เรือ Rhosus แท้จริงแล้วถูกปล่อยเช่าให้นายเกรชุชกินโดยบริษัทที่จดทะเบียนที่เกาะมาร์แชล ซึ่งมีชื่อว่า Teto Shiping โดยเจ้าของเรือที่แท้จริงนั้นก็คือบริษัทที่ชื่อว่า Briarwood Corporation ซึ่งบริษัท Briarwood ก็ถูกจดทะเบียนที่ประเทศปานามาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการจดและจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขต....จากการสืบค้นข้อมูลเอกสารในศาลที่ประเทศไซปรัสก็พบว่าบริษัท Briarwood นั้นถูกจัดตั้งโดยนักธุรกิจชาวไซปรัสชื่อว่านายคาราลัมบอส มาโนลี
---------------------------
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นการสืบสวนเบื้องหลังเหตุการณ์ระเบิดที่ท่าเรือเบรุต ประเทศเลบานอนเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 4,000 ราย ซึ่งที่มาของการระเบิดมาจากสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรทจำนวน 2,750 ตันที่ใช้ทำระเบิด ซึ่งทางการเลบานานนำมาเก็บไว้ในคลังสินค้าหมายเลข 12 ของท่าเรือที่อยู่ใกล้พื้นที่ชุมชนนับตั้งแต่ปี 2556
โดยสารแอมโมเนียมไนเตรททั้งหมดถูกขนส่งจากเรือขนส่งสินค้า MV Rhosus สัญชาติมอลโดวา ที่ชาวรัสเซียเป็นเจ้าของ เป็นผู้ขนส่งสารเคมีอันตรายดังกล่าวออกจากเมืองบาทูมี ประเทศจอร์เจีย มุ่งหน้าไปยังเมืองเบียรา ประเทศโมซัมบิก แต่ระหว่างทางกลับเกิดปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้จำเป็นต้องเทียบท่าที่กรุงเบรุต เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556
ซึ่งพอหลังเข้าเทียบท่า ปรากฏว่าเรือ Rhosus ถูกเจ้าหน้าที่การท่าเรือสั่งห้ามนำเรือออกทะเล เนื่องจากผลตรวจสอบพบว่า เรือนั้นขัดข้องเกินกว่าจะออกทะเลได้ ทำให้ลูกเรือและกัปตันชาวรัสเซียและชาวยูเครนต้องสละเรือ ขณะที่ทางการเลบานอนพยายามติดต่อเจ้าของเรือ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ท้ายที่สุดสารแอมโมเนียมไนเตรททั้งหมดจึงตกเป็นภาระรับผิดชอบของการท่าเรือเลบานอน ซึ่งได้เคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าหมายเลข 12 ของท่าเรือเบรุตในเวลาต่อมา ขณะที่เรือ Rhosus ก็ได้จมลงและเกยตื้นอยู่ในบริเวณท่าเรือเลบานอน
อย่างไรก็ตามทางด้านของสำนักข่าวในโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตคอรัปชั่น (OCCRP) ซึ่งเป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่อต้านคอรัปชัน ได้จัดทำรายงานผลการสืบสวนฉบับหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ระเบิดนั้นอาจเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายมากกว่าที่คิด
ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้นำรายงานดังกล่าวมาเรียบเรียงและนำเสนอดังนี้
เจ้าของตัวจริงของเรือ Rhosus
หลังจากเกิดเหตุระเบิด ทั้งสื่อและเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างโทษชี้นิ้วไปที่นายอิกอร์ เกรชุชกิ้น ชาวรัสเซีย วัย 43 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศไซปรัส เนื่องจากนายอิกอร์นั้นถูกระบุชื่อว่าเป็นเจ้าของเรือ Rhosus
ซึ่งทางด้านของสำนักข่าว OCCRP ก็ได้พยายามติดต่อสัมภาษณ์นายอิกอร์ แต่ทางนายอิกอร์ก็ได้หลีกเลี่ยงที่จะให้สัมภาษณ์กับหน่วยงานต่างๆมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา นายเกรชุชกิ้น ได้เคยเข้าให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของไซปรัส หลังจากที่ทางการเลบานอนได้ยื่นหนังสือร้องขอไป
นายอิกอร์ เกรชุชกิ้น (รูปซ้าย) ผู้ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของเรือ Rhosus (รูปบน) และกรุงเบรุตซึ่งย่อยยับจากการระเบิด (รูปขวา) (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.sickchirpse.com/russian-businessman-beirut-cargo-ammonium-nitrate/)
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเอกสารของหน่วยงานพาณิชย์นาวีของประเทศมอลโดวา พบว่านายเกรชุชกิ้น ไม่ได้เป็นเจ้าของเรือลำดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ปรากฏว่าเรือ Rhosus แท้จริงแล้วถูกปล่อยเช่าให้นายเกรชุชกินโดยบริษัทที่จดทะเบียนที่เกาะมาร์แชล ซึ่งมีชื่อว่า Teto Shiping โดยเจ้าของเรือที่แท้จริงนั้นก็คือบริษัทที่ชื่อว่า Briarwood Corporation ซึ่งบริษัท Briarwood ถูกจดทะเบียนที่ประเทศปานามาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการจดและจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขตหรือที่เรียกกันว่า Offshore
ซึ่งแม้ว่ากฎหมายประเทศปานามาจะปกปิดชื่อเจ้าของบริษัทที่แท้จริง แต่จากการสืบค้นข้อมูลเอกสารในศาลที่ประเทศไซปรัสก็พบว่าบริษัท Briarwood นั้นถูกจัดตั้งโดยนักธุรกิจชาวไซปรัสชื่อว่านายคาราลัมบอส มาโนลี (Charalambos Manoli) ในปี 2555
นายคาราลัมบอส มาโนลี นักธุรกิจชาวไซปรัสซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของเรือ Rhosus ตัวจริง (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.mold-street.com/?go=news&n=10883)
โดยนายมาโนลียังมีบริษัทอีกจำนวน 3 แห่ง ซึ่งทั้งหมดนั้นมีส่วนร่วมทำให้เรือ Rhosus ได้รับสัญชาติประเทศมอลโดวา,ช่วยเหลือในเรื่องของการออกใบรับรองว่าเรือ Rhosus สามารถเดินทางออกทะเลได้ และช่วยเหลือในเรื่องการเป็นคนกลางประสานให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เรือ Rhosus ยังคงสามารถเดินทะเลได้ แม้ว่าเรือจะมีสภาพที่เลวร้ายมากก็ตาม
ซึ่งจากการสืบข้อมูลเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องระหว่างนายมาโนลีและเรือ Rhosus ก็พบว่ามีบริษัทของนายมาโนลีที่ชื่อว่า Geoship Company SRL ซึ่งมีส่วนในการรับผิดชอบในการจดทะเบียนเรือ Rhosusในประเทศมอลโดวา ซึ่งประเทศนี้ก็ได้ชื่อว่ามีปัญหาทั้งด้านความโปร่งใส และการตรวจสอบความปลอดภัยของเรือที่จะมาจดทะเบียน
ขณะที่บริษัทของนายมาโนลีอีกแห่งที่ชื่อว่า Maritime Lloyd ซึ่งจดทะเบียนในประเทศจอร์เจีย โดยทำหน้าที่ให้ใบรับรองการเดินทะเลแก่เรือ Rhosus ก็พบว่าบริษัทนี้ถูกขายไปตั้งแต่ช่วงปี 2562
โดยในช่วงปลาย ก.ค. 2556 มีข้อมูลว่าบริษัท Maritime Lloyd ได้ออกใบรับรองฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่าเรือ Rhosus นั้นถูกสร้างมอย่างปลอดภัย แต่ไม่กี่วันหลังจากที่มีการออกใบรับรอง เจ้าหน้าที่ของท่าเรือเมืองเซบียา ประเทศสเปนก็ได้กักเรือ Rhosus เอาไว้เนื่องจากพบว่าเรือมีข้อบกพร่องถึง 14 จุดซึ่งรวมถึงระบบพลังงานสำรองบนเรือ
และแน่นอนว่าก็เป็นหน้าที่ของบริษัทดูแลและจัดการเรือของนายมาโนลีอีกแห่งที่ชื่อว่า Acheon Akti ซึ่งทำหน้าเป็นคนกลางที่เช่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากบริษัทให้เช่นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชื่อว่า Aggreko ในช่วง ส.ค. 2556 แต่บริษัท Acheon Akti ก็ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าเช่าให้กับบริษัท Aggreo แต่อย่างใด (อ้างอิงข้อมูลจากเอกสารหนี้สินที่ระบุที่ท่าเรือในกรุงเบรุต) และต่อมาในช่วงเดือน ต.ค. 2556 เรือ Rhosus ก็ได้ออกทะเลเที่ยวสุดท้ายจากท่าเรือเมืองบาทูมี ประเทศจอร์เจีย
ซึ่งทางด้านของนางเฮเลย แซมป์สัน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ประเทศอังกฤษได้ได้ให้ควมเห็นเอาไว้ว่าโครงสร้างของบริษัทหลายแห่งอันเกี่ยวข้องกับเรือ Rhosus นั้นบ่งชี้ได้ว่ามีความพยายามต้องการที่จะลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด และลดความรับผิดชอบของเจ้าของเรือตัวจริงให้ได้มากที่สุดเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์นายนายมาโนลีก็ได้ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวว่าตัวเขานั้นไม่ได้เป็นเจ้าของเรือ Rhosus แต่อย่างใด เนื่องจากบริษัท Briarwood ของเขาที่ปานามาได้ขายเรือ Rhosus ไปให้กับบริษัทของนายเกรชุชกิ้นที่มีชื่อว่า Teto Shipping ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 แล้ว
แต่พอเมื่อถามว่าจากข้อมูลเอกสารระบุว่าบริษัท Briarwood ยังคงเป็นเจ้าของเรือ Rhosus และปล่อยเช่าเรือให้กับบริษัท Teto Shipping นายมาโนลีก็ได้แก้คำแถลงของตัวเองใหม่โดยระบุว่าเขารู้ว่าบริษัท Briarwood ได้ให้ปล่อยเช่าเรือแก่ Teto Shipping จริงในช่วงปี 2555 แต่ว่าหลังจากนั้นในเดือน ส.ค. 2556 ก่อนที่เรือ Rhosus จะออกเดินทางเที่ยวสุดท้าย เขาก็ได้โอนหุ้นทั้งหมดในบริษัท Briarwood ที่ปานามาไปให้กับนาย เกรชุชกินแล้ว นั่นจึงทำให้นาย เกรชุชกินเป็นเจ้าของเรือ Rhosus ตัวจริง
“สินค้านั้นไปอยู่ที่ประเทศเลบานอนตั้งแต่ปี 2556 ไม่ใช่ตอนนี้ พวกเขาจับเรือที่ประเทศเลบานอน และเจ้าของเรือก็ถูกประกาศว่าล้มละลายไปเพราะว่าถูกยึดเรือ ดังนั้นจะใช้ชายคนนี้รับผิดชอบอะไรได้อีก( เกรชุชกิน) ในเมื่อปัญหามันเกิดขึ้นมาเพราะว่าทางการเลบานอนไม่สามารถรับผิดชอบกับสารเคมีได้ไม่ใช่หรือ” นายมาโนลีกล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าว OCCPR
นายมาโนลียังได้ปฏิเสธต่อไปด้วยว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกันในกลุ่มบริษัทของเขาซึ่งมีส่วนในการช่วยจดทะเบียนให้เรือ Rhosus แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม จากเอกสารจดทะเบียนระบุเพิ่มเติมว่าบริษัท Briarwood ที่ปานามานั้นมีที่อยู่สำหรับการส่งจดหมายและพัสดุเป็นที่อยู่เดียวกับบริษัทแห่งหนึ่งที่อยู่ในประเทศบัลแกเรียซึ่งปิดกิจการไปแล้ว โดยเป็นบริษัทที่ชื่อว่า Interfleet Shipmanagement และมีเจ้าของชื่อว่านายนิโคเลย์ เพทรอฟ ฮริสทอฟ (Nikolay Petrov Hristov)
โดยนายฮริสทอฟยืนยันว่าบริษัท Interfleet Shipmanagement ที่บัลแกเรียนั้นอยู่ในเครือเดียวกับ บริษัท Interfleet Shipmanagement ที่ประเทศไซปรัส ซึ่งมีนายมาโนลีเป็นเจ้าของบริษัท
นายฮริสทอฟกล่าวต่อไปด้วยว่าสาเหตุที่เขาต้องปิดกิจการบริษัทที่บัลแกเรียในปี 2555 ก็เนื่องมาตากว่านายมาโนลีนั้นพาเขาไปพัวพันเกี่ยวกับเงินกู้ในบัญชีธนาคาร FBME ที่เกาะซาฮาลิน โดยที่เขาไม่รับรู้มาก่อนแล้ว
ขณะที่นายมาโนลีก็ได้ยืนยันว่าบริษัท Interfleet Shipmanagement ที่บัลแกเรียนั้นไม่เกี่ยวกับเงินกู้ที่เกาะซาฮาลินแค่อย่างใด นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องการจัดการเชิงเทคนิค
ที่จอดเรือเที่ยวสุดท้าย
สำนักข่าว OCCRP ได้สืบสวนเพิ่มเติมพบว่าแม้นายเกรชุชกินไม่ได้เกี่ยวข้องในการเป็นเจ้าของเรือ Rhosus แต่ก็พบว่าเขาเกี่ยวข้องในส่วนการดูแลปฏิบัติการณ์ของเรือโดยตรง โดยมีรายงานจากกัปตันเรือเที่ยวสุดท้ายระบุว่านายเกรชุชกินออกคำสั่งให้นำเอาเรือเข้าเทียบท่าที่กรุงเบรุตก่อนที่จะออกกเดินทางไปยังประเทศโมซัมบิก
โดยนายบอริส โปรโคเชฟ กัปตันเรือได้เปิดเผยข้อมูลต่อไปว่าสาเหตุที่มีการออกคำสั่งให้หยุดเรือที่กรุงเบรุตอย่างเร่งด่วนในนาทีสุดท้ายก็เนื่องมาจากว่าต้องการที่จะรับรถบรรทุกและสินค้าอื่นๆเพื่อที่จะใช้จ่ายเป็นค่าผ่านทางคลองสุเอสที่ประเทศอียิปต์ แต่แผนดังกล่าวก็ไม่สามรถดำเนินต่อไปได้เนื่องจากประทบปัญหาตอนที่จะโหลดเอารถบรรทุกขึ้นดาดฟ้าเรือ
ขณะที่เอกสารจากกระทรวงกิจการสาธารณะและคมนาคมของเลบานอนก็ได้ยืนยันข้อมูลตามที่กัปตันเรือได้ให้การเอาไว้
และเมื่อเกิดปัญหานายเกรชุชกินก็ได้ทิ้งเรือและลูกเรือเอาไว้ และไม่ได้จ่ายเงินค่าบริการเทียบเรือกับทางการเลบานอนแต่อย่างใด ส่งผลทำให้กัปตันและลูกเรือต้องใช้เวลา 10 เดือนบนเรือ Rhosus โดยเมื่อทางการเลบานอนได้ขึ้นเรือในเดือน เม.ย. 2557 ก็พบว่าลูกเรือแทบจะไม่มีอาหารและเงินเหลืออยู่เลย หรือก็คือบริษัทของนายเกรชุชกินหยุดที่จะจ่ายเงินเดือนและหลีกเลี่ยงการติดต่อกับลูกเรือมาได้สักพักหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตามทางการเลบานอนรวมไปถึงศาลไม่ได้ทราบถึงความเกี่ยวข้องของนายมาโนลีที่มีต่อเรือ Rhosus แต่อย่างใด
เส้นทางการเดินเรือ Rhosus ก่อนจะมายุติที่ประเทศเลบานอน
ประเทศโมซัมบิก
ความน่าสงสัยอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือว่าทางเจ้าของโรงงานที่ประเทศโมซัมบิกซึ่งเป็นผู้ที่สั่งสารเคมีปลายทางนั้นไม่ได้แสดงความพยายามที่จะเอาสินค้าที่ถูกเก็บไว้ที่คลังสินค้าที่ประเทศเลบานอนคืนแต่อย่างใด
โดยจากการสืบค้นข้อมูลทางเอกสารของสำนักข่าว OCCRP ก็พบว่าโรงงานที่สั่งแอมโมเนียมไนเตรทนั้นได้แก่โรงงาน Fabrica de Explosivos de Mocambique ซึ่งโรงงานนี้มีความใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้ปกครองประเทศโมซัมบิก และยังพบอีกว่าเครือข่ายบริษัทเจ้าของโรงงานนั้นมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มลักลอบค้าอาวุธผิดกฎหมายที่มีส่วนขนส่งวัตถุระเบิดให้กับกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม
โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้น 95 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานนั้นเป็นของบริษัท Moura Silva & Filhos ซึ่งบริษัทแห่งนี้เป็นของครอบครัวนักธุรกิจชาวโปรตุเกสที่ชื่อว่าอันตินิโอ โมวรา เวียร่า (Antonio Moura Vieira)
ขณะที่ทางด้านของนายอันโตนิโอ คุนฮา วาส (Antonio cunha Vaz) โฆษกของทางบริษัท Fabrica de Explosivos ก็ได้ชี้แจงผ่านอีเมลว่าทางโรงงานได้สั่งสารแอมโมเนียมไนเตรทผ่านบริษัท Savaro Limited ให้ส่งสินค้า แต่เมื่อสารแอมโมเนียมไนเตรทมาไม่ถึงประเทศโมซัมบิก ทางโรงงานก็ได้ไปสั่งสินค้ากับบริษัทอื่น
รายการส่งสินค้าสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรทไปยังโรงงาน Fabrica de Explosivos
อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าบริษัท Moura Silva & Filhos เคยถูกสอบสวนว่ามีส่วนในการจัดหาวัตถุระเบิดซึ่งถูกใช้โดยกลุ่มก่อการรร้ายก่อเหตุระเบิดรถไฟที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน เมื่อปี 2547 จนเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 200 ราย และในปีต่อมาทางการโปรตุเกสก็ได้บุกเข้าโกดังของบริษัทจำนวน 4 แห่งหลังจากได้รับการร้องขอจากประเทศสเปน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจโปรตุเกสก็ได้ยึดสารที่เกี่ยวข้องกับการทำระเบิดซุกซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆได้เป็นจำนวนถึง 785 กิโลกรัม
มีรายงานต่อไปด้วยว่าเจ้าของบริษัท Fabrica de Explosivos คนปัจจุบันคือนายนูโร วิเอรา ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2555 ยังเคยเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกับนายจาซินโต ญูซี ลูกชายของนายฟีลีปึ ญูซี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของโมซัมบิก โดยนายจาซินโตยังเป็นเจ้าของบริษัทอีเวนต์และการตลาดในประเทศโมซัมบิก
โดยในช่วงปี 2555 นายนูโร วิเอราได้ร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจโมซัมบิกที่ชื่อว่า Monte Binga และกรมตำรวจลับของโมซัมบิกก่อตั้งบริษัท Mudemol ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดเพื่อป้อนให้กับกองทัพ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น นายฟีลีปึ ญูซี ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรงกลาโหม และต่อมาองค์การสหประชาชาติก็ได้กล่าวหาว่ารัฐวิสาหกิจ Monte Binga ได้ละเมิดมาตรการลงโทษจากนานาประเทศ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้เข้าไปทำข้อตกลงทางการทหารกับประเทศเกาหลีเหนือ
ขณะที่โรงงาน Fabrica de Explosivos ซึ่งเป็นโรงงานระเบิด และเป็นปลายทางของสินค้าบนเรือ Rhosus ก็พบข้อมูลอีกว่าโรงงานแห่งนี้ใช้ที่อยู่เดียวกับบริษัท ExploAfrica ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกครอบครองโดยครอบครัววิเอราอีกเช่นกัน
และเอกสารจากทางโครงการเฝ้าระวังความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ระบุว่าบริษัท ExploAfrica และบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่นๆนั้นกำลังถูกสอบสวนจากทางการแอฟริกาใต้และทางการโปรตุเกสในข้อหาว่าได้พยายามจัดหาอาวุธสัญชาติสหรัฐฯและสัญชาติเช็กเพื่อส่งให้กับกลุ่มนักลักลอบล่าสัตว์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่พรมแดนระหว่างแอฟริกาใต้และโมซิมบิก
ขณะที่บริษัท Investcon ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเคยเป็นนายหน้าในการซื้ออาวุธจาก ExploAfrica ก็พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทของนาย Bachir Suleman นักธุรกิจชาวโมซัมบิก ซึ่งถูกทางการสหรัฐฯกล่าวหาว่าเป็นเจ้าพ่อค้ายาเสพติด
อย่างไรก็ตาม นายอันโตนิโอ คุนฮา วาส (Antonio cunha Vaz) โฆษกของทางบริษัท Fabrica de Explosivos ก็ได้ชี้แจงผ่านอีเมลว่าที่ผ่านมามีการสอบสวนพนักงานบริษัท Moura Silva & Filhos โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้ว ซึ่งผลการสอบสวนก็ระบุชัดเจนว่าทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนการทำธุรกิจกับลูกชายของประธานาธิบดีโมซัมบิกก็เป็นไปโดยโปร่งใส และบริษัทรวมไปถึงบริษัท ExploAfrican ก็ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับนาย Bachir Suleman แต่อย่างใด
“ข้อตกลงที่บริษัท ExploAfrica ได้ทำไว้นั้นถูกกฎหมายทุกประการ และถ้าหากมีกรณีการใช้อาวุธด้วยจุดประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย ขอเรียนว่าทางบริษัท ExploAfrica ไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นหรือรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น”นายอันโตนิโอ คุนฮา วาสกล่าว
คนกลาง
ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Savaro Limited ซึ่งเป็นคนกลางในการจัดหาสารแอมโมเนียมไนเตรทให้กับโรงงาน Fabrica de Explosivos ก็พบว่าบริษัท Savaro Limited นั้นเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ไม่ได้มีกิจกรรมธุรกิจอยู่ที่ประเทศอังกฤษแต่อย่างใด
ข้อมูลการทำธุรกรรมของบริษัท Savaro Limited นั้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับบริษัท Savaro ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองดรีปรอ ประเทศยูเครน โดยทั้ง 2 บริษัทมีผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกันอยู่ที่ประเทศไซปรับและในสหรัฐฯ
สำหรับบริษัท Savaro ในประเทศยูเครนนั้นมีผู้อำนวยการบริหารได้แก่นายวลาดิเมีย เวอร์โบนอล ซึ่งนายเวอร์โบนอลก็ได้ให้สัมภาษณ์กับ OCCRP ว่าเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งของของเรือ Rhosus แต่อย่างใด
แต่ในเอกสารศาลได้ระบุว่าเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2558 บริษัท Savaro ได้ว่าจ้างทนายความจากประเทศเลบานอนเพื่อร้องเรียนต่อศาลเลบานอนให้ตรวจสอบสารแอมโมเนียมไนเตรทซึ่งถูกเก็บไว้ที่โกดังท่าเรือเบรุต
เอกสารที่บริษัท Savaro ประเทศยูเครนได้ยื่นต่อศาลประเทศเลบานอนเพื่อจะขอตรวจสารแอมโมเนียมไนเตรท
ซึ่งผลการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในครั้งนั้นพบว่าถุงใส่แอมโมเนียมไนเตรทขนาด 1 ตันหลายถึงจำนวนรวมกว่า 1,900 ตันมีรอยรั่วและสารที่อยู่ภายในทะลักออกมา
ในเอกสารยังได้ระบุด้วยว่าบริษัท Savaro ได้ปฏิเสธที่จะทดสอบทางเคมีกับสารแอมโมเนียมไนเตรทและยังไม่พบด้วยเช่นกันว่าบริษัทได้พยายามที่จะเอาสารแอมโมเนียมไนเตรทกลับไปแต่อย่างใด
ทั้งนี้มีรายงานเพิ่มเติมด้วยว่าที่บริษัท Savaro ก็ได้มีความพยายามที่จะหาผู้ที่จะมาซื้อสารแอมโมเนียมไนเตรทที่ถูกเก็บไว้ที่โกดังที่เลบานอนนี้เช่นกัน
ระเบิดที่ถูกละเลย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพยายามที่จะจัดการกับสารแอมโมเนียมไนเตรทนี้ก็พบว่าในตอนแรกทางศุลกากรเลบานอนได้เรียกร้องให้กองทัพเลบานอนได้รับเอาสารนี้ไป แต่ทางกองทัพก็ปฏิเสธและแนะนำให้เอาสารนี้ไปให้กับบริษัทผลิตัตถุระเบิดของเลบานอนที่ชื่อว่า Lebanese Explosives Co แต่ก็ไม่มีรายงานว่าบริษัทได้รับเอาสารนี้ไปหรือไม่
ทางกองทัพยังได้แนะนำต่อไปว่าให้ส่งสารแอมโมเนียมไนเตรทกลับไปที่ประเทศจอร์เจีย โดยให้ผู้ที่สั่งสารนี้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่เรื่องนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเช่นกัน โดยที่ไม่ทราบสาเหตุแต่อย่างใด
และต่อมาเมื่อเดือน ก.พ. 2561 ทางการเลบานอนก็ได้ละทิ้งความพยายามที่จะกำจัดสารแอมโมเนียมไนเตรทนี้โดยสิ้นเชิง ซึ่งหลังจากวันนั้นสารแอมโมเนียมไนเตรทก็ถูกกักเก็บไว้ที่ท่าเรือเลบานอน ในโกดังที่ไม่ได้มาตรฐานและรอวันที่จะระเบิด
โดยแม้ว่าในวันที่ 20 ก.ค. 2563 หรือ 2 สัปดาห์ก่อนการะเบิด หน่วยงานรักษาความปลอดภัยเลบานอนได้พยายามส่งรายงานไปถึงนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเลบานอนเพื่อเตือนถึงช่องโหว่ร้ายแรงในด้านความปลอดภัยของสารแอมโมเนียมไนเตรท เนื่องจากไม่มีการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยในประตูโกดังแต่อย่างใด ทำให้ง่ายต่อการเข้ามาลักขโมยสารเคมีเพื่อนำไปทำระเบิดเป็นอย่างยิ่ง
แต่คำเตือนนั้นก็ถูกเพิกเฉย
และต่อมาเมื่อวันที่ 4 ส.ค. ก็ได้เกิดเหตุระเบิดอันไม่ได้มาจากอาวุธนิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก ที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 100 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 4,000 ราย
ภาพถ่ายดาวเทียมก่อนและหลังการระเบิดที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.ndtv.com/world-news/before-and-after-havoc-in-lebanon-as-blasts-leave-over-100-dead-2274840)
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพบางส่วนจาก:https://www.occrp.org/en/investigations/a-hidden-tycoon-african-explosives-and-a-loan-from-a-notorious-bank-questionable-connections-surround-beirut-explosion-shipment
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage