‘สุริยะ’ ย้ำที่ดิน ‘เขากระโดง’ เป็นของ ‘รฟท.’ พร้อมเยียวยา 'ชาวบ้าน' ให้เช่าที่ดินใน ‘ราคาถูก’ ขณะที่ ‘อนุทิน’ ขอทุกฝ่ายเงียบ รอฟังคำพิพากษา 'ศาลปกครอง'
...................................
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์สื่อถึงกรณีที่นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย นำคณะลงพื้นที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ และระบุการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก้าวล่วงสิทธิ์ประชาชนในพื้นที่ ว่า เรื่องนี้อยากจะทำความชัดเจนว่า เรื่องที่ดินเขากระโดง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลฎีกา ตัดสินว่าที่บริเวณเขากระโดงนั้น เป็นที่ของ รฟท.
“ผมเข้าใจ เข้าใจท่านนายทรงศักดิ์ที่ห่วงใยประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องปกติในพื้นที่ท่าน ผมก็เข้าใจ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อมีคำพิพากษามา การรถไฟฯ ต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตามแล้ว เจ้าหน้าที่รถไฟฯ อาจจะโดนมาตรา 157 ได้ และถ้ามีการเอาที่ดินกลับมาเป็นของการรถไฟฯแล้ว เราก็สามารถเยียวยาประชาชนในพื้นที่ได้ โดยอาจจะคิด (ค่าเช่า) ในราคาที่ค่อนข้างถูก ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวร” นายสุริยะ กล่าว
นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่นายทรงศักดิ์มีข้อห่วงใยในบริเวณที่ดินเขากระโดงดังกล่าวเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่างๆ 12 แห่ง เช่น ศาลากลางจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นั้น รฟท.ต้องไปตรวจสอบก่อนว่าพื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ของ รฟท. จากนั้น รฟท.ก็สามารถตกลงให้เช่าได้ เช่นเดียวกับกรณีที่ดินรัชดาฯ ที่ศาลอาญาและกรมอัยการเข้ามาขอเช่าพื้นที่กับ รฟท. ทาง รฟท. ก็ให้เช่าไป
เมื่อถามว่า กระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยจะต้องมาพูดคุยกันหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ได้ชี้แจงไปแล้วว่า ที่ดินทั้งหมดเป็นของ รฟท. ส่วนที่นายทรงศักดิ์บอกว่าห่วงใยประชาชนนั้น ก็ต้องทำตามกระบวนการ
เมื่อถามว่า ชาวบ้านในพื้นที่ระบุว่า รฟท. ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าที่ดิน 5,000 ไร่ เป็นของ รฟท. และหากมีก็ให้ไปฟ้องรายแปลง นายสุริยะ กล่าวว่า ศาลฎีกาตัดสินเรียบร้อยแล้วว่าที่ดินทั้ง 5,000 กว่าไร่ เป็นที่ดินของ รฟท. ทั้งนี้ แม้ว่ากรมที่ดินจะพยายามพูดว่าไม่มีแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ. แต่ รฟท.ก็ชี้แจงชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2462 พื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานีจนถึงนครราชสีมา ซึ่งมีส่วนหนึ่ง คือ ที่ดินเขากระโดง นั้น เป็นที่ดินของกรมรถไฟ และศาลก็เอาไปพิพากษาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.
เมื่อถามว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยผูกพันไปถึงที่ดินเขากระโดงทั้ง 5,000 ไร่ นายสุริยะ กล่าวว่า ไม่ได้เชี่ยวชาญกฎหมาย แต่ได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมาย และได้รับยืนยันชัดเจนว่า สามารถบังคับได้ ส่วนเรื่องนี้จะจบหรือไม่ เพราะเป็นมหากาพย์ยาวนานนั้น นายสุริยะ กล่าวว่า “เรื่องนี้ ถ้าทุกฝ่ายทำตามกฎหมาย มันจบได้”
ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีพิพาทที่ดินเขากระโดงว่า ทางที่ดีที่สุด คือ ต้องขอให้ทุกฝ่ายเงียบ และรอคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่อยู่ในกระบวนการ เพราะหากไปถามกรมที่ดิน รฟท. หรือประชาชน ต่างก็ยืนยันว่าเป็นฝ่ายถูกต้อง ได้ที่ดินมาอย่างถูกต้อง และเมื่อทุกคนต่างฝ่ายต่างยืนยันความถูกต้อง การตัดสินก็อยู่ที่กระบวนการยุติธรรมเท่านั้นเอง
นายอนุทิน ระบุว่า หลังเห็นการได้แถลงข่าวของ รฟท.แล้ว ได้โทรศัพท์ไปสอบถามทางอธิบดีกรมที่ดินว่า หากตนเองไม่ได้เป็น รมว.มหาดไทย กรมที่ดินจะสรุปออกมาอย่างนี้หรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า ผลของคณะกรรมการสอบสวนฯก็จะออกเช่นนี้ เพียงแต่ว่าอาจจะทำงานยาก เพราะมีการไปผูกโยงกับพื้นที่บุรีรัมย์ ทั้งนี้ ได้สั่งการไปว่าให้การดำเนินการทุกอย่างเป็นธรรม ประเทศชาติได้ประโยชน์ ไม่ผิดระเบียบ ถูกต้องตามกฎหมาย รวดเร็วและเท่าเทียมกัน
นายอนุทิน ยังระบุว่า “ทุกอย่างก็ต้องรอกระบวนการของศาล””
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย นำคณะลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีพิพาทเขากระโดง โดยนายทรงศักดิ์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่า จากการพบปะประชาชนในพื้นที่ได้รับการยืนยันว่าที่ดินเขากระโดงไม่ใช่ที่ดินของ รฟท. แต่เป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถอยู่ได้ และมีข้อมูลที่ผู้ใหญ่บ้านแจ้งมาว่าอยู่ตั้งแต่ปี 2460 ก่อนที่จะมีการออกกฤษฎีกาสำรวจแนวเขตของการรถไฟ ทั้งนี้ หาก รฟท.ประสงค์ในที่ดินก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อจัดซื้อจัดหาที่ดินการรถไฟให้ชัดเจน
นายทรงศักดิ์ ยังระบุว่า การได้มาซึ่งที่ดินของประชาชนในพื้นที่เขากระโดงนั้น ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ และทำตามประมวลกฎหมายที่ดินทุกอย่าง หากบอกว่าเป็นที่ดินของ รฟท. ก็เป็นหน้าที่ของรฟท.ที่จะพิสูจน์สิทธิ์ ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่ต้องพิสูจน์สิทธิ์การได้มาซึ่งที่ดิน และที่ทราบมา รฟท.ยังหาหลักฐานแผนที่ท้ายกฤษฎีกาไม่ได้เลย และจากการรับฟัง สส.ของพรรคประชาชน แผนที่ที่แสดงในศาลฯกับแผนที่นำมาแสดง มียาวไม่ตรงกัน
“พบข้อพิรุธจำนวนมาก ทั้งสัดส่วน ระยะ และความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ดินต่างจากทางรถไฟกว่า 1 กม. ทั้งที่พื้นที่อื่นนั้นไม่มี และพื้นที่ทางแยก มองว่าที่ไหนก็มีกฤษฎีกาหมด จึงต้องตั้งคำถามว่าพื้นที่ทางแยกเขากระโดงเป็นเพียงพื้นที่เดียวหรือที่ได้รับการยกเว้น” นายทรงศักดิ์กล่าว
@'รฟท.'ออกแถลงการณ์โต้'ทรงศักดิ์'ปมที่ดินเขากระโดง
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2567 รฟท. ได้เผยแพร่แถลงการณ์ เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง ซึ่งมีเนื้อหาความยาว 5 หน้ากระดาษ โดยระบุตอนหนึ่งว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดินได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น
รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง รฟท. จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ ดังนี้
1.รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน
ดังนั้น บรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟ จึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เพื่อก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด
2.ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท.
3.ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 รฟท. ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาของศาลที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่ดินบริเวณแยกเขากระโดงว่าเป็นของ รฟท. จึงใช้ยันแก่บุคคลภายนอกที่ครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าว รวมถึงใช้ยันกรมที่ดิน ซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2)
เหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ รฟท. ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีและติดตามให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับ มิได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด
การฟ้องคดีปกครอง เป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเมื่อ รฟท.พบว่ากรมที่ดินออกเอกสารสิทธิโดยคลาดเคลื่อนและไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิซึ่งทับซ้อนที่ดินการรถไฟฯ จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
เพราะการฟ้องกรมที่ดิน 1 คดีนั้น มีผลให้ต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิครอบคลุมดินรถไฟทั้งหมด 5,083 ไร่ ซึ่งหากฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมเป็นรายแปลง การรถไฟฯ จะต้องฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิไม่ต่ำกว่า 900 แปลง หรือต้องฟ้องไม่ต่ำกว่า 900 คดี ถึงจะเพิกถอนเอกสารสิทธิทุกแปลงได้ เมื่อ รฟท. ในขณะนั้น พิจารณาว่าว่าขั้นตอนตั้งแต่ยื่นฟ้องจนถึงศาลมีคำพิพากษา ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งถือว่าไม่นาน จึงเลือกดำเนินการดังกล่าว
กรณีที่ระบุว่า การยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินต่อคณะกรรมการ ที่ตั้งขึ้นตาม ม.61(2) เหตุใดการรถไฟฯ จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น
การรถไฟฯ ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย ซึ่งการรถไฟฯนำส่งเอกสารดังกล่าวโดยมีหลักฐานยืนยันทุกรายการ ในขณะเดียวกัน มีเอกสารปรากฏว่า เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม- 3 สิงหาคม 2567 เจ้าหน้าที่ที่ที่ดินบุรีรัมย์ และฝ่ายบริหารพัฒนาโครงการที่ดิน ของรฟท. ร่วมกันลงตรวจสอบพื้นที่ และได้ทำการปักหมุดตามแบบ ร.ว.9 เรียบร้อยแล้ว
แต่ในระหว่างที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของพิกัดของแผนที่นั้น กลับปรากฏว่า เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 อธิบดีกรมที่ดินมีหนังสือถึงการรถไฟฯ แจ้งคำสั่งยุติเรื่องฯ ออกมาก่อน โดยไม่รอการตรวจสอบหาแนวเขตที่ดินเสร็จสิ้น ในขณะที่ สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำหนังสือถึงการรถไฟฯ ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ขอให้ดำเนินการตรวจพิกัดตำแหน่งที่ดินตามแผมที่ ถือเป็นการชัดแย้งของข้อมูลและผลการพิจารณาของคณะกรรมการ (ตามเอกสารแนบที่ 3)
4.มีการตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ที่เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการที่ดินฯของสภาผู้แทนราษฎร ว่า หาเอกสารอ้างอิงขอบเขตที่ดินของการรถไฟฯ ไม่พบเอกสารที่ใช้อ้างในศาลหายไปได้อย่างไร
การรถไฟฯ ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ว่า ในการตอบคำถามเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ไม่ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าเอกสารสูญหายแต่อย่างไร แต่คณะกรรมาธิการที่ดินฯ ได้ถามหาแผนที่แบบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟ 2462 ซึ่งการรถไฟฯแจ้งยืนยันมาโดยตลอดว่า แผนที่ดังกล่าวไม่เคยปรากฎ
และการรถไฟฯ ยังชี้แจงมาโดยตลอดด้วยว่าเอกสารสิทธิ์ที่ใช้ชี้แจงต่อศาลยุติธรรม “คือแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 ซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาเอกสารหลักฐานดังกล่าว และพิพากษาแล้วว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกาในการสร้างทางรถไฟ ปี 2462” นอกจากนี้ ยังมีรายชื่อบุคคลที่กรมรถไฟแผ่นดินจ่ายค่าทำขวัญ 18 รายรรถไฟฯ จึงยึดถือว่า แผนที่และที่ดินตามแผนที่ดังกล่าว เป็นที่ดินของการรถไฟฯ มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้จัดส่งแผนที่แสดงเขตให้อธิบดีกรมที่ดิน และคณะกรรมการตามมาตรา 61 พิจารณาแล้ว แต่กลับไม่มีการหยิบยกมากล่าวถึงในการพิจารณาหรือคำแถลงแต่อย่างใด
5.ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่ามีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินในอันที่จะต้องแก๊งหรือดำเป็นการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินภารตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมด
การที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณเขากระโดง พร้อม สส.จังหวัดบุรีรัมย์ และทนายความ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชนยืนยันถึงความถูกต้องในการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ในลักษณะของการชี้นำสังคมให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และการดำเนินการของ รฟท. นั้น น่าจะไม่ใช่แนวทางดำเนินการที่ถูกต้อง และทำให้เกิดภาพลักษณ์ทางลบแก่ รฟท.
6.รฟท. ขอยืนยันสิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป
“ท้ายนี้ รฟท. ขอเรียนว่า การแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดงไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน” แถลงการณ์ระบุ
อ่านประกอบ :
เทียบชัดๆ! คำพิพากษา‘ศาลฎีกา’ VS ความเห็น‘คกก.สอบสวน’ ชี้แนวเขตที่ดินรถไฟฯ‘เขากระโดง’
เผือกร้อน‘สุริยะ-รฟท.’ฟ้อง‘ศาลยุติธรรม’เพิกถอนโฉนด‘รายแปลง’ ปิดฉากมหากาพย์‘เขากระโดง’!
‘สุริยะ-รฟท.’ รอผลอุทธรณ์กรมที่ดิน ‘เขากระโดง’ - ‘วีริศ’ชี้ต้องรอบคอบ หวั่นโดน 157
บังคับคดีแล้ว! โชว์เอกสาร‘ศุภวัฒน์’คืนที่ดิน‘เขากระโดง’ 24 ไร่-ชดใช้‘รฟท.’ 4.8 ล้าน
มท.1ชี้ออกสัญญาเช่า 'เขากระโดง' พิสูจน์สิทธิก่อน-'กรมที่ดิน'ย้ำรถไฟฯไม่มีแผนที่ท้าย'พ.ร.ฎ.'
ฉบับเต็ม!หนังสืออุทธรณ์‘รฟท.’(จบ) ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ละเลยต่อหน้าที่ ไม่เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’
ฉบับเต็ม! หนังสืออุทธรณ์‘รฟท’(2) ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ใช้ดุลพินิจมิชอบ ไม่ถอนโฉนด‘เขากระโดง’
ฉบับเต็ม! หนังสืออุทธรณ์‘รฟท’(1) ที่ดิน‘เขากระโดง’เป็นของ‘รถไฟฯ’-ไม่ต้องพิสูจน์สิทธิ์อีก
'วีริศ' ส่งหนังสือถึง 'อธิบดีกรมที่ดิน' เพิกถอนมติคกก.สอบสวน 'เขากระโดง'
สอบเขากระโดงล่ม! กมธ.ที่ดินเผย องค์ประชุมไม่ครบก่อนขอมติ
‘เลขาฯกฤษฎีกา’ ชี้ต้องยึดคำพิพากษาเป็นหลัก ‘เขากระโดง’ ‘รฟท.-กรมที่ดิน’ แค่สื่อสารไม่ตรงกัน
‘กรมที่ดิน’ แจง ‘ที่ดินเขากระโดง’ ‘รถไฟ’ไร้เอกสารหลักฐานยืนยัน
‘รถไฟ’ ยื่นศาลปค.อธิบดีทำไม่ครบที่ดิน‘เขากระโดง’-‘อนุทิน’ยันไม่มีช่วยใคร
ย้อนคำวินิจฉัย'ศาลปค.' คดีถอนโฉนด'เขากระโดง'-ก่อน‘กรมที่ดิน’โยน‘รฟท.’ฟ้องขับไล่'รายแปลง'
ไม่ขัดแย้งคำพิพากษา!‘กรมที่ดิน’แจงไม่เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’-แนะ‘รฟท.’ฟ้องขับไล่‘รายแปลง’
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ จี้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง มาเป็นของ รฟท.
‘รฟท.’เร่งสรุปท่าทีทวงคืน‘เขากระโดง’-ข้องใจ‘คกก.สอบสวน’ไม่รับ‘แผนที่’ยกสู้คดีในศาลจนชนะ
ไม่เชื่อ'แผนที่'ตามคำพิพากษา! ฉบับเต็ม‘คกก.สอบสวน’ยก 4 เหตุผล ไม่เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’
โยน‘รฟท.’พิสูจน์สิทธิ์ในศาล! ‘คณะกรรมการสอบสวนฯ’มีมติไม่เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’ 5 พันไร่
‘สนง.ที่ดินบุรีรัมย์’ส่งหนังสือแจ้ง‘รฟท.’รังวัด‘เขากระโดง’เสร็จแล้ว-พร้อมแนบระวางแผนที่
รังวัดฯเสร็จแล้ว! ‘กรมที่ดิน’จ่อชงข้อมูล‘คณะกรรมการสอบสวน’ชี้ขาดเพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’
รฟท.ลงพื้นที่นำชี้แนวเขต'เขากระโดง'-'กรมที่ดิน'แจงกม.ขีดเส้นรังวัดฯให้เสร็จภายใน 50 วัน
ย้อนไทม์ไลน์ 1 ปี เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’ไม่คืบหน้า-‘กรมที่ดิน’นัด'รฟท.'ชี้เขตรังวัดที่ดิน
8 เดือนไม่เพิกถอน! ‘กรมที่ดิน’รังวัดเขตที่ดินรถไฟ‘เขากระโดง’ใหม่-รฟท.ติดเรื่องค่าใช้จ่าย
เปิดหนังสือทนายตระกูล‘ชิดชอบ’ อ้าง 9 ข้อเท็จจริง ค้าน‘คกก.สอบสวน’เพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’
แผนที่เขตรถไฟฯมีพิรุธ! ทนายตระกูล‘ชิดชอบ’ยกต่อสู้ ปมถอนโฉนดเขากระโดง-ชี้ศก.บุรีรัมย์ชะงัก
ไม่เกี่ยวถอนโฉนดเขากระโดง!‘ชยาวุธ’เปิดใจลาออกอธิบดีที่ดินดูแลภรรยาป่วย
เปิดตำแหน่งโฉนด’ตระกูล‘ชิดชอบ’ทับที่รถไฟฯ‘เขากระโดง’-‘ฝ่าย กม.’แจงซื้อโดยสุจริต
จ่อโดนเพิกถอน! ชัดๆเปิด‘โฉนด-น.ส.3’ตระกูล’ชิดชอบ’ 20 แปลง 288 ไร่ ทับที่ดิน‘เขากระโดง’
ก่อน‘ชยาวุธ’ทิ้งเก้าอี้อธิบดี! พบ‘คกก.สอบสวน’แจ้งเพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’รุกที่หลวง 2 แปลง
'อนุทิน'ปัดการเมืองกดดัน 'อธิบดีกรมที่ดิน'ยื่นลาออก อย่าโยงปมพิพาท‘เขากระโดง’
การบ้าน‘อนุทิน’นั่ง‘มท.1’! แก้โจทย์สายสีเขียว-เพิกถอนโฉนดเขากระโดง-ต่อสัญญาซื้อน้ำ‘กปภ.’
ลุยเพิกถอนโฉนด 5 พันไร่!‘กรมที่ดิน’ไม่อุทธรณ์คดี‘เขากระโดง’-แจ้งศาลฯตั้ง‘คกก.สอบสวน’แล้ว
‘รฟท.’ยื่นอุทธรณ์คดี‘เขากระโดง’ปมเรียกค่าเสียหาย 707 ล้าน-รอ‘ศาลปค.’แจ้งท่าที‘กรมที่ดิน’
เส้นตาย 30 เม.ย.! ‘รฟท.’จับตา‘กรมที่ดิน’ยื่นอุทธรณ์คดีเพิกถอนโฉนด‘เขากระโดง’ 772 แปลง
ฉบับเต็ม! พลิกคำพิพากษา‘ศาล ปค.’สั่ง‘กรมที่ดิน ‘ตั้ง‘คกก.สอบสวน’ถอนโฉนด‘เขากระโดง’
‘ศาลปค.กลาง’สั่ง‘อธิบดีกรมที่ดิน’ตั้ง‘คกก.สอบสวน’ เพิกถอนโฉนดที่ดิน‘เขากระโดง’ 772 แปลง
ยันไม่ละเลยเพิกเฉย! ‘กรมที่ดิน’ลุ้น‘ศาลปค.กลาง’ตัดสินคดีถอนโฉนด‘เขากระโดง’ 30 มี.ค.นี้
‘ศาลปค.’นัดตัดสินคดีถอนโฉนด‘เขากระโดง’ 30 มี.ค.นี้-‘ตุลาการฯ’ชี้‘กรมที่ดิน’ละเลยหน้าที่
'ศาลปค.'นั่งพิจารณานัดแรก คดี'รฟท.'ฟ้อง'กรมที่ดิน'ขอสั่งเพิกถอนโฉนด'เขากระโดง' 5 พันไร่
เปิด 2 คำร้อง! ยื่น ป.ป.ช. เอาผิด-สอบจริยธรรม‘ศักดิ์สยาม’ เอื้อเครือญาติยึด‘เขากระโดง’
ยื่น ป.ป.ช.ฟัน'ศักดิ์สยาม' 3 เรื่อง! 'ทวี'แนะปมเขากระโดง ส่งศาลฎีกาสอบจริยธรรมทันที
ข้อมูลใหม่! โฉนด 12 แปลง 179 ไร่ ออกทับที่ดินรถไฟ‘เขากระโดง’ โยงเครือญาติตระกูล‘ชิดชอบ’