เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
“...ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการแปลงนาร้างเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้ จำนวนมากไม่ได้เป็น เกษตรกรที่ยากจนและขาดความรู้ความสามารถ ตลอดจนถึงเงินทุนในการประกอบอาชีพทำสวนปาล์ม แต่กลับเป็นกลุ่มประชาชน เกษตรกรและนายทุนเจ้าของสวนปาล์ม ตลอดถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีศักยภาพในทางเศรษฐกิจเพียงพอที่ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับความช่วยเหลือจากรัฐแต่อย่างใด โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยรายได้เป็นจำนวนเงินถึงรายละ 12,202.99 บาทต่อเดือน ประกอบอาชีพทำสวนปาล์ม มีความรู้และความสามารถและมีเงินทุนเพียงพอในการทำสวนปาล์มอยู่ก่อนแล้ว และมีที่ดินทำกินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยรายละ 30.44 ไร...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 42 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงานโครงการแปลงนาร้างเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้ ปีงบประมาณ 2549 สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร
@ โครงการแปลงนาร้างเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้ ปีงบประมาณ 2549 สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร
เนื่องด้วยปัจจุบันการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลได้แถลงต่อ รัฐสภา โดยมีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปภายในปี 2551 จังหวัดชุมพรจึงกำหนดให้การแก้ไข ปัญหาความยากจนเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของจังหวัด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เป็นการ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่นาร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ใช้เวลา/แรงงานใน ครัวเรือนให้เกิดประโยชน์ จังหวัดชุมพร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ดำเนินการตามโครงการ แปลงนาร้างเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้ โดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการประจำปี งบประมาณ 2549 จำนวน 33,323,200.00 บาท
ข้อตรวจพบที่ 1 การดำเนินงานไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด
ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการแปลงนาร้างเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้ จำนวนมากไม่ได้เป็น เกษตรกรที่ยากจนและขาดความรู้ความสามารถ ตลอดจนถึงเงินทุนในการประกอบอาชีพทำสวนปาล์ม แต่กลับเป็นกลุ่มประชาชน เกษตรกรและนายทุนเจ้าของสวนปาล์ม ตลอดถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีศักยภาพในทางเศรษฐกิจเพียงพอที่ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับความช่วยเหลือจากรัฐแต่อย่างใด โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยรายได้เป็นจำนวนเงินถึงรายละ 12,202.99 บาทต่อเดือน ประกอบอาชีพทำสวนปาล์ม มีความรู้และความสามารถและมีเงินทุนเพียงพอในการทำสวนปาล์มอยู่ก่อนแล้ว และมีที่ดินทำกินอยู่แล้วโดยเฉลี่ยรายละ 30.44 ไร
สาเหตุเกิดจาก
1. ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ
2. การกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการไม่เหมาะสม
3. โครงการดังกล่าว ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและยากจนอย่างแท้จริง
ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ
1. ไม่สามารถเพิ่มรายได้และแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ดังที่ควรจะเป็น
2. เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการนี้
3. เพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจนให้มากยิ่งขึ้น
4. เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการจำนวนหนึ่งมีหนี้สินเพิ่ม เนื่องจากต้องไปกู้เงินมาเพื่อทำการปรับพื้นที่ที่จะปลูกปาล์ม
5. ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการบุกรุกพื้นที่ป่าหวงห้ามมากยิ่งขึ้น
ข้อตรวจพบที่ 2 การดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาความยากจน
จากการตรวจสอบในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2550 ห่างจากวันแจกพันธุ์ปาล์ม ประมาณ 6 เดือน จึงยังไม่สามารถตรวจสอบการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้เกษตรกรใช้พื้นที่นาร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลังจากการดำเนินการตามโครงการประมาณ 5-6 เดือน1 พบว่า อัตราการนำพันธุ์ปาล์มที่ได้รับไปปลูกลงในพื้นที่โครงการของกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรที่สุ่มตรวจโดยเฉลี่ย มีเพียงร้อยละ 67.54 โดย จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจซึ่งได้ระบุจำนวนพื้นที่ที่นำพันธุ์ปาล์มไปปลูกจำนวน 236 ราย มี 52 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 22.03 ที่ยังไม่ได้นำพันธุ์ปาล์มที่ได้รับมาปลูกลงในพื้นที่ที่นำเข้าโครงการ และมี 117 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 49.58 เท่านั้น ที่ทำการปลูกพันธุ์ปาล์มที่ได้รับลงเต็มพื้นที่ที่เหลือ 67 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 28.39 มีการนำพันธุ์ปาล์มที่ได้รับไปปลูกบางส่วน
สาเหตุเกิดจาก
1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ได้จัดเตรียมพื้นที่ไว้ให้พร้อมก่อนที่จะได้รับพันธุ์ปาล์ม
2. ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนหนึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับปาล์มและปุ๋ยที่ได้รับมาและขาดความรับผิดชอบ
3. สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรไม่ได้มีการติดตามผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. เกษตรกรเกิดความไม่มั่นใจในผลตอบแทนที่จะได้รับจากการปลูกปาล์ม
5. สาเหตุจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ปัญหาภัยแล้ง และภัยธรรมชาติอื่น ๆ
6. สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรดำเนินการจัดซื้อพันธุ์ปาล์มและปุ๋ยล่าช้า ทำให้ไม่สามารถนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรในช่วงต้นฤดูฝน (เดือนมิถุนายน 2549) ได้
ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ ใช้เงินงบประมาณไม่คุ้มค่า ทำให้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ และไม่ได้ใช้พื้นที่นาร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกษตรกรใช้เวลาแรงงานภายในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์
จากการตรวจสอบระดับการใช้แรงงานภายในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุการใช้แรงงาน 231 ราย ปรากฏว่ามีเพียง 79 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 34.20 ที่ใช้แรงงานภายในครัวเรือน โดยไม่มีการจ้างแรงงานภายนอก ในขณะที่มี 65 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 28.14 ที่จ้างแรงงานภายนอก โดยที่ไม่ได้ใช้แรงงานภายในครัวเรือนเลย และมี 87 ราย หรือ คิดเป็นร้อยละ 37.66 ที่ใช้แรงงานภายในครัวเรือน และจ้างแรงงานภายนอก
สาเหตุเกิดจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ได้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเหมาะสม จึงทำให้โครงการนี้มีกลุ่มนายทุนและผู้มีฐานะดีเป็นจำนวนมากเข้าร่วมโครงการ ระดับการใช้แรงงานภายในครัวเรือนจึงยังอยู่ในระดับต่ำ
ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ แรงงานภายในครัวเรือนและกลุ่มคนที่ยังว่างงานซึ่งควรจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรดำเนินการ ดังนี้
1. ในขั้นตอนการจัดทำและการนำเสนอโครงการ ควรดำเนินการโดย
1.1 มีการศึกษาและทำความเข้าใจในยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างถูกต้องเสียก่อน
1.2 มีความจริงใจในการที่จะนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.3 มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแนวทางในการปฏิบัติ ให้มีความสอดคล้องกัน
1.4 มีการจัดลำดับความสำคัญของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่จะให้ความช่วยเหลือ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่ประชาชนที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีและมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองดีอยู่แล้ว
1.5 มีการศึกษาถึงอุปสงค์อุปทาน และความต้องการของตลาดของปาล์มน้ำมันในอนาคตอย่างละเอียดรอบคอบ การส่งเสริมการปลูกปาล์มจำนวนมากนี้ ในอนาคตอาจทำให้ราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำลงและตลาดปาล์มน้ำมันจะกลายเป็นของผู้ซื้อคือโรงงานปาล์มน้ำมันยิ่งขึ้นไปอีก
2. ในขั้นตอนการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการให้กำหนด หลักเกณฑ์ที่มีความรัดกุมเพื่อที่จะได้คัดสรรผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเดือดร้อนและจำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ และมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการเข้ามาร่วมโครงการ
3. กรณีการดำเนินการจัดซื้อล่าช้า เห็นควรดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้ทราบถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัสดุได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. ควรมีการติดตามประเมินผลและติดตามเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคเป็นระยะอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสามารถให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/