี จากอดานีกรุ๊ปได้ดำเนินแผนการบิดเบือนหุ้น และการฉ้อโกงมาหลายสิบปีแล้ว และที่สำคัญรายงานจากฮินเดนเบิร์กนั้นถูกเผยแพร่ก่อนที่ว่าบริษัท Adani Enterprises บริษัทเรือธงของกลุ่มอดานี จะได้มีการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะ (FPO) คิดเป็นมูลค่ารวม 2 แสนล้านรูปี (81,783,800,000 บาท) อย่างไรก็ตามต่อมากลุ่มอดานีก็ต้องเผชิญกับภาวะหุ้นตกลงจนกลุ่มบริษัทยกเลิกการทำ FPO ซึ่งมีผู้ที่สมัครสมาชิกเต็มจำนวนแล้ว
@ข้อตกลงที่เป็นประเด็นการกล่าวหา
บริษัทฮินเดนเบิร์กได้มีการกล่าวหา อ้างว่าบริษัทสามารถระบุธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่เปิดเผยชื่อเป็นจํานวนมาก โดยบุคคลเหล่านี้อยู่ในภาคส่วนเอกชน ซึ่งการกระทำของทางบริษัทอดานีดังกล่าวนั้นอาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าอดานีได้มีการละเมิดกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลของอินเดียซ้ำแล้วซ้ำเล่า
มีกรณีหนึ่งพบว่าบริษัทสัญชาติมอริเชียสซึ่งถูกควบคุมโดยนายวิโนด อดานี (Vinod Adani) ซึ่งไม่มีสัญญาณว่าบริษัทนี้จะมีกิจกรรมธุรกิจที่เกี่ยวข้องอันใดเลย แต่กลับให้เงินกู้มูลค่า 253 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,723,434,029 บาท) แก่บริษัทในเครืออดานี ซึ่งก็ไม่มีการเปิดเผยว่ากรณีนี้เป็นเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีอื่นหรือไม่
ต่อมานิติบุคคลจากมอริเชียสรายนี้ได้ให้เงินกู้ในอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำมากคิดเป็นมูลค่า 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,723,434,029 บาท) ให้กับบริษัท Adani Enterprises และต่อมาบริษัทของนายวิโนด อดานี อีกแห่งที่อยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชื่อว่าบริษัท Emerging Market Investment DMCC ก็ได้ให้เงินกู้มูลค่า1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (37,927,974,040) กับบริษัทย่อยในเครือบริษัท Adani Power ตามคำกล่าวอ้างของบริษัทฮินเดนเบิร์ก
มีการกล่าวหากันว่าบริษัทสำคัญจำนวนเจ็ดแห่งของอดานี พบว่ามีบริษัทย่อยในเครืออยู่ถึง 578 แห่ง ซึ่งบางแห่งในนี้พบว่าถูกจดทะเบียนในพื้นที่เขตอำนาจศาลที่มีชื่อเสียงไม่ค่อยดี และมีลักษณะค่อนข้างจะทึบแสง อาทิ ที่มอริเชียส,ปานามา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นต้น โดยข้อมูลนี้อ้างอิงมาจากรายงานประจำปีของกลุ่มยักษ์ใหญ่ อดานี
ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ (BSE) พบว่าในปีงบประมาณ 2565 แค่เพียงปีเดียว บริษัทเจ็ดแห่งรายหลักในเครืออดานี มีการทำธุรกรรมถึงเกี่ยวข้องโยงกันเป็นจำนวนรวม 6,025 รายการ
ข้อกล่าวหาว่านายวิโนด อดานี ได้หนังสือเดินทางทองคำของไซปรัส ผ่านช่องทางการลงทุน (อ้างอิงวิดีโอจาก Indian Express)
@บทบาทของนายวิโนด อดานี
นายวิโนด อดานี เป็นพี่ชายของนายโกตัม อดานี และที่สำคัญนิติบุคคลนอกชายฝั่งของนายวิโนดนั้นได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในกรณีอื้อฉาวในกลุ่มบริษัทอดานีหลายกรณี โดยตัวอย่างเรื่องอื้อฉาวที่เห็นได้ชัดได้แก่กรณีการค้าเพชรมูลค่า 151 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,206,476,436 บาท) และกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าไม่ตรงกับยอดใบเสร็จอีก คิดเป็นมูลค่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (27,583,981,120 บาท) ตามข้อกล่าวหาของฮินเดนเบิร์ก
การสอบสวนของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวเหล่านั้นกล่าวหาว่านิติบุคคลนอกชายฝั่งของนายวิโนดมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมหลอกลวงและได้รับการชําระเงินอย่างไม่เหมาะสมจากบริษัทจดทะเบียนของในเครืออดานีกรุ๊ป ซึ่งมีการเปิดเผยต่อการทำธุรกรรมต่อสาธารณะเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยซึ่งจัดทําแคตตาล็อกฐานข้อมูลทะเบียนนิติบุคคลมอริเชียสฉบับเต็ม เป็นหลักฐานว่านายวิโนดพร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆของเขา ได้จัดตั้งนิติบุคคลหลายสิบแห่งในมอริเชียสที่มีการดำเนินงานของบริษัทเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเลย
@กรณีการถือหุ้น
นิติบุคคลบนเกาะมอริเชียสรายหนึ่งชื่อว่ากองทุนรวมเพื่อการลงทุน APMS (APMS Investment Fund) กองทุน Cresta (Cresta Fund),กองทุนการลงทุน LTS (LTS Investment Fund) และบริษัท Opal Investments พบข้อมูลว่านิติบุคคลเหล่านี้ได้เข้าไปถือหุ้นในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนของอดานี คิดเป็นมูลค่าการถือหุ้นรวมเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (275,839,811,200 บาท) ตามคำกล่าวอ้างของฮินเดนเบิร์ก ซึ่งทางบริษัทได้ตั้งคำถามไปยังอดานีว่าหน่วยงานเหล่านี้ได้ถือหุ้นที่มีความเป็นสาธารณะในบริษัทอดานี ดังนั้นแหล่งที่มาดั้งเดิมสำหรับเงินทุนเพื่อลงทุนในบริษัทอดานีนั้นมาจากที่ไหนกันแน่
บริษัทฮินเดนเบิร์กกล่าวอีกว่าพบว่ามีกรณีที่นิติบุคคลที่ทำงานร่วมกับบริษัท Monterosa Investment Holdings เข้าไปถือครองหุ้นร่วมกันในกลุ่มบริษัทอดานี คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (155,159,893,800 บาท) ทั้งนี้ประธานผู้บริหารหรือซีอีโอของ Monterosa พบว่ายังเป็นผู้อำนวยการให้อีกสามบริษัท ควบคู่กับนายจาติน เมห์ตา (Jatin Mehta) พ่อค้าเพชรผู้หลบหนีคดี โดยลูกชายของนายเมห์ตาพบว่าแต่งงานกับลูกสาวของนายวิโนด ซึ่งนี่ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับบริษัท Monterosa,กองทุนที่เกี่ยวข้อง และครอบครัวอดานีว่าเป็นอย่างไรกันแน่
@ความเกี่ยวข้องระหว่างอดานีกับบริษัท PMC
บริษัทฮินเดนเบิร์กกล่าวหาว่าบริษัทในเครืออดานีได้จ่ายเงินกว่า 6.3 หมื่นล้านรูปี (25,731,745,200 บาท) ให้กับบริษัทรับเหมาเอกชนชื่อว่า PMC Projects โดยจ่ายเงินเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี เพื่อเอื้อให้เกิดการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ต่อมาในปี 2557 กองข่าวกรองรายได้ ( DRI ) ที่เป็นหน่วยข่าวกรอง ของอินเดีย ด้านการสืบสวน และปฏิบัติการต่อต้านการลักลอบขนของผิดกฎหมายระดับสูงสุดของอินเดีย ได้ดำเนินการสืบสวนบริษัท PMC Projects โดยกล่าวหาว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทปลอมหรือว่าบริษัทดัมมี่ให้กับกลุ่มอดานี โดยเอกสารความเป็นเจ้าของบริษัทอดานีที่เพิ่งมีการเปิดเผยรายการใหม่ระบุว่าบริษัท PMC Projects มีเจ้าของคือลูกชายของนาย Chang Chung-Ling คนใกล้ชิดกับนายวิโนด อดานี ทางด้านสื่อที่ไต้หวันเองก็รายงานว่าลูกชายของนาย Chang Chung-Ling แท้จริงแล้วคือตัวแทนของอดานีในไต้หวัน
@กรณีการเข้าถือครองกองทุนในอดานี
มีรายงานจากฮินเดนเบิร์กกล่าวหาว่าอดานีมีกลุ่มทุนอิสระเพื่อการลงทุนจำนวนอย่างน้อยห้ากองทุน เข้าไปถือครองหุ้น ซึ่งรูปแบบนี้ค่อนข้างมีความน่าสงสัยเพราะนิติบุคคลทั้งห้าถูกจัดตั้งขึ้นที่มอริเชียส โดยผู้ก่อตั้งรายเดียวกัน มีที่ตั้งเดียวกัน และมีกรรมการที่มีชื่อทับซ้อนกันหลายคน โดยกองทุนทั้งห้านี้ได้แก่ 1.APMS Investment Fund, 2. Albula Investment Fund,3. Cresta Fund Ltd, 4.LTS Investment Fund Ltd และ 5.Lotus Global Investment Fund
“สมาชิกในครอบครัวอดานีถูกกล่าวหาว่าให้ความร่วมมือในการสร้างนิติบุคคลเปลือกหอย นอกชายฝั่งในเขตอํานาจศาลที่มีความทึบแสง เช่น มอริเชียส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และหมู่เกาะแคริบเบียน โดยสร้างเอกสารนําเข้า/ส่งออกปลอม ซึ่งเป็นความพยายามที่ชัดเจนในการสร้างผลประกอบการปลอมหรือผิดกฎหมาย และเพื่อดูดเงินจากบริษัทจดทะเบียน” รายงานฮินเดนเบิร์กกล่าวหา
@ข้อกล่าวหาเรื่องการติดสินบนที่เป็นประเด็นสําคัญ
ศาลแขวงบรูคลิน สหรัฐฯ ได้ดำเนินคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีอาญาห้าข้อหาด้วยกัน โดยมีการกล่าวหานาย Gautam S. Adani, นาย Sagar R. Adani และนาย Vneet S. Jaain ผู้บริหารบริษัทพลังงาน อดานี กรีน เอ็นเนอร์ยี่ (Adani Green Energy) ว่ามีบทบาทในการสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงหลักทรัพย์และการฉ้อโกงหลักทรัพย์ ในโครงการมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อรับเงินทุนจากนักลงทุนสหรัฐฯ และสถาบันการเงินระดับโลกบนพื้นฐานของข้อความเป็นเท็จและทําให้เกิดความเข้าใจผิด
ศาลสหรัฐฯดำเนินการไต่สวนกรณีการติดสินบน (อ้างอิงวิดีโอจาก Firstpost)
ในคำฟ้องได้มีการกล่าวหานาย Ranjit Gupta และนาย Rupesh Agarwal อดีตผู้บริหารบริษัทพลังงานที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก,กล่าวหานาย Cyril Cabanes, นาย Saurabh Agarwal และนาย Deepak Malhotra อดีตพนักงานของบริษัทลงทุนสัญชาติชาวแคนาดาที่มีการสมรู้ร่วมคิดที่จะละเมิดกฎหมายการทุจริตในต่างประเทศ (FCPA)
โดยบุคคลทั้งหมดนั้นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในแผนการให้สินบนที่ดำเนินการโดยนาย Gautam S. Adani, นาย Sagar R. Adani และนาย Vneet S. Jaain ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่อ้างมีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
@กรณีการให้สินบนเจ้าหน้าที่อินเดีย
ข้อกล่าวหาในชั้นศาลระบุว่าฝ่ายจำเลยได้มีการวางแผนที่ซับซ้อนเพื่อติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเพื่อให้ได้สัญญาโครงการโรงไฟฟ้ามูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนายโกตัม เอส อดานี (Gautam S. Adani), นาย Sagar R. Adani และนาย Vneet S. Jaain ทั้งหมดได้ร่วมกันโกหกเกี่ยวกับแผนการติดสินบนในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังระดมทุนจากนักลงทุนในสหรัฐฯ และในต่างประเทศอื่นๆ
คำฟ้องในศาลนั้นระบุว่าแท้จริงแล้วมีการจ่ายเงินสินบนกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,619,994,100 บาท) ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย และเงินจำนวนนี้ยังถูกใช้เพื่อการโกหกนักลงทุนและธนาคาร เพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนอีกกว่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯและเพื่อทำให้เกิดกรณีขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
“การกระทำความผิดเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่ากระทําโดยผู้บริหารระดับสูงและกรรมการบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่งการจัดหาเงินทุนให้กับสัญญาจัดหาพลังงานขนาดใหญ่ของรัฐ ที่เกิดขึ้นผ่านการทุจริตและการฉ้อโกงโดยมีค่าใช้จ่ายของนักลงทุนในสหรัฐฯ แผนกคดีอาญาจะยังคงดําเนินคดีอย่างจริงจังกับพฤติกรรมทุจริต หลอกลวง และขัดขวางที่ละเมิดกฎหมายของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในโลก” คำฟ้องระบุ
@การได้มาซึ่งสัญญาพลังงานแสงอาทิตย์
มีการกล่าวหาว่านายกัมแทมและผู้บริหารธุรกิจอีกอย่างน้อยเจ็ดคน ดำเนินการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญามูลค่าสูงซึ่งออกแบบมาเพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจของพวกเขา
ตามรายงานของสำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯหรือเอฟบีไอระบุว่านายอดานีและจำเลยคนอื่นๆยังฉ้อโกงนักลงทุนด้วยการหลอกลงทุนบนพื้นฐานข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการติดสินบนและการทุจริต ขณะที่จำเลยคนอื่นๆระบุว่ามีความพยายามปกปิดการสมรู้ร่วมคิดในกรณีการติดสินบน ด้วยการขัดขวางการสืบสวนของทางรัฐบาล
รายละเอียดคำฟ้องระบุว่าในช่วงระหว่างปี 2563-2567 จำเลยตกลงจะจ่ายสินบนมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเพื่อแลกกับสัญญาพลังงานแสงอาทิตย์มูลค่าสูง ซึ่งคาดว่าจะสร้างกำไรมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (68,959,952,800 บาท) ในช่วงระยะเวลาโครงการนานกว่า 20ปี
@การพบปะกันของนายอดานีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล
มีหลายโอกาสที่นายโกตัม เอส อดานี ได้เข้าไปพบปะกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเป็นการส่วนตัว เพื่อดำเนินการติดสินบน โดยพบข้อมูลว่ามีการประชุมกันแบบตัวต่อตัวอยู่หลายครั้ง ซึ่งฝ่ายจำเลยมักจะพูดถึงความพยายามของพวกเขาเพิ่มเติมในเรื่องการจ่ายสินบน ซึ่งข้อความเหล่านี้ถูกบันทึกเอาไว้ผ่านแอปพลิเคชันการส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์
ฝ่ายจําเลยยังบันทึกความพยายามติดสินบนของพวกเขาอย่างกว้างขวาง เช่นนาย Sagar R. Adani ใช้โทรศัพท์มือถือของเขาเพื่อติดตามรายละเอียดเฉพาะของสินบนที่เสนอและสัญญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ นาย Vneet S. Jaain ใช้โทรศัพท์มือถือของเขาถ่ายภาพเอกสารสรุปจํานวนสินบนต่างๆ ที่ และนาย Rupesh Agarwal จัดทําและแจกจ่ายเอกสารการวิเคราะห์หลายอย่างให้กับจําเลยคนอื่น ๆ โดยใช้โปรแกรม PowerPoint และ Excel ซึ่งสรุปตัวเลือกต่างๆ สําหรับการจ่ายและปกปิดการจ่ายสินบน
@การลงนามในสัญญา
ตามข้อมูลเอกสารศาล พบว่าหลังจากมีคำมั่นว่าจะมีการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย ส่งผลทำให้ในช่วงเวลาประมาณเดือน ก.ค.2564- ก.พ.2565 มีกรณีการเซ็นสัญญาข้อตกลงการขายพลังงานกันขึ้นระหว่างบริษัทจำหน่ายไฟฟ้าในรัฐโอริสสา จัมมูและแคชเมียร์,ทมิฬนาฑู,ฉัตติสครห์ และอานธรประเทศ โดยเซ็นสัญญาขายพลังงานกับบริษัท Solar Energy Corporation of India (SECI) ภายใต้โครงการที่เชื่อมโยงกับการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
เรียบเรียงเนื้อหาจาก:https://indianexpress.com/article/business/adani-case-us-court-filings-sec-disclosures-hindenburg-allegations-9681606/
- ส่องคดีทุจริตโลก:ครอบครัว สส.ยูเครน เอี่ยวสัญญาชุดทหารด้อยคุณภาพ ซื้ออสังหาฯดูไบ 34 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:2 ตัวละครพัวพันสัญญาโควิดฉาว รบ.ฟิลิปปินส์ ซื้ออสังหาฯ ณ ดูไบนับร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:แอร์บัสฉาว จ่ายคอมมิชชั่นคนกลางหลายล้านยูโร แลกสัญญาขาย ฮ.คูเวตหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลเปรูพิพากษาจำคุก 20 ปี อดีต ปธน.รับสินบนพันล. บ.ก่อสร้างยักษ์ใหญ่
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับ ผบห.รัฐวิสาหกิจอิตาลีรับคดีสินบน โยงคนสนิทอีลอน มัสก์ ครองเอกสารลับ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยธ.สหรัฐฯขอข้อมูลซาบ หลังปมครหา ทอ.บราซิลทำสัญญาซื้อกริเพน 36 ลำ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ประวัตินักธุรกิจ กห.รัสเซีย รอดคว่ำบาตร ครอบครัวใช้ชีวิตสุดหรูในสหรัฐฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:นายกเทศฯ นิวยอร์กถูกตั้งข้อหารับสินบน-คนใกล้ชิดถูกสอบหาเสียงไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:อิสราเอลส่อเอี่ยวเพชรสีเลือดแอฟริกา หารายได้หมื่นล.หนุนสงครามฉนวนกาซา
- ส่องคดีทุจริตโลก:ศาลฝรั่งเศสพิจารณาคดี เสธ.ฯฮั้วจัดจ้าง บ.โลจิสติกส์ ขนส่งพื้นที่ขัดแย้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก: สส.พรรคปฏิรูปอังกฤษ เจอข้อครหาซุกทรัพย์สินนับล้าน ณ เกาะเจอร์ซีย์
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลโปแลนด์ออกหมายจับ ขรก.จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ส่งมอบให้ยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต รบ.โปแลนด์จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์ ผลิตกระสุนปืนใหญ่มูลค่าแสน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:สธ.ยูเครนสั่งยกเลิกประกวดราคาสร้าง รพ.หลังสื่อตีข่าวกระบวนการไม่เหมาะสม
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตั้งข้อหาผู้บริหาร บ.คู่กรณีพันธมิตรทรัมป์ จ่ายสินบน ปธ.กกต.ฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:EU เดินหน้าสอบ-เรียกเงิน รบ.ไซปรัสสร้างสถานีก๊าซ 2 หมื่นล. 6 ปีไม่เสร็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์