"...เจ้าหน้าที่สอบสวนสืบสวนของโรมาเนียพบว่าหน้ากากอย่างน้อย 1 ล้านชิ้น พบว่ามีปัญหาไม่ตรงกับข้อมูลเชิงเทคนิคเกี่ยวกับหน้ากากทางการแพทย์ที่ได้ระบุเอาไว้ ยิ่งไปกว่านั้น มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานทางการแพทย์ของโรมาเนียซึ่งไม่ระบุชื่อรายหนึ่งได้ให้ข้อมูลกับ OCCRP ว่า หน้ากากทางการแพทย์นั้นมีคุณภาพพอๆกับขยะ โดยสายคล้องหูพร้อมที่จะขาดได้ทุกเมื่อสวมใส่ ..เบื้องต้น นายเอเดรียนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มก็ใช้หน้ากากแบบเดียวกับที่ได้ส่งไปทั่วประเทศโรมาเนีย และไม่พบว่ามีหน้ากากอันไหนชำรุด แต่ทางยูนิฟาร์มก็ไม่เลือกที่จะเสี่ยงชีวิตเจ้าหน้าที่ของทางรัฐวิสาหกิจ..."
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ประจำสัปดาห์นี้ ย้อนกลับไปดูประเด็นการทุจริตอันเกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด 19 กันอีกครั้ง
โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์องค์กรสื่อมวลชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่อต้านคอร์รัปชันหรือ The Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP) ได้เผยแพร่ข่าวกรณีผู้บริหารรัฐวิสาหกิจซึ่งทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้ถูกตั้งข้อหาว่าเรียกรับสินบนเป็นมูลค่า 760,000 ยูโร หรือประมาณ 26,335,090 บาท จากบริษัทเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่บริษัทฯ จะได้สัญญาการจัดส่งหน้ากากทางการแพทย์จำนวนหลายล้านชิ้น และชุดป้องกันการติดเชื้อหรือชุดพีพีอีอีกหลายพันชุดให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศโรมาเนียในช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
โดยหน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการทุจริตของโรมาเนียหรือ Romania’s Anti-Corruption Directorate (DNA) ได้เปิดเผยเอกสารว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ว่า ทาง DNA ได้ตั้งข้อหานายเอเดรียน โลเนล ประธานผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มในข้อหาว่ารับสินบนและใช้อำนาจโดยมิชอบ รวมไปถึงการทำสัญญาซึ่งละเมิดกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศโรมาเนีย โดยพฤติกรรมกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นในระหว่างการเจรจาเพื่อให้มีการเซ็นสัญญาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
ทั้งนี้ มีการกล่าวหาด้วยว่ารัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มนั้นได้รับสินค้าแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่รัฐวิสาหกิจกลับยกเลิกสัญญาที่เหลือไปแล้วหลังจากที่นายเอเดรียนไม่ได้รับสินบนตามที่ตัวเองได้เรียกร้อง
สำหรับความเป็นมาเป็นไปของคดีนี้นั้น ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา ทาง OCCRP ได้สืบสวนรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้างอันไม่ชอบมาพากล ซึ่งนายเอเดรียนได้ดูแลอยู่ โดยพบว่ามีการจัดซื้อและส่งหน้ากากทางการแพทย์คุณภาพต่ำไปยังโรงพยาบาลในประเทศโรมาเนียเป็นจำนวน 1 ล้านชิ้น และยังพบว่ามีชุดพีพีอีอีกจำนวนนับพันชุดซึ่งขายโดยรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มนั้น มีราคาแพงกว่าราคาที่ขายจริงถึง 100 เปอร์เซ็นต์
นายเอเดรียน โลเนล ประธานผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์ม (อ้างอิงรูปภาพจากhttps://europe.easybranches.com/romania/2304048)
@หน้ากากที่ไม่ได้คุณภาพ
จากข้อมูลเอกสารที่สำนักข่าว Rise Romania ซึ่งเป็นสำนักข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในเครือข่ายของ OCCRP ในประเทศโรมาเนีย ระบุว่า บริษัท B.S.G. Business Select SRL ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติโรมาเนีย เป็นผู้ชนะสัญญาโดยไม่ผ่านการประกวดราคามูลค่ามากกว่า 800,000 ยูโร หรือประมาณ 27,721,147 บาท ในการจัดส่งหน้ากากและชุดพีพีอีจำนวน 26,000 ชุดให้กับรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์ม ซึ่งจะส่งต่อให้กับศูนย์ดูแลสุขภาพทั่วโรมาเนีย
ขณะที่ เจ้าหน้าที่สอบสวนสืบสวนของโรมาเนียพบว่าหน้ากากอย่างน้อย 1 ล้านชิ้น พบว่ามีปัญหาไม่ตรงกับข้อมูลเชิงเทคนิคเกี่ยวกับหน้ากากทางการแพทย์ที่ได้ระบุเอาไว้
ยิ่งไปกว่านั้น มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานทางการแพทย์ของโรมาเนียซึ่งไม่ระบุชื่อรายหนึ่งได้ให้ข้อมูลกับ OCCRP ว่า หน้ากากทางการแพทย์นั้นมีคุณภาพพอๆกับขยะ โดยสายคล้องหูพร้อมที่จะขาดได้ทุกเมื่อสวมใส่
เบื้องต้น นายเอเดรียนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มก็ใช้หน้ากากแบบเดียวกับที่ได้ส่งไปทั่วประเทศโรมาเนีย และไม่พบว่ามีหน้ากากอันไหนชำรุด แต่ทางยูนิฟาร์มก็ไม่เลือกที่จะเสี่ยงชีวิตเจ้าหน้าที่ของทางรัฐวิสาหกิจ
นายเอเดรียน ยังได้ชี้แจงกับ OCCRP ด้วยว่าสาเหตุที่รัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มได้เลือกให้บริษัท B.S.G. ชนะการประกวดราคานั้น เป็นเพราะว่าบริษัทแห่งนี้เป็นบริษัทเดียวที่ส่งเอกสารรายละเอียดข้อเสนอให้กับทางรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของหน้ากาก OCCRP ได้ติดต่อสอบถามไปยังศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และการป้องกันสารเคมีชีวภาพและระบบนิเวทวิทยา ประเทศโรมาเนีย ซึ่งศูนย์วิจัยฯดังกล่าวอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงกลาโหม และได้รับอำนาจในการรับรองการใช้งานชุดป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 โดยได้สอบถามถึงคุณภาพของหน้ากากทางการแพทย์ที่ทางรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มได้รับว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งทางด้านผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยฯ ได้ตอบกลับมายังสำนักข่าวว่า ช่องลมที่อยู่บนหน้ากากนั้นมีความกว้างที่มากเกินไป จนทำให้หน้ากากทางการแพทย์มีศักยภาพในการกรองแบคทีเรียได้แค่ครึ่งหนึ่งของที่ควรจะเป็น ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานสหภาพยุโรป(อียู)เป็นอย่างมาก
โดยหน้ากากทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานอียูนั้น จะต้องกรองแบคทีเรียได้ 95-98 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่าหน้ากากทางการแพทย์ของบริษัทตุรกี ซึ่งผู้สื่อข่าว OCCRP สามารถรวบรวมมาได้เป็นจำนวน 24 ชิ้นนั้นพบว่ามีศักยภาพในการกรองไวรัสได้อยู่ที่ 45-63 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
หน้ากากทางการแพทย์ที่มีการแจกจ่ายไปให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศโรมาเนีย
และอีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือในวันที่ 19 มี.ค.ซึ่งเป็นวันที่สินค้าล็อตแรกถูกส่งมาถึงรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์ม ต่อมาในวันที่ 20 มี.ค.นายโรเบิร์ต คอนสแตนติต อิโอเนสคู อดีตรองนายกเทศมนตรีกรุงบูคาเรสต์ ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัท Akyle Security ก็ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเพจตัวเองว่า เป็นเพราะเขา ข้อตกลงนี้จึงประสบความสำเร็จ และส่วนตัวก็ต้องขอบคุณ นายลูโดวิก ออร์บัน นายกรัฐมนตรีโรมาเนียด้วยที่ทำให้ข้อตกลงนี้สะดวกขึ้น
“วันนี้ ผมได้จัดการนำสินค้าจากตุรกีมายังโรมาเนีย (ผ่านทางช่องทางของบริษัท B.S.G. และบริษัท Akyle Security) โดยสินค้าล็อตแรกเป็นหน้ากากจำนวน 1 ล้านชิ้น และชุดสำหรับรับมือกับโคโรน่าไวรัส ต้องขอบคุณไปนายกรัฐมนตรีโรมาเนียและนายเอเดรียนผู้อำนวยการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มด้วยที่การสนับสนุนข้อตกลงนี้” นายอิโอเนสคูกล่าวบางส่วนบนเฟสบุ๊ก (ดูภาพประกอบ)
นายโรเบิร์ต คอนสแตนติต อิโอเนสคู อดีตรองนายกเทศมนตรีกรุงบูคาเรสต์และตอนนี้เป็นผู้บริหารบริษัท Akyle Security
@ตัวตนที่แท้จริงของบริษัท B.S.G.
ทั้งนี้ จากความไม่ชอบมาพากลว่า ทำไมอยู่ดีๆนายกเทศมนตรีเมืองบูคาเรสต์ถึงได้โพสต์ข้อความว่าขอบคุณสำหรับความสำเร็จในการส่งหน้ากากดังกล่าวกับกรณีบริษัท B.S.G ทำให้ OCCRP ได้ตรวจสอบข้อมูลตัวตนของบริษัท B.S.G. Business เพิ่มเติม จนพบว่า บริษัท B.S.G นั้น แท้จริงแล้วเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยชาวอิหร่าน ด้วยวัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจด้านการบำบัดร่างกายด้วยสมุนไพรหรือวิธีอื่นๆ
อย่างไรก็ดี บริษัท B.S.G. Business Select SRL ไม่ได้ประกอบธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2554 แล้ว
จนกระทั่งเมื่อประมาณวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา พบตัวละครใหม่ที่ชื่อว่านางซีโมน่า ซิวลาวู เข้าถือหุ้นในบริษัทนี้ ด้วยจำนวนหุ้นร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวันที่ 11 มี.ค.นั้นเป็นวันเดียวกับที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้ไวรัสโคโรน่าเป็นการระบาดในระดับโลก
พอถึงวันที่ 16 มี.ค. บริษัท B.S.G. ก็ได้ยื่นเรื่องต่อทางการโรมาเนียเพื่อขอดำเนินกิจการทางธุรกิจ
ต่อมา เมื่อวันที่ 18 มี.ค.บริษัท B.S.G. ก็ได้ซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด 19 จากบริษัทส่งออกสินค้าสัญชาติตุรกีซึ่งไม่ระบุชื่อรายหนึ่งด้วยมูลค่าทั้งสิ้น 614,400 ยูโร (21,289,841 บาท)
โดยจากการสืบข้อมูลพบว่าหน้ากากทางการแพทย์ที่บริษัท B.S.G. ได้จัดซื้อมานั้นแท้จริงแล้วเป็นหน้ากากที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาติตุรกีของนาง Ulku Farimaz Guler ซึ่งนาง Ulku ได้ยืนยันข้อมูลกับทาง OCCRP ว่ามีการติดต่อซื้อขายหน้ากากทางการแพทย์เป็นจำนวนนับล้านชิ้นจากบริษัทในประเทศโรมาเนียจริง ซึ่งบริษัทของเธอก็ได้ขายหน้ากากดังกล่าวให้กับบริษัท B.S.G. ผ่านทางบริษัทส่งออกสัญชาติตุรกีอีกทอดหนึ่ง
จากนั้น เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ก็ปรากฎเป็นข่าวว่า บริษัทแห่งนี้ได้ส่งหน้ากากที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพให้กับทางรัฐวิสาหกิจยูนิฟาร์มด้วยราคารวมทั้งสิ้น 865,752 ยูโร (29,999,548 บาท)
ส่งผลทำให้ บริษัท B.S.G. สามารถทำกำไรไปได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์จากการซื้อขายดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อ OCCRP ได้ไปตรวจสอบตัวตนของบริษัท B.S.G. ก็พบว่าบริษัทตั้งอยู่ในย่านพักอาศัยแถบชานเมืองบูคาเรสต์ และไม่ปรากฎว่ามีการทำธุรกิจแต่อย่างใด (ดูภาพประกอบ)
ที่ตั้งของบริษัท B.S.G. Business Select SRL
@ใครคือนางซีโมน่า ซิวลาวู ผู้เข้าถือหุ้น 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัท B.S.G.
เมื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า นางซีโมน่า ซีลาวูที่เข้าถือหุ้นกับบริษัท B.S.G. เป็นจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์นั้น แท้จริงแล้วเคยทำงานที่สำนักงานเทศบาลเมืองบูคาเรสต์ ในช่วงเวลาที่นายโรเบิร์ต คอนสแตนติต อิโอเนสคู ได้เป็นรองนายกเทศมนตรีกรุงบูคาเรสต์ และต่อมาเมื่อปี 2551 ซึ่งเป็นระยะเวลา 1 ปีให้หลังจากที่นายลูโดวิก ออร์บันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางซีโมน่าก็ได้ไปดำรงตำแหน่งภายใต้การกำกับดูแลของนายลูโดวิกในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษด้านการคลัง ในส่วนงานรับผิดชอบด้านงบประมาณยุโรป
แต่ในปี 2552 นางซีโมน่าก็ต้องออกจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ชำนาญการดังกล่าว หลังจากที่สื่อท้องถิ่นตรวจสอบพบว่า เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ นางซีโมน่าซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการคลังเคยจ่ายเงินให้กับกลุ่มอาชญากรรมที่ชื่อว่า the Sportsmen ไปข่มขู่กิจการมินิบัสแท็กซี่ให้ออกจากเส้นทางเดินรถสายหนึ่ง เพื่อที่เธอจะได้เข้าไปควบคุมกิจการแทน
นางซีโมน่า ซิวลาวู
อย่างไรก็ดี นายลูโดวิก ออร์บัน ได้กล่าวกับ OCCRP ว่าตัวเขานั้นไม่สนิทและจำนางซีโมน่าไม่ได้ด้วยซ้ำไป ซึ่งการที่นางซีโมน่าได้เคยทำงานภายใต้กำกับดูแลของเขา และต่อมาเป็นคู่สัญญาในการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด 19 นั้น ก็เป็นแค่เรื่องบังเอิญเท่านั้นเอง
นายลูโดวิก ออร์บัน นายกรัฐมนตรีโรมาเนียคนปัจจุบัน
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพบางส่วนจาก:https://www.occrp.org/en/coronavirus/convict-and-coronavirus-romanias-million-mask-mess,https://www.occrp.org/en/daily/12618-head-of-romania-s-covid-procurement-company-faces-bribery-charges
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage