คดีตัวอย่างของบริษัทจากประเทศจีนเหล่านี้นั้นทำเห็นได้ชัดเจนเลยว่าโครงการวันเบลท์วันโรดของประเทศจีนนั้นมีจุดอ่อนและข้อเสียที่สำคัญที่สุดก็คือประเด็นการให้สินบน ไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากโครงการแต่อย่างใด โดยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสัญญาหลายสัญญาอันเกี่ยวข้องกับโครงการวันเบลท์วันโรดนั้นไม่มีการประกวดราคา และมีการเจรจาในทางลับ ซึ่งข้อเสียก็คือว่านี่จะเป็นโอกาสนำเป็นสู่การทุจริตที่สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้ง 2 ฝ่ายที่ทำสัญญา
------------------
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการฆ่าตัวตายอย่างปริศนาของนายเฉิน เฟิ่นเจี้ยน (Chen Fenjian) อดีตผู้บริหารรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศจีนจำนวน 2 แห่งซึ่งมีส่วนในการรับผิดชอบโครงการวันเบลท์วันโรด (โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างประเทศต่างๆทั้งในยุโรปและเอเชียเข้าสู่ประเทศจีน)
นายเฉิน เฟิ่นเจี้ยน (Chen Fenjian) อดีตผู้บริหารรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศจีน (อ้างอิงรูปภาพจาก https://sg.news.yahoo.com/china-railway-construction-chairman-chen-063140235.html)
นายเฉิน เฟิ่นเจี้ยน ขณะกำลังเข้าพบนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2561 (อ้างอิงรูปภาพจาก http://asean.dla.go.th/public/news.do?cmd=news&category=2&nid=18060&lang=th&random=1535081564572)
โดยหนึ่งในรัฐวิสาหกิจเหล่านั้นได้แก่บริษัทการสื่อสารและการก่อสร้างแห่งประเทศจีนหรือ China Communications Construction Company (CCCC) ซึ่งนายเฉินได้เคยเป็นประธานบริษัทตั้งแต่เดือนเม.ย. 2557-เดือน ก.ค. 2561 และบริษัทการก่อสร้างทางรถไฟแห่งประเทศจีนหรือ China Railway Construction Corporation (CRCC) ซึ่งนายเฉินดำรงตำแหน่งประธานบริษัทตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561 จนกระทั่งวันที่เขาเสียชีวิต
บริษัท China Communications Construction Company (CCCC) (อ้างอิงรูปภาพจาก http://www.china.org.cn/top10/2012-04/20/content_25195668.htm)
บริษัท China Railway Construction Corporation (CRCC) (อ้างอิงรูปภาพจากเฟซบุ๊กบริษัท)
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอเชีย เซนตินัล ของฮ่องกงได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า การฆ่าตัวตายอย่างปริศนาดังกล่าวนั้นอาจมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการทุจริต เนื่องจากว่าบริษัท CCCC ถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่ามีพฤติกรรมคอรัปชั่น และก่อนหน้านี้เมื่อช่วงปี 2552 บริษัท CCCC ก็เคยถูกแบนไม่ให้ทำธุรกิจเป็นระยะเวลา 6 ปี เนื่องจากกรณีการทุจริตในกระบวนการประกวดราคาในโครงการก่อสร้างทางด่วนที่ประเทศฟิลิปปินส์
นายเฉินเสียชีวิตด้วยวัย 58 ปี จากการพลัดตกอาคารสูงในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการรายงานของสื่อจีนระบุว่าเป็นการฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในวันที่ 15 ส.ค. หรือ 1 วันก่อนที่นายเฉินเสียชีวิต ทีมสืบสวนจาก คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจของจีน (SASAC) ได้ดำเนินการสืบสวนบริษัท CRCC ในข้อหาทุจริต
ซึ่งแม้จะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่พบว่านายเฉินเกี่ยวข้องกับประเด็นการทุจริต แต่ก็พบว่านับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นปีที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้เริ่มมาตรการการปราบปรามการทุจริต มีเจ้าหน้าที่ทั้งรัฐวิสาหกิจและธนาคารของประเทศจีนจำนวนมากกว่า 260 รายเสียชีวิตด้วยเหตุผิดธรรมชาติเช่นเดียวกับนายเฉิน อาทิ การตกตึก,การแขวนคอ,ถูกวางยาพิษ,ถูกยิง หรือแม้แต่จมน้ำ
การลงโทษบริษัท CCCC
สำหรับบริษัทอีกแห่งที่นายเฉินได้เคยบริหาร ซึ่งก็คือบริษัท CCCC พบว่าเมื่อประมาณวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมานี้ กระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกมาตรการลงโทษบริษัทจากประเทศจีนจำนวน 24 แห่ง รวมไปถึงบริษัท CCCC ในข้อหาว่าบริษัทแห่งนี้ได้ช่วยเหลือกองทัพจีนในการสร้างเกาะเทียมในพื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยมาตรการลงโทษนั้นระบุชัดเจนว่าห้ามไม่ให้บริษัทของสหรัฐฯทำธุรกรรมการซื้อขายใดๆกับบริษัทสัญชาติจีนที่ถูกลงโทษเหล่านี้
ซึ่งหนึ่งในถ้อยคำแถลงการณ์จากทางกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯที่ออกมาเมื่อวันที่ 26 ส.ค. ได้ระบุไว้ว่าบริษัท CCCC ซึ่งเป็นบริษัทที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ใช้เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายวันเบลท์วันโรด รวมไปถึงบริษัทในเครือข่ายต่างๆนั้นมีพฤติกรรมทุจริต พฤติกรรมการดำเนินธุรกิจที่ไม่ชอบในหลายประเทศทั่วโลก
โดยหนึ่งในข้อทุจริตที่ทางกระทรวงพาณิชย์ฯได้อ้างถึงก็คือ โครงการการเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกของประเทศมาเลเซีย (ECRL) ซึ่งโครงการดังกล่าวนั้น ปรากฏข้อมูลว่าบริษัท CCCC ได้เข้าไปเป็นผู้รับเหมาหลักในโครงการ
ซึ่งในช่วงปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มโครงการ ECRL นั้นปรากฏว่านายเฉินได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัท CCCC และนายนาจิบ ราซัค เป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย โดยมูลค่าของโครงการ ECRL นั้นอยู่ที่ 6.55 หมื่นล้านริงกิต (492,656,350,500 บาท) ซึ่งแพงกว่าราคารับเหมาที่ควรจะเป็นในท้องตลาดอยู่หลายเท่า
และต่อมาหลังจากที่นายนาจิบแพ้การเลือกตั้งในเดือน พ.ค. 2561 ก็มีกระบวนการสอบสวนการทุจริตในโครงกร ECRL อย่างจริงจังในรัฐบาลถัดมา โดยในเดือน ก.ค. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของมาเลเซียหรือ MACC ได้บุกเข้าตรวจค้นสำนักงานโครงการ ECRL แต่ก็ไม่พบข้อทุจริตแต่อย่างใด
พอมาถึงปี 2562 รัฐบาลของนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด ก็ได้ดำเนินการเจรจาหน่วยงานในประเทศจีนอีกครั้ง และปรากฏว่าสามารถลดราคาโครงการ ECRL ไปอยู่ที่ราคา 4.4 หมื่นล้านริงกิต (330,944,724,000 บาท) จากเดิมที่มีราคาโครงการทั้งสิ้น 6.55 หมื่นล้านริงกิต
ส่วนที่ประเทศบังกลาเทศก็พบกรณีที่บริษัทวิศวกรรมท่าท่าเรือจีนหรือบริษัท China Harbor Engineering Corp ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท CCCC ได้ถูกขึ้นบัญชีดำจากทางรัฐบาลบังกลาเทศ เนื่องจากตรวจพบว่าบริษัท China Harbor Engineering มีพฤติกรรมการให้เงินสินบนเจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศ
โดยในช่วงปี 2554 ศาลบังกลาเทศได้พิพากษาจำคุกนายอฟารัต รามัน โคโค่ (Arafat Rahman Koko) ลูกชายของนางคาเลดา เซีย (Khaleda Zia) อดีตนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศเป็นระยะเวล 6 ปี ในข้อหาว่านายอฟารัตได้รับสินบนเป็นจำนวน 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (83,178,200 บาท) จากทั้งบริษัท China Harbor Engineering และจากบริษัทซีเมนส์ ของประเทศเยอรมนี และนายอฟารัตยังถูกพิพากษาว่ามีความผิดในอีกกระทงในข้อหาว่าได้ฟอกเงินเป็นจำนวน 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯดังกล่าวในประเทศสิงคโปร์
ซึ่งทางด้านของนายเดน คามอร์โร ผู้เชี่ยวชาญบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงในประเทศสิงคโปร์ก็ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่าคดีตัวอย่างของบริษัทจากประเทศจีนเหล่านี้นั้นทำเห็นได้ชัดเจนเลยว่าโครงการวันเบลท์วันโรดของประเทศจีนนั้นมีจุดอ่อนและข้อเสียที่สำคัญที่สุดก็คือประเด็นการให้สินบน ไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากโครงการแต่อย่างใด โดยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสัญญาหลายสัญญาอันเกี่ยวข้องกับโครงการวันเบลท์วันโรดนั้นไม่มีการประกวดราคา และมีการเจรจาในทางลับ ซึ่งข้อเสียก็คือว่านี่จะเป็นโอกาสนำเป็นสู่การทุจริตที่สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้ง 2 ฝ่ายที่ทำสัญญา
นายคาเมอร์โรกล่าวต่อไปว่าโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆนั้น เป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตที่สูงมาก เพราะมีเม็ดเงินมหาศาลเข้ามาในโครงการ และโครงการใหญ่ๆอาทิ การก่อสร้างถนน การก่อสร้างทางรถไฟ จำเป็นที่จะต้องอาศัยกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนที่จะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งนี่จะนำไปสู่การทุจริต และการให้สินบนในระดับมโหฬารเพื่อให้บริษัทผู้ก่อสร้างได้รับสิทธิ์ดังกล่าวได้ ซึ่งสิ่งนี่ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ทั้งนี้ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการทำธุรกิจของบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งสังกัดภายใต้บริษัท CCCC ที่ชื่อว่าบริษัท CCCC Dredging ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็ถูกทางรัฐบาลสหรัฐฯออกมาตรการลงโทษเช่นกัน
โดยพบว่าในช่วงปลายปี 2558 บริษัทได้ยกเลิกแผนการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือว่า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ของฮ่องกง ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (31,270,000,000 บาท) เนื่องจากพบข้อมูลว่าบริษัท CCCC Dredging นั้นมีกิจกรรมการขุดลอกพื้นดิน ในพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลีย์ แต่ว่าทางบริษัท CCCC Dredging กลับปฏิเสธที่จะเปิดเผยเรื่องนี้ในหนังสือชี้ชวน IPO
ส่วนทางด้านของนายจ้าวลี่เจียน (Zhao Lijian) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนก็ได้แถลงข่าวและยืนยันว่ากิจกรรมการก่อสร้างของบริษัทจีนนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทหารแต่อย่างใด และโครงการการก่อสร้างของบริษัทก็อยู่บนพื้นที่อันเป็นดินแดนของประเทศจีน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ
นายจ้าวยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่าการกระทำของประเทศสหรัฐฯนั้นถือได้ว่าเป็นการก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศจีนและยังเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักธรรมเนียมปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นายจ้าวลี่เจียน (Zhao Lijian) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.globaltimes.cn/content/1194138.shtml)
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อโครงการเยียวยา SME สหรัฐฯเจอปัญหากู้เงินซ้ำซ้อน-ฉ้อโกง 3 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage