เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
“...เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 พบว่า มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 4 สัญญา (จำแนกเป็นแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดในสัญญาจำนวน 3 สัญญา แล้วเสร็จล่าช้ากว่า กำหนดในสัญญา 1 สัญญา) คงเหลือเป็นการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จำนวน 1 สัญญา โดยมีการเบิกจ่ายเงินไปแล้วทั้งหมด 44,097,195.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 90.26 ของจำนวนเงินที่ก่อหนี้ผูกพันทั้งหมด คงเหลือเงินอีก จำนวน 4,756,704.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.74...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 44 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงานโครงการก่อสร้างแหล่งน้ำเพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 5 แห่ง ประจำปีงบประมาณ 2549 ของโครงการชลประทานพังงา
@ โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำเพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 5 แห่ง ประจำปีงบประมาณ 2549 ของโครงการชลประทานพังงา
เนื่องจากในปีที่ผ่าน ๆ มา ประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง โครงการชลประทานพังงาจึงจัดทำโครงการก่อสร้างแหล่งน้ำ เพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 5 แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากงบการบริหารงานจังหวัดแบบ บูรณาการ (Chief Executive Officer :CEO) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา ด้านการพัฒนาขีด ความสามารถของการแข่งขันในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นเงิน 49,049,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้สำหรับการอุปโภค–บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 13 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ได้ตระหนักและเห็น ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้กำหนดให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) ขึ้น เพื่อ ทราบผลการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
ผลการตรวจสอบสรุปได้ดังนี้
ประเด็นข้อตรวจพบที่ 1 : การดำเนินงานตามโครงการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำเพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 5 แห่ง ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปีงบประมาณ 2549 จำนวน 49,049,000.00 บาท ได้ดำเนินการจัดจ้างและก่อหนี้ผูกพันเป็นเงินทั้งหมด 48,853,900.00 บาท เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2549 ปรากฏว่าโครงการยังไม่แล้วเสร็จ การดำเนินงานมีความล่าช้ากว่าแผนมาก และโดยภาพรวมมีการเบิกจ่ายเงินไปเพียง 12.52% ของวงเงินรวมจากการก่อหนี้ผูกพัน
จากการตรวจสอบความก้าวหน้า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 พบว่า มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 4 สัญญา (จำแนกเป็นแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดในสัญญาจำนวน 3 สัญญา แล้วเสร็จล่าช้ากว่า กำหนดในสัญญา 1 สัญญา) คงเหลือเป็นการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จำนวน 1 สัญญา โดยมีการเบิกจ่ายเงินไปแล้วทั้งหมด 44,097,195.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 90.26 ของจำนวนเงินที่ก่อหนี้ผูกพันทั้งหมด คงเหลือเงินอีก จำนวน 4,756,704.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.74
สาเหตุเนื่องจากการดำเนินการเพื่อจัดหาผู้รับจ้างมีความล่าช้า และผู้รับจ้างไม่ได้เข้าดำเนินการ ในทันทีเมื่อถึงเวลากำหนดทำงานรวมทั้งไม่ส่งแผนการดำเนินงานภายใน 15 วัน นับถัดจากวันลงนามใน สัญญา ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการและปรับลดเนื้องาน เนื่องจากประชาชนเจ้าของพื้นที่มี ความขัดแย้งเรื่องสถานที่ก่อสร้างกับผู้รับจ้างในพื้นที่ดำเนินการ และคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานล่าช้า
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสำเร็จตามนโยบายการขจัดความยากจนของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ปี พ.ศ.2548–2552 การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา ตลอดจนกระทบต่อทัศนะคติของประชาชนในท้องถิ่นต่อการบริหาร จัดการของภาครัฐให้มีความรู้สึกในด้านลบและกระทบต่อการสนองความต้องการของประชาชนตลอดจน กระทบต่อการกระจายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจล่าช้าและแสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการโครงการของผู้เกี่ยวข้องไม่ประสบความสำเร็จ
ประเด็นข้อตรวจพบที่ 2 : การใช้ประโยชน์จากโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
โครงการชลประทานพังงาได้จัดทำรายงานเบื้องต้นการพิจารณาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 1,420 ครัวเรือน แต่จากการตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยการสอบถามผู้ใหญ่บ้านและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพียงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 พบว่า การใช้ประโยชน์จากโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มีผู้ใช้ประโยชน์เพียง 285 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.07 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
สาเหตุเกิดจากงานก่อสร้างดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามแผนและเกษตรกรบางส่วนมีแหล่งน้ำเพื่อ ใช้ในการอุปโภค-บริโภคหรือทำการเกษตรจากแหล่งน้ำอื่น ๆ แล้วยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากโครงการ นอกจากนี้ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อรับผิดชอบบริหารจัดการโครงการ และกลุ่มผู้ใช้น้ำที่จัดตั้งขึ้น ไม่ได้มีการบริหารจัดการน้ำให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งสิ่งก่อสร้างไม่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำน้ำไปใช้ ตลอดจนคุณภาพของน้ำไม่ดีและไม่สะอาด
ก่อให้เกิดผลกระทบคือทำให้โครงการไม่คุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่จ่ายในการดำเนินงานซึ่งมา จากเงินภาษีของประชาชน ส่งผลกระทบต่อทัศนะคติของประชาชนในท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการของ ภาครัฐ และกระทบต่อความสำเร็จตามนโยบายการขจัดความยากจนของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน ปี พ.ศ. 2548–2552 และการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการตลอดจนแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาจังหวัดพังงา
ข้อสังเกตอื่น ๆ : การดำเนินงานไม่เป็นไปตามหนังสือสั่งการ
โครงการชลประทานพังงากำหนดค่าควบคุมงานจ้างเหมาร้อยละ 3 โดยคำนวณจากราคากลาง ของงานก่อสร้าง แต่ตามหนังสือด่วนที่สุดของสำนักงบประมาณ ที่ นร 0416/13112 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2532 จะต้องใช้อัตราค่าควบคุมงานจ้างเหมาร้อยละ 3 ของค่างานตามสัญญา ผลจากการกำหนดค่าควบคุมงาน จ้างเหมาไม่ถูกต้องทำให้การเบิกจ่ายเงินค่าควบคุมงานฯ ของโครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำฝายคลองตำหนังมีจำนวนสูงเกินกว่าอัตราที่สำนักงบประมาณกำหนด กล่าวคือค่าควบคุมงานร้อยละ 3 ของค่างานตามสัญญาคิด เป็นเงิน 314,400.00 บาท ได้เบิกจ่ายจริง 317,188.40 บาท เกินกว่าอัตราเป็นเงิน 2,788.40 บาท ซึ่งโครงการ ชลประทานพังงาได้คืนเงินที่เบิกจ่ายเกินอัตราที่กําหนดนําส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดินแล้ว
ข้อเสนอแนะ ให้หัวหน้าโครงการชลประทานพังงา ดำเนินการ ดังนี้
1. ต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด โดยเมื่อโครงการได้รับการอนุมัติจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบฯ โดยเร็ว
2. เร่งรัดให้ผู้รับจ้างเสนอแผนงานและเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา
3. สั่งการให้คณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนและข้อกำหนดในสัญญา และจะต้องมีการบริหารจัดการงานที่ไม่เสร็จ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบฯ ข้อบังคับ มติ ครม. และหนังสือสั่งการอย่างเคร่งครัดและให้ คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานโดยเร็ว
4. ศึกษาและสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะดำเนินการอย่างรอบคอบ ก่อนการดำเนินโครงการต้องให้ประชาชนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำหนังสือแสดงความยินยอมการอนุญาตให้ใช้สถานที่ใน การก่อสร้าง และต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน
5. ต้องสำรวจข้อมูลและสภาพพื้นที่ก่อนการดำเนินงานโครงการ เพื่อทราบความต้องการที่แท้จริงและสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเรื่องแหล่งน้ำ
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์ของโครงการ เน้นความสำคัญให้ประชาชนตระหนักในการใช้น้ำในอนาคตและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
7. สนับสนุนและเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็วและให้ความรู้แก้ คณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำในเรื่องการบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์ที่กรมชลประทานกำหนดตลอดจน ดูแลให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรน้ำและการบำรุงดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ต้องตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่าจะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ตลอดจนแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพ ของน้ำติดตามผลและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในโครงการอย่างใกล้ชิด
9. กำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกำหนดอัตราค่าควบคุมงานจ้างเหมาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ สำนักงบประมาณกำหนดอย่างเคร่งครัด หากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องในครั้งต่อไปให้ดำเนินการตามกรณี
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/