สำนักข่าว LRT ได้ลงบทความการทำข่าวสืบสวนสอบสวนซึ่งชี้ชัดว่านาย Saulius Skvernelis นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียและทีมงานน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนี้ ในฐานะผู้ผลักดันให้เกิดการทำข้อตกลงการจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจกับคนกลางปริศนาเป็นจำนวนถึง 3 ครั้ง ด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมาก
-------------------------------
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ข้อนำเสนอการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด 19 หรือโคโรน่าไวรัสซึ่งมีราคาแพงเกินจริงส่งผลทำให้นาง Lina Jaruševičienė อดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศลิทัวเนียต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา
นาง Lina Jaruševičienė อดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศลิทัวเนีย (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.lrt.lt)
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อประมาณวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวว่าวิทยุโทรทัศน์และการกระจายเสียงของประเทศลิทัวเนียหรือสำนักข่าว LRT ได้ลงบทความการทำข่าวสืบสวนสอบสวนซึ่งชี้ชัดว่านาย Saulius Skvernelis นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียและทีมงานน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนี้ ในฐานะผู้ผลักดันให้เกิดการทำข้อตกลงการจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจกับคนกลางปริศนาเป็นจำนวนถึง 3 ครั้ง ด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมาก
ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้นำบทความดังกล่าวมาแปลและเรียบเรียงโดยมีรายละเอียดดังนี้
ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 ส.ค. หรือ 2 วันหลังจากที่ประเทศลิทัวเนียได้ประกาศสถานการณ์ควบคุมโรคทั่วประเทศ สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงสาธารณสุขได้มีการส่งอีเมลไปมาระหว่างกันเกี่ยวกับการจัดซื้อชุดตรวจหาโควิด 19 คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6.05 ล้านยูโร (224,084,189 บาท) ซึ่งขั้นตอนการเจรจาการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวนั้นถือเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนแต่อย่างใด โดยสาเหตุของการปกปิดข้อมูลนั้นก็มาจากความสะดวกในเรื่องของการจัดซื้อในภาวะเร่งด่วน
นาย Saulius Skvernelis นายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย
ในวันต่อมาก็มีการเซ็นข้อตกลงกับบริษัท Profarma ซึ่งภายหลังพบว่าบริษัทแห่งนี้มีประวัติการจัดซื้อจัดจ้างกับทางภาครัฐแค่เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยรัฐบาลได้มีการจ่ายเงินจำนวนมากกว่า 6 ล้านยูโรไปยังบัญชีธนาคารของบริษัท Profarma และหลังจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินก็พบว่าเงินที่จ่ายไปยังบัญชีธนาคารของบริษัท ถูกโอนไปยังบริษัทที่เพิ่งจะถูกก่อตั้งใหม่แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Bona Diagnosis
ทั้งนี้จากเส้นทางการเงิน ปรากฏข้อมูลว่าบริษัท Ameda Labordiagnostik ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชุดตรวจโควิดสัญชาติออสเตรียจะต้องเป็นผู้ที่รับเงินจากการส่งชุดตรวจให้กับทางรัฐบาลลิทัวเนีย แต่จากการสืบข้อมูลก็พบว่า ยอดเงินที่จ่ายจริงให้กับบริษัท Ameda นั้นอยู่ที่ 1.5 ล้านยูโรเท่านั้น (55,558,063 บาท)
ซึ่งทางด้านของสำนักงานตรวจสอบอาชญากรรมทางการเงินของประเทศลิทัวเนีย หรือ FNTT ก็ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิรุธในข้อตกลงของรัฐบาลนับตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. จนได้ผู้ต้องสงสัยมา 6 คน ซึ่งรวมถึง นาง Lina อดีตรองรัฐมนตรีสาธารณสุข, นาง Edita Mištinienė ผู้อำนวยการบริษัท Profarma และนาย Redas Laukys หัวหน้าปฏิบัติการณ์การของบริษัท Profarma
นาง Edita Mištinienė ผู้อำนวยการบริษัท Profarma (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.zmones.lt)
@คำอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรี
จากการสืบข้อมูลของสำนักข่าว LRT บริษัท Profarma ได้เข้าติดต่อกับทางรัฐบาลเพื่อจะเสนอขายชุดตรวจโควิดอย่างง่ายนับตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยนาง Edita ผู้อำนวยการบริษัท Profarma และนาย Redas หัวหน้าปฏิบัติการณ์ ได้ถูกเชิญโดยสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ไปพบกับนาย Jonas Kairys ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของนายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย (นาง Edita ไม่ได้เดินทางไปตามคำเชิญ เนื่องจาก เพิ่งจะกลับมาจากต่างประเทศและต้องกักตัวเองตามมาตรการควบคุมโรค)
โดยบริษัท Profarma ได้เสนอว่าจะส่งชุดตรวจให้กับทางรัฐบาล แม้ว่าในเวลานั้น ทางบริษัท Profarma จะยังไม่มีข้อตกลง ความสัมพันธ์หรือสัญญากับทางบริษัทผู้ผลิตชุดตรวจแห่งใดเลยก็ตาม ขณะที่ทางด้านของนาย Jonas ก็ได้ยืนยันเช่นกันว่าในระหว่างการพบปะกันนั้น ทางบริษัท Profarma ไม่สามารถจะเปิดเผยข้อมูลหรือรายละเอียดได้ว่าบริษัท Profarma จะเอาชุดตรวจมาจากไหน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัท Profarma จะไม่ได้ให้ข้อมูลว่าจะไปเอาชุดตรวจโควิดมาอย่างไรและจากที่ไหน แต่ 2 วันหลังจากที่มีการพบปะกัน ก็ปรากฏว่ารัฐบาลลิทัวเนียได้ทำสัญญาการจัดซื้อจัด Profarma เป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลก็พบอีเมลที่ถูกทำสำเนาระบุรายละเอียดและวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขจะได้ทำสัญญากับบริษัท Profarma โดยผู้ที่ส่งอีเมลดังกล่าวมาก็คือนาย Lukas Savickas ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนาย Saulius Skvernelis นายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย
“ในวันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันการตัดสินใจที่จะทำข้อตกลงการจัดซื้อชุดตรวจอย่างง่าย ซึ่งทางเราได้ร่างข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว” นาย Lukas กล่าวในอีเมลที่ส่งไปให้กับกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 18 มี.ค.
ข้อตกลงในอีเมลระบุต่อไปด้วยว่าทางรัฐบาลจะต้องได้รับชุดตรวจโควิดอย่างง่ายจำนวน 1 แสนชุดในระยะเวลา 7 วันหลังจากนี้ อีก 4 แสนชุดภายในระยะเวลา ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และจะต้องได้รับชุดตรวจสำรองเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 แสนชุด
อีเมลได้ระบุต่อไปว่าสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นจะเป็นผู้ที่ควบคุมข้อตกลงดังกล่าวนี้ และยังพบด้วยว่าอีเมลนั้นได้ถูกส่งต่อไปยังนายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย สำนักเลขานุการนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาอีกจำนวนหลายคนในทีมงานนอกเหนือจากที่ส่งให้กับนาย Aurelijus Veryga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของลิทัวเนีย
และในวันที่ 18 มี.ค.ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ส่งอีเมล ทางรัฐบาลก็ได้มีการหารือกันถึงการให้มอบเงินเยียวยาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด
ซึ่งจากการพบปะกัน นาย Saulius นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียได้เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินสนับสนุนช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 30.6 ล้านยูโร (1,133,384,498 บาท) โดยเงินจำนวน 16.6 ล้านยูโร (614,842,570 บาท) จะเป็นเงินในการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศ และเงินบางส่วนก็จะถูกนำไปใช้จัดซื้อชุดตรวจโควิดอย่างง่ายด้วยเช่นกัน
และในวันเดียวกันนั้นเอง (18 มี.ค.) นาง Lina รองรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้อีเมลข้อมูลไปยังห้องแล็บสาธารณสุขแห่งชติ (NVSPL) ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบการจัดซื้อ โดยระบุให้เตรียมตัวสำหรับสัญญาการจัดซื้อทันที
ต่อมาในวันที่ 19 มี.ค. ก็มีการเซ็นสัญญากับบริษัท Profarma
โดยสำนักข่าว LRT ได้สอบถามไปยัง นาย Saulius นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียว่าทำไมการตัดสินใจทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างถึงมาจากสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้มาจากกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งทางด้านของนาย Tomas Beržinskas ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีก็ได้อีเมลตอบกลับมายังสำนักข่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในการใช้อำนาจการตัดสินใจที่รวดเร็วและจำเป็นสำหรับปฏิบัติการณ์ของรัฐบาล
นาย Tomas ยังระบุต่อไปด้วยว่าในช่วงโรคระบาด คำสั่งนายกรัฐมนตรีนั้นต้องการที่จะแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วในการเข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นซึ่งรวมไปถึงชุดตรวจหาโควิด
@ใครอนุมัติการจัดซื้อ
ขณะที่ทางด้านของนาย Jonas Kairys ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของนายกรัฐมนตรีลิทัวเนียก็ได้ออกมายอมรับกับสำนักข่าว LRT เช่นกันว่าตัวเขาค่อนข้างแปลกใจที่มีการเซ็นสัญญากับบริษัท Profarma หลังจากที่มีการอนุมัติผ่านทางอีเมล
“เมื่อมีการอนุมัติแล้ว จะต้องมีการปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบการ โดยทีมงานที่จะต้องรับผิดชอบจะต้องมีการหารือกันก่อนถึงจะสามารถเซ็นข้อตกลงกันได้ แต่ถ้าหากไม่มีการทำตามขั้นตอน ไม่มีการหารือกัน ก็ไม่สามารถเซ็นคำสั่งการจัดซื้อได้” นาย Jonas กล่าว
ส่วนทางด้านนาย Lukas Savickas ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ (ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี) ก็ได้เขียนอีเมลตอบกลับมาเช่นกันโดยระบุว่าการตัดสินใจซื้อชุดตรวจอย่างง่ายนั้น มีทีมงานซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 อีกชุดเป็นผู้ที่ร่วมประชุมหารือด้วย แต่เขาไม่สามารถระบุได้ว่าทีมงานเหล่านี้เป็นใครและชื่ออะไรบ้าง แต่บอกได้แค่ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและเวชภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 กลุ่มนั้นถูกจัดตั้งเป็นทีมขึ้นมาอย่างเป็นทางการภายหลังจากที่มีการทำข้อตกลงแล้ว
“การหารือเกี่ยวกับการจัดซื้อชุดตรวจแบบง่ายนั้น เกิดขึ้นภายในสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าร่วมด้วย ซึ่งผมต้องชี้แจงว่าสถานกรณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นสภาวะที่ค่อนข้างจะไม่ปกติ และเราไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบราชการในประเด็นเรื่องการจัดตั้งทีมงานผู้ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของการจัดซื้อได้” นาย Lukas กล่าวกับสำนักข่าว LRT ในภายหลัง
นาย Lukas กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าเขาได้พิจารณาข้อเสนอจากบริษัทอื่นด้วยเช่นกัน ก่อนจะมีการเซ็นสัญญกับบริษัท Profarma แต่นาย Lukas ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดและชื่อบริษัทคู่เทียบรายอื่นแต่อย่างใด โดยอ้างในเรื่องของระเบียบการเรื่องความลับทางการค้า
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นใดๆออกมา
นาย Aurelijus Veryga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของลิทัวเนีย (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.diena.lt)
@เส้นทางการเงินไปยังบริษัทแห่งใหม่
ในเอกสารยังพบด้วยว่าบริษัท Profarma ได้ทำข้อเสนอกับทาง NVSPL ในวันที่ 19 มี.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการเซ็นข้อตกลงกับทางรัฐบาล
โดยในข้อเสนอของบริษัท Profarma ระบุว่าชุดตรวจอย่างง่ายจะถูกส่งมาโดยผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน โดยผู้ซื้อจะต้องจ่ายยอดรวมทั้งหมดด้วยการชำระเงินล่วงหน้า
ซึ่งนาง Edita Mištinienė ผู้อำนวยการบริษัท Profarma ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว LRT ในภายหลังว่าทางบริษัทผู้ผลิตได้ปฏิเสธที่จะเจรจาด้วยถ้าหากไม่มีการชำระเงินล่วงหน้า
ขณะที่ทาง Simona Kalvelytė ผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่ NVSPL ก็ได้กล่าวว่าการโอนเงินจำนวน 6.05 ล้านยูโรนั้นเกิดในวันที่ 19 มี.ค. และควรจะต้องไปถึงบัญชีธนาคารของบริษัท Profarma ในวันถัดไป
อย่างไรก็ตามจากการสืบสวนของสำนักข่าว LRT พบว่ามีเงินจำนวนมากกลับถูกโยกย้ายไปยังบัญชีของบริษัทที่ปรึกษา Bonus Diagnosis ซึ่งบริษัทแห่งนี้ถูกจัดตั้งได้เพียง 2 วัน ก่อนที่จะมีการโอนเงิน
และก็มีรายงานด้วยว่านาย Redas Laukys หัวหน้าปฏิบัติการณ์ของบริษัท Profarma ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการที่บริษัท Bonus Diagnosis ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากนั้น
โดยนาง Edita ได้ชี้แจงว่าบริษัท Bonus Diagnosis ถูกจัดตั้งมาเพื่อช่วยเหลือ บริษัท Profarma ในด้านการขนส่งและการประสานงานความร่วมมือในช่วงวิกฤติโรคระบาด ซึ่งการจัดตั้งบริษัทใหม่นี้นั้นจะทำให้บริษัท Profarma มีช่องทางที่จะเข้าถึงบริษัท Ameda Labordiagnostik ของออสเตรีย ในการติดต่อให้มาเป็นผู้ที่ดำเนินการส่งชุดตรวจอย่างง่ายได้
แต่อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว LRT ได้รับข้อมูลยืนยันว่าบริษัท Ameda ได้รับเงินเพียงแค่ 1.5 ล้านยูโรสำหรับค่าซื้อชุดตรวจเท่านั้น ซึ่งทำให้ ณ เวลานี้หน่วยงานด้านด้านกฎหมายของประเทศลิทัวเนียกำลังสืบสวนกันอยู่ว่าเงินจำนวนที่เหลือกว่า 4.5 ล้านยูโร (166,674,190 บาท) หายไปไหน
@รัฐบาลไม่ได้ติดต่อกับบริษัทอื่นๆเลย
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีการจัดซื้อชุดตรวจอย่างง่ายจำนวน 510,000 ชุด จากบริษัท Profarma ซึ่งถ้าคิดเป็นจำนวนเงินโดยเฉลี่ยแล้วจะพบว่ารัฐบาลได้จ่ายเงินจำนวน 12 ยูโร (444.46 บาท) ต่อชุดตรวจ 1 ชุด โดยทางด้านของบริษัท Ameda ได้กล่าวว่าราคาต่อชุดตรวจของบริษัทนั้น ถือเป็นสิทธิของผู้ที่ซื้อสินค้าจากบริษัท Ameda ซึ่งจะกำหนดราคาต่อชุดตรวจว่าจะอยู่ที่เท่าไรกันแน่
ขณะที่นาง Lina Mecelicienė ตัวบริษัท Pro Aris ซึ่งเป็นบริษัทที่จำหน่ายชุดตรวจอีกแห่งในประเทศลิทัวเนียได้ระบุว่าบริษัท Pro Aris ขายชุดตรวจจากบริษัท Ameda ด้วยราคาเพียงแค่ 4 ยูโร (148 บาท) ต่อ 1 ชุดตรวจเท่านั้น
และยังพบข้อมูลอีกด้วยว่าบริษัท Pro Aris ได้เคยทำสัญญาขายชุดตรวจกับกระทรวงกลาโหมของประเทศลิทัวเนีย โดยขายชุดตรวจจำนวน 15,000 ชุด คิดเป็นมูลค่า 3.63 ยูโร (134.45 บาท) ต่อ 1 ชุดตรวจให้กับทางกระทรวงกลาโหม และได้ทำสัญญาที่มีลักษณะคล้ายกันนี้กับโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศลิทัวเนีย
นาย Mecelicienė กล่าวกับสำนักข่าว LRT ต่อไปด้วยว่าตัวเธอได้ส่งข้อเสนอการขายชุดตรวจไปยังกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 18 มี.ค. ด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองกลับจากทั้งกระทรวงสาธารณสุขของสำนักนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด
และยังพบข้อมูลด้วยว่ามีบริษัทเอกชนในลิทัวเนียรายอื่นๆซึ่งขายชุดตรวจโควิดด้วยราคาประมาณ 4-6 ยูโรต่อ 1 ชุดตรวจ ได้ส่งข้อเสนอไปยังรัฐบาลลิทัวเนีย ต่อก็ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆกลับมาจากทางรัฐบาลเช่นกัน
ชุดตรวจโควิดอย่างง่ายจากบริษัท Ameda Labordiagnostik (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.amp-med.com)
@ชุดตรวจซึ่งยังไม่ถูกใช้งาน
มีรายงานว่าทางการลิทัวเนียได้รับชุดตรวจโควิด 19 ทั้งหมดซึ่งสั่งซื้อมาจากบริษัท Profarma ในช่วงสิ้นเดือน พ.ค. แต่กลับพบว่ามีการใช้งานโดย NVSPL แค่ประมาณ 2 หมื่นชุดตรวจเท่านั้นในช่วงสิ้นเดือน ก.ค.
โดยเมื่อช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ออกคำสั่งให้นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยVilnius ตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดตรวจ และต่อมาในปลายเดือน พ.ค. นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ข้อสรุปว่าชุดตรวจนั้นไม่สามารถตรวจหาการติดเชื้อโควิด19 ได้อย่างแม่นยำ ไม่สามารถใช้ในการตรวจหาผู้ซึ่งติดเชื้อโควิด 19 เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และไม่สามารถตรวจหาผู้ซึ่งเคยติดเชื้อโควิด 19 ได้
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage