อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 นายนายอเล็กเซย์ นาวาลนี ก็ได้ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนว่ารัฐวิสาหกิจ Transneft ได้มีการทบทวนสัญญาต่างๆหลังจากที่นายเวนชตอกได้ออกจากรัฐวิสาหกิจไป ก็พบข้อมูลว่ามีการมอบสัญญาการก่อสร้างท่อน้ำมันจากภูมิภาคไซบีเรียไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงที่นายเวนชตอกยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐวิสาหกิจอยู่ ซึ่งสัญญานี้มีมูลค่า 3.03 แสนล้านรูเบิ้ล (124,019,846,775 บาท) แต่เมื่อตรวจสอบเชิงลึกลงไปอีกก็พบว่ามากกว่าครึ่งของบริษัทที่รับสัญญาก่อสร้างท่อน้ำมันนั้น แทบจะไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเลยนอกจากรับคอมมิสชั่นและไปจ้างบริษัทย่อยให้รับงานช่วงต่อไปอีก
....................
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา(www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข้อครหาประเด็นการบริจาคเงินให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของประเทศอังกฤษ
โดยเว็บไซต์สำนักข่าวสืบสวนอิสระ หรือ The Bureau of Investigative Journalism (https://www.thebureauinvestigates.com/) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวสืบสวนได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ทีมผู้บริหารบริษัทของมหาเศรษฐีชาวรัสเซียรายหนึ่งที่มีประวัติการบริจาคเงินจำนวน 1 ล้านปอนด์ (40,912,905 บาท) ให้กับพรรคอนุรักษ์นิยม แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานปรากฏว่ามหาเศรษฐีรายนี้นั้นกลับถูกกล่าวหาในว่ามีพฤติกรรมการทุจริต
โดยมหาเศรษฐีคนดังกล่าวได้แก่นายวิคเตอร์ เฟโดทอฟ วัย 73 ปีซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานบริษัทจำนวน 2 แห่ง และบริษัททั้ง 2 แห่งที่ว่ามานี้ก็สามารถทำรายได้จากกิจการสายส่งน้ำมันเป็นจำนวนมากกว่า 80 ล้านปอนด์ (3,270,477,772 บาท) แต่ปรากฎว่าทั้ง 2 บริษัทนั้นมีส่วนพัวพันกับข้อครหาฉ้อโกงอันส่งผลทำให้ประเทศรัสเซียต้องเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาล
ในช่วงเดือน ส.ค.ปี 2563 ที่ผ่านมานั้น มีการเปิดเผยว่านายเฟโดทอฟได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าของกิจการบริษัท Aquind ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการบริจาคเงินให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมอังกฤษเป็นจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกัน บริษัทนี้ก็ต้องการความเห็นชอบจากทางรัฐบาลในการทำสัญญาการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานคิดเป็นมูลค่าสัญญาทั้งสิ้น 1.2 พันล้านปอนด์ (4.905 หมื่นล้านบาท) โดยรายละเอียดของโครงการนั้นจะเป็นการลากสายเคเบิ้ลพลังงานใต้ท้องทะเล ซึ่งมีระยะทางตั้งแต่เมืองพอร์ตสมัทไปจนถึงประเทศฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปในช่วงปี 2551 ที่ประเทศรัสเซีย รัฐวิสาหกิจของรัสเซียชื่อว่า Transneft ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดท่อส่งน้ำมันที่ยาวที่สุดในโลก (50,000 กิโลเมตร) ได้ดำเนินการสอบสวนภายในเกี่ยวกับกรณีที่พบว่ามีบริษัทหลายแห่งรวมไปถึงบริษัทที่นายเฟโดทอฟนั่งเป็นประธานได้รับค่าคอมมิสชั่นเป็นจำนวนมมาก จากการทำสัญญาจ้างช่วงกับบริษัทย่อย ซึ่งนี่ถือเป็นการกีดกันไม่ให้ทางรัฐวิสาหกิจนั้นสามารถเข้าถึงทรัพยากรอันมีค่าของประเทศได้ ดังนั้นจึงมีการสืบสวนเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการตั้งข้อหาแต่อย่างใด และนายเฟโดทอฟก็ไม่ได้ถูกกล่าวโทษว่ากระทำความผิดใดๆด้วยเช่นกัน
รายงานการสอบสวนดังกล่าวนั้นถูกเปิดเผยในปี 2553 โดยผู้ที่นำรายงานมาเผยแพร่ต่อสาธารณะก็คือนายอเล็กเซย์ นาวาลนี (นักการเมืองฝ่ายค้านของรัสเซีย ซึ่งรอดชีวิตจากลอบสังหารด้วยสารพิษโนวิช็อกในปี 2563) และการเปิดเผยรายงานสอบสวนดังกล่าวได้ทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับผู้ที่ควบคุมบริษัท Aquind และนายอเล็กซานเดอร์ เทเมอร์โก ผู้อำนวยการบริษัท Aquind ซึ่งเคยมีประวัติการบริจาคเงินให้กับนายริชิ ซูนัค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ,นายเอล๊อก ชาร์มา รัฐมนตรีว่าการธุรกิจของประเทศอังกฤษ และนายแบรนดอน ลูอิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอร์แลนด์เหนือ
และยังพบข้อมูลด้วยว่านายเทเมอร์โกยังได้เคยบริจาคเงินเป็นจำนวน 7 แสนปอนด์ (28,616,680 บาท) ให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมอังกฤษในช่วงปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงนับตั้งแต่ที่เขาได้รับสัญชาติอังกฤษ และต่อมาในช่วงเดือน มี.ค. 2562 พรรคอนุรักษ์นิยมอังกฤษยังได้รับเงินบริจาคอีกจำนวน 243,900 ปอนด์ (9,970,869 บาท) จากบริษัท Aquind โดยในช่วงเวลานั้นมีการสันนิษฐานกันว่านายเฟโดทอฟน่าจะเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวของบริษัทนี้
ซึ่งประเด็นข้อกังขาเกี่ยวกับบริษัท Aquind ดังกล่าวนั้นก็ทำให้สำนักผู้ตรวจสอบการวางแผน (Planning Inspectorate) ต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสำนักผู้ตรวจสอบการวางแผนจะต้องส่งคำแนะนำไปยังรัฐบาลอังกฤษว่าจะให้เห็นชอบให้บริษัท Aquind ดำเนินการโครงการระบบสาธารณูปโภคในช่วงเดือน มี.ค. 2564 หรือไม่
ขณะที่ทางด้านของนางอังเกลา เรย์เนอร์ รองหัวหน้าพรรคแรงงานก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว The Bureau โดยตั้งคำถามเชิงวิจารณ์ว่าพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นจะยังคงยินดีอยู่หรือไม่ที่จะรับเงินบริจาคจากนายเฟโดทอฟและจากบริษัท Aquind เพราะสาธารณชนนั้นจะต้องรู้สึกรังเกียจแน่นอนเมื่อรู้ว่ามีกลุ่มผู้มีอิทธิพลชาวรัสเซียบางกลุ่มได้รับสิทธิพิเศษหลายประการรวมไปถึงการเข้าถึงตัวผู้นำของพรรค เพียงเพราะว่าคนกลุ่มนี้นั้นสามารถนำเงินก้อนใหญ่มาให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และขอย้ำว่าหลักการประชาธิปไตย รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคของประเทศอังกฤษนั้นไม่ควรที่จะถูกขายไปให้กับกลุ่มผู้บริจาคเงินเหล่านี้เช่นกัน
ส่วนในพรรคอนุรักษ์นิยมเองก็เริ่มมีสมาชิกระดับสูงออกมาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับข้อครหาการรับเงินบริจาคของพรรคแล้วเช่นกัน ในขณะที่โฆษกพรรคอนุรักษ์นิยมก็ยืนยันว่าเงินบริจาคให้กับพรรคนั้นถูกสำแดงอย่างโปร่งใสต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามหลักการของกฎหมาย
นายบอร์ริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายอเล็กซานเดอร์ เทเมอร์โก ผู้อำนวยการบริษัท Aquind
@เครือข่ายพันธมิตรของนายเฟโดทอฟ
นายเฟโดทอฟ,นายเทเมอร์โก และนายเซเมียน เวนชตอก (Semyon Vainshtok) อดีตประธานรัฐวิสาหกิจ Transeft ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของบริษัทหนึ่งในเครือบริษัท Aquind บุคคลทั้ง 3 นั้น ได้เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับภาคส่วนด้านพลังงานของประเทศอังกฤษนับตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 2549 ซึ่งในเวลานั้นทั้ง 3 คนได้พบปะเป็นการส่วนตัวในงานเลี้ยงเครื่องดื่มที่พระราชวังเคนซิงตัน โดยงานเลี้ยงดังกล่าวได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ หนึ่งในพระประยูรญาติของพระราชินีอังกฤษ
โดยการจัดงานเลี้ยงดังกล่าว มีผู้ดำเนินการจัดงานคือนางอินนา เวนชตอก ลูกสาวของนายเซเมียน มีเจ้าภาพงานคือนายเทเมอร์โกซึ่งในช่วงเวลานั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรมน้ำมันของรัสเซียควบคู่ไปกับนายเฟโดทอฟ และนอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในงานเลี้ยงนี้มีผู้เข้าร่วมอีกรายซึ่งเป็นอดีตลูกจ้างของบริษัทน้ำมันยูคอสที่ต้องลี้ภัยมาอยู่ที่กรุงลอนดอน ก็เนื่องมาจากนโยบายของนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียที่เริ่มกระบวนการเข้าควบคุมกิจการบริษัทยูคอส
ทั้งนี้มีรายงานจากแหล่งข่าวซึ่งรู้เรื่องเกี่ยวกับงานเลี้ยงระบุว่านายเวนชตอกได้แบ่งปันความรู้และประวัติศาสตร์อันดำมืดเกี่ยวกับการทำสัญญาธุรกิจด้านพลังงานในประเทศรัสเซียให้กับนายเฟโดทอฟ
2 เดือนหลังจากงานเลี้ยงนายเทเมอร์โกก็ได้เข้าไปนั่งเป็นบอร์ดบริหารของบริษัทสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลชื่อว่า SLP Engineering ซึ่ง ณ เวลานี้ล้มละลายไปแล้ว โดยบริษัท SLP ที่ว่านี้ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ และเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของบริษัท Aquind นั่นเอง
ส่วนประวัติการทำงานของนายเวนชตอกนั้นพบว่าเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของรัฐวิสาหกิจ Transneft ตั้งแต่ปี 2542-2550 ก่อนจะลงจากตำแหน่งเพื่อไปรับผิดชอบการจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองโชชิ ประเทศรัสเซีย
นายเซเมียน เวนชตอก อดีตประธานรัฐวิสาหกิจ Transeft และนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 นายนายอเล็กเซย์ นาวาลนี ก็ได้ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนว่ารัฐวิสาหกิจ Transneft ได้มีการทบทวนสัญญาต่างๆหลังจากที่นายเวนชตอกได้ออกจากรัฐวิสาหกิจไป ก็พบข้อมูลว่ามีการมอบสัญญาการก่อสร้างท่อน้ำมันจากภูมิภาคไซบีเรียไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงที่นายเวนชตอกยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐวิสาหกิจอยู่ ซึ่งสัญญานี้มีมูลค่า 3.03 แสนล้านรูเบิ้ล (124,019,846,775 บาท) แต่เมื่อตรวจสอบเชิงลึกลงไปอีกก็พบว่ามากกว่าครึ่งของบริษัทที่รับสัญญาก่อสร้างท่อน้ำมันนั้น แทบจะไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเลยนอกจากรับคอมมิสชั่นและไปจ้างบริษัทย่อยให้รับงานช่วงต่อไปอีก
โดยนายเฟโดทอฟเป็นประธานบริษัทจำนวน 2 แห่งที่รับสัญญาสร้างท่อน้ำมันที่ชื่อว่า All-Russian Research Institute for Construction และบริษัท Operation of Pipelines, Enterprises of Fuel and Gas Sector ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีชื่อตัวย่อว่า VNIIST และบริษัท IP Network.
สำนักข่าว The Bureau ได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากหลักฐานทางบริคนสนธิก็พบว่านายเฟโดทอฟได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานทั้ง 2 บริษัทที่ว่านี้จริง และยังไม่สามารถจะเคลียร์ข้อกล่าวหาของตัวเองได้ ในกระบวนทบทวนสัญญาของรัฐวิสาหกิจ Transheft
นี่จึงเป็นเหตุทำให้ในปี 2552 รัฐวิสาหกิจ Transneft ได้เริ่มกระบวนการสืบสวนรวบรวมรวมหลักฐานเพื่อจะสั่งฟ้องบริษัทต่างๆที่มีการจ้างช่วงในข้อหาการยักยอกเงินของรัฐวิสาหกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏข้อมูลว่าการสืบสวนได้ข้อสรุปอย่างไรบ้าง
ขณะที่สำนักข่าว Bureau ก็ได้พยายามติดต่อนายเฟโดทอฟเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด
อนึ่ง ความเชื่อมโยงของบริษัท Aquind กับพรรครัฐบาลอังกฤษนั้นมีมากกว่าแค่เงินบริจาค อาทิ ในปี 2560 หลังจากที่นายเจมส์ วาร์ตันพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ส.ส. ก็ปรากฏชื่อว่านายวาร์ตันนั้นได้รับเงินค่าจ้างในฐานะที่ปรึกษาของบอร์ดบริหารบริษัท Aquind โดยนายวาร์ตันยังได้กลายเป็นผู้จัดการแคมแปญของนายบอร์ริส จอห์นสัน ในการเข้าชิงตำแหน่งผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม และในเวลาต่อมานายวาร์ตันก็ได้รับตำแหน่งในสภาขุนนาง หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าบารอนวาร์ตันแห่งยาร์ม โดยช่วงเวลาที่นายวาร์ตันอยู่ในสภาขุนนอง เขาก็ยังคงเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Aquind
ส่วนอีกกรณีหนึ่งก็คือลอร์ดมาร์ติน คาลลานาน สมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้นั่งเป็นบอร์ดผู้อำนวยการบริษัท Aquind มาเป็นระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี จนถึงช่วงสิ้นเดือน มิ.ย. 2560 และมีรายงานเพิ่มเติมว่าในเดือน ก.ค. 2564 รัฐบาลจะแต่งตั้งลอร์ดคาลลานานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการทุจริต
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพจาก:https://www.thebureauinvestigates.com/stories/2021-01-12/owner-of-tory-donor-company-chaired-firm-linked-to-russian-corruption-allegations
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัท-ผู้ลงทุนปริศนา ชนะสัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 8 พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกดขี่แรงงานชาวอุยกูร์ ถึงหน้ากากอนามัยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรป
ส่องคดีทุจริตโลก: กองทัพพม่าใช้บริษัทลูกจัดซื้ออาวุธ หลังโดนอียูคว่ำบาตรปมโรฮีนจา
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม CDC จีนผูกขาด 3 บ.ชุดตรวจโควิดไร้คุณภาพ ส่งผลไวรัสระบาดที่อู่ฮั่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนสหรัฐฯส่อโกงงบโควิด หลังส่งนมเข้าองค์กรการกุศลเครือข่ายบริษัท
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม สธ.ลิทัวเนียซื้อคอร์สรักษาผู้ป่วยโควิด ราคาแพงเกินจริง 24 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อพรรคการเมืองบอสเนียฯรวมหัวใช้งบหลวงแจกของโควิดก่อนเลือกตั้งท้องถิ่น
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดพิรุธ ซอฟต์แวร์ระบบ ลต.สหรัฐฯให้คะแนน'ไบเดน-ทรัมป์'ผิดที่มิชิแกน
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ รบ.อังกฤษเปิดช่องซื้อชุด PPE แพงไม่เกิน 25% ไม่ต้องแจ้งรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมเมื่อ รบ.อังกฤษทำสัญญาชุด PPE บ.แฟชั่น 6 พัน ล.ไม่ระบุรายละเอียด
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐนิวยอร์กถูกวิศวกรเสนอขายเครื่องช่วยหายใจให้'ทรัมป์'ฉ้อโกง
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ สธ.สหรัฐฯ ต่อสัญญา 316 ล.จ้างเอกชนไร้ประสบการณ์เก็บข้อมูลโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'อียู'ตรวจสอบ'วาติกัน'หลังเจอครหาฉ้อโกงเงินบริจาคนับหมื่น ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:เพนตากอนเอางบช่วยโควิด 3.1 หมื่น ล.ไปพัฒนาอาวุธ,โดรน-ชุดเกราะ
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ 'เอกชน' สหรัฐฯปลอมแปลงเอกสาร FDA รับรองชุดตรวจโควิด 19
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีนตายปริศนา สู่ข้อพิรุธโครงการวันเบลท์วันโรด
ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อโครงการเยียวยา SME สหรัฐฯเจอปัญหากู้เงินซ้ำซ้อน-ฉ้อโกง 3 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: นายกฯลิทิวเนีย ส่อพัวพันขบวนการจัดซื้อชุดตรวจโควิดมูลค่าร้อยล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก:สางปมระเบิดเลบานอนสู่เจ้าของเรือปริศนา โยง บ.ค้าอาวุธที่โมซัมบิก
ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธ เมื่อหัวหน้าโครงการวัคซีนสหรัฐฯ เคยถือหุ้นใน บ.โมเดอร์นา
ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษใช้งบหมื่นล.ซื้อหน้ากากไร้คุณภาพ บ.แลกเปลี่ยนเงินตรา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปม 'ทีมทรัมป์' ถลุงงบจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโควิด 1.5 หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก : สตง.ลัตเวีย พบพิรุธจัดซื้อสินค้าโควิด 11.7 ล้านยูโร ผ่าน WhatsApp
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาคองเกรสฯ เรียกสอบ 'ทีมงานทรัมป์-7 บริษัท' พบข้อพิรุธจัดซื้อโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : 'บราซิล' ทุจริตโควิดระบาดหนัก 'ลาออก-ไล่ออก' บิ๊กจนท.แล้ว 7 ราย
ส่องคดีทุจริตโลก : ข้อพิรุธจัดซื้อวัสดุโควิดพันล้าน! ก่อน มท.1 สโลวีเนียประกาศลาออก
ส่องคดีทุจริตโลก : 'ปธ.รัฐวิสาหกิจโรมาเนีย' เจอข้อหารับสินบนขายหน้ากากคุณภาพต่ำทั่วปท.
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้ช่วยลูกชาย ปธน.บราซิล เอี่ยวยักยอกเงินเดือน พนง.รัฐสภา ริโอฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อครหาเงินเยียวยาโควิด รบ.ญี่ปุ่น 2 หมื่นล.- จ้างช่วง บ.บริหารแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.กำจัดปลวก ทุน 7 แสน พนักงาน 16 คน ได้สัญญาชุด PPE รบ.อังกฤษ 4.3 พัน ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เซลล์รถมือ2 'คนใกล้ชิด รมต.' กักตุนหน้ากากขายรัฐนิวยอร์ก 1.4 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : บ.ป้ายแดง จดทะเบียนตั้ง ม.ค.63 ได้งานผลิตยาต้านโควิดสหรัฐฯ หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ตามคุ้ยบ.ปริศนา หลังสหรัฐฯ บอกเลิกจัดซื้อหน้ากากอนามัย 1.7พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: สภาวิจัยยุโรปเสียรู้ นักวิทยาศาสตร์กรีก ยักยอกเงินวิจัยวัคซีนโควิด-19
ส่องคดีทุจริตโลก: สางปมคดีชุดตรวจโควิด 'อินเดีย-อังกฤษ' แห่คืนของจีน-ก่อนสินค้าโผล่ไทย
ส่องคดีทุจริตโลก: กังขา สธ.ยูเครน เลิกสัญญาซื้อชุด PPE ในปท. นำเข้าจีนแทน แพงกว่า 2 เท่า
ส่องคดีทุจริตโลก: บัลแกเรีย-UAE แลกเปลี่ยนเวชภัณฑ์รับมือโควิด-19 แต่ได้อินทผลัมแทน
ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บริษัทอิตาลี เอี่ยวคดีฉ้อโกง โผล่ได้สัญญาขายเครื่องป้องกันโควิด2.2พันล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บิ๊กพ่อค้าจีน ยักยอกหน้ากากอนามัย-เครื่องช่วยหายใจนับล้านชิ้นขายให้เชกฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมกลุ่มเอกชนรัสเซีย ส่อฮั้วประมูลเครื่องช่วยหายใจสู้โรคโควิด
ส่องคดีทุจริตโลก : สธ. สิงคโปร์ สั่งปิดเว็บขายยา-อุปกรณ์เถื่อน 2.5 พันชิ้น อ้างรักษาโควิด-19 ได้
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเลขาฯ พรรคคอมมิวนิสต์อู่ฮั่นโดนข้อหาฉ้อโกง หลังไวรัสโคโรน่าระบาด
ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการฉ้อโกงไวรัสโคโรน่า 'โลกไซเบอร์' อังกฤษโดนตุ๋นกว่า 32 ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ออสเตรเลีย เนรเทศนักธุรกิจจีนฉาว พัวพันค้ายา-ฟอกเงินบ่อนคาสิโน
ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage