มีรายงานจากบันทึกของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ระบุอีกว่าหนึ่งในผู้อำนวยการของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ นั้นยังเคยเป็นนายทหารในราชการยศพันโทของกองทัพกาตาร์ และบริษัทก็มีผู้ครองครองส่วนใหญ่คือชีพโจอัน ซึ่งตามข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ที่ถูกรวบรวมโดยนายฟูอาดเพื่อใช้ในการฟ้องร้อง ก็พบว่าชีคโจอันนั้นเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ของบริษัทแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าอัล เซดรียาห์ ซึ่งบริษัทอัล เซดรียาห์แห่งนี้ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ให้ในบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอข้อสงสัยเรื่องการทุจริตในวงการกลาโหมของสหรัฐอเมริกา
โดยสำนักข่าววอลสตรีทเจอร์นัลของสหรัฐอเมริกาได้รายงานเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ว่า หน่วยงานของประเทศสหรัฐฯได้มีการสอบสวนเส้นทางการเงินของบริษัทเรธีออน เทคโนโลยี (Raytheon Technologies Corp) ที่จ่ายไปให้กับที่ปรึกษาของกองทัพกาตาร์นั้นอาจเข้าข่ายว่าเป็นการจ่ายสินบน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังสมาชิกราชวงศ์ของประเทศกาตาร์
ซึ่งที่ไปที่มาของเรื่องนี้นั้นมาจากการฟ้องคดีที่ถูกยกฟ้องไปแล้ว ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา โดยรายละเอียดการฟ้องคดีนั้นกล่าวหาชัดเจนว่าบริษัทเรธีออนได้มีการใช้บริษัทบริษัทดิจิตัล โซลลา ซิสเต็มส์ (Digital Soula Systems) เป็นช่องทางการเงิน คิดเป็นจำนวนกว่า 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (62,130,000 บาท) ซึ่งบริษัทแห่งนี้นั้นเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านความมั่นคง ตั้ง อยู่ ณ กรุงโดฮาร์ ประเทศกาตาร์ และมีเจ้าของส่วนหนึ่งของบริษัทเป็นพระอนุชาของผู้ปกครองหรือว่าเอมีร์ (emir) ของประเทศกาตาร์
อย่างไรก็ตามข้อมุลจากแห่งข่าวที่มีความใกล้ชิดกับกรณีดังกล่าวระบุว่า ในปี 2562 อดีตผู้อำนวยการของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ก็ได้ออกมากล่าวอ้างในการฟ้องคดีว่ากองทัพกาตาร์ไม่ได้จ่ายเงินสำหรับค่าจ้างบริษัทให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสำหรับสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทางการทหาร ซึ่งนี่ก็นำไปสู่การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯได้เข้ามาสอบสวนความไม่ชอบมาพากลในเรื่องนี้
โดย SEC ได้เริ่มต้นการสอบสวนในเรื่องของคดีข้อกล่าวหาการติดสินบนภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่มีการยื่นฟ้อง ขณะที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯก็ได้ดำเนินการสอบสวนหลังจากนั้น ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานต่างก็มีการบังคับใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการทุจริตในต่างประเทศหรือ FCPA ที่ห้ามไม่ให้บริษัทจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐของต่างประเทศเพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจ และกำหนดให้บริษัทต่างๆนั้นต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการให้สินบนดังกล่าว
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวทางบริษัทเรธีออนก็ได้มีการจ้างบริษัทวิลเมอร์เฮลหรือชื่อเต็มคือบริษัท Wilmer Cutler Pickering Hale and Dorr LLP (บริษัทวิลเมอร์เฮล เป็นบริษัทเดียวกับที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทโตโยต้าให้สืบสวนภายในจนมีข้อครหาว่าโตโยต้าประเทศไทยอาจจะมีพฤติการณ์ให้สินบนกับผู้พิพากษา) ดำเนินการสอบสวนภายในเกี่ยวกับข้อกล่าวหาในคดีเช่นกัน และบริษัทวิลเมอร์เฮลก็ได้มีการไปสัมภาษณ์บุคคลหลายคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ และรู้เรื่องข้อตกลงของบริษัทดิจิตัลโซลลากับบริษัทเรธีออน
ต่อมาบริษัทเรธีออนก็ได้เปิดเผยข้อมูลควบคู่ไปกับการสืบสวนตามกฎหมาย FCPA ในการยื่นเอกสารหลักทรัพย์เมื่อปีที่ผ่านมา โดยระบุว่าทางการนั้นกำลังดำเนินการสอบสวนในกรณีว่ามีการจ่ายเงินอันไม่เหมาะสมซึ่งกระทำในนามของบริษัทเรธีออนและบริษัทร่วมค้าได้แก่บริษัทเทเลสเอสเอ (Thales SA) ในภูมิภาคตะวันออกกลางนับตั้งแต่ปี 2557 หรือไม่ แต่ว่าบริษัทก็ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสืบสวนอีกแต่อย่างใด
โฆษกของบริษัทได้แถลงต่อไปว่าบริษัทนั้นยังคงยึดหลักการการปฏิบัติตามมาตรการการต่อต้านทุจริตอย่างเข้มงวดและพร้อมจะร่วมมือกับการสอบสวนของทางรัฐบาล แต่ทว่าโฆษกคนดังกล่าวก็ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเชิงลึกเพิ่มเติมว่าจะเน้นในประเด็นสอบสวนอะไรบ้าง แต่บอกว่าจะมีการสอบสวนต่อไป
ส่วนทางด้านของโฆษกหญิงของบริษัทได้กล่าวว่าการเปิดโปงการสอบสวนของบริษัทเรธีออนนั้นเป็นประเด็นที่น่ากังวลสำหรับตัวบริษัทเรธีออนและบริษัทกิจการร่วมค้าอื่นๆที่ทางบริษัทเรธีออนมีสิทธิ์ขาดในการควบคุมอย่างเต็มที่ ซึ่งทางบริษัทฝรั่งเศส ณ เวลานี้ก็ยังไม่ได้ถูกสอบสวนจากหน่วยงานของประเทศสหรัฐฯหรือว่าประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะที่ทางโฆษกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับ SEC ที่ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆเช่นกัน
อนึ่ง บริษัทดิจิตัล โซลลา นั้นถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 และถูกว่าจ้างให้มีส่วนช่วยให้ประเทศกาตาร์จัดซื้อยุทธภัณฑ์ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่มีความทันสมัย ซึ่งจากการให้ข้อมูลของอดีตพนักงานของบริษัทแห่งนี้ที่ให้กับสำนักข่าววอลสตรีทเจอร์นัลระบุว่า ประเทศกาตาร์นั้นมีงบประมาณสำหรับการป้องกันประเทศเป็นจำนวนมหาศาลมากเมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ แต่ว่ายังขาดทั้งผู้เชี่ยวชาญและการปรับขนาดเพื่อการจัดซื้ออาวุธอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีการชัดซื้ออุปกรณ์ชั้นสูงมาใช้งานก็ตาม
โดยประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า 3 ล้านคน แต่ว่ามีงบประมาณในส่วนของการป้องกันประเทศสูงถึง 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.215 แสนล้านบาท)ต่อปี ส่วนทางด้านของบริษัทเรธีออนเองก็ได้รับสัญญาเกี่ยวกับการป้องกันประเทศจากประเทศกาตาร์นับตั้งแต่ปี 2557 คิดเป็นมูลค่าถึง 7 พันล้าน (228.9 แสนล้านบาท) ซึ่งสัญญาการป้องกันประเทศดังกล่าวนั้นก็รวมไปถึงการสร้างและการให้บริการระบบป้องกันทางอากาศด้วยขีปนาวุธ (มิสไซล์) พื้นสู่อากาศแบบแพตริออท และการก่อสร้างระบบขั้นพื้นฐานอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับระบบป้องกันภัยทางอากาศยาน
ข่าวการจัดซื้อระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากศแพตริออต ในเดือน ธ.ค.2563 ของกองทัพกาตาร์ (อ้างอิงวิดีโอจาก DefenseWeb TV)
ทั้งนี้จากข้อมูลจากสำเนาเอกสารของบริษัทที่สำนักข่าวรวบมานั้น พบว่าบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์นั้นได้เข้ามามีส่วนทำสัญญากับกองทัพกาตาร์ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2558 โดยบริษัทนี้ได้ให้คำแนะนำให้มีการจัดซื้อระบบคำสั่งและการควบคุมชั้นสูง ซึ่งมีชื่อว่าโครงการฟัลคอน ทั้งนี้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทแห่งนี้นั้นพบว่าบุคลากรส่วนมากของบริษัทประกอบไปด้วยอดีตเจ้าหน้าที่ทหารที่ปลดเกษียณแล้วจากทั้งในกองทัพอังกฤษ,กองทัพเยอรมนี และกองทัพประเทศอื่นๆ ซึ่งอดีตเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้เริ่มเดินทางเข้ามาที่กรุงโดฮาเพื่อทำหน้าที่ในด้านเทคนิคซึ่งได้มีการกำหนดเอาไว้สำหรับโครงการฟัลคอนดังกล่าว
โดยเอกสารขอเสนอราคาสำหรับโครงการฟัลคอนนั้นมีการจัดทำและเสร็จสิ้นไปในช่วงปี 2559 อย่างไรก็ตาม โครงการนี้นั้นกลับประสบปัญหาความล่าช้าอย่างใหญ่หลวงอันเนื่องมาจากปัญหาความไม่เป็นระบบและความขัดแย้งภายในกองทัพกาตาร์เอง ซึ่งทางบริษัทนั้นก็ได้มีการดำเนินปฏิบัติการต่อจนถึงช่วงกลางปี 2560 ด้วยความคาดหวังว่าบริษัทนั้นจะถูกว่าจ้างให้มีการทบทวนการเสนอราคาสำหรับโครงการฟัลคอน แต่ปรากฎว่าหลังจากนั้นไม่นานทางกาตาร์ก็ได้ละทิ้งโครงการฟัลคอนไป
ซึ่งหลังจากที่โครงการถูกยุบ นายทาแร็ค ฟูอาด (Tarek Fouad) ซึ่งเป็นพลเมืองของทั้งสหรัฐฯและอังกฤษ และยังเป็นหนึ่งในสามผู้อำนวยการของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ก็ได้ยื่นฟ้องกองทัพกาตาร์เป็นเงินจำนวน 4.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (143,880,000 บาท) โดยเขากล่าวว่าเป็นเงินที่ยังติดค้างอยู่สำหรับการที่บริษัททำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยในเอกสารการฟ้องคดี นายฟูอาดยังได้กล่าวหาว่าอดีตผู้อำนวยการของบริษัทอีก 2 คนได้มีการไปเจรจานอกรอบเพื่อยุติข้อพิพาทโดยไม่ถูกต้องกับทางกองทัพกาตาร์เพื่อจะหลีกเลี่ยงกรณีการฟ้องร้องที่จะเกิดขึ้นในประเทศกาตาร์ ในข้อหาว่ามีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการให้สินบนขึ้น โดยบริษัทเรธีออนเป็นผู้ดำเนินการให้สินบน
ในคำฟ้องของนายฟูอาดยังได้กล่าวถึงข้อกล่าวหาเรื่องสินบนว่ามีผู้เกี่ยวข้องก็คือชีคโจอาน บิน ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ทานี (Sheikh Joaan bin Hamad bin Khalifa Al Thani) พระอนุชาของเจ้าผู้ครองนครรัฐกาตาร์ และได้ระบุต่อไปด้วยว่าการจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นความพยายามที่ชัดเจนมากในการที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อระบบป้องกันทางอากาศของประเทศกาตาร์เอง
ชีคโจอาน บิน ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ทานี
ขณะที่ทางโฆษกสำนักสื่อสารของรัฐบาลกาตาร์ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่าตัวเขาไม่สามารถจะให้ข้อมูลได้ว่าควรจะไปพูดคุยกับใครเพื่อที่จะพูดถึงประเด็นข้อกล่าวหาในสำนวนการฟ้องของนายฟูอาดหรือในประเด็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการใช้จ่ายทางกองทัพกาตาร์ที่เกี่ยวข้องได้
ส่วนผู้อำนวยการบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์อีก 2 คนนอกเหนือจากนายฟูอาด ที่มีการระบุว่าเป็นบุคคลสัญชาติกาตาร์นั้น ทางสำนักข่าวก็ไม่สามารถจะติดต่อเพื่อขอความเห็นในกรณีข้อกล่าวหาดังกล่าวได้เช่นกัน
อนึ่ง สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องที่ว่าบริษัทเรธีออนได้ให้สินบนนั้นถูกระบุไว้ในคำฟ้องของนายฟูอาดที่กล่าวว่านับตั้งแต่ปี 2557-2559 พบการจ่ายเงินไปยังบัญชีที่เป็นบัญชีของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ และในเอกสารใบแจ้งยอดธนาคารซึ่งเป็นเอกสารประกอบการฟ้องร้องยังพบว่าในช่วงปี 2557 ยังพบว่ามีการจ่ายเงินจากบริษัทเรธีออนเป็นจำนวนหลายครั้งด้วยกัน
ทั้งนี้การจ่ายเงินดังกล่าวนั้นควรจะเป็นเงินค่าชดเชยสำหรับการศึกษาโครงการความมั่นคงที่บริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ทำให้กับทางบริษัทเรธีออน แต่อย่างไรก็ตามที่ไปที่มาของการจ่ายเงินดังกล่าวที่มีการสืบค้นจากไฟล์ดิจิตัล จากการศึกษาพบว่าทั้งบัญชีและการจ่ายเงินนั้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทเรธีออนเสียเอง
โดยข้อมูลรายละเอียดนิติเวชทางบัญชีธนาคารดังกล่าวนั้นมีที่ไปที่มาของการศึกษาและแกะรอยรายละเอียดบัญชีจากการดำเนินการบริษัท Secure Network Technologies Inc ซึ่งบริษัทแห่งนี้นั้นเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งอยู่ ณ เมืองซีราคิวส์ ในรัฐนิวยอร์ก
นายฟูอาดยังได้เขียนแถลงการณ์ซึ่งแนบไปกับสำนวนการฟ้องคดี ซึ่งโต้แย้งไปว่าแท้จริงแล้วการทำงานตามคำสั่งให้ศึกษาด้านความมั่นคงนั้นเป็นการทำงานหลอกๆ และไม่มีการส่งมอบงานใดๆเกิดขึ้นตามสัญญาที่กระทำโดยบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์เลยแม้แต่น้อย
ขณะที่นักกฎหมายซึ่งได้ตรวจสอบข้อกล่าวหาเรื่องสินบนและเอกสารคำร้องของนายฟูอาดได้ระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวตามคำร้องนั้นเป็นข้อบ่งชี้ว่าทางบริษัทเรธีออนมีความเสี่ยงอย่างร้ายแรงที่จะกระทำผิดกฎหมาย FCPA
มีรายงานจากบันทึกของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ระบุอีกว่าหนึ่งในผู้อำนวยการของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ นั้นยังเคยเป็นนายทหารในราชการยศพันโทของกองทัพกาตาร์ และบริษัทก็มีผู้ครองครองส่วนใหญ่คือชีพโจอัน ซึ่งตามข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ที่ถูกรวบรวมโดยนายฟูอาดเพื่อใช้ในการฟ้องร้อง ก็พบว่าชีคโจอันนั้นเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ของบริษัทแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าอัล เซดรียาห์ ซึ่งบริษัทอัล เซดรียาห์แห่งนี้ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ให้ในบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ทางบริษัทเรธีออนเองก็รับรู้ถึงการถือหุ้นครอบครองบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ของชีคโจอันเช่นกัน โดยข้อมูลในเอกสารคำฟ้องของนายฟูอาด พบข้อมูลอีเมลฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลตามกฎระเบียบของบริษัทเรธีออนนั้นได้สอบถามข้อมูลกับทางนายฟูอาดเองเกี่ยวกับข้อมูลของเจ้าของบริษัทอัล เซดรียาห์ และนายฟูอาดก็ได้อีเมลตอบกลับไปยังบริษัทเรธีออนว่าชีคโจอันนั้นเป็นเจ้าของบริษัทอัลเซดรียาห์
“ข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์นั้นมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสมาชิกราชวงศ์ผู้ปกครองนครรัฐกาตาร์ และยังมีเจ้าหน้าที่จากกองทัพกาตาร์เข้ามานั่งเป็นผู้บริหาร เป็นข้อสันนิษฐานที่ชัดเจนว่ามีระดับของการมีอิทธิพลวงในหรือความสัมพันธ์ภายในอันจะส่งผลต่อการจัดซื้อยุทธภัณฑ์ด้านความมั่นคงของกองทัพกาตาร์ ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทเรธีออน” นายไรอัล โรล์ฟเซ่น อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเกี่ยวกับกฎหมาย FCPA และปัจจุบันทำหน้าที่ในบริษัทกฎหมาย Ropes & Gray LLP กล่าว
“เรื่องนี้มีประเด็นที่เป็นธงแดงเต็มไปหมด ถ้าหากมองจากมุมมองความรับผิดตามกฎหมาย FCPA” นายโรล์ฟเซ่นกล่าว
และเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมานั้น ทั้งทางด้านของกองทัพกาตาร์และบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ได้โต้แย้งนายฟูอาดว่าข้อกล่าวหาของนายฟูอาดว่าบริษัทแห่งนี้ยังคงเป็นเจ้าหนี้สำหรับค่าที่ปรึกษาในโครงการฟัลค่อนนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะว่าพวกเขาได้บรรลุข้อตกลงมูลค่า 2.4 ล้านดอลลาร์สสหรัฐฯ (78..48 ล้านบาท) ในการแก้ไขปัญหาประเด็นเรื่องเงินค้างชำระต่างๆ
นอกจากนี้ กองทัพกาตาร์และบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ยังได้ยื่นเอกสารโต้แย้งไปว่านายฟูอาดนั้นไม่มีอำนาจในการฟ้องคดีในฐานะตัวแทนของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ และการยื่นคดีไปยังศาลสหรัฐฯเพื่อพิจารณาคำร้องของนายฟูอาดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม เอกสารโต้แย้งนั้นไม่ได้ระบุถึงข้อกล่าวหาของนายฟูอาดในประเด็นเรื่องสินบนแต่อย่างใด
บริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ยังได้ยื่นเอกสารโต้แย้งเพิ่มเติมโดยระบุว่านายฟูอาดถูกถอดออกจากตำแห่งผู้จัดการบริษัทไปแล้ว และมีแค่ผู้อำนวยการบริษัทคนอื่นอีก 2 คนเท่านั้นที่ได้ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกระบุถึงในการฟ้องคดี
ซึ่งผลของคดีล่าสุดปรากฏว่าศาลแขวงแคลิฟอร์เนียได้มีคำตัดสินให้ยกฟ้องคดีที่นายฟูอาดเป็นผู้ฟ้อง โดยเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยศาลสหรัฐฯมีความเห็นว่าการฟ้องของนายฟูอาดเพื่อให้ศาลยุติคดีนั้นเป็นไปโดยไม่เหมาะสม ตามความเห็นแย้งของฝ่ายบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ และกองทัพกาตาร์
อนึ่ง สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการฟัลคอนเพิ่มเติมนั้นพบว่ามีการประกวดราคาเพื่อหากลุ่มผู้รับเหมาในโครงการกลาโหมเริ่มตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา และปรากฏว่ามีผู้เข้าเสนอราคาสำหรับโครงการรายเดียวซึ่งก็คือกลุ่มกิจการค้าร่วมหรือว่าคอนซอร์เทียมซึ่งนำโดยบริษัทเรธีออน แต่อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็ไม่เคยได้เริ่มต้นขึ้นเลย
ซึ่งข้อมูลจากคำฟ้องของนายฟูอาดระบุว่าเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำในปี 2559 ส่งผลทำให้รัฐบาลกาตาร์จำเป็นต้องปรับลดค่าใช้จ่ายหลายอย่าง จึงได้มีการดำเนินโครงการเพื่อทบทวนส่งผลทำให้โครงการฟัลคอนล่าช้าออกไปอีก
ขณะที่อดีตพนักงานของบริษัทดิจิทัล โซลลา ซิสเต็มส์ ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าข้อเสนอของบริษัทเรธีออนนั้นถูกตีตกไปโดยกระทรวงกลาโหมกาตาร์ และก็ไม่มีการดำเนินโครงการต่อแต่อย่างใด
เรียบเรียงจาก:https://www.wsj.com/articles/u-s-probes-examine-raytheons-dealings-with-qatari-defense-contractor-11631007001?mod=hp_lista_pos4
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/