"...การตรวจสอบภาคประชาชนและการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของกองทัพโดยหน่วยงานต่างๆนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะยืนยันว่าการใช้ทรัพยากรไปกับกองกำลังป้องกันประเทศนั้นจะไม่มีการทุจริตและจะไม่เป็นการสูญเปล่า และจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ด้วยว่าการใช้อำนาจของกองทัพนั้นจะไม่ไปขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ โดยกองทัพเองก็ควรจะมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าต้องการปกต้องความมั่นคงของประเทศมากกว่าที่จะมาจับต้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องการจะเปิดโปงการทุจริต..."
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ในสัปดาห์นี้จะพาไปดูประเด็นการคุกคามสื่อมวลชนในการทำหน้าที่ตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของกองทัพในประเทศชิลี ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์กรด้านความโปร่งใสนานาชาติและองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองการทำหน้าที่สื่อมวลชนในระดับนานาชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
โดยเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2562 หน่วยงานด้านความโปร่งใสนานาชาติ ได้ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานบังคับใช้ของกฎหมายของประเทศชิลี เร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน กรณีที่ปรากฏรายงานว่า ผู้สื่อข่าวสายสืบสวนสอบสวน นายมอริซิโอ เวเบล บาราโฮนา (Mauricio Weibel Barahona) ถูกกองทัพชิลีสอดแนม ทั้งถูกสะกดรอยตาม และดักฟังโทรศัพท์ ในช่วงปี 2559 ซึ่งระหว่างนั้นเขากำลังทำข่าวสืบสวนการทุจริตในกองทัพชิลี
นายมอริซิโอ เวเบล บาราโฮนา (Mauricio Weibel Barahona) ผู้สื่อข่าวสายสืบสวนสอบสวน
ในช่วงเวลาที่มีการสอดแนมนั้น นายเวเบล กำลังทำงานที่สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนชื่อว่า The Clinic ก่อนที่ในช่วง มิ.ย. 2559 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆของสำนักข่าวถูกโจรกรรมไป ซึ่งอาคารที่ทำการของสำนักข่าวนั้น ก็เป็นที่ตั้งเดียวกับที่ตั้งขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติสาขาประเทศชิลี
นิตยสารข่าวของสำนักข่าว The Clinic
ที่ผ่านมา ทางด้านองค์กรเพื่อความโปร่งใสสาขาชิลี ได้ออกมายืนยันข้อมูลแล้วว่า ข้อมูลการสืบสวนและสอบสวนประเด็นการทุจริตต่างๆนั้นถูกรักษาไว้อย่างปลอดภัย
“การสอดแนมผู้สื่อข่าวนั้นถือเป็นการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ ซึ่งไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมประชาธิปไตย”นายอัลเบอร์โต เพรช (Alberto Precht) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขององค์กรเพื่อความโปร่งใสสาขาชิลีกล่าว
พร้อมระบุว่า กระบวนการสืบสวนสอบสวนในกรณีนี้นั้นไม่ได้ดำเนินการเฉพาะแค่พฤติกรรมสอดแนมเท่านั้น แต่รวมไปถึงพฤติกรรมอันต้องสงสัยที่เกิดขึ้นรอบตัวนายเวเบลและสำนักข่าว The Clinic ด้วย
ขณะที่นาง เดเลีย เฟอเรริโอ รูบิโอ (Delia Ferreira Rubio) ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้ออกมากล่าวว่า การทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวสายสืบสวนสอบสวนเพื่อเปิดโปงการทุจริตนั้น ผู้สื่อข่าวมีสิทธิในทุกกรณีที่จะรักษาความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของแห่งข่าว พฤติกรรมการบุกรุก การละเมิด ที่กระทำโดยรัฐที่กระทบต่อความเป็นวิชาชีพสื่อมวลชน รวมไปถึงความเป็นส่วนตัวในชีวิตของผู้สื่อข่าวนั้นถือได้ว่าขัดต่อหลักการข้อตกลงว่าด้วยต่อต้านทุจริตนานาชาติ และยังขัดต่อหลักการของความเป็นสังคมที่เปิดเผย
ส่วน นายสตีฟ ฟรานซิส ผู้อำนวยการองค์กรเพื่อความโปร่งใสฯ ด้านความมั่นคง กล่าวว่า การตรวจสอบภาคประชาชนและการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของกองทัพโดยหน่วยงานต่างๆนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะยืนยันว่าการใช้ทรัพยากรไปกับกองกำลังป้องกันประเทศนั้นจะไม่มีการทุจริตและจะไม่เป็นการสูญเปล่า และจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ด้วยว่าการใช้อำนาจของกองทัพนั้นจะไม่ไปขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ โดยกองทัพเองก็ควรจะมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าต้องการปกต้องความมั่นคงของประเทศมากกว่าที่จะมาจับต้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องการจะเปิดโปงการทุจริต
เบื้องต้น งค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ และในระดับสาขาของประเทศชิลี ได้เรียกร้องให้หน่วยงานตุลาการของประเทศชิลีเข้าไปตรวจสอบในประเด็นการดักฟังโทรศัพท์ของนายเวเบลต่อไปตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ด้วย
อนึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานออกมาจากทางเว็บไซต์คณะกรรมการเพื่อคุ้มครองสื่อมวลชน (Committee to Protect Journalists: CPJ)ด้วยเช่นกัน โดยอ้างอิงข่าวจากสำนักข่าว La Tercera ซึ่งเป็นสำนักข่าวภาษาสเปนสัญชาติชิลี ระบุว่า ทางหน่วยข่าวกรองกองทัพชิลีขณะนี้ถูกกล่าวหาว่ามีการใช้ปฏิบัติการ W ที่มุ่งเน้นไปที่การสอดแนมตัวนายเวเบลซึ่งทำงานให้กับทั้งสำนักข่าว The Clinic และสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น TVN ขณะที่ นายเวเบล กำลังทำวิจัยและเขียนหนังสือชื่อว่า การขายชาติต่อแผ่นดินเกิด (Treason to the Homeland:Traición a la Patria) ซึ่งเนื้อหาในหนังสือมีการกล่าวหาว่ากองทัพชิลลีนั้นมีพฤติกรรมการยักยอกเงิน
หนังสือชื่อการขายชาติต่อแผ่นดินเกิด (Treason to the Homeland:Traición a la Patria) เขียนโดยนายเวเบล
สำนักข่าว La Tercera ระบุด้วยว่า เหตุผลที่กองทัพชิลีดำเนินการสอดแนมและดักฟังโทรศัพท์นายเวเบล นั้น เนื่องจากสงสัยว่าอดีตนายทหารของกองทัพที่เกษียณไปแล้วจะเป็นผู้ที่ปล่อยเอกสารอันเกี่ยวกับความผิดปกติภายในกองทัพไปให้กับนายเวเบล
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 12 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา นายอัลเบอร์โต เอสพินา (Alberto Espina) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของชิลี ได้ออกมาตอบโต้ผ่านการแถลงข่าวว่าปฏิบัติการดังกล่าวนั้นดำเนินภายใต้กรอบของกฎหมาย และตัวเขาเองได้ขออนุญาตจากทางสำนักอัยการทหารเพื่อจะดำเนินการสืบสวนแล้วด้วยว่าเอกสารในชั้นความลับหลุดออกไปได้อย่างไร
นายอัลเบอร์โต เอสพินา (Alberto Espina)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของชิลี
หลังจารแถลงข่าวดังกล่าว ของรัฐมนตรีกลาโหมชิลี สิ้นสุดลง ทางด้าน CPJ ได้ติดต่อไปยังหน่วยงานด้านกฎหมายของชิลีทันที เพราะเห็นว่าการสอดแนมผู้สื่อข่าวนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
โดยนางนาตาลี เซาธ์วิก ผู้ประสานงานของ CPJ ในภูมิภาคอเมริกาใต้และอเมริกากลางกล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้สื่อข่าวจะดำเนินการตรวจสอบทุจริตได้โดยอิสระและไม่ตกเป็นเป้าหมาย
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวด้วยว่า ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกิลเลอโม ไพวา (Guillermo Paiva) ผู้อำนวยการด้วยข่าวกรองของกองทัพได้เข้าไปให้ปากคำต่อทางกรรมาธิการของรัฐสภาแล้ว
โดยระบุว่าการดักฟังโทรศัพท์นั้นได้มีการขออนุญาตต่อศาลเรียบร้อยแล้ว
นายกิลเลอโม ยืนยันว่า การดักฟังโทรศัพท์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย ซึ่งชาวชิลีทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือไม่ก็ตาม
ขณะที่ นายเวเบล ก็ได้มีการโทรศัพท์มาปรึกษาและบอกเล่าถึงพฤติกรรมการสอดแนมกับทาง CPJ ด้วยเช่นกัน โดยเขายืนยันว่า จะขอความช่วยเหลือจากทางสหภาพสื่อมวลชนของชิลี และจะไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานทางด้านกฎหมายต่างๆอาทิ ประธานศาลฎีการ,สำนักงานอัยการ,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อหารือในการดำเนินการทางกฎหมายต่อไปด้วย
(เรียบเรียงจาก: https://www.transparency.org/news/pressrelease/chile_must_investigate_military_spying_on_investigative_journalist1, https://cpj.org/2019/08/chile-accused-spying-journalist-mauricio-weibel.php)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก