“…เราจะค่อยๆพูดกับเขาว่า เรามา compromise (ประนีประนอม) กันดีกว่า ทำอย่างไรให้เดินไปด้วยกันได้ในอนาคต…และถ้าเรามีจิตใจที่ดีกับเขา เราบอกว่า ผมมีความจริงใจจะจ่ายหนี้คืน แต่ถ้าจ่ายคืนทั้งหมด ผมเดินไม่ได้ ซึ่งทุกคนก็รู้ ด้วยสถานการณ์ของการบินไทยเอง บวกกันสถานการณ์โควิดเข้าไป มันไปไม่ได้ ด้วยวิธีการดำเนินธุรกิจปกติ…”
......................
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น
ก่อนถึงเส้นตายที่คณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ส่งแผนฯต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อส่งให้แก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงและลูกหนี้ ตามมาตรา 90/43 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลายฯ (อ่านประกอบ : เดินสายกล่อมเจ้าหนี้! ศาลฯอนุญาต ‘การบินไทย’ เลื่อนส่งแผนฟื้นฟูฯถึง 4 ก.พ.64)
ต่อจากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนัดประชุมเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงโดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษาลงมติว่า ‘จะยอมรับแผนหรือไม่หรือจะแก้ไขอย่างไร’ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติตามมาตรา 90/44 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลายฯ
“การจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องใช้เวลาพิเคราะห์ พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้ทุกฝ่าย และต้องพูดคุยและทำความเข้าใจกับเจ้าหนี้และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในหลักการต่างๆ ที่อยู่ในร่างแผนฟื้นฟูกิจการ
เพื่อให้เห็นพ้องกับหลักการต่างๆ นั้นด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ จะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้” ชาญศิลป์ ตรีนุชกุล รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ในนามผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทยฯ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2564
นับตั้งแต่วันที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้บริษัท การบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการฯ ในช่วงกลางเดือนก.ย.2563 'คณะผู้ทำแผน' และทีมผู้บริหารบริษัท การบินไทย เข้าเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเจ้าหนี้เช่าซื้อเครื่องบิน 2.กลุ่มเจ้าหนี้หุ้นกู้ และสถาบันการเงิน และ3.กลุ่มเจ้าหนี้ทางการค้า
ขณะที่บางส่วนงานของการบินไทย เช่น ฝ่ายช่าง ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจากับเจ้าหนี้ (Creditor) ซึ่งได้แก่ บริษัท Rolls Royce, GE, Airbus, Boeing, AIRFRANCE-KLM และ IAE ไปบ้างแล้ว (อ่านประกอบ : ดึงอดีตผู้บริหารนั่งที่ปรึกษาฯ! ‘การบินไทย’ ตั้งทีมถกเจ้าหนี้ ‘โรลส์รอยซ์-จีอี-แอร์บัส-โบอิ้ง’)
“…เจ้าหนี้ มีวิธีการแปลงหนี้เป็นทุนบ้าง ยืดหนี้บ้าง ลดดอกเบี้ยบ้าง ก็จะเป็นกระบวนการตามปกติ ซึ่งเจ้าหนี้หลายคนก็เข้าใจในธุรกิจเราว่า ธุรกิจเรามันแข่งขันได้ แต่ว่ามาเจอเรื่องโควิด แล้วถามว่าเราได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง…” หนังสือพิมพ์ ‘ไทยโพสต์’ รายงานคำให้สัมภาษณ์ ชาญศิลป์ เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา
แต่ทว่าเป้าหมายสำคัญของการปรับ ‘โครงสร้างหนี้’ ครั้งนี้ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ฝ่ายเจ้าหนี้ โดยเฉพาะเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้สัมปทาน จะต้องยอมลดหนี้ (แฮร์คัทหนี้) บางส่วน เพื่อให้บริษัท การบินไทย ไปต่อได้ ท่ามกลางวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่คาดว่าจะยืดเยื้อไปถึงปลายปี 2564
ชาย เอี่ยมศิริ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี (DE) บริษัท การบินไทย กล่าวในรายการ ‘เดินไปข้างหน้ากับ DD ชาญศิลป์’ เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2564 ว่า บริษัทฯได้ใช้เวลาไปมากในการเจรจากับ Stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ที่เป็นเจ้าหนี้ธุรกิจ เจ้าหนี้รัฐและเจ้าหนี้สัมปทาน เพื่อขอลดหนี้ลง
“จุดไม้ตายของเรา คือ ถ้าการบินไทยไปไม่ได้ เดินไม่ได้ ธุรกิจของท่านจะได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ธุรกิจและผู้ให้สัมปทาน เราพยายามพูดในลักษณะที่ว่า คุณไม่ใช่เจ้าหนี้อย่างเดียว และผมก็ไม่ใช่ลูกหนี้อย่างเดียว แต่เราเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เราเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่จะต้องเดินต่อไปในอนาคต
เมื่อคุณเป็นคนขาย แต่ถ้าไม่มีคนซื้อ มันก็ไม่เกิดธุรกิจ เพราะฉะนั้น เราจะค่อยๆพูดกับเขาว่า เรามา compromise (ประนีประนอม) กันดีกว่า ทำอย่างไรให้เดินไปด้วยกันได้ในอนาคต…และถ้าเรามีจิตใจที่ดีกับเขา เราบอกว่า ผมมีความจริงใจจะจ่ายหนี้คืน แต่ถ้าจ่ายคืนทั้งหมด ผมเดินไม่ได้
ซึ่งทุกคนก็รู้ ด้วยสถานการณ์ของการบินไทยเอง บวกกันสถานการณ์โควิดเข้าไป มันไปไม่ได้ ด้วยวิธีการดำเนินธุรกิจปกติ ตรงนี้เราต้องเจรจากับเขา ซึ่งก็มั่นใจได้ว่า เท่าที่คุยมา ถึงวันนี้ทุกคนให้ความเมตตาเรา ให้ความช่วยเหลือบริษัทฯ และยินดีที่จะเดินต่อไปด้วยกัน โดยเฉพาะ stakeholder หรือพันธมิตรธุรกิจที่เป็นรายหลัก” ชายกล่าว
(ชาย เอี่ยมศิริ)
ชาย ยังระบุว่า ในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ ซึ่งมีผู้ยื่นคำร้องขอรับการชำระหนี้ในแผนฯทั้งสิ้น 13,000 ราย คิดเป็นหนี้รวม 1.8 แสนล้านบาท บริษัท การบินไทย จะต้องไล่เจรจาแต่ละกลุ่มไป ซึ่งกลุ่มที่เป็นประเภทเดียวกันจะต้องได้รับการดูแลที่เป็นธรรม หรือได้รับการพิจารณาจ่ายคืนหนี้อย่างเป็นธรรม
ส่วนการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หุ้นกู้ ระหว่างบริษัท การบินไทย กับสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ 89 แห่ง ซึ่งถือหุ้นกู้การบินไทย มูลค่า 4.3 หมื่นล้านบาทนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา การบินไทย ส่งทีมเข้าเจรจากับคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาหุ้นกู้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แทนของของสหกรณ์ฯเจ้าหนี้ แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ
“การบินไทยเข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งจุดยืนเรายังเหมือนเดิม คือ ไม่แฮร์คัทหนี้ ลดดอกเบี้ยได้ ขยายงวดชำระหนี้ได้ และถ้าถึงที่สุดแล้วเราจะยอมให้แปลงหนี้เป็นทุนได้บ้าง” ไพบูลย์ แก้วเพทาย รองประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชสอ.) หนึ่งในคณะกรรมการฯ กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)
(ไพบูลย์ แก้วเพทาย)
ไพบูลย์ ให้ความเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย ซึ่งทยอยออกมา เช่น การปรับโครงสร้างอัตรากำลังภายใน การปรับโครงสร้างเงินเดือน และการปรับโครงสร้างธุรกิจ ซึ่งจะมีการหารายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจที่ไม่ใช่การบิน (Non-flight) นั้น ส่วนตัว มั่นใจในระดับหนึ่งว่า การบินไทยจะฟื้นฟูฯได้
อย่างไรก็ตาม ไพบูลย์ มองว่า แม้ว่าบริษัท การบินไทย จะพยายามหารายได้จากธุรกิจที่เป็น Non-flight เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดในช่วงที่ยังบินไม่ได้เต็มที่ แต่ต้องไม่ลืมว่าแหล่งรายได้หลักของการบินไทย คือ ธุรกิจการบิน หากยังบินไม่ได้ การฟื้นตัวก็เป็นไปได้ยาก จึงต้องขึ้นอยู่กับว่าจะควบคุมโควิดได้เมื่อใด
“ผมมองว่าเขา (การบินไทย) จะฟื้นได้ ถ้าเขามีความตั้งใจจริงที่จะทำ เพียงแต่ว่าระยะเวลาจะยาวจะสั้นแค่ไหนอยู่ที่สถานการณ์โควิด เพราะโควิดที่เกิดการระบอดรอบสอง ทางเขาเองก็บอกว่า เขาลำบากขึ้น…ส่วนการแฮร์คัทหนี้นั้นก็จะช่วยลดภาระทางการเงินของเขาได้ ซึ่งเขาอ้างว่า ถ้าไม่ลด เขาก็ฟื้นไม่ได้” ไพบูลย์กล่าว
ไพบูลย์ ตั้งข้อสังเกตว่า ธุรกิจที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการฯนั้น บริษัทจะต้องมี 'แหล่งเงินใหม่' เข้ามาใช้การดำเนินธุรกิจ หากไม่มีก็จะลำบาก โดยเฉพาะกรณีบริษัท การบินไทย ซึ่งขณะนี้มีสภาพคล่องเหลืออยู่ไม่มาก
“กิจการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นตัว ถ้าไม่มีเงินใหม่เข้ามา ก็ลำบาก ส่วนเงินใหม่จะมาจากใคร จากเจ้าหนี้รายไหน หรือรัฐบาล หรือใคร ตรงนี้เป็นปัญหา ซึ่งเราก็ถามเขา แต่เขาไม่ได้ตอบ เพราะตรงนี้ไม่ใช่ที่ที่เขาจะพูด แต่ผมยังมองว่ารัฐบาลน่ามีวิธีการ เพียงแต่เขายังไม่เปิดเผย ส่วนความเสี่ยงในการจัดการภายใน บางอย่างโอเคแล้ว แต่บางส่วนเรายังไม่รู้ว่าเขาจะจัดได้แค่ไหน” ไพบูลย์ย้ำ
ไพบูลย์ บอกด้วยว่า เมื่อการบินไทยเขียนแผนฟื้นฟูกิจการฯเสร็จแล้ว และส่งแผนมาให้กับคณะกรรมการฯ ในฐานะตัวแทนสหกรณ์เจ้าหนี้หุ้นกู้แล้ว คณะกรรมการฯจะเรียกสหกรณ์เจ้าหนี้ทั้ง 89 แห่ง มาประชุมว่ามีความเห็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตว่าจะ 'รับหรือไม่รับ' แผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย
นี่เป็นความคืบหน้าการฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย ก่อนถึง 'เส้นตาย' ที่คณะผู้ทำแผนต้องส่งแผนฯต่อต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในวันที่ 4 ก.พ.นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้โหวตต่อไป
อ่านประกอบ :
ตั้ง 4 บิ๊กการบินไทย! คณะผู้ทำแผนจัดโครงสร้างรับฟื้นฟูฯ ‘ชาย เอี่ยมศิริ’ คุมการเงิน
เดินสายกล่อมเจ้าหนี้! ศาลฯอนุญาต ‘การบินไทย’ เลื่อนส่งแผนฟื้นฟูฯถึง 4 ก.พ.64
ชัดเจน ก.พ.ปีหน้า! โครงสร้าง ‘การบินไทย’-เงินเดือนอัตราใหม่ เล็งเปิดเออร์ลี่ฯอีก
ยื่นศาลขยายเวลาส่งแผนฟื้นฟูฯ 1 เดือน! ‘ดีดีการบินไทย’ ยันเจ้าหนี้ได้ประโยชน์มากกว่า 'ล้มละลาย'
สภาพคล่องยังวิกฤติ! ‘การบินไทย’ เปิดพนง.ร่วมโครงการ ‘ลาหยุดไม่รับเงินเดือน’ ถึง 30 เม.ย.ปีหน้า
โล๊ะสินทรัพย์ล็อตใหญ่! ‘การบินไทย’ ประกาศขายเครื่องบินเพิ่มเป็น 43 ลำ-เลหลังแอร์บัส A-380
ร่อนจม.หาพันธมิตร! ‘การบินไทย’ เปิดร่วมทุนศูนย์ซ่อมฯ-มี ‘ไทยเบฟฯ-คิงพาวเวอร์’ ด้วย
‘การบินไทย’ อนุมัติพนง.เข้าโครงการเออร์ลี่ฯ 4,820 คน-สะพัด 3 ‘EVP สรรหา’ ลาออกแล้ว
‘บิ๊กการบินไทย’ แห่ร่วมใจจากองค์กร-‘ชาญศิลป์’ เซ็นตั้ง 'ชวาล' คุมเปลี่ยนผ่าน
ป.ป.ช.ฟ้องเอง-คุกจริง 2 ปี! ‘วัลลภ’อดีต ปธ.บอร์ดบินไทยขนสัมภาระเกินสิทธ์แต่ไม่จ่ายเพิ่ม
ขาดทุน 4.95 หมื่นล้าน! 'การบินไทย'แจ้งผลประกอบการงวด 9 เดือน-ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเกือบ 4 หมื่นล.
ชงเข้าแผนฟื้นฟูฯ! 'การบินไทย' ดันศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา-ตั้ง ‘บ.ร่วมทุนฯ’ ถือหุ้น 51%
โล๊ะเครื่องบินล็อตใหญ่ 34 ลำ! ‘การบินไทย’ ประกาศขาย ‘โบอิ้ง-แอร์บัส’ 7 รุ่น
พนง.ร่วมมือ'เสียสละ'! ‘ชาญศิลป์’ย้ำ‘การบินไทย’มุ่งมั่นปรับตัวเข้มข้น รับแผนฟื้นฟูฯ
สมัครโครงการ‘เสียสละ’เกือบ 5 พันคน! สหภาพฯการบินไทย ร้องเปิดเวทีแจง 'สัญญาจ้างใหม่'
จ่ายชดเชยตามกม.-เงินพิเศษสูงสุดอีก 4 เดือน!‘การบินไทย’ ประกาศ 2 แพ็กเกจ ‘ร่วมใจเสียสละ’
ผลประโยชน์ทับซ้อน? ทอท. ตั้ง ‘ศูนย์ซ่อมฯเครื่องบิน’ แข่ง 'การบินไทย'
ประมาทเลินเล่อ! ชงลงโทษวินัย-ชดใช้ 3 แสน ‘พนง.การบินไทย’ ทำเครื่องยนต์ตกขณะขนย้าย
ดึงอดีตผู้บริหารนั่งที่ปรึกษาฯ!‘การบินไทย’ตั้งทีมถกเจ้าหนี้‘โรลส์รอยซ์-จีอี-แอร์บัส-โบอิ้ง’
'การบินไทย'ตั้งกก.สอบ! เครื่องยนต์ GE90 ตกพื้นเสียหายขณะขนย้าย-ส่งซ่อมเมืองจีน
ลดรายจ่าย 4 หมื่นล.! ‘ชาญศิลป์’ดึงไอเดีย พนง.ฟื้น‘การบินไทย’-จ่อแยกธุรกิจ'ฝ่ายช่าง-ครัว'
ศึกใน 'การบินไทย' คุกรุ่น! สะเทือนแผนฟื้นฟูฯ กับวาทะ 'ชาญศิลป์' : ทีจีกรุ๊ปไม่สิ้นคนดี
‘การบินไทย’ เปิดเออรี่รีไทร์! ตุนเงินใช้ถึงเม.ย.64-สร.กบท.จี้ทบทวนตั้งเมียประธานบอร์ด
นัดพนง.การบินไทยแต่งดำ! สร.กบท.ชงคำถามซัก ‘ชาญศิลป์’ กรณีโยกย้าย-ยุบไทยสมายล์
โชว์คำสั่ง‘การบินไทย’! โยกย้ายล็อตใหญ่-‘พงศ์อุมา ดิษยะศริน’ รษก.ผอ.ฝ่ายกิจกรรมฯ
89 สหกรณ์ยื่น‘การบินไทย’! เปิดจุดยืนพักจ่ายต้น 5 ปี-แปลงหนี้ที่'แฮร์คัท'เป็นทุน
ราชกิจจาฯแพร่คำสั่งศาลฯ! ตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูฯ 'การบินไทย'-ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ 1 เดือน
บ.อีวายฯ-ชื่อผู้จัดทำแผนน่าเชื่อถือ! ศาลล้มละลายอนุญาต'การบินไทย'ฟื้นฟูกิจการ
เจาะลึกปม ‘จ่ายสินบน-ล็อบบี้-ผูกขาด’ เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์’ ทุบ ‘การบินไทย’ ร่วงจากฟ้า
มรดกเก่า ‘การบินไทย’! แอร์บัส A340 ‘ซื้อแพง-จอดทิ้งขายไม่ออก-ด้อยค่าแล้ว 1.5 หมื่นล.’
ส่อเอื้อพวกพ้อง! เปิดหลักเกณฑ์-สัญญาจ้าง ‘EVP สรรหา’ ทำ ‘การบินไทย’ เสียหาย?
ชำแหละปม ‘การบินไทย’ เช่า ‘โบอิ้ง’ 8 ลำ เปิดทาง ‘โรลส์รอยซ์’ ผูกสัญญาซ่อม 1.4 หมื่นล.
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage