เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
“...สถานีพัฒนาที่ดินฯ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นไปตามคู่มือการดำเนินโครงการ และแนวทางที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง ทำให้เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการบางรายอาจไม่มีความต้องการที่จะขุดสระน้ำหรือมีเหตุผลความจำเป็นอื่น หรือผู้รับจ้างไม่ทำการขุดสระน้ำตามรายชื่อเกษตรกรรายที่ได้รับการอนุมัติขุดสระน้ำในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาจ้าง ทำให้ต้องสำรวจหาเกษตรกรรายอื่นทดแทน ในปีงบประมาณ 2557 – 2558 สถานีพัฒนาที่ดินฯ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามเป้าหมาย จำนวน 18,090 ราย และมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อเกษตรกรที่ไม่ได้รับการขุดสระ จำนวน 6,753 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.33 ของเกษตรกรที่มีรายชื่อ ได้รับการขุดสระตามเป้าหมาย...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 39 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2557 – 2558
@ โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2557 – 2558
จากการตรวจสอบโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ ของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 มีประเด็นข้อตรวจพบที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ ความคุ้มค่าของเงินงบประมาณ โดยสรุปรายละเอียดของแต่ละประเด็น ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานบางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินโครงการกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และได้นิยามคำจัดกัดความของการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในไร่นาไว้ คือ การใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในไร่นา “การนำน้ำในบ่อมาใช้เพื่อการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้น้ำของเกษตรกร และการเลือกชนิดพืชปลูกที่เหมาะสม เกษตรกรสามารถใช้น้ำจากบ่อในการทำนาโดยนำไปใช้สำหรับการเพาะกล้าข้าว หรือใช้ในกรณีที่ฝนทิ้งช่วงและเป็นระยะต้นข้าวจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต นอกจากใช้เพื่อการทำนาแล้ว การปลูกพืชผักรอบบ่อหรือปลูกพืชหลังนาบริเวณใกล้เคียงบ่อน้ำ โดยานำน้ำจากบ่อไป ใช้ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชดังกล่าว เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประโยชน์มากที่สุด และเพียงพอสำหรับใช้ปลูกพืชได้ตลอดฤดูกาล...”
จากการสุ่มสังเกตการณ์การใช้ประโยชน์ของสระน้ำ ในปีงบประมาณ 2557 – 2558 จำนวน 74 ราย ได้แก่ สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา สถานีพัฒนาที่ดินชัยภูมิ สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์ และสถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ พบว่า เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.86 ของจำนวนที่สุ่มสังเกตการณ์ และจากการสอบถามเกษตรกร เจ้าของสระน้ำจำนวนสระน้ำของเกษตรที่เก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ไม่ได้ตลอดปี
ข้อตรวจพบที่ 2 การดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คู่มือการดำเนินโครงการ และแนวทางที่กำหนด
การดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานของกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง คู่มือการดำเนินโครงการ และแนวทางที่กำหนด รวมถึงการกำหนดขั้นตอนให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ พบว่า การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบ คู่มือฯ และแนวทางที่กำหนด โดยสรุปผลได้ ดังนี้
1. สำรวจและรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่มีความต้องการสระน้ำ พบว่า สถานีพัฒนาที่ดินฯ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นไปตามคู่มือการดำเนินโครงการ และแนวทางที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง ทำให้เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการบางรายอาจไม่มีความต้องการที่จะขุดสระน้ำหรือมีเหตุผลความจำเป็นอื่น หรือผู้รับจ้างไม่ทำการขุดสระน้ำตามรายชื่อเกษตรกรรายที่ได้รับการอนุมัติขุดสระน้ำในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาจ้าง ทำให้ต้องสำรวจหาเกษตรกรรายอื่นทดแทน ในปีงบประมาณ 2557 – 2558 สถานีพัฒนาที่ดินฯ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามเป้าหมาย จำนวน 18,090 ราย และมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อเกษตรกรที่ไม่ได้รับการขุดสระ จำนวน 6,753 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.33 ของเกษตรกรที่มีรายชื่อ ได้รับการขุดสระตามเป้าหมาย
2. การคัดเลือกเกษตรกร พบว่า เจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาที่ดินผู้รับผิดชอบไม่ได้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของเกษตรกร ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในพื้นที่ตามเอกสารสิทธิ์ หนังสือยินยอมให้เข้าดำเนินการก่อสร้าง หรือสำรวจศักยภาพพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกรที่มีความต้องการขุดสระน้ำ
3. การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย พบว่า การคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ กล่าวคือ ไม่ใช่เป็นพื้นที่ราบต่ำ ขาดประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำ พื้นที่เป็นดินทราย พื้นที่เกลือ ขึ้นเป็นดินเค็ม พื้นที่ซึ่งมีก้อนหินขนาดใหญ่ คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร หรือขนาดพื้นที่ขุดสระน้ำมีไม่เพียงพอตามเงื่อนไขของโครงการ
4. การเก็บเงินสมทบจากเกษตรกร พบว่า เจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินฯ ไม่ได้จัดเก็บเงินสมทบจากเกษตรกรด้วยตนเองทุกราย โดยเกษตรกรได้จ่ายเงินสมทบให้กับบุคคลอื่น ได้แก่ ผู้รับจ้าง จำนวน 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.60 และจ่ายให้หมอดินอาสา จำนวน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.92 หรือผู้นำชุมชน จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.48 และเกษตรกรไม่ได้รับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาที่ดินแต่อย่างใด คิดเป็นร้อยละ 100
5. การขุดสระ พบว่า ไม่มีการตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่ขุดสระน้ำอย่างจริงจัง และส่วนใหญ่พื้นที่ขุดสระน้ำจะเป็นที่ดอน จำนวน 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.18 ของจำนวนเกษตรกรที่สอบถาม ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่ราบต่ำที่มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำ พื้นที่ขุดสระของเกษตรกรบางรายเมื่อผู้รับจ้างดำเนินการขุดสระน้ำแล้ว ไม่สามารถขุดสระต่อไปได้ เนื่องจากสภาพดินชั้นล่างเป็นดินแข็ง ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรและสถานที่ขุดสระน้ำเป็นจำนวนมาก
6. รูปแบบของสระน้ำ ตามคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นาแบบสระเก็บน้ำมีขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร มีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ รูปตัว I และรูปตัว L ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยได้รับคำแนะนำจากหมอดินอาสา และช่างควบคุมงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ส่วนใหญ่สระน้ำของเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติการขุดสระน้ำไม่ทราบว่ามีรูปแบบสระน้ำให้เลือกเป็นตัว I และตัว L และไม่มีเกษตรกรรายใดที่สามารถเลือกรูปแบบของสระน้ำ รวมถึงไม่ได้รับคำแนะนำจากหมอดินอาสาและช่างควบคุมงาน เมื่อจะดำเนินการขุดสระน้ำ ผู้รับจ้างจะเป็นผู้พิจารณาจากสภาพและขนาดพื้นที่ของเกษตรกรที่จะขุด และจากการสังเกตการณ์สระน้ำ จำนวน 74 ราย พบว่า สระน้ำของเกษตรกรที่สังเกตการณ์ทั้งหมดเป็นรูปตัว I จำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
7. การมีส่วนร่วมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่ได้รับการขุดสระน้ำบางรายไม่ใช่เกษตรกรจริง บางรายไม่ได้พักอาศัยในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งไม่ได้ดูแลรักษาสระน้ำ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสระน้ำเพื่อการเกษตร จึงทำให้ไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งทำให้เกษตรกรไม่สามารถเพิ่มรายได้ภายในครัวเรือน จำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.77
8. การปลูกหญ้าแฝก พบว่า เกษตรกรไม่สามารถดูแลรักษาสระน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ หรือดูแลรักษา โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อที่สระน้ำจะมีอายุการใช้งานได้นาน มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำ จำนวน 66 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.19 ของจำนวนเกษตรกรที่สุ่มสังเกตการณ์
ข้อเสนอแนะ
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน
1. พิจารณาทบทวนปรับปรุงรายละเอียดของโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ให้เหมาะสม รอบคอบและชัดเจน เช่น เป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย โดยในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายต้องมาจากความต้องการของเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอย่างแท้จริง
2. กำหนดภารกิจงานดำเนินการขุดสระน้ำของโครงการฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบุคคลากรที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณงานที่ต้องดำเนินการในแต่ละปีอย่างเหมาะสม และเป็นการลดภาระงานที่มีมากจนเกินไป รวมถึงความรับผิดชอบงานในระดับนโยบายของกรมพัฒนาที่ดิน งานในระดับจังหวัดงานสั่งการ และงานเร่งด่วน
3. ควรปรับปรุงระบบคู่มือการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้มีความถูกต้องรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลในระบบไปใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาเกษตรกรที่จะได้รับการขุดสระ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพิจารณาเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ หรือพื้นที่ขุดสระของเกษตรกร อีกทั้งควรกำหนดมาตรการหรือระยะเวลาเพื่อควบคุมการบันทึก แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของโครงการในระบบคู่มือฯ ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ทางราชการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
1. ควบคุม กำกับ ดูแลให้สถานีพัฒนาที่ดินในเขตความรับผิดชอบดำเนินการขุดสระน้ำให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน โดยกำหนดระยะเวลาขุดสระน้ำแล้วเสร็จให้สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ติดตามประเมินผลการดำเนินการโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรคใน การบริหารโครงการ และให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในฐานะผู้กำกับดูแล
3. จัดให้มีการประชุมร่วมกันกับสถานีพัฒนาที่ดินภายในเขตรับผิดชอบเพื่อประเมินความเสี่ยงของกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ รวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการหรือข้อจำกัดในการปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือโครงการอื่น ๆ เพื่อหาทาง แก้ไขหรือกำหนดกิจกรรมควบคุม เพื่อลดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทางราชการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และนำไปสู่การปฏิบัติที่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบ หากเป็นกรณีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เสนอ กรมพัฒนาที่ดินได้รับทราบ และหาแนวทางแก้ไขในโอกาสต่อไป
4. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กรณีไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย กรณีไม่ได้นำเงินสมทบดังกล่าวนำฝากธนาคารตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2520 และกับช่างควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจงานจ้าง กรณีไม่ได้ตรวจหรือควบคุมงานหรือตรวจรับงานจ้างให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรหรือพื้นที่ขุดสระน้ำ หลังจากทำสัญญาจ้าง หากพบว่าการดำเนินการดังกล่าวทให้ราชการเกิดความเสียหายให้ดำเนินการทางละเมิดหรือดำเนินการตามควรแก่กรณีกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามโครงการ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือจัดให้มีการประชุมเพื่อรับทราบปัญหาในการปฏิบัติงานตามโครงการของแต่ละขั้นตอนตามคู่มือการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะเรื่องการเก็บเงินสมทบจากเกษตรกร เพื่อหาวิธีการเก็บเงินสมทบจากเกษตรกรให้เหมาะสม และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทางราชการ
ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
1. กำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คู่มือการดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และหนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด เพื่อให้โครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
2. กำหนดกรอบเวลาขั้นตอนการดำเนินการเพื่อหาผู้รับจ้าง รวมถึงการส่งมอบงานเพื่อให้การดำเนินโครงการแล้วเสร็จและใช้ประโยชน์ได้ทันก่อนวันเริ่มต้นฤดูฝน
3. พิจารณากำหนดเป้าหมายการขุดสระน้ำจากการจัดลำดับความสำคัญความเดือดร้อน ปัญหาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกร และสภาพพื้นที่ที่เดือดร้อนอย่างแท้จริง เพื่อให้การแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำให้แก่เกษตรกร เป็นไปอย่างเสมอภาค เป็นธรรมและทั่วถึง
4. ประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน เพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่อยู่นอกเขต ชลประทานที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำ หรือแล้งซ้ำซาก เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการขุดสระน้ำแก่เกษตรกรในพื้นที่ที่มีความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
5. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าที่หน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยให้รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นรายไตรมาส เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการรวมทั้งจัดให้มีการประชุมร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรคในการบริหารโครงการ และให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ทันกาล เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทางราชการ
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/