"...แต่อนิจจา รัฐบาลดูเหมือนจะสนใจนโยบายประชานิยมระยะสั้น (เช่น การแจกเงิน) และธุรกิจการเมือง มากกว่ารากฐานสวัสดิการระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น คนระดับรัฐมนตรียังได้ให้ข้อมูลต่อสังคมครั้งแล้วครั้งเล่าว่า มีคนไทยเสียภาษีแค่ 4 ล้านคน เพื่อเป็นข้ออ้างของการไม่ต้องทำอะไรที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูปที่จะทำให้ระบบบำนาญพอเพียงเหมาะสมและยั่งยืนมากขึ้น..."
......................................
หมายเหตุ : บทความ เรื่อง 'การเมือง : อุปสรรคสำคัญในการปฏิรูปบำนาญผู้สูงอายุของไทย' โดย ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สัปดาห์ที่แล้วได้เกิดเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนและภาคการเมือง
กรณีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบำนาญประชาชนถึง 3 ฉบับ ไม่ได้รับการรับรองจากนายกรัฐมนตรี
ในขณะที่ร่างกฎหมายฉบับที่ 4 คือ ร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ (ฉบับล่าสุด) เสนอโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กำลังถูกจัดประเภทเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน และยังเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจถูกปัดตก ซึ่งสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน เพราะควรจะให้นำร่างกฎหมายเข้าไปอภิปรายในสภา
ดังนั้น จึงเป็นการสืบทอดแนวทางของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ปัดตก นั่งทับ หรือ “มีบัญชาไม่รับรอง” ข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญผู้สูงอายุ จากอย่างน้อย 5 ฉบับในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้
เราจึงควรตั้งคำถามเกี่ยวกับเจตจำนงทางการเมือง (political will) ของรัฐบาลปัจจุบันในการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคม (social protection) สำหรับประชาชน โดยรัฐบาลมีเจตนาหลีกเลี่ยงการปฏิรูประบบบำนาญเนื่องจากผลประโยชน์ขัดแย้งทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น
เพราะการพัฒนาสวัสดิการสังคมเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปภาษี การบริหารงบประมาณ และการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งล้วนมีผลประโยชน์ทางการเมืองเกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ อาจกระทบผู้ได้รับผลประโยชน์เดิม ทำให้รัฐบาลอาจต้องตัดสินใจเลือกความสำคัญ
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีฉันทามติในวงกว้างในหมู่ภาคประชาสังคม (ตามที่สะท้อนจากคะแนนเสียงเลือกตั้ง) ภาคการเมือง นักวิชาการ และหน่วยงานวิจัยว่า ประเทศไทยควรมีสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมด้วยการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและแนวทางการจัดการ
ตัวอย่างเช่น ธนาคารโลกมีงานวิจัยว่า หากประเทศไทยดำเนินการ “ปฏิรูปภาษี” และ “ปฏิรูปงบประมาณ” จะสามารถลดการขาดดุลงบประมาณได้มากกว่า “การไม่ทำอะไร” (status quo) ยิ่งไปกว่านั้น การ "ปฏิรูปภาษี" เช่น เพิ่ม VAT และ ขยายฐานภาษี สามารถสร้างรายได้ คิดเป็น 3.5% ของ GDP (Thailand Public Spending and Revenue Assessment, World Bank, 2023)
ที่มา : Thailand Public Spending and Revenue Assessment, World Bank, 2023
ยิ่งไปกว่านั้น รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของ คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2567) มีข้อเสนอแนะถึงการขึ้นอัตราบำนาญพื้นฐานแบบทยอยปรับขึ้น พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาของงบประมาณ
อีกทั้งยังเสนอแนะว่า รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่องแหล่งงบประมาณที่จะนำมาใช้สำหรับบำนาญพื้นฐานประชาชนอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การศึกษาแหล่งงบประมาณในอนาคต หรือการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : ผู้เขียนร่วมนำเสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ และส่งรายงานฉบับดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อการคุ้มครองความยากจนได้จริง งานวิจัยของผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุจะต้องมีบำนาญอย่างน้อย 2,000 บาทต่อเดือน (เมื่อเทียบกับเส้นความยากจนที่ 3,000 บาท) เพราะหากต่ำกว่า 2,000 บาท
หมายความว่า เป้าหมายของการคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุล้มเหลวโดยอัตโนมัติ โดยนอกเหนือจากบำนาญขั้นพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยจำเป็นต้องออกแบบกลไกการออมและแรงจูงใจในการวางแผนทางการเงินสำหรับการเกษียณอายุที่ครอบคลุมวัยแรงงานทุกคน เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งควรกำหนดให้ระบบบำนาญแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติที่มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน, สร้างระบบฐานข้อมูล โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการเบี้ยผู้สูงอายุส่วนเพิ่มเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในวัยทำงาน, ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทำงานนานขึ้น, และ เสนอให้มีการทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ” จากการทำงาน
แต่อนิจจา รัฐบาลดูเหมือนจะสนใจนโยบายประชานิยมระยะสั้น (เช่น การแจกเงิน) และธุรกิจการเมือง มากกว่ารากฐานสวัสดิการระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น คนระดับรัฐมนตรียังได้ให้ข้อมูลต่อสังคมครั้งแล้วครั้งเล่าว่า มีคนไทยเสียภาษีแค่ 4 ล้านคน เพื่อเป็นข้ออ้างของการไม่ต้องทำอะไรที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูปที่จะทำให้ระบบบำนาญพอเพียงเหมาะสมและยั่งยืนมากขึ้น
สรุป
การที่รัฐบาลไม่ให้การรับรองร่างกฎหมายเหล่านี้ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับ "เจตจำนงทางการเมือง" ของรัฐบาลว่า ต้องการให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมจริงหรือไม่ หรือกำลังพยายามหลีกเลี่ยงการผลักดันกฎหมายที่อาจกระทบกับผลประโยชน์ทางการเมืองใด ๆ
ทั้งที่นักวิชาการหลายฝ่าย รวมถึงภาคประชาชนและภาคการเมือง มองว่าประเทศไทยควรมีระบบบำนาญพื้นฐาน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการศึกษารองรับแล้วเกี่ยวกับแหล่งงบประมาณและแนวทางดำเนินการ แต่ยังขาดการผลักดันจากระดับนโยบายโดยรัฐบาล
ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
อ่านประกอบ :
ก่อน‘นายกฯ’ตีตก! ย้อนดู‘ร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชนฯ’ 3 ฉบับ-ลุ้น‘พม.’ชงเพิ่ม‘เบี้ยคนชรา’
นายกฯตีตก‘ร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชน’ 3 ฉบับ-‘ภาคปชช.’ไม่แปลกใจ เหตุรบ.มุ่งแจก‘เงินหมื่น’
บำนาญประชาชน : ถึงเวลานับหนึ่งได้หรือยัง? ( 3 )
บำนาญประชาชน : ถึงเวลานับหนึ่งได้หรือยัง? (2)
'อัตราบำนาญพื้นฐาน'ที่เหมาะสม และข้อพิจารณาทางเศรษฐกิจของประเทศ
บำนาญประชาชน : ถึงเวลานับหนึ่งได้หรือยัง?
เพิ่ม'เบี้ยผู้สูงอายุ' 1 พันบาท 'ถ้วนหน้า' ปูทาง'บำนาญประชาชน'?
เปิดรายงาน'กมธ.'ฉบับล่าสุด ชี้ช่อง'แหล่งรายได้'โปะ‘บำนาญประชาชน’-แนะลดงบฯซ้ำซ้อน 4 หมื่นล.
'เครือข่ายภาคปชช.'เรียกร้อง'รัฐบาล'ผลักดันนโยบาย'บำนาญแห่งชาติ'
'วราวุธ'แจงขึ้นเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า 1 พันบาทไม่ได้ ชี้รายรับ-รายจ่าย รบ.สวนทางกัน
อีกครั้งสำหรับการพัฒนา'บำนาญผู้สูงอายุ' เพื่อระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
ต่างกัน 4 เท่า! เทียบงบ‘เบี้ยผู้สูงอายุ-บำนาญขรก.’10ปี ก่อน‘รบ.บิ๊กตู่’รื้อเกณฑ์จ่ายคนชรา
‘จุรินทร์’ยันไม่ปรับเกณฑ์จ่าย‘เบี้ยผู้สูงอายุ’-‘นักวิชาการ’มองรัฐไม่กล้าเก็บภาษีคนรวย
รบ.แจงปรับลดเบี้ยผู้สูงวัย เฉพาะคนรวย ลดภาระงบประมาณ
รายจ่ายยากลดทอน 2 ล้านล.! เปิด‘ความเสี่ยงการคลัง’ล่าสุด หลัง‘นักการเมือง’โหม‘ประชานิยม’
สำรวจนโยบาย 'บำนาญแห่งชาติ-เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ' สู้ศึกเลือกตั้ง-เสี่ยงภาระการคลัง?
เวทีเสวนาฯชงรีดภาษีมั่งคั่ง-ขึ้นVat หางบโปะ‘บำนาญแห่งชาติ’-ห่วง‘รุ่นเกิดล้าน’แก่แล้วจน
จุดยืนล่าสุด 5 พรรคการเมือง หนุน‘บำนาญแห่งชาติ’ แต่ไม่ฟันธงได้เดือนละ 3 พันบาท ปีไหน!
ข้อเสนอ 'บำนาญถ้วนหน้า' เดือนละ 3 พันบาท ทำได้-ไม่ได้ ใช้เงินเท่าไหร่-หาเงินจากไหน?
จี้เลิกลดหย่อนภาษีคนรวย-เจ้าสัว! ‘ภาคปชช.’เคลื่อนไหวผลักดัน‘บำนาญถ้วนหน้า’ 3 พันบาท/ด.
จาก'สงเคราะห์'สู่'สวัสดิการ' เพิ่ม'เบี้ยผู้สูงอายุ' 3 พันบาท ทางเลือกที่รัฐบาลทำได้?
ครม.อนุมัติ 8.3 พันล้าน เพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา 100-250 บาท 6 เดือน
ผลวิจัยฯชี้เพิ่ม‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’เป็น 3 พันบาท/ด. ต้นทุนเทียบเท่าขึ้นแวต 16.9%
รมว.พม.รับข้อเสนอเครือข่ายประชาชน พัฒนา 'เบี้ยผู้สูงอายุ' เป็นระบบบำนาญ