เปิดกรุผลสอบสตง.(48) ปรับภูมิทัศน์อบต.หาดทรายรีชุมพร ก่อสร้างอาคาร-อุปกรณ์ ไม่คุ้มค่า
“...การก่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ยังไม่ได้เปิดให้บริการเนื่องจากขาดการเตรียมความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านบุคลากรและด้านข้อมูลข่าวสาร การก่อสร้างอาคารศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองยังไม่ได้เปิดบริการขายสินค้า เนื่องจากอาคารมีลักษณะเป็นลานโล่ง ไม่มีโต๊ะ ตู้ที่เอื้ออำนวยต่อการวางสินค้าและจัดเก็บ รวมทั้งตัวอาคารตั้งอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากบริเวณการกอ่สร้างปรับปรุง จุดอื่น เป็นระยะทางตามเส้นทางถนนประมาณ 3 กิโลเมตร ทำให้ คาดหมายได้ว่าอาจมีการใช้ประโยชน์อาคารนี้ไม่คุ้มค่า...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 48 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศนตำบลหาดทรายรี ประจำปีงบประมาณ 2545 ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร
@ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ตำบลหาดทรายรี ประจำปีงบประมาณ 2545 ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร
รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลางเป็นค่าใช้จ่าย สำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 58,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับปัญหาหาก เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวมากขึ้น โดยกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ จัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อ ขอรับงบประมาณซึ่งแยกเป็นแผนงานต่าง ๆ ในส่วนของแผนงานด้านการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบล หาดทรายรี อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร ได้จัดทำแผนงานเสนอผ่านทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ตำบลหาดทรายรี จำนวนเงิน 10,000,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นการเสริมรายได้ให้กับประชาชน และเป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดชุมพร ประกอบด้วยกิจกรรมก่อสร้าง ปรับปรุงรวม 6 กิจกรรม คือ ก่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 1 หลัง ก่อสร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง 1 หลัง ก่อสร้างซุ้มที่พักนักท่องเที่ยว 22 ซุ้ม และซ่อมแซมเขื่อนกันดิน ลอกท่อระบายน้ำและปูกระเบื้องทางเท้าถนนเลียบชายหาดจัดสวนหย่อม พร้อมปลูกต้นไม้บริเวณริมชายหาด และก่อสร้างทางเดิน บริเวณริมชายหาด (side walk) โดยดำเนินการที่บริเวณชายทะเลหาดทรายรี ในพื้นที่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ซึ่ง เป็นพื้นที่ติดต่อกัน และได้ก่อสร้างอาคารศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองในพื้นที่หมู่ที่ 1 ซึ่งห่างออกไปตาม เส้นทางถนนประมาณ 3 กิโลเมตร
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการตามโครงการนี้ก็เพื่อกระจายตัวเงินเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวอันเป็นรายได้หลักของประเทศ การดำเนิน โครงการจากการรบัการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักประสบปัญหาด้าน ต่าง ๆ ซึ่งทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้กำหนดไว้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงได้ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการดังกล่าวเพื่อให้ทราบว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่
ผลการตรวจสอบ
องค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายรีได้รับจัดสรรงบประมาณ 8,925,400 บาท ได้ทำสัญญาจ้างและปรับลดวงเงิน เนื่องจากแก้ไขประมาณราคาให้สอดคล้องกับแบบรูปรายการละเอียดของงานปลูกต้นไม้และปูหญ้า คงเหลือเป็นค่าจ้าง 8,912,450 บาท จำนวนเงินงบประมาณที่คงเหลือเนื่องจากทำสัญญาต่ำกว่างบประมาณ 12,950 บาท ไม่ได้จัดทำโครงการใดเพิ่มเติมงบประมาณพับไปผู้รับจ้างได้ทำการก่อสร้างปรับปรุงทั้ง 6 กิจกรรมครบถ้วนตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
จากการตรวจสอบมีข้อตรวจพบ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานบางกิจกรรมยังไม่ได้ใช้ประโยชน์
โครงการปรับปรุงฯ มีกิจกรรมการก่อสร้างปรับปรุงรวม 6 กิจกรรม พบว่า ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2546 ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ 2 กิจกรรม และใช้ประโยชน์บางส่วน 2 กิจกรรม คือ
1.1 การก่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ยังไม่ได้เปิดให้บริการเนื่องจากขาดการเตรียมความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านบุคลากรและด้านข้อมูลข่าวสาร
1.2 การก่อสร้างอาคารศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองยังไม่ได้เปิดบริการขายสินค้า เนื่องจากอาคารมีลักษณะเป็นลานโล่ง ไม่มีโต๊ะ ตู้ที่เอื้ออำนวยต่อการวางสินค้าและจัดเก็บ รวมทั้งตัวอาคารตั้งอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากบริเวณการกอ่สร้างปรับปรุง จุดอื่น เป็นระยะทางตามเส้นทางถนนประมาณ 3 กิโลเมตร ทำให้ คาดหมายได้ว่าอาจมีการใช้ประโยชน์อาคารนี้ไม่คุ้มค่า
1.3 การจัดสวนหย่อมพร้อมปลูกต้นไม้ พื้นที่บางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากมีประชาชนบุกรุกเข้าทำการปลูกสร้างร้านค้าขายอาหาร
1.4 การก่อสร้างทางเดินบริเวณริมชายหาด (side walk) มีการติดตั้งโคมไฟฟ้าแต่ไม่สามารถเปิดไฟให้แสงสว่างได้เนื่องจากยังไม่มีการขยายเขตและติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
นอกจากนี้พบว่างานปูกระเบื้องของกิจกรรมลอกท่อระบายน้ำและปูกระเบื้องทางเท้าถนนเลียบ ชายหาด และกิจกรรมก่อสร้างทางเดินบริเวณริมชายหาด (side walk) ได้ใช้กระเบื้องผิวมันทำให้ลื่นเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้สัญจร ซึ่งเจ้าของร้านค้าที่อยู่ในบริเวณทางเท้าได้นำแผ่นพลาสติกกันลื่นมาปูตรึงกระเบื้องเพื่อป้องกันอันตราย แม้ในการดำเนินการ อบต.หาดทรายรี จะมุ่งเน้นในเรื่องความสวยงามเนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่เชิดหน้าชูตากับนักท่องเที่ยว แต่ในการก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ควร คำนึงถึงประโยชน์ในการใช้งานและความปลอดภัยของผู้ใช้โดยทั่วไปด้วย
2. มีการขุดภูเขาอันเป็นที่สาธารณะเพื่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ในการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอันเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ ตำบลหาดทรายรีองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายรี ได้จัดทำแผนผังขอใช้สถานที่ต่อองค์การบริหารส่วน จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ โดยวางผังอาคารส่วนน้อยในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ชุมพร เป็นบริเวณ 5.50 x 29.50 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ 162.25 ตารางเมตร วางผังอาคารส่วนใหญ่เนื้อที่ 462.75 ตารางเมตร ในบริเวณสวนสมุนไพรหมอพร (สวนสมุนไพรซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) ซึ่งเป็นบริเวณเชิงเขาอันเป็นที่สาธารณะในการก่อสร้างอาคารมีการปรับพื้นที่ที่มีการปลูกพืชสมุนไพรโดยขุดภูเขาที่ปลูกพืชสมุนไพรเข้าไปเป็นปริมาณดินประมาณ 8,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ เมื่อประชาชนคัดค้าน อบต.หาดทรายรี จึงระงับการก่อสร้างจังหวัดชุมพร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้มีการปรับพื้นที่สวนสมุนไพรให้คืนสู่สภาพเดิมโดย อบต. หาดทรายรี จ่ายขาดเงินสะสมจำนวนเงิน 500,000 บาท เพื่อจ้างปรับปรุงสวนสมุนไพรหมอพรและได้ย้ายสถานที่ก่อสร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมาอยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
ทั้งหมด เป็นเนื้อที่ 625 ตารางเมตร การขุดภูเขาเพื่อปรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารนี้ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการปรับปรุงพื้นที่ให้คืนสู่สภาพเดิมโดยไม่ควรจะต้องเสียเป็นเงิน 500,000 บาท
สาเหตุสำคัญ
1. อบต.หาดทรายรี บริหารโครงการด้านการจัดหาพื้นที่โดยขาดการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
2. อบต.หาดทรายรี จัดทำแผนผังขออนุญาตใช้สถานที่ก่อสร้างต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร โดยกำหนดการวางพื้นที่การก่อสร้างอาคารส่วนใหญ่ ในบริเวณสวนสมุนไพรหมอพร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ได้อนุญาตโดยไม่ท้วงติง เป็นการดำเนินการที่ขาดการประสานงานระหว่างกันของหน่วยงานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารราชการ
3. อบต.หาดทรายรีขาดการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการทั้งในด้านบุคลากร และ งบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างต่อเนื่องภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
4. การดำเนินโครงการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารของ อบต.หาดทรายรี โดยไม่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับรู้ รวมทั้งไม่ได้สำรวจความคิดเห็นหรือความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
5. การพัฒนาการท่องเที่ยวเน้นหนักในการก่อสร้างถาวรวัตถุโดยไม่ได้คำนึงถึงการบำรุงรักษาควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ผลกระทบ
1. ประชาชนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมการก่อสร้าง/ปรับปรุงตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเต็มที่ภายหลังการดำเนินการตามโครงการแล้วเสร็จ
2. อบต.หาดทรายรี ต้องดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่บริเวณที่ได้ขุดภูเขาให้คืนสู่สภาพเดิม โดยอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อดำเนินการจ้างเหมาปรับปรุงสวนสมุนไพรหมอพรในวงเงิน 500,000 บาท ทำให้สูญเสียงบประมาณโดยไม่ควรจะต้องเสียเป็นเงิน 500,000 บาท
ข้อเสนอแนะ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายรี ดำเนินการดังนี้
1. ขอความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนการจัดอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เกี่ยวกับงานบริการนักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขหรือป้องกันปัญหาการท่องเที่ยว มีส่วนร่วมในการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวให้มีคุณค่า เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น
3. จัดหางบประมาณเพื่อบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลหาดทรายรี ทั้งในด้านของความเป็นระเบียบเรียบร้อยความสะอาดและความสะดวกปลอดภัย
4. จัดอบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้กับประชาชนในท้องถิ่นและอบรมบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวให้มีจิตสำนึกในการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยว
5. ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรณีทางราชการได้รับความเสียหาย เนื่องจากต้องจ่ายเงินเพื่อดำเนินการปรับปรุงสวนสมุนไพรให้คืนสภาพเดิม จำนวน 500,000 บาท
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(45) พัฒนาสาขาท่องเที่ยวหนองคาย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคากลางแพง-ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(46) โรงงานปุ๋ย/ธ.เมล็ดพันธุ์ประจวบฯ/ตึกสนง./เครื่องจักร ไม่เปิดใช้งาน
เปิดกรุผลสอบสตง.(47) ซ่อมอู่เรือสัตหีบ ช้ากว่าเป้าหมาย-อุปกรณ์บางอย่างใช้ไม่ได้
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/