‘สภาองค์กรผู้บริโภค’ จัดเสวนาออนไลน์หาทางออกรถไฟฟ้าสายสีส้ม-เขียว ยืนยันต้องประมูลใหม่และไม่ต่อสัมปทาน เผยรถไฟฟ้าทุกสีต้องเป็นของรัฐ เพื่อกำหนดทิศทางและอัตราค่าโดยสารได้ ด้าน 4 พรรคการเมือง โชว์วิสัยทัศน์ทั้งค่าโดยสารไม่เกิน 45-50 บ. และหาคึนกลางดูการประมูลสายสีส้ม
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 21 มีนาคม 2566 สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเสวนาในหัวข้อ เปิดนโยบายแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีส้มและเขียว : หากท่านเป็นรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร" โดยมีตัวแทนจาก 4 พรรคการเมืองร่วมเสวนา ประกอบด้วย พรรคก้าวไกล, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคภูมิใจไทย
@รถไฟฟ้า 10 สายเป็นระบบเดียวกัน ค่าโดยสารสูงสุด 44 บ.
นางสาวรสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค เริ่มต้นว่า สิ่งที่ผู้บริโภคอยากเห็นก็คือรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายที่มีแผนจะก่อสร้างทั้งหมดจะต้องเป็นขนส่งมวลชนที่ไม่ใช่ขนส่งทางเลือก และระบบรางทั้งหมดรัฐควรเป็นเจ้าของ เพื่อให้รัฐมีอำนาจในการกำหนดราคาค่าโดยสารที่ประชาชนทุกคนสามารถโดยสารได้ทุกวัน โดยไม่รวมต้นทุนการก่อสร้าง ควรจะคำนวณเฉพาะค่าโดยสารที่ครอบคลุมเรื่องของค่าเดินรถเท่านั้น โดยจะต้องมีราคาไม่เกิน 10% ของรายได้ขั้นต่ำ จึงคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาจะต้องช่วยผลักดันนโยบายในส่วนนี้
ส่วนประเด็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ สภาองค์กรผู้บริโภคเห็นว่า ควรยกเลิกการประมูล และรัฐบาลควรมีบทบาทก่อสร้างเอง ส่วนการเดินรถก็ค่อยไปจ้างเอกชนที่มีความสามารถเป็นผู้ดำเนินการ และอาจจะนำรายได้เชิงพาณิชย์ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ หรือค่าเช่าโฆษณา ควรเปิดประมูลให้เอกชนรับไปทำ
ขณะที่ประเด็นสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว คิดว่าหลังจากหมดสัมปทานในปี 2572 ก็ควรนำมารวมอยู่ในรถไฟฟ้าที่รัฐบาลดูแล เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดสามารถเดินรถได้โดยใช้ตั๋วใบเดียว ขึ้นที่ไหนก็ได้คิดโครงสร้างราคาแบบเดียวกัน โดยจะใช้สูตรค่าโดยสารตามที่กระทรวงคมนาคมเคยเสนอนั่นคือ 12 (ค่าแรกเข้า 12 บาท) + 2x (สถานีละ 2 บาท) และกำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุดที่ 44 บาท
รสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค
@ย้ำปล่อย สายสีเขียว หมดสัมปทานปี 72 ค่าโดยสารถูกลง
ด้านนายชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค เปิดเผยว่า ปัญหาของการจัดการระบบรถไฟฟ้าในประเทศไทยตอนนี้ มีหลายประเด็น ประกอบด้วย รถไฟฟ้าหลายๆสาย มีเจ้าภาพคนละเจ้าภาพ ทำให้เก็บค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน, ติดข้อกฎหมายและสัญญาสัมปทานยาวนานหลายปี ทำให้เปลี่ยนแปลงอะไรได้ยาก, การจัดการระบบเชื่อมต่อยังไม่ดี เพราะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าไม่เป็นไปตามแผน คือ เอาสายหลักที่ต้องทำก่อนไปก่อสร้างทีหลัง และรัฐมักจะเกรงใจและเอื้อประโยชน์ให้เอกชน
ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่คณะผู้บริหาร กทม. และ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) รวม 13 ราย กรณีทำสัญญาจ้างเดินรถเมื่อปี 2555 จึงควรรอการพิจารณาให้แล้วเสร๋จ นอกจากนั้น การที่ คสช.ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2562 ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ จึงขอให้มีการทบทวนคำสั่งและมติดังกล่าว
โดยทางสภาผู้บริโภคเสนอว่า ในช่วงที่ยังอยู่ในสัมปทานค่าโดยสารควรอยู่ที่ไม่เกิน 44 บาท และช่วงหลังปี 2572 ไปแล้ว กำหนดค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 25 บาท เพราะถือว่าสัมปทานตกเป็นของรัฐโดยสมบูรณ์
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนหนึ่งที่ค่าโดยสารมีราคาแพง เพราะมีการนำค่าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานบวกลงไปด้วย ทำให้ค่าโดยสารในปัจจุบันมีราคาแพง แต่หลังในหลังจากปี 2572 ต้นทุนเหล่านี้จะหมดไปดังนั้นจะเหลือแต่เฉพาะค่าเดินรถจริงๆซึ่งจะอยู่ในช่วง 13-16 บาท ทำให้หลังจากหมดสัมปทาน น่าจะสามารถหาเอกชนมารับจ้างเดินรถในค่าโดยสารไม่เกิน 16 บาทได้ ส่วนหนี้สินที่ติดค้างกันอีกหลายหมื่นล้านบาทนั้น ก็ต้องหาทางจัดการกันไป ไม่ว่าจะเป็นการนำรายได้ในอนาคตในการมาจ่ายค่าหนี้สินเหล่านี้ เป็นต้น
@เลิกประมูล ‘สายสีส้ม’ เร่งจ้างเดินรถฝั่งตะวันออก
ขณะที่ประเด็นรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งแบ่งได้ 2 ฝั่งคือฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - บางขุนนนท์ ถือเป็นหัวใจหลักของกรุงเทพฯเพราะมีสถานีเชื่อมต่อ 8 สถานีจาก 13 สถานี ถือเป็นไข่แดงของระบบโดยสารข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีต้นทุนค่าก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 80,000 ล้านบาท ส่วนกรณีที่มีการประมูลให้เอกชนนั้น ถือว่าทำให้เอกชนได้เปรียบมาก ในการได้ผลตอบแทนสูงและรัฐบาลหมดอำนาจในการต่อรองราคาทันที และสร้างปัญหาการเชื่อมต่อการเดินทางในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นทางสภาผู้บริโภคจึงไม่เห็นด้วยกับการให้เอกชนทำ
ขณะที่ฝั่งตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ประมูลก่อสร้างกันไปจนเกือบจะเสร็จทั้งหมดแล้ว
ดังนั้นข้อเสนอในปัจจุบันคือ ให้รัฐเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนเอกชนมีหน้าที่รับจ้างด้านการเดินรถ โดยอัตราค่าโดยสารรัฐบาลเป็นผู้กำหนดทั้งหมดเอง และใช้ตารางค่าโดยสารเดียวกัน ส่วนสายสีส้มด้านตะวันออกที่กำลังก่อสร้างแล้วเสร็จ รัฐบาลควรจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถโดยทันที
ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค
@ก้าวไกล: แก้รถไฟฟ้าไม่พอ ต้องมองทั้งระบบ
ขณะที่ความเห็นของตัวแทนพรรคการเมือง นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล ระบุว่า บางโครงการลงทุนขนาดใหญ่มีกระบวนการปั้นตัวเลขเกินจริง ซึ่งสุดท้ายทำให้โครงการขาดทุน และการลากเส้นทางยาวออกไปเรื่อยๆ ก็มีส่วนทำให้ราคาค่าโดยสารแพงขึ้นด้วย
ในมุมมองของพรรคก้าวไกล ระบบขนส่งสาธารณะที่ดีต้องมองอย่างเป็นระบบไม่ใช่ว่ามีแต่เส้นเลือดใหญ่แต่เข้าไม่ถึง เพราะไม่มีเส้นเลือดฝอย ซึ่งยอมรับว่าเรื่องราคาเป็นอีกประเด็นหนึ่งแต่สิ่งที่ต้องคิดคือการเชื่อมต่อ
กล่าวสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเขียว มองว่าทั้ง 2 โครงการมีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นเป็นการปันผลประโยชน์ในช่วงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์รอบที่ 1 แต่ทำไม่สำเร็จ โดย มีการออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2562 แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีการประมูล 2 ครั้งจนเกิดส่วนต่างประมาณ 68,000 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ฉาวโฉ่มากๆ และพรรคถูกโจมตีว่าช่วยเหลือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) ทั้งๆที่ในประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทางพรรคก็โจมตี BTS ค่อนข้างเยอะ เพียงแต่ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม พักต้องการให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริงเท่านั้น
สำหรับนโยบายที่พรรคกำหนดในการแก้ปัญหานี้คือ 1. ตั๋วร่วมและ 2. ค่าโดยสารร่วม ขยายความตั๋วร่วม ต้องกล้าชนกับขาใหญ่ตัวจริง เพราะที่ผ่านมาตั๋วร่วมไม่สำเร็จเพราะ BTS ไม่ยอมเข้าระบบ ทางแก้ของปัญหานี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีไม่ได้ใช้งานยากอีกต่อไป เพราะมีระบบ EMV (Euro-Master Card-Visa) รองรับแล้ว และไม่ควรคิดแค่รถไฟฟ้า ต้องไปดูรถเมล์ควบคู่ด้วย
ส่วนค่าโดยสารร่วม ขยายความจากข้อ 1 ที่ต้องดูรถเมล์ร่วมด้วย โดยจะกำหนดค่าโดยสารครอบคลุมทุกระบบการเดินทางคือ 8-45 บาท ขณะที่รถเมล์ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 8-25 บาท ส่วนรถไฟฟ้าอยู่ที่ 15-45 บาท
“นโยบายค่าโดยสารร่วมยังมีคนถามว่าทำไมถึงไม่ถูกลงกว่านี้ จึงอยากตอบว่าถ้าจะทำอย่างนั้นจะเอาเงินมาจากไหน ต่อให้มีเงินจริงๆ ก็แปลว่าจะต้องเอาเงินของคนทั้งประเทศมาช่วยคนชั้นกลางระดับบนอย่างเดียวหรือ? ดังนั้นการแก้ปัญหาอะไรอย่ามองแต่รถไฟฟ้า ต้องมองทางรถไฟฟ้าและรถเมล์ไม่ควรโฆษณาแค่ว่าการเดินทางจากสถานีนึงไปอีกสถานีนึง แต่ควรมองเป็นการเดินทางจากบ้านถึงที่ทำงานหรือจากบ้านถึงโรงเรียน” นายสุรเชษฐ์กล่าว
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล
@ประชาธิปัตย์: ชูรถไฟฟ้า 50 บาท/ทั้งวัน/ทุกสาย/ไม่จำกัดเที่ยว
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นมีนโยบายที่จะนำเสนอกับประชาชน นโยบายดังกล่าวคือนโยบายรถไฟฟ้า 50 บาทตลอดวัน/ทุกสาย/ไม่จำกัดเที่ยว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการเดินทาง ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและลดมลภาวะโดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 และเป็นการใช้โครงการที่ก่อสร้างขึ้นมาอย่างคุ้มค่าที่สุด
ส่วนปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัญหาเกิดขึ้นในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต - คูคตและแบริ่ง - สมุทรปราการ หากผู้ทำการเดินรถไม่ใช่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จะเกิดปัญหาเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน และต้องสับเปลี่ยนขบวนรถ
ขณะที่คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2562 มองว่า เป็นการแก้ไขปัญหาโดยต้องการให้ BTSC เป็นผู้ลงทุนระบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์และให้บริการเดินรถ แต่กทมจะต้องรับโอนหนี้งานโยธาส่วนต่อขยายที่ 2 มาจากรฟม. ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกทม.ไม่มีเงินชำระให้กับ BTSC และ รฟม. คณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.จึงเจรจาให้ BTSC รับหนี้ทั้งหมด แลกกับการขยายสัมปทานจากปี 2572 ถึงปี 2602 โดยมีเงื่อนไขคือ รับหนี้ทั้งหมด, แบ่งรายได้ให้ กทม. 200,000 ล้านบาท และเก็บค่าโดยสาร 15-65 บาท
ดังนั้น ทางเลือกของตนมี 2 ทางคือ 1.จ่ายหนี้ให้ BTSC และเปิดประมูลใหม่ก่อนปี 2572 และ 2. ถ้าจ่ายหนี้ไม่ได้ ก็ค้องขยายสัมปทานให้เหมือนกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ขยายสัมปทานให้ BEM
ขณะที่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งส่วนตัวมีแนวทางในการแก้ปัญหาประกอบด้วย
1. รอผลการพิจารณาของศาลปกครองในคดีที่คั่งค้าง 2 คดี ได้แก่ คดียกเลิกการประมูลครั้งที่ 1 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดโดย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดโดยศาลปกครองกลางพิ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองกลางพิพากษาให้การล้มการประมูลครั้งที่ 1 ไม่ชอบ
คดีที่ 2 การกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งในการประมูลครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งคดีนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ไม่สามารถชี้แจงให้สิ้นข้อสงสัยได้
และ 2. ไม่ต้องรอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง หากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาถึงทั้ง 2 คดีว่าชอบด้วยกฎหมาย และ รฟม. สามารถชี้แจงต่อสังคมได้ ก็ขอให้ รฟม.เจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นเอกชนที่ชนะโครงการ ลดการขอเสนอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจากอ 78,000 ล้านบาท เหลือ 9,000 ล้านบาท หาก BEM ไม่ยอม ก็ขอให้รฟม.ล้มการประมูล
อีกทางเลือกหนึ่ง หากมีคดีใดคดีหนึ่ง หรือทั้ง 2 คดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้รฟม. ยกเลิกการประมูลครั้งที่ 2 และเปิดประมูลใหม่
สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
@ชาติไทยพัฒนา: ส้ม-เขียว ต้องมองมุมอื่นบ้าง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ว่าที่รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า จากข้อจำกัดของงบประมาณประเทศในแต่ละปี ที่เป็นรายจ่ายประจำถึง 1.6-1.7 ล้านล้านบาท จะเหลือรายจ่ายด้านการพัฒนาประเทศเพียง 600,000 ล้านบาทในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้องให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานเดินรถและบริหารจัดการ
ในช่วงแรก รถไฟฟ้าสายสีเขียว เอกชนลงทุนทั้งหมดจึงขาดทุน และต้องเก็บค่าโดยสารโดยบวกต้นทุนด้านค่าก่อสร้างเข้าไปด้วย แต่หลังจากนั้น การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นๆ รัฐบาลจึงเริ่มมาอุดหนุนงานโยธามากขึ้น จึงสนับสนุนแนวคิดของนางสาวรสนาที่ให้เอกชน ทำหน้าที่เดินรถ ส่วนภาครัฐก็ทำหน้าที่ก่อสร้างไป
“การจะทำให้ค่าโดยสารถูกลง ต้องให้รัฐคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆที่เอกชนต้องอยู่ได้ กำไรไม่ต้องมาก และรัฐอุดหนุนส่วนต่างที่เกิดขึ้นแทน” นายชาติชายกล่าว
กล่าวกับรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเขียว สายสีส้ม มีข้อแคลงใจเยอะมาก โดยเฉพาะประเด็นราคาการประมูล ในความเห็นส่วนตัวควรมีองค์กรกลางเข้ามาดูเรื่องการทุจริต เช่น จาก ป.ป.ช. หรือ สตง. เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การเขียนทีโออาร์, การคัดเลือก และการเปิดซองประมูล
ส่วนสายสีเขียว จากกรณี ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา ก็รอฝ่ายเอกชนเข้าไปชี้แจงก่อน เพราะ กทม.ก็เคยดำเนินการที่จะประมูล PPP มาตั้งแต่สมัยนายพิจิตต รัตตกุล, สมัคร สุนทรเวช, อภิรักษ์ โกษะโยธิน และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ และทาง BTSC ก็ไม่ได้ต้องการต่อสัญญาอะไร เพียงแต่ต้องการเงินที่ลงทุนไปแล้วเป็นหนี้คืนมากกว่า ส่วนเรื่องการต่อสัมปทานน่าจะเป็นทางรัฐที่เสนอมากกว่า
ชาติชาย พยุหนาวีชัย ว่าที่รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
@ภูมิใจไทย: รอกระบวนการยุติธรรม
ด้านนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ อดีตส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ควรมองปัญหาเป็นระบบ ไม่ควรมองแค่คุ้มหรือไม่คุ้ม ในเรื่องของค่าโดยสาร มีการพูดกันถึงนโยบายตั๋วร่วม ก็ต้องทราบก่อนว่า ยังติดปัญหาด้านข้อกฎหมาย ในอดีต รถไฟฟ้าต่างคนต่างทำ จึงมีหลายหน่วยงานเป็นเจ้าภาพ เวลาจะคุยกันก็ไม่ได้ข้อสรุป และไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ จึงต้องเร่งทำกฎหมายให้เสร็จก่อน โดยกฎหมายนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ซึ่งยังค้างในสภาฯ
แต่สิ่งที่พรรคการเมืองควรหยุดคือ การประกาศค่าบริการแบบขายฝัน ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็มีการพูด หรือการเลือกตั้งในระดับอื่นก็มีการพูดกันเยอะ ซึ่งในปัจจุบันติดสัญญาสัมปทานอีกหลายปี ทางออกคือ ต้องทยอยทำไปทีละโครงการ ทีละสัญญา
ส่วนกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเขียว ประเด็นด้านคดีความก็ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมทำงาน และให้คำนึงถึงประชาชนมากกว่าประเด็นอื่นให้ได้มากที่สุด
สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ อดีตส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย
@จุดยืน 5 ข้อ สภาผู้บริโภค
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ทางองค์กรสนับสนุนแนวคิดของนางสาวรสนาและนายชาลี เป็นหลัก โดยโครงสร้างของรถไฟฟ้าควรเป็นของรัฐ เพื่อให้รัฐกำหนดราคาค่าโดยสารได้ ไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน และใช้ตารางราคาเดียวกัน ดังนั้น ข้อเสนอขององค์กรจึงชัดเจนประกอบด้วย
1.ยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มาใช้หลัก 3 จ. จ.ที่ 1 จ้างเอกชนก่อสร้าง จ.ที่ 2 จ้างเอกชนเดินรถ และจ.ที่ 3 ให้จัดการหารายได้โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำมาลดค่าโดยสาร
2.ไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้า่สายสีเขียว ขอฝากเป็นการบ้านถึงพรรคการเมืองทุกพรรคว่า มีท่าทีอย่างไร?
3.ขอให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้ม ลดคดีความทั้งหลายลง ขอให้มีการเจรจากัน จึงอยากเห็นข้อเสนอของทุกพรรคในประเด็นนี้
4.ขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ รถไฟฟ้าต้องทำให้คนจนเมืองใช้ได้ด้วย พรรคการเมืองต้องจัดการเรื่องนี้ และบริการขนส่งมวลชน ขอให้มีการพัฒนาในจังหวัดหลักและจังหวัดรองทั่วประเทศด้วย
5.ทบทวนค่าจ้างเดินรถที่เป็นภาระกับผู้บริโภค ไม่ควรจะทำกำไรมากจนสร้างภาระกับผู้บริโภค
อ่านประกอบรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- ครม.ตีกลับ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ 1.4 แสนล้าน โยนครม.ชุดใหม่พิจารณา
-
เปิดชื่อ 20 ตุลาการฯ'เสียงข้างน้อย' เห็นแย้งคดีแก้TORสายสีส้มฯ ชี้'รฟม.'ใช้อำนาจโดยพลการ
-
มีอำนาจ-ใช้ดุลพินิจโดยชอบ!‘ศาลปค.สูงสุด’ยกฟ้องคดี‘บอร์ดคัดเลือกฯ-รฟม.’แก้ TOR สายสีส้มฯ
-
‘ศักดิ์สยาม’ สอน ‘ชูวิทย์’ รถไฟฟ้าสายสีส้ม อย่าพูดลอยๆ ต้องมีหลักฐานชัดๆ
-
‘ชูวิทย์’ แฉสายสีส้มมีพิรุธ ‘เงินทอน-กระบวนการยุติธรรม’ รฟม.โต้โปร่งใสทุกขั้นตอน
-
'รฟม.'รอศาลปค.สูงสุดชี้ขาด 3 คดีก่อนชง'ครม.'เคาะสายสีส้ม-โต้'ก้าวไกล'ยันประมูลชอบด้วยกม.
-
ส่อผิดกม.ฮั้ว! ฝ่ายค้านฯยื่น‘ป.ป.ช.’ไต่สวน‘บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม’กรณีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
-
‘รฟม.’ โต้ ‘คีรี’ ยันประมูลรถไฟฟ้า ‘สายสีส้มฯ’ โปร่งใส-ย้ำข้อเสนอ BTS ไม่น่าเชื่อถือ
-
อย่าให้เกินไป! ‘คีรี’จี้‘บิ๊กตู่’ทบทวนประมูล‘สายสีส้มฯ’-ชี้ปัญหาคอร์รัปชันไทยรุนแรงมาก
-
ปากพูดแต่ไม่ทำจริง! ACT ชี้ภาคการเมืองต้นตอ‘คอร์รัปชัน’-BTS ยกประมูล‘สายสีส้มฯ’สุดแปลก
-
‘ศักดิ์สยาม’ชี้ ‘สายสีส้ม’ รอศาลตัดสินจบทุกคดี โยน ‘รฟม.’ ตอบรับโอน ‘สายสีเขียว’
-
ยัน'โปร่งใส-ตรวจสอบได้'! 'รฟม.' แจง 5 ประเด็น ปมคัดค้านผลประมูลรถไฟฟ้า 'สายสีส้มฯ'
-
‘เวทีสาธารณะฯ’ จี้รัฐบาลตรวจสอบประมูล ‘สายสีส้ม’-ตั้งคำถามปม ‘ส่วนต่าง’ 6.8 หมื่นล้าน
-
รฟม.โต้ ACT ยันประมูล‘สายสีส้ม’เปิดกว้าง-ชี้ส่วนต่างผลปย.รัฐ 6.8 หมื่นล.ไม่น่าเชื่อถือ
-
เสนอผลปย.ต่างกัน 6.8 หมื่นล.! ACT ออกแถลงการณ์ ร้อง‘บิ๊กตู่’สอบประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
-
BTS ยันข้อเสนอขอรัฐอุดหนุนรถไฟฟ้า 'สายสีส้ม' 9 พันล. ทำได้จริง-ย้ำประมูลส่อไม่สุจริต
-
‘บอร์ดคัดเลือกฯ’เคาะ BEM ชนะประมูลรถไฟฟ้า‘สายสีส้ม’-ผู้ว่าฯรฟม.ยกเลิกแถลงข่าวกระทันหัน
อ่านประกอบรถไฟฟ้าสายสีเขียว
- ‘คีรี’ เปิดใจ ป.ป.ช.แจ้งข้อหา BTS เหมือนถูกแกล้ง
-
'วัชรพล' สั่งสอบเอกสารแจ้งข้อกล่าวหาคดีรถไฟฟ้าสีเขียวหลุด-พนง.BTSC ยกพลจี้ถาม
- ‘ชาญชัย’ ติง ‘กทม.-KT’ อ้างสัญญาไม่ชอบ แล้วจะไม่จ่ายค่าจ้างเดินรถสายสีเขียวไม่ได้
-
‘BTS’ โต้ ‘กรุงเทพธนาคม’ ขอให้รีบจ่ายค่าจ้างเดินรถสายสีเขียว ปัดรู้เห็นกระบวนการทำสัญญา
-
‘กรุงเทพธนาคม’ แจง ‘ศาลปกครอง’ โต้ BTSC ปมฟ้องร้องค่าจ้างเดินรถอีกหมื่นล้าน
-
‘ชัชชาติ’ รับ ‘กทม.’แบกภาระขาดทุนเดินรถไฟฟ้า‘สายสีเขียว’ ช่วงปี 73-84 รวม 8.57 หมื่นล.
-
มีเงินสะสม7หมื่นล.! กทม.พร้อมจ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ต้องรอผ่านสภากรุงเทพฯ ก่อน
-
‘ชัชชาติ’ ส่งความเห็น ‘สายสีเขียว’ ถึง ‘มหาดไทย’ แล้ว ลุ้นครม.พิจารณา
-
‘ชัชชาติ’ รับมติสภากทม. ศึกษา ‘สายสีเขียว’ เก็บค่าโดยสารส่วน 2 เลื่อนไม่มีกำหนด
-
สภากทม.คว่ำ ‘ญัตติ’ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตีความ คำสั่งม.44 ไม่ให้อำนาจ กทม.-ส.ก.พิจารณา
-
‘ชัชชาติ’ ประกาศไม่ต่อสัมปทานสายสีเขียว เสนอรัฐบาลอุดหนุนค่าก่อสร้าง 5.8 หมื่นล้าน
-
‘ชัชชาติ’ ลุ้น สภากทม. เคาะค่าโดยสาร ส่วนต่อขยายสายสีเขียว 26 ต.ค.นี้
-
ศาลสั่ง ‘กทม.-เคที’ จ่าย 1.1 หมื่นล้าน ปมค้างค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว
-
เจาะคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เกาะติดท่าที 'กทม.-เคที'อุทธรณ์คดีค่าเดินรถ'สายสีเขียว'
-
เบื้องหลัง 2 แนวคิดเก็บค่าตั๋วส่วนต่อขยาย‘สายสีเขียว’คั้นรายได้ 2.6 พันล.โปะหนี้ BTSC
-
2 สัญญา 3.5 แสนล.! ย้อนดูค่าจ้าง เดินรถ'สายสีเขียว'ส่วนต่อขยาย ก่อน'เคที'จ่อรื้อใหม่
-
ISRA WHY? : ‘ธงทอง จันทรางศุ’แม่ทัพ'กรุงเทพธนาคม'ภารกิจสุดขอบฟ้า ล้างหลุมดำ กทม.
-
ไม่เกินส.ค.นี้เสนอสภากทม.เคาะค่าโดยสารสายสีเขียว ถอดรายได้ 2 สูตรจ่ายค่าเดินรถ
-
กทม.ขอ 2 เดือน เคลียร์โอนหนี้สายสีเขียว เผยยอดหนี้ ‘หมอชิต-คูคต’พุ่ง 5.4 หมื่นล้าน