เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
"...จากการตรวจสอบการลงเวลาปฏิบัติราชการ ของเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ราย ระหว่างวันที่ 15–30 กันยายน 2557 พบว่า เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ราย ได้ลงลายมือชื่อปฏิบัติราชการทุกวัน ยกเว้นนายยุทธนา ขวัญเมือง ไม่ได้ลงลายมือชื่อปฏิบัติราชการในวันในวันที่ 26 กันยายน 2557 เพียง 1 วัน เนื่องจากได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมสัมมนา “ทิศทางการปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน” ณ รร.มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. จากข้อสังเกตข้างต้น เห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยไม่ได้มีการปฏิบัติราชการจริง เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย จำนวนเงิน 92,520 บาท..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 7 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำ เพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน ของ สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงาน
@ โครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำ เพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน
เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2557 สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีได้สร้างแนวคิดให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ พลังงานทั่วไปมาเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมา เป็นการบริการให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยจัดทำโครงการน าร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้านและผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน ซึ่ง โครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค มีน้ำสำหรับบริโภคที่เพียงพอในราคาที่เหมาะสม และประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ มีไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน จากการตรวจสอบผลการดำเนินงานของ สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สรุปประเด็นข้อตรวจพบ ดังนี้
ข้อตรวจพบ โครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้านและผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการได้
ข้อสังเกต ผลการดำเนินการของโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและสองคล้องกับข้อเท็จจริง จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) การจัดทำเอกสารเบิกจ่ายเงินไม่ตรงกับข้อเท็จจริง (2) การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการ (3) การขอใช้พื้นที่ในการก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดทำโครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวเมื่อมีการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถช่วยให้
1. ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ต าบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ได้มีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคเพียงพอในราคาที่เหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้กับประชาชนในหมู่ที่ 2 จำนวน 446 ครัวเรือน 1,256 คน และหมู่ที่ 9 จำนวน 502 ครัวเรือน 1,202 คน
2. ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลปิล็อค อำเภอทองผาภูมิ ได้มีไฟฟ้าใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยมีเป้าหมายให้กับชุมชนในหมู่ที่ 2 จำนวน 541 ครัวเรือน 970 คน และหมู่ที่ 4 จำนวน 397 ครัวเรือน 1,111 คน
สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีจัดทำสัญญาจ้างเหมาโครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีพลังงานทดทนมาใช้ในระบบสูบน้ำฯ ตามสัญญา จ้างเลขที่ 327/2557 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 วงเงิน 6,350,000 บาท โดยว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีที แคมป์ กรุ๊ป ให้ดำเนินการในโครงการฯ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
1. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมถังบรรจุน้ำและระบบท่อ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วงเงิน 5,600,000 บาท
2.ก่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 4 ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี วงเงิน 750,000 บาท
จากการตรวจสอบพบว่า โครงการนำร่องการนเทคโนลยีลังงานทดแทนมาใช้ในระบบสูบน้ำฯ เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการได้ รายละเอียดดังนี้
1. การก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมถังบรรจุน้ำและระบบท่อ งบประมาณ จำนวน 5,600,000 บาท เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำแควน้อยไปยังสระเก็บน้ำเดิมใกล้หอถังประปาของ อบต.ลุ่มสุ่ม และสูบน้ำจากสระเข้าหอถังประปา ระยะทางจากแม่น้ำแควน้อยถึงหอถังประปามีความยาว 5 กิโลเมตร โดยก่อสร้างจุดพักน้ำจำนวน 13 จุด เพื่อทยอยสูบน้ำไปยังปลายทาง จากการตรวจ สังเกตการณ์งานก่อสร้างเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 พบว่า สถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้ นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่สังเกตการณ์รวมเป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม และประชาชนในพื้นทีหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม ได้ข้อมูลว่า ก่อนที่จะมีโครงการสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ประชาชนหมู่ที่ 2 จำนวน 100 ครัวเรือน และ หมู่ที่ 9 จำนวน 502 ครัวเรือน ใช้น้ำประปาของ อบต.ลุ่มสุ่ม ในการอุปโภคบริโภคราคายูนิตละ 30 บาท แต่ปัจจุบันประชาชนในหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ยังคงซื้อน้ำในการอุปโภคบริโภคจาก อบต.ลุ่มสุ่ม ในราคายูนิตละ 30 บาทเช่นเดิม
2. การก่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ งบประมาณ 750,000 บาท จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
2.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโบอ่อง หมู่ที่ 2 ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ งบประมาณ 375,000 บาท
จากการสัมภาษณ์ ได้ข้อมูลว่าหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2 เดือน หลังจากนั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จนถึงวันที่สังเกตการณ์ รวมเป็น ระยะเวลา 2 ปี 4 เดือน และจากการสังเกตการณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 พบว่า ระบบผลิตไฟฟ้าไม่มีน้ำไหลผ่าน อุปกรณ์ชำรุด จึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
2.2 โรงเรียนต้ารวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ หมู่ที่ 4 ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ งบประมาณ 375,000 บาท
เมื่อโครงการก่อสร้างกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำก่อสร้างแล้วเสร็จปรากฏว่า แหล่งน้ำที่จะนำมาในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งน้จากประปาภูเขาที่โรงเรียนฯ นำมาเก็บกักไว้ในถังเก็บกักน้ำ ขนาด 30 ลบ.ม. เพื่อที่จะให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนฯ ใช้ในการอุปโภคบริโภคมีไม่เพียงพอสหรับนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไม่มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง จนถึงวันที่ สังเกตการณ์ 23 พฤษภาคม 2560 รวมเป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน
สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ได้ให้ผู้รับจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยย้ายระบบการผลิตไปติดตั้งในแพบริเวณลำห้วยมอปะนอย นำน้ำจากลำห้วยผ่านเข้าระบบผลิตกระแสไฟฟ้า สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 12 (จังหวัดเพชรบุรี) ได้ติดตามผลการแก้ไขปัญหาของผู้รับจ้างเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 พบว่า กังหันสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้ จำนวน 2 ตัว มีเศษขยะที่อยู่ในลำห้วยแม่ปะนอยผ่านตะแกรงสหรับกรองขยะเข้ามาตามท่อ PVC และมาอุดตันที่ตัวกังหัน กังหันจึงไม่สามารถหมุนและผลิตกระแสไฟฟ้าได้และการใช้ประโยชน์ในชุมชนหมู่ที่ 4 มีบ้าน ของนายยาศักดิ์ เพียงหลังเดียวที่ใช้ประโยชน์โดยใช้กับหลอดประหยัดไฟ 1 ดวง และทีวีเครื่องเล็ก 1 เครื่อง กอรปกับปัจจุบันแต่ละครัวเรือนมีพลังงานแสงอาทิตย์แล้วจึงไม่ให้ความสำคัญในการใช้ประโยชน์
ผลกระทบ
1. รัฐสูญเสียงบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นจำนวนเงิน 6,350,000 บาท เกิดความไม่คุ้มค่าและเสียโอกาสในการที่จะนำเงินงบประมาณไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เดือดร้อนและมี ความจำเป็น
2. ประชาชนไม่ได้รับการพัฒนาด้านพลังงานเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง และยั่งยืน และสำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีไม่สามารถน าพลังงานทดแทนมาใช้ในกระบวนการสูบน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้แต่ละปี
3. รัฐต้องจัดหางบประมาณเพื่อมาซ่อมแซมอุปกรณ์ของระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่มีการสูญหายและชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,124,450 บาท
สาเหตุ
1. สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ขาดความพร้อมในการเตรียมพื้นที่ดำเนินการโครงการ โดยไม่มีการจัดทำหนังสือขออนุญาตกรมทางหลวงเพื่อเชื่อมต่อท่อส่งน้ำข้ามถนนลาดยางหมายเลข 3343
2. สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ไม่มีการสำรวจพื้นที่และศึกษาความเป็นไปได้ของการ เลือกใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมายและ สภาพแวดล้อมของพื้นที่ดำเนินการโครงการ และจากการติดตามการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี พยายามแก้ไขปรับปรุงระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งการ ซ่อมแซมอุปกรณ์ระบบ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการเปลี่ยนเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเป็นระบบโซลาเซลล์ในการผลิตไฟฟ้าแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
3. ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของสำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินโครงการและดูแลบำรุงรักษาระบบด้วยการสนับสนุนงบประมาณการจัดเจ้าหน้าที่ดูแล การจัดอุปกรณ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม
4. ขาดการติดตามประเมินผลและขาดการประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสิ้นสุดโครงการ รวมทั้งไม่มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ดูแลระบบ เพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งานของทรัพย์สินและบำรุงรักษาต่อไป
ข้อเสนอแนะ สตง. มีข้อเสนอแนะให้สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการดังนี้
1. กรณีขาดความพร้อมในการเตรียมพื้นที่ดำเนินการนั้น สำหรับสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เห็นควรให้สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีดำเนินการติดต่อประสานงานกับแขวงทางหลวง โดยขออนุญาตเจาะถนนเชื่อมต่อท่อส่งน้ำจากจุดพักน้ำจุดที่ 8 ไปยังจุดพักน้ำจุดที่ 9 เพื่อให้สามารถส่งน้ำไปยังหอถังประปาได้และมีการประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม ในการจัดทำโครงการต่อเนื่อง เช่น สระน้ำเพื่อรองรับน้ำบริเวณปลายท่อ และติดตั้งเครื่องกรองน้ำเพื่อให้น้ำมีคุณภาพต่อการบริโภคของประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม
2. สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีควรมีการประเมินผลความสำเร็จของระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันว่าสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลน ไฟฟ้าได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ หากพบว่าไม่คุ้มค่ากับการบำรุงรักษา ควรคัดเลือกชนิดหรือประเภทเทคโนโลยีพลังงานทดแทนอื่นที่เหมาะสมกับสภาพและปัญหาของพื้นที่ในการแก้ไข
3. กรณีขาดการดูแลรักษาระบบ ทำให้อุปกรณ์ชำรุดและสูญหาย ควรพิจารณาจัดหางบประมาณสำหรับซ่อมแซมทรัพย์สินที่ชำรุดและสูญหายไป เพื่อให้ระบบอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการดำเนินการของภาครัฐ แนะนำให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ/ดูแลทรัพย์สินในพื้นที่ของตนเอง
4. จัดให้มีการติดตามประเมินผล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินโครงการ เพื่อ รายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่วางไว้ และควรแต่งตั้งภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล เพื่อการมีส่วนร่วมใน การตรวจสอบและดูแลทรัพย์สินในพื้นที่ของตน
ข้อสังเกต ผลการดำเนินการโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
1. การจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อเบิกจ่ายเงิน
สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ได้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เพื่อติดตามงานโครงการฯ ของนายยุทธนา ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี นายสกนธ์ ลิมทโรภาส นายช่างเทคนิคช านาญงาน และนายกิตตติพงษ์ สานุวงศ์ นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 15–30 กันยายน 2557 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 92,520 บาท ดังนี้
1. เบิกจ่ายเป็นค่าเช่าเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 15 ครั้งๆ ละ 3,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท
2. เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย 3 คน จำนวน 16 วันๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 11,520 บาท
3. เบิกจ่ายเป็นค่าเช่าที่พักเหมาจ่าย 3 คน จำนวน 15 คืนๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
จากการตรวจสอบการลงเวลาปฏิบัติราชการ ของเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ราย ระหว่างวันที่ 15–30 กันยายน 2557 พบว่า เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ราย ได้ลงลายมือชื่อปฏิบัติราชการทุกวัน ยกเว้นนายยุทธนา ขวัญเมือง ไม่ได้ลงลายมือชื่อปฏิบัติราชการในวันในวันที่ 26 กันยายน 2557 เพียง 1 วัน เนื่องจากได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมสัมมนา “ทิศทางการปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน” ณ รร.มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม
จากข้อสังเกตข้างต้น เห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยไม่ได้มีการปฏิบัติราชการจริง เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย จำนวนเงิน 92,520 บาท กรณีดังกล่าวกลุ่มตรวจสอบสืบสวนได้รับเรื่องไว้เพื่อดำเนินการในส่วน ที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว
2. คณะกรรมการตรวจรับงานโดยการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
ตามสัญญาจ้างเลขที่ 327/2557 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 สำนักงานพลังงาน จังหวัดกาญจนบุรี ได้ว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีที แค้มป์ กรู๊ป เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ชุมชน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
1. สถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมถังบรรจุน้ำและระบบท่อ จำนวน 2 แห่ง คือ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
2. ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ จำนวน 2 แห่ง คือ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
จากการตรวจเอกสาร พบว่า ผู้รับจ้างส่งมอบงานงวดสุดท้าย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 และคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างได้ตรวจรับงานงวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 โดย แสดงความเห็นว่าถูกต้องตามรูปแบบและรายการประกอบของสัญญาจ้างทุกประการ
จากการตรวจสังเกตการณ์พื้นที่ก่อสร้าง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 พบว่า การก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่แล้วเสร็จตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดใน สัญญา ดังนี้
1. ไม่มีการเชื่อมต่อท่อส่งน้ า (PE) ระหว่างจุดพักน้ำจุดที่ 8 กับจุดพักน้ำจุดที่ 9 ลอดถนนทางหลวงหมายเลข 3343 สายเก่าลงเขา ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของแขวงการทาง
2. จุดสิ้นสุดโครงการซึ่งท่อส่งน้ำต้องส่งน้ำเข้าหอถังสูงซึ่งเป็นถังจ่ายน้ำประปาของหมู่บ้าน ไม่มีการต่อเชื่อมท่อส่งน้ำเข้าสู่หอถังสูงแต่อย่างใด
3. มีการเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการ โดยในจุดเริ่มต้นโครงการ มีการย้ายถังพักน้ำไปติดตั้งที่จุดพักน้ำจุดที่ 1
การที่ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จและไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการ แต่ผู้ควบคุมงานมีการจัดทำรายงานการควบคุมงานว่างานแล้วเสร็จตามสัญญา คณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับงานจ้างโดยระบุว่างานถูกต้องตามรูปแบบและรายการประกอบของสัญญาจ้างทุกประการ พร้อมทั้งเสนอเรื่องการเบิกจ่ายเงินตามสัญญา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งกลุ่มตรวจสอบสืบสวนได้รับไว้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว
3. การขอใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ที่เกี่ยวข้อง
ตามระเบียบกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ว่าด้วยข้อกำหนด เงื่อนไข และหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนโครงการ การสาธิตส่งเสริมเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จาก พลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ.2546 หมวดที่ 2 ข้อ 19 โครงการก่อสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะโครงการ คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผูครอบครองที่ดิน ตองยินยอมเป็นลายลักษณอักษรให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน
จากการสัมภาษณ์เจ้าของที่ดิน พบว่า ในการขอใช้พื้นที่ก่อสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการตกลงขอใช้พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาเซลล์โดย ไม่ได้มีการทำหนังสือยินยอมให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีเพียงข้อตกลงการให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยวาจา และไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 3 ปี จากการตรวจสอบสังเกตการณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 พบว่า พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย โดยสภาพพื้นที่ที่ก่อสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ชำรุด ไม่ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดี และเจ้าของที่ดิน ให้ข้อมูลว่า ถ้าไม่ดูแลบริเวณที่ก่อสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในสภาพดี ต่อไปอาจขอพื้นที่คืน ปัจจุบันจากการสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า นายอนันต์ ยังไม่แจ้งขอคืนที่ดินแต่อย่างใด
ข้อเสนอแนะ
สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจบุรี ควรดำเนินการติดต่อขอใช้พื้นที่อย่างถาวร โดยจัดทำเป็นหนังสือยินยอมให้มีกรรมสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการขอพื้นที่คืน และในโอกาสต่อไป หากมีการดำเนินการในลักษณะของการขอใช้พื้นที่ ควรดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ว่าด้วยข้อกำหนด เงื่อนไข และหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนโครงการ การสาธิต ส่งเสริมเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. 2546 อย่างเคร่งครัด
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์