ในรายงานของ สตง.ไซปรัสจำนวน 142 หน้า สตง.ไซปรัสได้กล่าวหลายครั้งถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความล่าช้า,ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของโครงการ และกล่าวอีกว่าควรมีการเพิกถอนสัญญา
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข้อพิพาทสัญญาการก่อสร้างสถานีก๊าซระหว่างรัฐบาลไซปรัสกับบริษัทจีน
โดยสำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์สได้รายงานถึงกรณีที่สหภาพยุโรปหรืออียูได้ดำเนินการสืบสวนข้อกล่าวหาทุจริตเกี่ยวข้องกับกรณีการก่อสร้างสถานีก๊าซในโครงการของประเทศไซปรัส ซึ่งแหล่งที่มาของเงินนี้มจากการอุดหนุนของอียู อย่างไรก็ตามโครงการนี้ซึ่งมีบริษัทจีนเป็นผู้รับสัญญากลับไม่สามารถแล้วเสร็จได้ และตอนนี้มีความพยายามที่จะเรียกเงินทุนคืนอย่างน้อย 101 ล้านยูโร (3,889,948,165 บาท)
ไฟแนนเชียลไทม์สรายงานว่าโครงการท่าเรือสถานีเพื่อนำเข้าก๊าซนั้นเป็นแผนงานที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2561 โดยรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีนิคอส อนาสตาเซียเดส (Nicos Anastasiades) ได้มีการเดินหน้าสัญญาคิดเป็นมูลค่า 542 ล้านยูโร (20,893,794,555 บาท)เพื่อให้โครงการนี้แล้วเสร็จ
ผู้ที่ได้รับสัญญาก่อสร้างโครงการสถานีนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) วาซิลิคอส (Vasilikos) ได้แก่กลุ่มทุนที่ประกอบด้วยหลายบริษัทหรือเรียกว่าคอนซอร์เทียม โดยมีบริษัท China Petroleum Pipeline (CPP),บริษัท Hudong-Zhonghua Shipbuilding ซึ่งทั้งสองเป็นบริษัทจีน, บริษัท Wilhelmsen Ship Management จากนอร์เวย์ และบริษัท Metron จากสหราชอาณาจักร
ข่าวช่วงปลาย มี.ค. 2567 ระบุว่าไซปรัสตั้งใจจะสร้างสถานีก๊าซให้เสร็จก่อนสิ้นปี
โครงการนี้มีเป้าประสงค์ที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันของไซปรัส และมีกำหนดการว่าจะต้องแล้วเสร็จภายในปี 2562 แต่ปรากฏว่าเกิดความล่าช้า ต้องมีการขยายเวลาไปถึงปี 2565 แต่ปรากฏว่าโครงการนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ
ในที่สุดเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ข้อตกลงฉบับนี้ก็เป็นอันล้มเหลว เนื่องจากมีข้อร้องเรียนว่าคอนซอร์เทียมไม่ได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญา และบริษัทจีนในกลุ่มก็ได้ไปร้องยังอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงลอนดอน เพื่อขอรับเงินคืน 200 ล้านยูโร (7,709,887,290 บาท) สำหรับงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
ทางหน่วยงานชื่อว่า Cinea ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของอียูที่รับผิดชอบในด้านสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการส่งคำร้องลงวันที่ 24 ก.ค. ไปยังรัฐบาลไซปรัสเพื่อให้อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับเงินทุนของอียู และขอให้มีการคืนเงินที่ทางอียูได้อนุมัติก่อนหน้านี้
รัฐบาลไซปรัสตอนนี้ได้รับเงินจากอียูไปส่วนหนึ่งแล้ว 69 ล้านยูโร (2,659,911,115 บาท) เพื่อให้ดำเนินโครงการนี้ และสํานักงานอัยการยุโรป (EPPO) กล่าวว่ากําลังสอบสวนข้อสงสัย "การฉ้อโกงการจัดซื้อจัดจ้าง การยักยอกเงินของสหภาพยุโรป และการทุจริต"
ทางด้านของนายจิออร์โกส ปาปานาสตาซิโอ (Giorgos Papanastasiou) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไซปรัสกล่าวว่ารัฐบาลของเขาได้มีการขอเวลา 30 วันเพื่อตอบกลับข้อซักถาม และเขายังกล่าวหลังจากการประชุมฉุกเฉินว่ากรณีนี้ไม่ได้ทำให้ประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงแต่อย่างใด แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติม
ขณะที่นายนิคอส คริสโตดูลิเดส (Nikos Christodoulides) ประธานาธิบดีไซปรัสคนปัจจุบัน กล่าวว่ารัฐบาลของนายอนาสตาเซียเดส (ซึ่งตอนนั้นมีนายคริสโตดูลิเดสเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ) ไม่ควรไปเลือกกลุ่มคอนซอร์เทียมเลย และขอยืนยันว่าโครงการสถานี้ก๊าซจะดำเนินต่อไป แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดกรอบเวลาว่าโครงการนี้จะเสร็จเมื่อไร
หน้าเว็บบริษัท China Petroleum Pipeline
@ความฝันการสร้างท่อส่งก๊าซให้เสร็จ
EPPO ซึ่งรับผิดชอบในการสืบสวนและดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเงินของอียูกล่าวว่าได้มีการติดตามตรวจสอบรายงานตั้งแต่เดือน ม.ค. ซึ่งจัดทำโดยสํานักงานตรวจเงิน แผ่นดิน (สตง.) ของไซปรัส ขณะที่ Cinea ยังได้ให้ข้อมูลกับสำนักอัยการยุโรปเช่นกัน
“หลังจากได้รับข้อมูลนี้และตรวจสอบโดยละเอียดแล้ว EPPO ได้ตัดสินใจเปิดการสอบสวนเพื่อสอบสวนสัญญาที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ” EPPO ระบุ
ในรายงานของ สตง.ไซปรัสจำนวน 142 หน้า สตง.ไซปรัสได้กล่าวหลายครั้งถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความล่าช้า,ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของโครงการ และกล่าวอีกว่าควรมีการเพิกถอนสัญญา
แต่ว่ารัฐวิสาหกิจ ETYFA ซึ่งเป็นบริษัทก๊าซธรรมชาติของไซปรัสกล่าวว่าการยกเลิกสัญญาไม่สามารถทำได้ เพราะเหตุผลเรื่องความล่าช้าในโครงการสถานีฯ นั้นเป็นประเด็นสำคัญ แต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรเพิ่มเติมว่าทำไมถึงไม่มีการทักท้วงปัญหาอุปสรรคในช่วงหกปีที่ผ่านมา
มีรายงานว่าคอนซอร์เทียมได้เคยขอเงินเพิ่มอีก 25 ล้านยูโร (963,735,911 บาท) เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต้นทุนเหล็กที่สูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็ได้อนุมัติไป ทั้งๆที่ สตง.ไซปรัสไม่เห็นชอบ
รายงานระบุอีกว่า ETYFA ยังสละสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากคอนซอร์เทียมเนื่องจากความล่าช้าที่ไม่สมเหตุสมผลในกรณีสัมปทานอื่นๆที่คอนซอร์เทียมไม่ได้ดำเนินการตามสัญญา
นี่นำไปสู่กี่ที่ ETYFA ได้ตัดสินใจหยุดโครงการเมื่อวันที่ 18 ก.ค. โดยอ้างเหตุว่ามีการละเมิดเงื่อนไขหลายครั้งจากคอนซอร์เทียมที่นำโดยบริษัทจีน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยกเลิกข้อตกลงนี้ และทาง ETYFA จะดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มบริษัทต่อไป
เมื่อถามเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่ากลุ่มคอนซอร์เทียมที่นําโดยบริษัทจีนไม่ได้รับเงินตามสัญญาทางเจ้าหน้าที่ไซปรัสกล่าวว่า ETYFA ได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญาอย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขในสัญญา
ทางด้านของนายปาปานาสตาซิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานฯ กล่าวว่าการแก้ปัญหานั้นจะมีการประกวดราคาครั้งใหม่ โดยมีเป้าประสงค์ของการประกวดราคาคือทำให้การก่อสร้างโครงการสถานีก๊าซเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาแปดเดือน แต่เขาก็ไม่ได้กล่าวว่าจะทำได้อย่างไรในระยะเวลาที่สั้นๆ เนื่องจากโครงการนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน
ขณะที่กลุ่มคอนซอร์เทียม,บริษัทต่างๆในคอนซอร์เทียม และ ETYFA ไม่ได้ตอบข้อซักถามจากทางไฟแนนเชียลไทม์สแต่อย่างใด ส่วนคณะกรรมการยุโรปกล่าวว่ารับทราบเกี่ยวกับการสืบสวนแล้วแต่ไม่ขอแสดงความเห็นใดๆ
เรียบเรียงจาก:https://www.ft.com,https://www.thenationalherald.com/eu-wants-money-back-for-cyprus-gas-terminal-chinese-firm-didnt-build/
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.เคนยาเดินหน้า เจาะจงเอกชนอินเดียยึดสัมปทาน บริหารสนามบินนาน 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตผู้บริหารโกลด์แมนแซคส์ ถูกสอบจ่ายสินบน จนท.กานา แลกสัญญาโรงไฟฟ้า
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผบ.ทร.ญี่ปุ่นประกาศลาออก เซ่นปมอื้อฉาว จนท.เบิกงบเท็จ-ความลับรั่วไหล
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.บราซิลแจ้งข้อหาฟอกเงิน อดีต ปธน.หลังสั่งผู้ช่วยขายนาฬิการับจากซาอุฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.ออสซี่สอบสัญญา กห.3.6 หมื่นล. หลัง บ.ฝรั่งเศสประกวดราคาเจ้าเดียว
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯ เผยขบวนการค้ายาเม็กซิโกใช้กลุ่มชาวจีนฟอกเงิน หากำไรนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.จีนสร้างทางหลวงหมื่น ล.10ปีไม่เสร็จ ได้งานรัฐมาซิโดเนียเหนือ 2 สัญญา
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต รมช.กห.จอร์เจีย แจ้งรายได้7แสน/ปี ซื้อแฟลตหรูในลอนดอน 26 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ภรรยานายกฯทาจิกิสถาน ไม่แจ้งรายได้ ซื้อวิลล่าหรู 51 ล.ณ นครดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงชาวรัสเซีย ซื้ออสังหาฯในดูไบ 2.3 แสนล. หลังเหตุรุกรานยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:พันธมิตรสื่อทั่วโลกแฉดูไบ แหล่งฟอกเงินผู้ก่อการร้าย-กลุ่มอาชญากร
- ส่องคดีทุจริตโลก:ฟิลลิป มอร์ริส ส่อใช้ช่องไม่โปร่งใส ผูกขาดธุรกิจบุหรี่แสน ล.ในอียิปต์
- ส่องคดีทุจริตโลก : สส.เท็กซัส ถูกกล่าวหารับสินบน 22 ล.แลกผลักดัน กม.เอื้อ ปย.อาเซอร์ไบจาน
- ส่องคดีทุจริตโลก: รมช.กห.รัสเซียถูกจับสินบน สะท้อนเกมการเมือง ก่อน ปูตินเป็น ปธน.สมัย 5
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กลาโหมอังกฤษ กำไรแสนล. หาผลประโยชน์ รบ.ทุจริต-ละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ยุโรปเดินหน้าสอบเอกชนกรีซ ส่อฮั้วประมูลโครงการ EU 9.7 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารแอฟริกาแบนเอกชนจีน 1 ปี เหตุทำธุรกิจ-เดินหน้าสัญญาถนนไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจ-นายหน้า รบ.จีน ในฟิจิ ถูกออสซี่กล่าวหาพัวพันองค์กรอาชญากรรม
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.แคนาดาประกาศยกเครื่องระบบจัดซื้อ หลังข้อครหาเอกชนทำใบเก็บเงินเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนสหรัฐฯจ่ายคอมมิชชั่นเจ้าชายซาอุฯ 501 ล. แลกสัญญากลาโหม 3.3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกสาร กห.อังกฤษจ่ายสินบนให้ราชวงศ์ซาอุฯ แลกสัญญา บ.รบหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม กองทัพอาระกันขายวัสดุนิวเคลียร์แลกอาวุธ ใช้ยากูซ่าเป็นนายหน้า
- ส่องคดีทุจริตโลก: ลูกขุนสหรัฐฯฟันอดีตพ่อค้าน้ำมัน บ.วิตอล คดีสินบนเม็กซิโก-เอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการยุโรปสั่งสอบ 3 มหาวิทยาลัยเอี่ยวโกงงบช่วยเหลือ EU นับร้อยล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ปธน.เกาหลีใต้ อ้างเป็นเรื่องโชคร้าย หลังภรรยาถูกครหารับกระเป๋า 8 หมื่น
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.น้ำมันใหญ่จ่ายสินบนพัน ล.ให้ จนท.รัฐทุกระดับ-แลกสัญญาน้ำมันเอกวาดอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตคนวงในแฉจนท. UN รวมหัวเรียกสินบนโครงการฟื้นฟูอิรัก 5.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกสารแพนโดร่าแฉอดีต รมว.คลังมาเลย์ ถือครองอสังหาฯ 1.8 พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเยอรมันจ่ายเงิน 7.7พันล. ยุติคดีสินบนในต่างแดน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สว.สหรัฐฯฉาวอีก ถูกครหารับสินบนนักลงทุน แลกออกแถลงการณ์สนับสนุนกาตาร์