มีการให้เงินกู้มากกว่า 350 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าเกือบ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (6,278,000,000 บาท)ซึ่งปรากฎว่า เงินกู้เหล่านั้นไปสู่คู่อดีตบริษัทสัญญารัฐบาลจำนวนประมาณอย่างน้อย 11,000 แห่ง ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้ลงโทษไม่ให้บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจกับรัฐบาลอีกต่อไปเนื่องจากมีปัญหาทั้งในประเด็นเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใส
----------------------
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นการทุจริตการรับเงินเยียวยาที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบให้กับบริษัทที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติโคโรน่าไวรัสหรือโควิด 19
โดยสำนักข่าวเอ็นบีซีของสหรัฐฯได้จัดทำรายงานข่าวฉบับหนึ่งระบุว่าน่าจะมีเงินช่วยเหลือจำนวนอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (31,390,000,000 บาท) ที่ถูกจ่ายซ้ำซ้อน และมีการจ่ายเงินซ้ำกันเป็นจำนวนหลายครั้งในโครงการให้สินเชื่อเพื่อคุ้มครองธุรกิจ (Paycheck Protection Program หรือ PPP)
โดยโครงการ PPP ดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายการอนุมัติเงินช่วยเหลือธุรกิจทั่วประเทศสหรัฐฯซึ่งจะใช้เม็ดเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (62,780,000,000,000 บาท) โดยรายระเอียดของโครงการจะเป็นการให้เงินกู้ยืมแบบให้เปล่าเพื่อช่วยเหลือกับธุรกิจขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี)จำนวนไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (313,900,000 บาท) ต่อราย
ซึ่งผลจากการดำเนินงานปรากฏว่ามีการให้เงินกับธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4.9 ล้านแห่ง คิดเป็นเม็ดเงินให้กู้ยืมจำนวนทั้งสิ้น 5.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (16,354,190,000,000 บาท) และขณะนี้เหลือเงินในโครงการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กแค่ประมาณ 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,174,870,000 บาท)
อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการว่าด้วยวิกฤติโคโรน่าไวรัสได้ออกบทวิเคราะห์ว่าโครงการ PPP น่าจะมีการทุจริต โดยมีการเปลี่ยนเส้นทางการเงินจากที่ควรจะต้องจ่ายให้กับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการเงินจริงๆไปสู่ธุรกิจซึ่งขาดคุณสมบัติหรือแม้แต่องค์กรอาชญากรรม
โดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวนั้นมีขึ้นหลังจากที่คณะอนุกรรมการฯได้รับฟังการให้ปากคำของนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงบ่ายวันที่ 1 ก.ย.
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (อ้างอิงรูปภาพจาก https://variety.com/2019/politics/news/mnuchn-ratpac-dune-jackie-speier-1203125377/)
“ก่อนหน้านี้นายมนูชินได้ให้การว่าการให้เงินช่วยเหลือแกก่ธุรกิจที่ต้องการอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย” นายจิม คลเบิร์น ส.ส.จากพรรคเดโมแครต และประธานคณะอนุกรรมการว่าด้วยวิกฤติโคโรน่าไวรัสกล่าวในแถลงการณ์
อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการฯพบว่ามีการจ่ายเงินกู้จำนวน 10,000 ครั้งซึ่งผู้รับเงินได้รับเงินกู้เป็นจำนวนมากกว่า 1 ครั้ง โดยขณะนี้มีการทบทวนเรื่องความถูกต้องของเงินกู้ที่มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (62,780,000 บาท) ในการให้เงินกู้คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 65 ครั้ง
ทั้งนี้จากการสอบสวนในรายละเอียดพบว่ามีการให้เงินกู้จำนวน 600 ครั้งคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,139,000,000 บาท) ซึ่งปรากฎว่าเงินกู้เหล่านี้นั้นมีเส้นทางการเงินไปสู่บริษัทหลายแห่งที่ถูกรัฐบาลกลางลงโทษห้ามไม่ให้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
และมีการให้เงินกู้มากกว่า 350 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าเกือบ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (6,278,000,000 บาท)ซึ่งปรากฎว่า เงินกู้เหล่านั้นไปสู่อดีตบริษัทคู่สัญญารัฐบาลจำนวนประมาณอย่างน้อย 11,000 แห่ง ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้ลงโทษไม่ให้บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจกับรัฐบาลอีกต่อไปเนื่องจากมีปัญหาทั้งในประเด็นเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใส
จากการสอบปากคำกระทรวงการคลังในเรื่องประเด็นการประเมินความเสี่ยงด้านการให้กู้เงิน ทางกระทรวงการคลังได้ชี้แจงกับทางคณะอนุกรรมการฯโดยยืนยันว่าการให้กู้เงินที่มีมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจะมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีการจำกัดจำนวนการใช้จ่ายงบประมาณเอาไว้
ขณะที่ทางด้านของนายจิม บิลลิมอเรีย ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจขนาดเล็กซึ่งรับผิดชอบเงินช่วยเหลือก็ได้ชี้แจงกับทางผู้สื่อข่าวว่ามีการส่งรายงานผลการประกอบการให้กับทางสมาชิกคณะอนุกรรมการซึ่งมาจากทางพรรครีพับบลิกันแล้ว
ส่วนทางด้านของนายมาร์ค วอลช์ ผู้อำนวยการบริษัท FactSquared ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลที่กรุงวอชิงตันดีซี และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านการลงทุนและนวัตกรรม ในคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจขนาดเล็กในช่วงนายบารัค โอบามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯก็ได้ให้การว่า เรื่องประเด็นทุจริตเงินเยียวยานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว
ขั้นตอนการสมัครขอรับเงินกู้ของภาคธุรกิจในโครงการ PPP (อ้างอิงวิดีโอจากช่อง SKIP)
นายวอลช์กล่าวต่อไปว่าแต่สิ่งที่สำคัญก็คือการประเมินระดับการทุจริตว่าอยู่ที่ระดับไหน และการติดตามเส้นทางการทุจริตที่เกิดขึ้น ซึ่งการจะทำให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ก็คือการใช้คนนอกเข้ามาร่วมกันตรวจสอบในกระบวนการการสมัครเพื่อจะรับเงินเยียวยา โดยมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่จะต้องการเงินเยียวยาอย่างเร่งด่วน อาทิ ร้านอาหารที่ต้องสูญเสียลูกค้าจากสถานการณ์โรคระบาด และต้องเพิ่มโทษถ้าหากพบว่ามีการกระทำความผิดด้านการกู้เงินหรือการยักย้ายถ่ายเทเงินอันไม่เหมาะสม
ขณะที่นายไคล์ เฮอร์ริก ประธานองค์กร Accountable.US ซึ่งเป็นองค์กรไม่สังกัดรัฐบาลที่ตรวจสอบการใช้จ่ายของภาครัฐได้ระบุว่าการบริหารและการรายงานในโครงการให้เงินกู้ของรัฐบาลสหรัฐฯต่อภาคธุรกิจควรจะต้องมีการเปิดเผยและมีการกำกับดูแลมากกว่านี้
“ทีมงานบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯล้มเหลวในการออกแบบให้โครงการสามารถช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและคนงานได้อย่างแท้จริง เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงภาษีประชาชนได้ก็กลายเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับทางรัฐบาลอันเนื่องมาจากความไม่โปร่งใสของโครงการนี้ ”นายไคล์กล่าว
โดยก่อนหน้านั้นทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็เคยถูกกดดันจากทางรัฐสภาถึงประเด็นเครื่องความโปร่งใสในโครงการ PPP มาแล้วครั้งหนึ่ง จนทำให้กระทรวงการคลังต้องแก้ไขระเบียบการการให้เงินเยียวยา ด้วยการเปิดชื่อบริษัทบางส่วนที่สมัครเข้าโครงกร PPP แต่ก็ยังคงมีการปกปิดชื่อบริษัทที่ได้รับเงินเยียวยาต่ำกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,708,500 บาท)
อย่างไรก็ตามทางด้านของนายนีล บารอฟสกี อดีตผู้ตรวจสอบการใช้จ่ายในโครงการช่วยเหลือในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ได้กล่าวว่า การป้องกันการทุจริตจากโครงการนี้ที่แท้จริง คณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจขนาดเล็กควรจะต้องเปิดเผยรายชื่อบริษัทผู้ที่เข้าโครงการ PPP ทุกรายชื่อโดยไม่มีข้อยกเว้น เพื่อจะตรวจสอบได้ว่าเส้นทางเงินกู้นั้นไปอยู่ที่ไหนบ้าง
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage